• Tidak ada hasil yang ditemukan

การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านฉากและบรรยากาศ

ภาพแทนธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตของไทย

4.1 ภาพแทนธรรมชาติด้านร้าย

4.1.2 การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านฉากและบรรยากาศ

นอกจากผู้ประพันธ์ได้น าเสนอธรรมชาติผ่านตัวละครอมนุษย์แล้ว ในมิติของฉากและ บรรยากาศก็เป็นพื้นที่ส าคัญในการเปิดโอกาสให้ผู้ประพันธ์ได้สร้างสรรค์ความเป็นจินตนิมิตของ ธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมเรียกฉากในวรรณกรรมว่าฉากท้องเรื่อง (Setting) โดยให้ความหมายว่า

ภูมิหลังทางกายภาพหรือทางจิตใจที่ปรากฏในเหตุการณ์ในบันเทิงคดี

ประเภทเรื่องเล่า ส่วนที่ประกอบกันขึ้นเป็นฉากท้องเรื่องมีดังนี้

(๑) สถานที่จริง ๆ ทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิประเทศของท้องถิ่นนั้น ๆ ทัศนียภาพ และลักษณะของสถานที่ เช่น ต าแหน่งของหน้าต่างและประตูในห้อง

(๒) อาชีพและการด าเนินชีวิตของตัวละคร

(๓) เวลาหรือสมัยที่เหตุการณ์เกิดขึ้น เช่น สมัยในประวัติศาสตร์หรือ ฤดูกาลของปี

(๔) ภาวะแวดล้อม เช่น ศีลธรรม สังคม ตลอดจนภาวะจิตใจและอารมณ์

ของตัวละคร

บันเทิงคดีส่วนใหญ่มีส่วนประกอบ ๔ อย่าง คือ ฉากท้องเรื่อง เหตุการณ์

(หรือ โครงเรื่อง) ตัวละคร และผลสืบเนื่อง เมื่อใดที่ฉากท้องเรื่องเด่นกว่า ส่วนประกอบอื่น ๆ หรือเมื่อผู้ประพันธ์แต่งบันเทิงคดีเพื่อเสนอวิถีชีวิตและธรรม เนียมประเพณีของท้องที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ่ งานเขียนชิ้นนั้นเรามักรียกว่า งานเขียน ที่ให้สีสันท้องถิ่นหรือนวนิยายภูมิภาค

(ราชบัณฑิตยสถาน, 2545: 396)

18 …, whispering against our insistence that we are alone in the world.

168 การวิเคราะห์ภาพแทนธรรมชาติผ่านฉากและบรรยากาศจะเน้นไปส่วนประกอบที่ (๑) และ (๓) เป็นฉากในความหมายที่เป็นสถานที่ทางภูมิศาสตร์และช่วงเวลาที่เกิดปรากฏการณ์ทาง ธรรมชาติ

โกลเด้นชไตน์ (Goldenstein แปลโดย วัลยา วิวัฒน์ศร, 2541: 177) กล่าวถึง สถานที่

ใน นวนิยายว่า ผู้เขียนไม่ได้น าเสนอขึ้นมาอย่างไร้ความหมาย แต่เป็นส่วนหนึ่งของโครงเรื่องและมีผล ในการอ่าน สถานที่และตัวละครให้ความหมายแก่กันและกัน น่าสนใจคือสถานที่ในนวนิยายมีหน้าที่

เชิงสัญลักษณ์ โดยการแฝงความหมายบางประการเกี่ยวกับสถานที่นั้น ๆ

จากการศึกษาพบว่าการน าเสนอภาพธรรมชาติด้านร้ายผ่านฉากและบรรยากาศแบ่ง ออกเป็น 2 ประเด็นคือ ผ่านพื้นที่ธรรมชาติและปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

4.1.2.1 การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านพื้นที่ธรรมชาติ

หัตถกาญจน์ อารีศิลป (2556: 175) กล่าวว่า พื้นที่ธรรมชาติคือ เป็นพื้นที่ที่เกิด และ เป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ เป็นภาพภูมิประเทศ มนุษย์ไม่ได้สร้างขึ้น เมื่อพิจารณานวนิยายแนว จินตนิมิตนั้นพบว่าพื้นที่ธรรมชาติด้านร้ายได้รับการน าเสนอในวรรณกรรม จากงานศึกษาของ ธัญญา สังขพันธานนท์ (2556 ข: 293-294) สามารถกล่าวได้ว่าผู้เขียนบรรยายให้พื้นที่ธรรมชาติมีความ โหดร้าย ป่าเถื่อน มีความแปลกแยกต่อมนุษย์ผ่านป่าและทะเล โดยกระบวนการน าเสนอพื้นที่

ธรรมชาติให้สอดคล้องกับภาวะอารมณ์

การศึกษาประเด็นนี้เน้นกระบวนการน าเสนอพื้นที่ธรรมชาติในนวนิยายแนว จินตนิมิต ได้แก่ แหล่งน้ า ถ้ า เทือกเขา และป่า ว่ามีลักษณะวิธีการน าเสนออย่างไร อันน าไปสู่การ นิยามความหมายธรรมชาติด้านร้าย ผลการศึกษาพบว่า การน าเสนอธรรมชาติด้านร้ายผ่านพื้นที่

ธรรมชาติ มีกระบวนการน าเสนอใน 2 ลักษณะคือ ผ่านเรื่องเล่าลึกลับและผ่านการบรรยายโดยวิธีการ ท าให้น่าสะพรึงกลัว ดังรายละเอียดต่อไปนี้

แหล่งน้ าในนวนิยายแนวจินตนิมิตถูกใช้เป็นสัญญะของความลึกลับของสิ่งมีชีวิตใต้

น้ า บ่อยครั้งที่แหล่งน้ าที่ปรากฏในตัวบทได้รับการน าเสนอให้น ามาซึ่งความตายและการเป็นตัวตายตัว แทน หรือกล่าวได้ว่าเป็นสถานที่ที่มี “อาถรรพณ์” ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นจินตนิมิต จากการศึกษาพบในนวนิยายต่อไปนี้ ภูตพระจันทร์ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, พรายพระกาฬ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, วังพญาพราย บทประพันธ์ของ พงศกร, อาศรมสาง บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์

ตัวอย่างเช่น หนองเงี้ยวค า จาก ภูตพระจันทร์ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์

หนองเงี้ยวค าเป็นที่อยู่ของพญาเงี้ยวค า ตัวละครเทพารักษ์ที่แอบรักนิศามณี นางเอกของเรื่องตั้งแต่

อดีตชาติ จินตวีร์ วิวัธน์ บอกเล่าความลึกลับผ่านการบรรยายสภาพแวดล้อม และโยงไปถึงเรื่องเล่าคน โบราณ เป็นการบอกว่าธรรมชาติด ารงอยู่มานานกว่ามนุษย์ สีเขียวของน้ าเมื่อวิเคราะห์ในเชิงสัญญะ

169 พบว่า สีเขียวนอกจากจะเป็นสีของธรรมชาติแล้วยังแสดงถึงความตาย ดังที่จินตวีร์ วิวัธน์ได้น าเสนอ ค าบอกเล่าของชาวบ้านเกี่ยวกับหนองเงี้ยวค า ดังนี้

“...เป็นหนองน้ าใหญ่อยู่ในลุ่มห่างจากตรงนี้ไปราวห้ากิโล น้ าเป็นสีเขียว เข้มมองไม่เห็นภายใต้เลย ลึกมาก คนเก่าแก่โบราณเล่าว่า ใต้ก้นบึงเป็นวังลึก เป็นที่

อยู่ของพญาเงี้ยวค า [...] พญาเงี้ยวค ามักขึ้นมาเสาะเจ้าสาว ถ้าพบคนถูกใจที่เผอิญ เดินอยู่แถวริมหนองน้ าละก็ เป็นฉุดเอาลงไปอยู่ใต้น้ าด้วยกัน ว่ากันว่าสาว ๆ หาย ตัวไปหลายคนทีเดียว รวมทั้งผู้ชายที่คิดจะไปช่วยเหลือ หนองน้ าจึงกลายเป็น สถานที่ที่ไม่มีใครกล้าไป”

(จินตวีร์ วิวัธน์, 2558 ก: 168-170) จากตัวบทดังกล่าวพบว่า จินตวีร์ วิวัธน์น าเสนอให้แหล่งน้ าเป็นที่อยู่ของอมนุษย์

นอกจากนั้นยังน าเสนอพื้นที่ธรรมชาติด้านร้ายผ่านต านานหรือเรื่องเล่ามุขปาฐะ ซึ่งเป็นวิธีการที่เอื้อ ต่อการส่งเสริมให้หนองเงี้ยวค ามีความน่าสะพรึงกลัวมากขึ้นและเป็นลักษณะหนึ่งของนวนิยายแนว จินตนิมิตที่เชื่อมโยงความเหนือธรรมชาติกับต านานเพื่อช่วยถ่ายทอดองค์ประกอบเหนือจริงที่ผู้เขียน ได้สร้างขึ้น ภาพของหนองเงี้ยวค ายังถูกเชื่อมโยงกับความเชื่อเรื่องตัวตายตัวแทน

แหล่งน้ าที่น ามาวิเคราะห์ต่อมาคือ บึงพราย จาก นวนิยายเรื่อง วังพญาพราย บท ประพันธ์ของ พงศกร พื้นที่ดังกล่าวเป็นฉากส าคัญของเรื่อง พงศกรได้บรรยายข้อมูลของบึงพรายโดย วิธีการน าเสนอเรื่องเล่าเกี่ยวกับสถานที่ดังกล่าวแบบมุขปาฐะเกี่ยวกับการปรากฏตัวของวิญญาณของ คนที่จมลงไปใต้น้ า

ธรรมชาติโดยรอบบึงพรายยังคงรกเรื้อเหมือนที่เคยเป็นมาเมื่อหลายร้อย ปีก่อน ด้วยบึงพรายเป็นบึงน้ าที่มีต านานเล่าขานเกี่ยวกับพรายน้ ามานานนักหนา ล้วนแล้วแต่เป็นไปในทางที่น่าหวาดกลัวจนทุกคนในหมู่บ้านไม่ปรารถนาจะย่าง กรายเข้าใกล้ หากไม่มีความจ าเป็นอะไร [...] ไม่เพียงแต่เรื่องเล่าเท่านั้น หากในวัน พระจันทร์เพ็ญ บางครั้ง ชาวบ้านในหมู่บ้านจะได้ยินเสียงดนตรีไทยเดิมบรรเลงลอย ตามลม โดยมีทิศทางมาจากทางบึงนั่นเอง บางครั้งคนที่ใจกล้าแอบไปหาปลาในบึง ก็เคยเล่าว่าเหมือนมีใครคอยกระตุกสายเบ็ดอยู่ใต้น้ า

(พงศกร, 2557 ค: 23)

170 บึงพรายถูกท าให้น่าสะพรึงกลัวผ่านเรื่องเล่ามุขปาฐะ หรือเป็นการสร้างภาพแทน ธรรมชาติด้านร้ายผ่านต านานนั่นเอง ความน่าสะพรึงกลัวยังถูกถ่ายทอดผ่านสัญญะของสีน้ าในแหล่ง น้ า เรื่องเล่าที่เล่าสืบต่อกันมาแสดงให้เห็นวิญญาณใต้น้ าที่ไม่มีใครทราบว่าเป็นใคร ความลึกลับยัง แสดงให้เห็นผ่านการเป็นพื้นที่ปิด รัฐไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ แสดงให้เห็นว่าธรรมชาติบาง ประการอยู่นอกเหนือการจัดระเบียบของอ านาจรัฐ “เคยมีหน่วยงานราชการหลายหน่วย เคย พยายามจะมาตรวจสอบว่าใต้บึงพราย มีโบราณสถานจมอยู่จริงอย่างที่เล่าลือหรือไม่ หากก็ไม่เคยมี

หน่วยงานไหนประสบความส าเร็จ” (พงศกร, 2557 ค: 23) นั่นสามารถตีความได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่

ของธรรมชาติเกินกว่าที่ระบบสังคมมนุษย์จะเข้าไปตรวจสอบทุกพื้นที่ของธรรมชาติได้

หนองสาง ในนวนิยายเรื่อง อาศรมสาง บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ ผู้เขียน บรรยายให้มีลักษณะทางกายภาพที่คล้ายกับการหายใจของสิ่งมีชีวิต

เนื้อโคลนเป็นเมือกลื่นสีด าอมเขียวมันวับเหลือบเป็นประกายเหมือนเจือ ด้วยฟอสฟอรัสยังคงกระเพื่อมอยู่เนิบช้าตามปกติวิสัยของมัน

นับว่าเป็น ‘ปกติวิสัย’ ของหนองสาง

ที่ไม่ปกติเป็นอย่างยิ่งในสายตาของผู้คนซึ่งไม่คุ้นเคยกับมัน

อาการเคลื่อนไหวขึ้นลงเนิบช้าจนกระทั่งชาวบ้านสมัยก่อนเข้าใจว่า เป็นการหายใจของ ‘สาง’ ตัวที่หลับสนิทอยู่ใต้ก้นหนองนั้น...

(จินตวีร์ วิวัธน์, 2530: 942) หนองสาง เป็นบึงโคลนขนาดใหญ่ จินตวีร์ วิวัธน์อุปลักษณ์ให้เทียบเคียงกับผีที่

หายใจ พื้นที่ธรรมชาติจึงถูกอุปลักษณ์ให้เป็น 2 สิ่งที่ขัดแย้งกัน ด้านหนึ่งหนองสางถูกเปรียบกับผี

(สาง) อีกด้านหนึ่งถูกเปรียบกับสิ่งมีชีวิต (การหายใจ) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นความลักลั่นระหว่างการ มีชีวิต (การหายใจ) และการไม่มีชีวิต (ผีสาง) การอุปลักษณ์ดังกล่าวนี้เองที่ท าให้บึงโคลนดังกล่าวมี

ความน่าหวาดกลัวแก่ชาวบ้าน ท าให้ชาวบ้านไม่กล้าเข้าไปใกล้บริเวณเหล่านั้น การน าเสนอภาพของ หนองสางยามค่ าคืน จินตวีร์ วิวัธน์ ให้ภาพของความน่าสะพรึงกลัวรอบ ๆ บริเวณหนอง “แมกไม้ริม ขอบหนองสางเป็นเงาคะคุ่มทะมึนอยู่ท่ามกลางแสงจันทร์กระจ่างแต่ละพุ่มแต่ละกอมีรูปทรงแตกต่าง กันไป ทว่า ล้วนแล้วไปด้วยความทะมึนน่าสะพรึงกลัวราวกับอสุรกายจ าแลง คอยจ้องจังก้าจะท าร้าย หล่อนอยู่รอบหนองวิปริต” (จินตวีร์ วิวัธน์, 2530: 1127) การบรรยายโดยเชื่อมโยงกับอสุรกาย แสดง ถึงความเป็นจินตนิมิต