• Tidak ada hasil yang ditemukan

แบบจ าลองการยอมรับเทคโนโลยี (The Technology Acceptance Model: TAM) เป็น ทฤษฎีที่คิดค้นโดย Davis, Bagozzi and Warshaw (1989) ซึ่งพัฒนามาจากแนวคิด (The Theory of Reasoned Action: TRA) โดย TAM จะเน้นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการยอมรับ หรือการตัดสินใจที่จะใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ซึ่งปัจจัยหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อการยอมรับ เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมของผู้ใช้ ได้แก่ การรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน (Perceived ease of use) และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ (Perceived usefulness) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความ ตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยี (Behavioral intention) มีทั้งสิ้น 3 ปัจจัย ได้แก่ การรับรู้

ความง่ายในการใช้งาน (Perceived ease of use) การรับรู้ประโยชน์ที่เกิดจากการใช้ (Perceived usefulness) และทัศนคติ (Attitude) ซึ่งในท้ายที่สุดความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้เทคโนโลยีจะ ส่งอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้และใช้งานจริงของเทคโนโลยี ซึ่งจุดอ่อนของทฤษฎีการยอมรับ

เทคโนโลยี คือไม่ได้ค านึงพฤติกรรมที่เป็นเหตุและความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีใหม่

ต่อมา Venkatesh, Morris, Davis and Davis (2003) ได้น าเสนอทฤษฎีที่สร้างขึ้นจาก งานวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยี ซึ่งทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี

(Unified Theory of Acceptance and Use of Technology: UTAUT) ถูกน าเสนอขึ้นเพื่อลดข้อจ ากัด และเพิ่มประสิทธิภาพในการวิจัย ใช้ในการศึกษาพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ของมนุษย์ และ สามารถที่จะท านายพฤติกรรมการยอมรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในอนาคตได้

โดยพัฒนามาจากทฤษฎีด้านพฤติกรรมจ านวนทั้งสิ้น 8 ทฤษฎี คือ

1.ทฤษฎีที่ใช้ส าหรับการเชื่อมโยงระหว่างความเชื่อและทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Theory of Reasoned Action: TRA)

2. ทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยีของผู้ใช้งานเป็นตัววัดความส าเร็จของการพัฒนาการใช้

เทคโนโลยี (Technology Acceptance Model: TAM)

3. ทฤษฎีที่ใช้ส าหรับการวิจัยในเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาเพื่อใช้สนับสนุนแรงจูงใจที่ใช้อธิบาย ถึง การแสดงพฤติกรรม (Motivational Model: MM)

4. ทฤษฎีที่ศึกษาทางด้านพฤติกรรมซึ่งได้รับการพัฒนาและขยายมาจากทฤษฎี TRA (Theory of Planned Behavior: TPB)

5. ทฤษฎีที่ผสมผสานกันระหว่าง TAM กับ TPB เพื่อใช้ส าหรับทดสอบการวิจัยที่เกี่ยวข้อง กับปัจจัยประสบการณ์การใช้ระบบว่ามีอิทธิพลต่อการปรับปรุงและการใช้ระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศหรือไม่

6. ทฤษฎีที่ใช้วัดการใช้งานจริงในเทคโนโลยีและใช้ท านายเกี่ยวกับการยอมรับและการใช้

เทคโนโลยีของแต่ละบุคคล (Model of PC Utilization: MPCU)

7. ทฤษฎีพื้นฐานทางสังคมที่ใช้ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของปัจจัยที่ใช้อธิบายถึง นวัตกรรมและใช้เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมในองค์กร (Innovation Diffusion Theory:

IDT) หรือ (Diffusion of Innovations: DOI)

8. ทฤษฎีด้านพฤติกรรมมนุษย์ที่พบว่าการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมนุษย์นั้นเกิดจาก อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมปัจจัยส่วนบุคคล และคุณสมบัติด้านพฤติกรรมส่วนตัว (Social Cognitive Theory: SCT)

นอกจากนี้ Venkatesh et al. (2003) ได้ศึกษาถึง 4 องค์กรที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่

ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน พบว่า มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมความตั้งใจที่จะใช้งาน (Behavioral intention) 4 ปัจจัยหลัก คือ

1. ความคาดหวังต่อการปฏิบัติงาน (Performance expectancy) คือ ระดับความเชื่อของ บุคคลว่าการใช้ระบบจะท าให้ประสบผลส าเร็จในการปฏิบัติงานประกอบด้วยปัจจัยที่ได้จากการ พัฒนาและรวมทฤษฎีต่าง ๆ 5 ปัจจัยดังนี้

1.1 การรับรู้ประโยชน์ (Perceived usefulness) คือ ระดับความเชื่อด้านประโยชน์ ของ ผู้ใช้ว่าการใช้ระบบจะช่วยเพิ่มให้ผลของการปฏิบัติงานดีขึ้น (TAM model)

1.2 การจูงใจภายนอก (Extrinsic motivation) คือ ผู้ที่สามารถใช้ระบบในการปฏิบัติงาน ได้จะน าไปสู่ผลงานที่มีค่า และท าให้ได้รับในสิ่งที่ดีกว่าผู้อื่น เช่น มีการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ได้รับการขึ้น เงินเดือนหรือได้รับการเลื่อนต าแหน่ง (MM model)

1.3 ความเหมาะสมกับงาน (Job-fit) คือ ความสามารถของระบบจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของแต่ละบุคคลได้ (MPCU model)

1.4 ประโยชน์โดยเปรียบเทียบ (Relative advantage) คือ ระดับของการใช้ระบบที่ท าให้

เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ดีกว่าสิ่งที่ผ่านมา (IDT model)

1.5 ความคาดหวังผลลัพธ์ (Outcome expectations) คือ ความคาดหวังถึงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง กับพฤติกรรม ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นความคาดหวังจากการปฏิบัติงานและความคาดหวังส่วน บุคคล (SCT model)

2. ความคาดหวังด้านความพยายามของผู้ใช้งานระบบ (Effort expectancy) คือ ระดับความ ง่ายในการมีส่วนร่วมในการใช้ระบบประกอบด้วย 3 ปัจจัยหลักดังนี้

2.1 การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน (Perceived Ease of Use) คือ ระดับความเชื่อของ บุคคลว่าการใช้ระบบเทคโนโลยีไม่ต้องใช้ความพยายามสูงในการใช้งานมากนัก (TAM Model)

2.2 ความซับซ้อน (Complexity) คือ ระดับของการเข้าใจถึงความยากที่จะเข้าใจและการ ใช้ระบบ (MPCU model)

2.3 ความง่ายต่อการใช้งาน (Ease of use) คือ ระดับของการใช้ระบบที่ท าให้เข้าใจว่ายาก ต่อการใช้งาน (IDT model)

3. อิทธิพลจากสังคม (Social influence) คือ ระดับใจของแต่ละบุคคลถึงความส าคัญที่จะ เชื่อว่าควรใช้ระบบใหม่ ๆ ในการปฏิบัติงานได้ก าหนดปัจจัยทางพฤติกรรม 3 ปัจจัยดังนี้

3.1 บรรทัดฐานทางสังคม (Subjective norm) คือ ความเข้าใจของบุคคลกับพฤติกรรม การแสดงออกของผู้มีอิทธิพลที่มีต่อตนเอง (TRA model)

3.2 ปัจจัยทางสังคม (Social factors) คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลที่แสดงออกถึง วัฒนธรรมและข้อตกลงระหว่างบุคคลที่มีอยู่ในสถานการณ์สังคมนั้น ๆ (MPCU model)

3.3 ภาพลักษณ์ (Image) คือ ระดับของการใช้นวัตกรรม (ระบบ) ที่ท าให้เข้าใจว่าช่วย เพิ่มภาพลักษณ์หรือสถานะภาพทางสังคม (IDT model)

4. สภาพของสิ่งอ านวยความสะดวกในระบบ (Facilitating condition) คือ ระดับความเชื่อ ของบุคคลว่าองค์กรและสิ่งอ านวยความสะดวกอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่มีอยู่มีส่วนช่วยสนับสนุน ต่อการใช้ระบบประกอบด้วย 3 ปัจจัยที่ก าหนดไว้ดังนี้

4.1 การรับรู้ถึงการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง (Perceived behavioral control) คือ ความเข้าใจถึงการรับรู้อ านาจในการควบคุมระบบทั้ง ภายในและภายนอก (ภายใน คือ ผู้ใช้ระบบ เช่น ความรู้ความสามารถของผู้ใช้ระบบ และภายนอก คือ สิ่งอ านวยความสะดวกจากองค์กร เช่น คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ด้าน IT) (TPB model)

4.2 สภาพสิ่งอานวยความสะดวกในการใช้งาน (Facilitating conditions) คือ ปัจจัยที่

เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ด้านสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความง่ายในการปฏิบัติงานรวมถึงการจัดเตรียม ระบบการสนับสนุนด้านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (MPCU model)

4.3 ความสอดคล้องหรือเหมาะสมกับผู้ใช้งานCompatibility คือ ระดับของการเข้าใจ ระบบงานว่ามีความถูกต้องเป็นสิ่งจ าเป็นและเป็นการปรับปรุงที่มีศักยภาพ (IDT model)

นอกจากนั้นพบ 3 ปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมความตั้งใจที่จะใช้งานระบบ คือ 1. ทัศนคติต่อการใช้งานระบบ (Attitude toward the technology) คือ ปฏิกิริยาตอบสนอง ของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้ระบบประกอบด้วยโครงสร้างที่ใช้ในการพัฒนา คือ

1.1. ทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรม (Attitude toward behavior) (TRA model) 1.2. การจูงใจจากภายใน (Intrinsic motivation) (MM model)

1.3. ผลกระทบจากการใช้งาน (Affect toward use) (MPCU model) 1.4. ผลที่เกิดขึ้น (Affect) (SCT model)

2. ความเชื่อมั่นของผู้ใช้งานระบบ (Self-efficacy) คือ การพิจารณาถึงความสามารถของ บุคคลใดบุคคลหนึ่งในการใช้เทคโนโลยีเพื่อความส าเร็จของงานโดยมีโครงสร้างที่ได้รับการพัฒนา มาจาก SCT model

3. ความกังวลใจของผู้ใช้งานระบบ (Anxiety) คือ การพิจารณาถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ใช้งาน ระบบที่ตอบสนองเมื่อมีการใช้งานมีโครงสร้างที่ได้รับการพัฒนามาจาก SCT model เช่นเดียวกับ Self efficacy นอกจากนั้นยังพบว่า พฤติกรรมความตั้งใจที่จะใช้งานระบบ (Behavioral Intention to use the system) มีอิทธิพลโดยตรงต่อพฤติกรรมการใช้ระบบ (Use behavior) ซึ่งพฤติกรรม ความตั้งใจที่จะใช้งานระบบได้รับการพัฒนามาจากทฤษฎี TAM Davis (1989) ได้ให้ค านิยามไว้ว่า

“แผนส าหรับการใช้งานและพฤติกรรมการใช้ระบบหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าการใช้งานจริง (Actual use)” นั้นหมายถึงการวัดการกระท าหรือการปฏิบัติของรายละเอียดการใช้งานระบบ

ด้วยข้อจ ากัดบางประการของทฤษฎีการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี UTAUT ต่อมา Venkatesh, Thong and Xu, (2012) ได้พัฒนาขยายทฤษฎีพัฒนาทฤษฎีรวมของการยอมรับและการ ใช้เทคโนโลยี (Modified unified theory of acceptance and use of technology: UTAUT2) ขึ้น เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นการให้ความสนใจในบริบทการใช้งานของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ประกอบกับความเจริญทางเศรษฐกิจท าให้มีการคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความ ต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันที่

เหมาะสม โดยเน้นไปที่ตัวผู้บริโภคมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาตัวแปรเสริมมักไม่ถูกน าเข้ามาใช้ใน งานวิจัย ซึ่งจากการพัฒนาขยายเพิ่มเติมแบบจ าลอง ได้เพิ่มปัจจัย 3 ประการ คือ 1. แรงจูงใจด้าน ความบันเทิง (Hedonic motivation) 2. มูลค่าราคา (Price Value) และ 3. ความเคยชิน (Habit) นอกจากนี้ ยังมี เพศ (Gender) อายุ (Age) และประสบการณ์ ที่เป็นตัวแปรเสริม ดังนั้น Modified UTAUT หรือ UTAUT2 จะประกอบไปด้วยตัวแปร 7 ประการ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้ (Behavior intention) ดังนี้

1. ความคาดหวังในประสิทธิภาพ (Performance expectation) หมายถึง ความเชื่อของบุคคล ว่าการใช้เทคโนโลยีสามารถช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการด าเนิน กิจกรรม ประกอบด้วย ปัจจัยของการรับรู้ประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยี ความสามารถของ ระบบที่บุคคลเชื่อว่าการใช้งานจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของงาน เพิ่มปริมาณ และคุณภาพของผลผลิต และช่วยลดระยะเวลาในการท างานได้

2. ความคาดหวังในความพยายาม (Effort expectation) หมายถึง ความสะดวกในการเข้าใช้

งานเทคโนโลยี ประกอบด้วย ปัจจัยของการรับรู้ต่อความง่ายในการใช้งาน ทั้งในด้านความซับซ้อน ของระบบ ความง่ายในการท าความเข้าใจระบบ และระยะเวลาในการเรียนรู้