• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

ตาราง 2 ต่อ)

พร้อมเพื่อรับมือ เพิ่มขีดความสามารถของบุคคลในการแสวงหาวิธีการประเมิน การใช้ข้อมูลและ บริการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อป้องกันตนเอง ลด ความเสี่ยงจากการถูกโจมตีหรือภัยคุกคาม และลดความเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้น (กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, 2559, p. 14, 16-17; Jumpstart Coalition for Personal Financial Literacy, 2007, p. 1)

การพัฒนาบุคคลให้มีทักษะเพื่อการด ารงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้นั้นนอกเหนือจากที่

บุคคลจะต้องมีความรู้ในสาระวิชาหลักที่เป็นภาษาแม่และภาษโลก ศิลปะ คณิตศาสตร์

เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รัฐและความเป็นพลเมืองดี

นอกเหนือไปจากสาระวิชาหลักแล้วยังต้องมีความรู้เชิงบูรณาการเกี่ยวกับโลก (Global Awareness) การเป็นพลเมืองที่ดี สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการ เป็นผู้ประกอบการ รวมถึงการมีทักษะ 3 ด้าน คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้าน สารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี และทักษะชีวิตและการท างาน (วิจารณ์ พานิช, 2555, น. 16-17) หนึ่งในแนวโน้มที่เป็นความสนใจทั่วโลก คือ ความรอบรู้ทางการเงิน ที่ถือว่าเป็นทักษะชีวิตหนึ่ง ที่ส าคัญ ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจคุณค่าของเงิน สามารถวางแผนการบริหารจัดการเงินของตนเอง ตลอดจนน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันส่งผลให้บรรลุสิ่งที่ต้องการในชีวิต (Task Force on Financial Literacy, 2010, p. 33 citing Social and Enterprise Development Innovations. 2010)

ความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ถือเป็นทักษะพื้นฐานที่จ าเป็นต่อบุคคล ซึ่งความรอบรู้ทางการเงินเป็นการรวมความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) เจตคติ (Attitude) และ พฤติกรรม (Behaviors) ที่ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม บริบทของประเทศ และการเข้าถึงบริการทางการเงิน เป็นต้น หลายประเทศต่างตระหนักถึง ความส าคัญของความรอบรู้ทางการเงินจึงได้พัฒนากรอบสมรรถนะหลักเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ครู

ผู้ปกครอง ใช้ก าหนดแนวทางหรือเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถตามผลลัพธ์ที่

คาดหวัง (OECD, 2015, p. 9)

จากการศึกษาพบว่าขอบเขตเนื้อหาความรอบรู้ทางการเงินนั้นสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่มีแนวคิดว่าเนื้อหาของความรอบรู้ทางการเงินมี 4 หัวข้อเชนและ โวลป์ (Chen; & Volpe, 1998, p. 113) จัดท าแบบส ารวจเพื่อวิเคราะห์ความรอบรู้ทางการเงิน ส าหรับนักเรียน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หัวข้อ ประกอบด้วย 1) ความรู้ทั่วไปทางการเงิน (General Knowledge) 2) การออมและการยืม (Saving and Borrowing) 3) การประกันภัย

(Insurance) 4) การลงทุน (Investments) แต่ละหัวข้อมีเนื้อหาย่อย ๆ โดยมีรายละเอียดดังตาราง 3

ตาราง 3 รายละเอียดเนื้อหาความรอบรู้ทางการเงินตามแนวคิดของเชนและโวล์ป (Chen; &

Volpe)

หัวข้อเนื้อหา เนื้อหาย่อย

1. ความรู้ทั่วไปทางการเงิน (General Knowledge)

 ความรู้ทางการเงินส่วนบุคคล

 ข้อก าหนดทางกฎหมายส าหรับการเช่าอพาร์ทเม้นท์

 ค่าใช้จ่ายในการเช่าอพาร์ทเม้นท์

 สินทรัพย์สภาพคล่อง (Asset Liquidity)

 รูปแบบการใช้จ่ายและการออม

การตรวจสอบกระทบยอดบัญชี (Account Reconciliation)

 การค านวณมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (Net Worth)

 การวางแผนการเงินส่วนบุคคล

 เค รดิ ต ภ าษี แ ล ะ ก ารล ด ห ย่ อ น ภ าษี (Tax Credit and Tax Deduction)

2. ก า รอ อ ม แ ล ะ ก า รยื ม (Saving and Borrowing)

 ฐานะการเงินที่เชื่อถือได้ (Creditworthiness)

รายงานข้อมูลเครดิตบุคคลธรรมดา (Consumer Credit Report)

 การประกันเงินฝาก (Deposit Insurance)

 ตรวจสอบบัญชีการเบิกเงินเกินบัญชี (Overdraft Account)

 ดอกเบี้ยทบต้น (Compound Interest)

 บัตรเงินฝาก (Certificate of Deposit Terms)

 ผลกระทบจากการกู้สินเชื่อร่วม (Loan Co-Sign Consequence)

 อัตราร้อยละต่อปี (Annual Percentage Rate)

 การใช้บัตรเครดิต 3. ก า ร ป ร ะ กั น ภั ย

(Insurance)

 การก าหนดอัตราประกันภัยรถยนต์ (Auto Insurance Rate Determination)

 เหตุผลในการเลือกซื้อประกัน

 ลักษณะของประกันสุขภาพ (Health Insurance)

Dokumen terkait