• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1.2 ความหมายของค าว่าความรอบรู้ทางการเงิน

สิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลมาใช้ในการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงความ เป็นอยู่ทางการเงินของตน (OECD, 2013, p. 145)

จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้พิจารณาค าในภาษาไทยที่ใช้แทนค าว่า

“Financial Literacy” พบว่า ค าว่า “ความรอบรู้ทางการเงิน” ไม่เพียงสะท้อนให้เห็นถึงความรู้

ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงความสามารถใน การวิเคราะห์เหตุผลและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตีความและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามสถานการณ์หรือบริบทจริงในโลกยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังกล่าว ผู้วิจัยจึงเลือกใช้ค าว่า

“ความรอบรู้ทางการเงิน” ส าหรับการวิจัยในครั้งนี้ เนื่องจากสอดคล้องกับแนวคิดของค าว่า

“Financial Literacy” กล่าวคือ เป็นกระบวนการทางการเงินที่บุคคลควรปรับปรุงความเข้าใจ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ องค์ประกอบ แนวคิดพื้นฐานทางการเงิน ตลอดจนความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิด ภัยทางการเงิน ประยุกต์ใช้ทักษะของแต่ละบุคคลที่สร้างขึ้นจากการเรียนรู้และประสบการณ์ใน การเข้าถึงแหล่งข้อมูลบริบททางการเงิน เพื่อน าความรู้และความเข้าใจดังกล่าวมาใช้ในการ ตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (OECD, 2015, pp. 49-50)

คณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของประเทศออสเตรเลีย (Australian Securities & Investments Commission, 2003) ได้ให้ความหมายของค าว่าความ รอบรู้ทางการเงินว่า เป็นความสามารถในการใช้ความรู้ในการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพใน การใช้จ่ายและบริหารจัดการเงิน มุ่งเน้นการใช้ทักษะและความรู้ที่จ าเป็นต่อการตัดสินใจ

องค์การเงินตราแห่งประเทศสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore.

2005, p. 4) ได้กล่าวว่าความรอบรู้ทางการเงินเป็นความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทาง การเงิน สามารถตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเงิน การวางแผนและการ ลงทุน

องค์กรที่รับผิดชอบด้านกฎระเบียบของอุตสาหกรรมการบริการทางการเงิน (The Financial Services Authority, 2005, p. 13) ได้ให้ความหมายความรอบรู้ทางการเงินว่า เป็นความสามารถในการตัดสินใจทางการเงิน บริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเมิน ความเสี่ยงทางการเงินและความคุ้มครองต่าง ๆ ตลอดจนมีความเข้าใจในมิติทางสังคม การเมือง ที่ส่งผลต่อมิติทางการเงิน

เวอร์ททิงตัน (Worthington. 2006, p. 4) ได้ให้ความหมายความรอบรู้ทางการ เงินว่า เป็นความเข้าใจทางเศรษฐศาสตร์และวิธีการตัดสินใจในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจาก สภาพทางเศรษฐกิจ

ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ความรู้ทางการเงินส่วนบุคคล (JumpStart Coalition for Personal Financial Literacy, 2007, p. 1) ได้ให้ความหมายของความรอบรู้ทางการเงินว่า เป็น ความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการการเงินของตนเองได้อย่างมี

ประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต

ธนาคารออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ แบงกิ้ง กรุ๊ป (ANZ, 2008, p. 4) ได้ให้

ความหมายของความรอบรู้ทางการเงินว่า ความสามารถในการตัดสินใจอย่างชาญฉลาดและใช้

การตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพเกี่ยวกับการใช้และการบริหารเงิน

ฮัสตัน (Huston, 2009, p. 11) ได้ให้ความหมายของความรอบรู้ทางการเงินว่า ความรู้ ความสามารถ ทักษะ และความเชื่อมั่นในการตัดสินใจทางการเงิน

แอสคลินตันและแมสซี่ (Atkinson; & Messy, 2012, p. 14) ได้ให้ความ หมายความรอบรู้ทางการเงินว่าเป็นการบูรณาการของความตระหนัก ความรู้ ทักษะ เจตคติ และ ทักษะที่จ าเป็นในการตัดสินใจทางการเงิน จนบรรลุความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงินของแต่ละบุคคล

โจเจนเซ่น (Jorgensen, 2010, p. 465) ได้กล่าวถึงความหมายของค าว่าความ รอบรู้ทางการเงินเป็นความสัมพันธ์ของความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมทางการเงิน

คณะท างานด้านความรอบรู้ทางการเงินแห่งประเทศแคนาดา (Task Force on Financial Literacy 2010, p. 33) ได้กล่าวถึงความหมายของความรอบรู้ทางการเงินว่า การมี

ความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการรับผิดชอบการตัดสินใจทางการเงิน

คูป าโน่ แล ะแรม เซ่ย์ (Capuano; & Ramsay, 2011, p. 37) ได้ก ล่าวถึ ง ความหมายของค าว่าความรอบรู้ทางการเงินไว้ว่าเป็นความรู้และความเข้าใจแนวคิดทางการเงินที่

ส่งผลต่อความสามารถในการตัดสินใจทางการเงินได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ

คริสเตียน ปาล์ม (Chrisann Palm, 2011, p. 31) ได้กล่าวถึงความหมายของ ความรอบรู้ทางการเงินว่าความรอบรู้ทางการเงินมีความหมายมากกว่าความเข้าใจถึงวิธีการทาง การเงินต่าง ๆ แต่ยังรวมถึงการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด

ลิซซิ่งตันและแมทธริว (Lissington; & Matthews, 2012, p. 4) ได้ให้ความหมาย ของค าว่าความรอบรู้ทางการเงินว่า คือ ความสามารถในการใช้แนวคิดทางเศรษฐกิจและการเงิน ขั้นพื้นฐานเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางการเงินในเชิงบวกและท าการตัดสินใจอย่างชาญฉลาด เกี่ยวกับการใช้และการจัดการเงินและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีทาง การเงิน

ร็อบสัน (Robson, 2012, p. 4) ได้ให้ความหมายของความรอบรู้ทางการเงินว่า การมีความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในการตัดสินใจทางการเงินที่รับผิดชอบ

สเปียแรนท์และโซริกา (Spirance; & Zorica, 2012, pp. 264-265) ได้กล่าวว่า ความรอบรู้ทางการเงินมีวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงความสามารถในการเข้าถึง การตีความ การ ประเมินค าถาม และการใช้ข้อมูลทางการเงินในชีวิตประจ าวัน

ซูและเซีย (Xu; & Zia, 2012, p. 2) ได้กล่าวถึงความหมายของความรอบรู้

ทางการเงินว่าเป็นความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สถาบันการเงิน ความสามารถในการวางแผนและบริหารจัดการเงิน รวมถึงทักษะทางการเงิน

โพสมุสและคณะ (Postmus et al., 2013, p. 276) ได้กล่าวถึงความหมายของ ความรอบรู้ทางการเงินว่า เป็นความรู้และทักษะทางการเงินที่ท าให้เกิดการเสริมพลังทางเศรษฐกิจ รวมถึงความเชื่อมั่น ในการรับรู้ความสามารถทางเศรษฐกิจของตนเอง และความสามารถในการ แสดงพฤติกรรมทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ

องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co-operation and Development : OECD, 2017, p. 124) ได้ให้ความหมายของ ความรอบรู้ทางการเงินว่า เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและการบริหารความเสี่ยง ทางด้านการเงิน รวมถึงทักษะ แรงจูงใจ และความเชื่อมั่นในการน าความรู้และความเข้าใจไป ประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพในบริบททางการเงินที่หลากหลาย เพื่อ ปรับปรุงสุขภาวะทางการเงินของแต่ละบุคคลและสังคม ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม

เอ็มมานูเอล และ มัคเกมบี (Emmanuel; & Mugambe, 2017, p. 9) กล่าวว่า ความรอบรู้ทางการเงินเป็นความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคล มีความสามารถในการ ใช้ความรู้ในการจัดการด้านการเงิน และมีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานการณ์ทาง เงินของตน โดยค านึงถึงบริบททางเศรษฐกิจและสังคม

อะมาเกอร์ (Amagir et.al., 2017, p. 2) ได้ให้ความหมายของความรอบรู้

ทางการเงินว่า เป็นการบูรณาการความรู้ เจตคติ การก ากับตนเอง และพฤติกรรมทางการเงิน เพื่อ น าไปใช้ในการตัดสินใจเหตุการณ์หรือสถานการณ์ทางการเงินในชีวิตประจ าวัน

คุนนิ่งแฮม (Cunningham, 2018, p. 6) ได้กล่าวถึงความหมายของความรอบรู้

ทางการเงินว่าเป็นความรู้และความเข้าใจ ความเชี่ยวชาญทางการเงิน รวมถึงความเชื่อมั่น เพื่อ ความส าเร็จในอนาคตหรือคุณภาพชีวิตโดยรวม

อัจฉรา โยมสินธุ์ (2555, น. 5) ได้กล่าวถึงความหมายของความรอบรู้ทางการ เงินว่า เป็นความสามารถเกี่ยวกับการจัดการเงินส่วนบุคคล (Personal Finance) ช่วยให้สามารถ จัดการเงินได้อย่างเหมาะสมส าหรับปัจจุบันและสร้างอิสรภาพทางการเงิน (Financial Independence) ได้ในอนาคตเพื่อสร้างความสมดุลทางการเงินในทุกช่วงของชีวิต

เสาวนีย์ สุวรรณรงค์ (2557, น. 1) ได้กล่าวถึงความหมายของความรอบรู้

ทางการเงินว่า เป็นความสามารถในการใช้ความรู้และทักษะในการจัดการเงินของตนเองได้อย่างมี

ประสิทธิภาพเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีตลอดชีวิต สามารถเปรียบเทียบทางเลือกที่คุ้มค่า มีการ วางเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และการวางแผนทางการเงิน โดยจะต้องท าอย่างมีวินัยไปตลอดทั้งชีวิต

จากการศึกษาความหมายของค าว่าความรอบรู้ทางการเงิน พบว่า ความรอบรู้

ทางการเงินเป็นความสามารถในการท าความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ การมีความรู้เพียงอย่าง เดียวอาจไม่เพียงพอ แต่ยังต้องมีความสามารถในการแปลความ ตีความ ขยายความรู้ และน า ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้ ดังนั้นจึงสรุปความหมายของความรอบรู้ทางการเงินได้

ว่า การที่บุคคลมีความรู้ความเข้าใจทางการเงินส่วนบุคคล มีความเชื่อมั่นที่จะน าความรู้ความ

เข้าใจไปใช้ในตัดสินใจสถานการณ์ทางการเงินและสามารถบริหารจัดการเงินของตนได้อย่าง เหมาะสมมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บุคคลมีวินัยและความมั่นคงทางการเงินตลอดชีวิต

Dokumen terkait