• Tidak ada hasil yang ditemukan

การจัดระดับของความรู้สึกตามแนวคิดของแครธโวลและคณะ

บทที่ 2

ภาพประกอบ 14 การจัดระดับของความรู้สึกตามแนวคิดของแครธโวลและคณะ

1. การรับรู้ 1.1 การตระหนัก 1.2 ความเต็มใจในการรับรู้

1.3 การควบคุมหรือเลือกให้ความ สนใจ

2. การตอบสนอง 2.1 การตอบสนอง 2.2 ความเต็มใจที่จะตอบสนอง 2.3 ความพึงพอใจในการตอบสนอง 3. การเห็นคุณค่า 3.1 การรับรู้คุณค่า

3.2 การชื่นชอบคุณค่า 3.3 การผูกพันยึดถือ 4. การจัดระบบ

คุณค่า

4.1 การสร้างมโนภาพของคุณค่า 4.2 การสร้างมโนภาพของคุณค่า 5. การสร้าง

บุคลิกภาพ

5.1 การสรุปโดยนัยทั่วไป 5.2 การสร้างลักษณะนิสัย

ความ สนใจ ความ ซาบ ซึ้ง เจต ค่า คติ

นิยม การ ปรับ ตัว

ด้วยข้อดีของอนุกรมวิธานจิตพิสัยของแครธโวลและคณะ ที่สามารถจัดประเภทผลการ เรียนรู้ที่คาดหวังและบรรยายกระบวนการเปลี่ยนแปลงความรู้สึก อีกทั้งสามารถดัดแปลงให้

เหมาะสมและจ าเพาะเจาะจงกับบริบทการประเมินและความซับซ้อนของการเกิดนิสัย และ สามารถใช้จัดประเภท ข้อค าถามวัด ความรู้สึกได้ (พิกุล เอกวรางกูร, 2561, น. 81 อ้างอิงจาก Findly; & Woodruff, 1964; Krathwohl et al., 1994) ผู้วิจัยจึงได้น าอนุกรมวิธานดังกล่าวมา ประยุกต์ใช้ในการสร้างแผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ความรอบรู้ทางการเงินด้าน เจตคติ (Attitude)

หลักการที่ 2 การเชื่อมโยงระหว่างการเรียนการสอนและการประเมิน (Match Between Pedagogy and Assessment)

การแสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างการเรียนการสอนและการประเมิน เป็น ส่วนหลักที่สองของระบบการประเมินที่เรียกว่า BEAR (BEAR Assessment System) ที่เป็นการ ประเมินภาระงาน (Tasks) หรือกิจกรรม ซึ่งวัตถุประสงค์หลักในการสร้างและพัฒนาแผนที่เชิง โครงสร้างของระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Construct Map) คือ การพัฒนากรอบแนวคิดส าหรับใช้ใน การประเมินและท าให้กระบวนการวัดสามารถด าเนินไปได้และเป็นการวัดที่มีความหมายมิใช่เป็น เพียงการน าหลักสูตรหรือรายละเอียดที่ก าหนดไว้ในหลักสูตรมาเป็นตัวก าหนดการกรอบการ ประเมิน แต่จะต้องเป็นความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างการเรียนการสอนและการ ประเมิน ซึ่งการออกแบบการประเมินที่เชื่อมโยงระหว่างการเรียนการสอนและการประเมิน (Match Between Pedagogy and Assessment) จะช่วยให้ครูสามารถประเมินความก้าวหน้าในการ เรียนรู้ของนักเรียนทั้งรายบุคคลหรือแบบกลุ่มได้ครอบคลุม สามารถแปลความหมายค าถาม (Question) ภาระงาน (Tasks) ที่ครูมอบหมายให้ได้ เช่น การอ่าน การทดลองในห้องปฏิบัติการ หรือการท าแบบฝึกหัด เป็นต้น เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนที่คูรต้องการให้

เกิดขึ้นในตัวของนักเรียนหรือบรรลุเป้าหมายตามหลักสูตร โดยครูจะต้องจัดสภาพหรือบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถประเมินได้ว่าผู้เรียนเกิดความก้าวหน้าในการเรียนรู้มากน้อย เพียงใด ซึ่งการใช้แผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์การเรียนรู้ (Construct Map) จะช่วยยืนยัน ว่าการเรียนการสอนและการประเมินได้ถูกออกแบบมาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและได้หลักฐานการ ประเมินที่ชัดเจน น าไปสู่การสร้างบล็อกที่ 2 ที่เรียกว่า การพัฒนาข้อค าถามและภาระงาน (The Design of Item or Tasks) (Wilson, 2018, p. 8; Black; Wilson; & Yao, 2011, pp. 96-97)

การพัฒนาข้อค าถามและภาระงาน (The Design of Item or Tasks) จะเป็นกระตุ้น ให้นักเรียนตอบสนองตามระดับของโครงสร้าง โดยในการพัฒนาข้อค าถามและภาระงาน (The Design of Item or Tasks) สามารถท าได้หลากหลายตามวัตถุประสงค์ อาทิ ประเมิน

ความก้าวหน้า (Formative) หรือประเมินสรุปรวม (Summative) ส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัติครูก็

จะใช้แบบทดสอบที่มีรูปแบบข้อค าถามแตกต่างกัน เช่น แบบปลายเปิด (Open Ended) หรือแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple-Choice) เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการประเมินโดยการใช้ข้อ ค าถามรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple-Choice) หรือรูปแบบข้อ ค าถามอื่น ๆ นั้นอาจมิได้สนับสนุนถึงความเที่ยงตรง (Validity) ในการทดสอบ แต่ในระบบการ ประเมินแบบ BEAR (BEAR Assessment System) จะช่วยให้การพัฒนาข้อค าถามหรือภาระงาน (The Design of Item or Tasks) เป็นการผสมผสานทั้งในแง่ของบริบทและลดข้อจ ากัดดังกล่าว โดยใช้ทั้งข้อค าถามแบบปลายเปิด (Open Ended) และแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple- Choice) เช่น ครูอาจใช้ข้อค าถามแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple-Choice) และมีค าถาม เพื่อให้อภิปรายสั้น ๆ หลังจากนั้นจึงเลือกตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุด ซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นว่าครู

จะต้องใช้เวลาในการอธิบายประเด็นใดเพิ่มเติม (Black; Wilson; & Yao. 2011: 97)

สมิธ และคณ ะ (Black; Wilson; & Yao, 2011, pp. 97-98 citing Smith et al., 2007) ได้พัฒนาชุดของข้อค าถามเพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่อง การละลาย แทนด้วยค าว่า “Mel” และ การระเหย การเดือด และการระเหิด แทนด้วยค าว่า “ESB” ตาม โครงสร้างที่ได้จากประสบการณ์ที่พบเจอจากการเรียนการสอนในห้องเรียน รวมถึงการการทบทวน วรรณกรรม ดังตัวอย่างที่ 1

A) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงน้อยกว่ามวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง B) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงมากกว่ามวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง C) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงเท่ากับมวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง

ตัวอย่างที่ 1

“คาร์เมนต้องการทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับมวลของสสารเมื่อเปลี่ยนรูปจากสถานะหนึ่งไปยังสถานะหนึ่ง โดย เธอได้ท าการทดลองโดยใส่น ้าแข็งจ านวน 3 ก้อนในถุงที่ปิดสนิท แล้วท าการบันทึกมวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง และเมื่อเวลาผ่านไปน ้าแข็งในถุงละลายเธอจึงท าการบันทึกมวลของน ้าในถุงอีกครั้งหนึ่ง”

จากสถานการณ์ดังกล่าว ข้อใดอธิบายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการทดลองได้ดีที่สุด A) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงน้อยกว่ามวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง

B) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงมากกว่ามวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง C) มวลของน ้าที่อยู่ในถุงเท่ากับมวลของน ้าแข็งที่อยู่ในถุง

จากตัวอย่างเป็นข้อค าถามแบบปลายเปิด (Open Ended) ที่นักเรียนมีแนวโน้มที่จะ ตอบข้อค าถามดังกล่าว จ านวน 3 ระดับ ตั้งแต่ 0 ถึง 3 ตามแผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์

การเรียนรู้ (Construct Map) ที่แสดงไว้ดังตาราง 18

จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าแผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์การ เรียนรู้ (Construct Map) ช่วยให้เกิดความสอดคล้องระหว่างการประเมินและการเรียนการสอนที่มี

จุดมุ่งหมายเดียวกัน ท าให้การพัฒนาข้อค าถามและภาระงาน (The Design of Item or Tasks) แสดงถึงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนจากการแปลความหมายของคะแนนที่นักเรียน ตอบสนอง ซึ่งจะเป็นหลักฐานส าคัญที่แสดงให้เห็นถึงความเที่ยงตรง (Validity) การประเมิน

หลักการที่ 3 การจัดกระท าโดยครูหรือผู้ปฏิบัติ (Management by Teachers) ข้อมูลที่ได้จากการประเมินและการวิเคราะห์ โดยอาศัยแนวคิดวงจรการประเมิน BEAR มีประโยชน์ทั้งกับครู นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์โดยตรงเป้าหมายการเรียนการ สอนที่อยู่เบื้องหลังแผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Construct Map) โดยน า ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้จากการประเมินเมื่อการเรียนการสอนสิ้นสุดลงมาใช้เป็นแนวทางในการ ทบทวนถึงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับการ เรียนรู้ในขั้นต่อไปหรือเป็นตัวบ่งชี้ที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นข้อมูล หรือสารสนเทศจะต้องเป็นหลักฐานที่สร้างความเข้าใจได้อย่างทั่วถึงทั้งในระดับห้องเรียน ผู้ปกครอง รวมไปถึงในระดับนโยบาย ซึ่งหลักฐานดังกล่าวก็คือ คะแนน ที่ต้องมีความถูกต้อง (Accuracy) และเชื่อถือได้ (Credibility) น าไปสู่การสร้างบล็อกที่ 2 ที่เรียกว่า การให้คะแนน ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Space) เป็นการอธิบายรายละเอียดเชิงคุณภาพจากการ ตอบสนองของนักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันตามแผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์การ เรียนรู้ (Construct Map) รวมถึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การให้คะแนนข้อค าถามหรือภาระงานของ นักเรียนนั้นท าได้ง่ายขึ้น ช่วยตรวจสอบการตรวจให้คะแนนของครู และช่วยจัดหมวดหมู่

(Categories) และก าหนดคุณภาพค าตอบของนักเรียน ท าให้มั่นใจได้ว่าคะแนนที่นักเรียนได้จาก การตรวจให้คะแนนของครูนั้นมีความหมายและสะท้อนถึงคุณลักษณะแฝง (Latent Trait) ที่

แท้จริงของนักเรียน (Black; Wilson; & Yao, 2011, p. 99; Brown; & Wilson, 2011, p. 227) แบล็ค วิลสัน และเยา (Black; Wilson; & Yao, 2011, p. 93) ได้อธิบายไว้ว่า ข้อมูลที่

ได้จากการประเมินจะต้องอธิบายการแปลความหมายโดยตรงเกี่ยวกับเป้าหมายของการเรียนการ สอนของโครงสร้างที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องบรรยายหรืออธิบายการปฏิบัติตามเกณฑ์เพื่อให้

บรรลุถึงคะแนนในแต่ละระดับตามโครงสร้าง แนวทางการให้คะแนน (Scoring Guides) จะช่วยให้

เกณฑ์การประเมินนั้นมีความชัดเจนและโปร่งใสกับนักเรียนทุกคน ในการประเมินด้วยข้อค าถาม แบบปรนัยชนิดแบบเลือกตอบ (Multiple-Choice) จะอยู่บนหลักการที่มีตัวเลือกถูกเพียงหนึ่ง ตัวเลือกส่วนตัวเลือกอื่น ๆ ที่เหลือนั้นไม่ถูกต้องหรือเป็นตัวลวง ซึ่งการใช้ข้อค าถามแบบปรนัยชนิด แบบเลือกตอบ (Multiple-Choice) สามารถประยุกต์ใช้แผนที่เชิงโครงสร้างของระดับผลลัพธ์การ เรียนรู้ (Construct Map) ที่ช่วยให้การแปลความหมายแสดงถึงจุดแข็งในการทดสอบ โดยการให้

คะแนนผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Space) ของข้อค าถามแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple-Choice) ที่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่อง การละลาย ดังตาราง 18

ตาราง 18 ตัวอย่างการให้คะแนนผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Space) ของข้อค าถามแบบ ปรนัยชนิดเลือกตอบ (Multiple-Choice) ที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อค าถามที่แสดงดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น

ตัวเลือก การก าหนดรหัส

ตัวเลือก 3 2C

ตัวเลือก 1 หรือ 2 1A

ไม่ตอบ 0

ที่ ม า Black; Wilson; & Yao. (2011). Road Maps for Learning: A Guide to the Navigation of Learning Progressions. p.115.

และในส่วนของการให้คะแนนผลลัพธ์ของการเรียนรู้ (Outcome Space) ของข้อค าถาม แบบปลายเปิด (Open-ended) แสดงรายละเอียดดังตาราง 19

Dokumen terkait