• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดการประกอบสร้างความจริงทางสังคม

บทที่ 2

2.1.4 แนวคิดการประกอบสร้างความจริงทางสังคม

แนวคิดที่ส าคัญอีกแนวคิดหนึ่งในการศึกษาธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตคือ แนวคิดการประกอบสร้างความจริงทางสังคม ฮอลล์ (Hall, 1997: 5-6) อธิบายว่า ความเป็นจริงเป็น สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาได้ภายใต้กระบวนการทางสังคมดังนั้นจึงไม่สนใจว่าในโลกทางกายภาพจะมี

ข้อเท็จจริงเช่นนั้นอยู่หรือไม่แต่เราก็สามารถสร้างความเป็นจริงให้เกิดขึ้นได้ การประกอบสร้างความ เป็นจริงทางสังคมเริ่มต้นที่ส านักปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งวิพากษ์แนวคิดและวิธีการของปฏิฐานนิยมที่

เชื่อว่าความรู้ได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่นและเป็นสิ่งที่ด ารงอยู่อย่างมั่นคง ส านักปรากฏการณ์นิยม กลับเชื่อว่า ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดจากผู้อื่นและสังคมเป็นความรู้ที่ไม่ได้รับรู้โดยตรง มนุษย์ควร รับรู้โลกและสังคมด้วยตนเอง และเมื่อมนุษย์มีประสบการณ์โดยตรงก็จะให้ความหมายกับสิ่งเหล่านั้น ตามการรับรู้ของตนเอง

เช่นเดียวกับสิริวัฒน์ มาเทศ (2553: 27-28 อ้างอิงจาก, Hall) ได้เสนอไว้อย่างน่าสนใจ ว่าความจริงนั้นเป็นเรื่องของความหมาย หรือที่เรียกว่า “การเมืองของการสร้างความหมาย” เป็นการ มองความจริงแบบการเมืองและมองว่าใครเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมา และถูกสร้างขึ้นมาจากหลาย ที่และบางครั้งอาจเกิดการปะทะสังสรรค์กันระหว่างความจริงแต่ละชุด ดังนั้นการรับรู้ความหมายของ มนุษย์กับสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นจ าเป็นต้องอาศัยสิ่งที่เป็นตัวแทนหรือสัญญะเพื่อให้เกิดการ อ่านความหมายของสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้นได้ การรับรู้และการอ่านความหมายจึงไม่จ าเป็นต้อง สัมผัสจากโลกความเป็นจริงโดยตรง แต่อาจรับรู้จากสิ่งที่เป็นตัวแทน

ในท านองเดียวกัน สุภางค์ จันทวานิช (2555: 116-122) สรุปว่าปรากฏการณ์หมายถึง สิ่งที่มนุษย์รับรู้ ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่ด ารงอยู่ ประเด็นนี้สุภางค์ได้สรุปค ากล่าวของเอ็ดมุนส์ ฮุสเซิร์ล (Edmund Husserl) ที่อธิบายเพิ่มเติมว่า ปรากฏการณ์มี 2 ความหมายนั่นคือ สิ่งที่ถูกรับรู้และสิ่งที่

พิเศษ เหนือปกติธรรมดา โดยความหมายที่สองนี้คือการตีความสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เขาเชื่อว่า ประสบการณ์หรือความรู้เกี่ยวกับทุกสิ่งในโลกเป็นสิ่งที่จิตส านึกสร้างขึ้น มนุษย์จึงสร้างความรู้เกี่ยวกับ

29 ความจริงทางสังคมขึ้นมา โดยที่องค์ประกอบหลักที่ท าให้เราเข้าใจระเบียบสังคมในชีวิตประจ าวันมี 3 อย่างได้แก่ 1) สามัญส านึก (Common Sense) คือความรู้ที่สะสมไว้เกี่ยวกับการตีความและกระท า ตามแบบของตัวเรา 2) การจัดประเภท (Typification) คือการจัดแบ่งสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นประเภทตาม ประสบการณ์ของเรา รวมทั้งการจัดแบบแผนการใช้ชีวิต 3) ภาวะตอบสนองกัน (Reciprocity) คือ การคาดคะเนว่าคนอื่นรับรู้โลกทางสังคมเช่นเดียวกับที่เรารู้ องค์ประกอบสามส่วนนี้เป็นตัวก าหนด ระเบียบในชีวิตประจ าวันท าให้เกิดโลกแห่งสามัญส านึกที่ผู้คนรับรู้ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มนุษย์ไม่

สามารถรับรู้ความจริงของโลกทางกายภาพโดยตรง แต่จะรับรู้ได้ผ่านตัวกลางคือประสาทสัมผัสและ กระบวนการรับรู้ทางจิตของมนุษย์ซึ่งถูกหล่อหลอมโดยกระบวนการทางสังคม เขาได้แบ่งโลกเป็น 2 ส่วน คือ โลกแห่งความจริง (World of Reality) และโลกแห่งความหมาย (World of Meaning) โลกแห่งความจริงเราสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส แต่โลกนี้ยังไม่มีการให้ความหมายใด ๆ กับสิ่งที่พบ เจอ ความหมายจะเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ได้ก าหนดความรู้เรื่องหนึ่งขึ้นจนเกิดเป็นคลังความรู้ (Stock of Knowledge) ซึ่งท าให้มนุษย์ก าหนดท่าทีหรือการรับรู้ต่อสิ่งนั้น ๆ จนกลายเป็นการสร้างความจริง ขึ้นมาใหม่หรือเรียกว่าความจริงทางสังคมในที่สุด

นอกจากนี้กาญจนา แก้วเทพ (2544: 238) สรุปการสร้างความเป็นจริงทางสังคมจากค า กล่าวของชูทส์ (Schutz) ไว้ว่า ชีวิตประจ าวันไม่ได้เป็นโลกส่วนตัวของเราแต่เป็นอัตวิสัยร่วมที่เกิดขึ้น ตั้งแต่แรกและเราสามารถร่วมรับรู้กับคนในสังคมที่เราอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ละคนมีประสบการณ์ต่อ สิ่งต่าง ๆ แตกต่างกันออกไป จึงท าให้การตีความหมายให้สรรพสิ่งแตกต่างกันด้วย การที่เราพบว่าเรา อยู่ในโลกในช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นเพียงขอบเขตเล็ก ๆ ที่เราสร้างขึ้นมา นั่นแสดงให้เห็นว่าการ ตีความหมายให้กับสิ่งต่าง ๆ เกิดจากการสื่อสารที่เรามีต่อคนอื่น ๆ ดังนั้นโลกที่แวดล้อมตัวเราจึงมี 2 โลก คือ โลกทางกายภาพ (Physical World) ได้แก่ วัตถุสิ่งของ ตัวบุคคล บรรยากาศ โดยโลกทาง กายภาพเป็นโลกที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และโลกทางสังคม (Social World) หรือเรียกว่าโลกเชิง สัญลักษณ์ (Symbolic Environment) หรือโลกความเป็นจริงทางสังคม (Social Reality) ซึ่งเกิดจาก กระบวนการท างานของสถาบันต่าง ๆ ในสังคม โดยโลกทางกายภาพนั้นเป็นโลกที่อยู่ห่างไกลการ เข้าถึงของมนุษย์ มีความซับซ้อนเข้าใจยาก ท าให้โลกแห่งความเป็นจริงไม่มีความหมายในตัวเอง จนกระทั่งมนุษย์ได้ท าความเข้าใจโดยผ่าน “ตัวกลาง” จึงจะเกิดความหมายขึ้น

ประเด็นเพิ่มเติมคือวิทยา พานิชล้อเจริญ (2534: 15 อ้างอิงจาก Adoni & Mane) อธิบายถึงความจริงที่แตกต่างจากแนวคิดที่กล่าวมา นั่นคือ การแบ่งความจริงออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1) Objective Social Reality หรือความจริงที่เราสัมผัสด้วยประสบการณ์ ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ความเป็นจริงประเภทนี้เกิดจากการที่มนุษย์ได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสประสบการณ์ต่าง ๆ และเกิดการ เรียนรู้หรือให้ความหมายต่อปรากฏการณ์นั้น ๆ ด้วยตนเอง 2) Symbol Social Reality หรือความ จริงที่ถูกแสดงออกมาในรูปสัญลักษณ์ เนื่องจากมนุษย์ทุกคนไม่สามารถพบเจอเหตุการณ์ทุกอย่างใน

30 โลกนี้ผ่านประสบการณ์ตรง การที่มนุษย์จะรู้จักหรือท าความเข้าใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือ ประสบการณ์ตรงจึงจ าเป็นต้องอาศัยประสบการณ์จากสื่อซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบภาษาและ สัญลักษณ์ เพื่อการสร้างความหมายของปรากฏการณ์เหล่านั้นในคลังความรู้ทางสังคมของตนเอง 3) Subjective Social Reality หรือความจริงที่เกิดขึ้นจากตัวผู้มอง เป็นความจริงแบบ Objective และ Symbol ความจริงประเภทนี้ถูกน าเสนอในรูปแบบสัญลักษณ์และน าไปสู่จิตส านึกของแต่ละ บุคคล โดยเกิดจากการที่มนุษย์น าเอาความจริง 2 แบบข้างต้นมาผสมผสานและสร้างความหมายของ เหตุการณ์ขึ้นในคลังความรู้ทางสังคมของตนเอง อาจมีลักษณะที่สอดคล้องหรือแตกต่างออกไปจาก ความเป็นจริงต้นฉบับที่น ามาใช้

อนึ่ง จิรวรา อุษยากุล (2536: 14) ยังเสนอถึงการให้ค าจ ากัดความของ “ความรู้” ใน เชิงสังคมวิทยาของเบอร์เกอร์และลัคแมนไว้ว่า ความรู้หมายถึงวิธีการที่มนุษย์จัดระบบแบบแผนให้กับ ประสบการณ์ที่ได้พบเห็นในแต่ละวันในสังคมโลก ส่วนทางด้านการสื่อสารนั้น ความรู้มีที่มาจาก 2 แหล่งด้วยกัน แหล่งแรกคือความรู้ที่มาจากประสบการณ์ตรง คือสิ่งที่เราพบเจอในชีวิตประจ าวัน แหล่งที่สองคือความรู้จากสื่อนั่นคือสื่อมวลชนน าเสนอภาพให้เราได้สัมผัส

ประเด็นความหมายของความรู้และความจริงนั้น บงกช เศวตตามร์ (2533: 14) ได้อธิบายไว้อย่างน่าสนใจว่า โลกแห่งความหมายและโลกแห่งความรู้มีความสัมพันธ์กัน นั่นคือโลก แห่งความหมายเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เรารับรู้จากโลกแห่งความจริง แล้วน ามาสร้างขึ้นเป็นคลังแห่ง ความรู้ คลังแห่งความรู้นี้เองจะช่วยจัดระบบทุกอย่างในโลก และตีความรูปธรรมใหม่ ๆ ประสบการณ์

ใหม่ ๆ ให้กับมนุษย์อีกด้วย และค ากล่าวที่ว่ามนุษย์สร้างความจริงขึ้นมานั้นก็คือความเป็นจริงทาง สังคมนั่นเอง

ในมุมมองความหมายของความจริงในทางสื่อสารมวลชนพบว่า ศรัณย์ รักสัตย์มั่น (2547: 23-26) ได้อธิบายถึงการประกอบสร้างความเป็นจริงทางสังคมอย่างละเอียดว่า แนวคิดการ สร้างความจริงทางสังคมมีอยู่ 3 ชุดความคิดคือ ชุดความคิดทางภาษาศาสตร์ ชุดความคิดทาง ปรากฏการณ์นิยม และชุดความจริงทางสื่อสารมวลชน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1) ชุดความจริงทางภาษาศาสตร์ แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความเป็นจริงจากการ นิยามตามหลักภาษาศาสตร์เชื่อว่าความหมายหรือความจริงต่างๆ ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

และรอการค้นพบจากมนุษย์ แต่ความจริงในเรื่องราวต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมหรือโลกแห่งความหมายที่

แวดล้อมตัวมนุษย์อยู่นั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เกิดจากการประกอบสร้างของมนุษย์โดยอาศัยระบบ ภาษาและสัญลักษณ์ การที่ความเป็นจริงต่าง ๆ จะก่อตัวขึ้นในสังคมได้ไม่เพียงแค่ความเป็นจริงจะถูก ประกอบสร้างขึ้นเท่านั้นแต่จ าเป็นต้องได้รับการถ่ายทอดและการรับรู้ความหมายจากผู้คนในสังคมอีก ด้วย กระบวนการถ่ายทอดและรับรู้ความหมายของความจริงที่ถูกสร้างขึ้นสามารถพิจารณาได้จาก แนวคิดการเข้ารหัสและการถอดรหัสนั่นคือ ในกระบวนการถ่ายทอดความหมายหรือความเป็นจริง

31 ผู้ส่งสารจะใส่รหัสความหมายในรูปของภาษาและสัญลักษณ์ลงในสารที่จะส่งออกไปเพื่อให้ผู้รับสารท า การถอดรหัสและรับรู้ความหมายที่ซ่อนอยู่ในเนื้อหาของสารเหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตามระบบรหัสของ ผู้ส่งสารไม่จ าเป็นต้องมีความสอดคล้องหรือเป็นระบบรหัสชุดเดียวกันเสมอไป เนื่องจากแต่ละฝ่าย อาจมีจุดยืนทางความคิดที่เกิดจากบริบททางสังคมแตกต่างกัน ดังนั้นผลลัพธ์จากการถอดรหัส ความหมายของผู้รับสารจึงสามารถเกิดขึ้นในสามลักษณะคือ ลักษณะแรก Preferred Reading คือ ผลการถอดรหัสซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับสารยอมรับหรือถอดรหัสที่สอดคล้องกับความหมายหรือความ เป็นจริงที่ถูกสร้างขึ้น เนื่องจากผู้รับสารมีจุดยืนทางความคิดที่สอดคล้องกับความหมายหรือความเป็น จริงเหล่านั้น ลักษณะที่สอง Oppositional Reading คือ ผลการถอดรหัสซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับสาร ปฏิเสธหรือถอดรหัสที่แตกต่างออกไปจากความหมายหรือความเป็นจริงที่ผู้ส่งสารสร้างขึ้น เนื่องจาก ผู้รับสารมีจุดยืนทางความคิดที่แตกต่างจากความหมายหรือความจริงเหล่านั้น ลักษณะสุดท้าย Alternative Reading หรือ Negotiated Reading คือ ผลการถอดรหัสซึ่งเกิดจากการที่ผู้รับสารท า การต่อรองกับความหมายหรือความเป็นจริงที่ถูกสร้างขึ้นในลักษณะการวางเงื่อนไขส าหรับ การยอมรับหรือปฏิเสธความจริงดังกล่าว เนื่องจากผู้รับสารไม่ได้มีจุดยืนทางความคิดสอดคล้องหรือ แตกต่างออกไปจากความหมายหรือความเป็นจริงที่ถูกน าเสนออย่างชัดเจน

2) ชุดความจริงทางปรากฏการณ์นิยม ค าอธิบายเรื่องการสร้างความเป็นจริงตามชุด ความคิดของปรากฏการณ์นิยมเชื่อว่าการที่มนุษย์สามารถเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว รวมทั้งตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่พบเจอได้อย่างอัตโนมัติ โดยไม่ต้องหยุดตั้งค าถามถึงความหมายของ เหตุการณ์เหล่านั้นเนื่องจากมนุษย์มีคลังความรู้ทางสังคมอยู่ก่อนแล้วซึ่งเกิดจากการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลที่ได้รับผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมในอดีตจนกลายเป็นความจริงทางสังคมที่สามารถน ามาใช้

เพื่อความเข้าใจความหมายของปรากฏการณ์ต่าง ๆ

3) ชุดความจริงทางสื่อสารมวลชน ค าอธิบายเรื่องการสร้างความเป็นจริงทางสังคม ตามชุดความคิดของแนวคิดทางสื่อมวลชนเชื่อว่า สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีอ านาจในการจัดวาง โครงสร้างความเป็นจริงเรื่องต่าง ๆ ให้แก่สังคม ข่าวสารหรือความเป็นจริงที่ถูกเผยแพร่จากสื่อมวลชน จะเกิดการสั่งสมจนกลายเป็นโลกแห่งความหมายที่สามารถห่อหุ้มผู้คนในสังคมให้มีโครงสร้าง เช่นเดียวกับความจริงที่สื่อมวลชนได้น าเสนอ เช่นเดียวกับกลุ่มทฤษฎีวัฒนธรรมศึกษาเชื่อว่า สื่อมวลชนเป็นแหล่งก าเนิดและสร้างสรรค์วัฒนธรรมของสังคม

ในด้านการประกอบสร้างความจริงเรื่องธรรมชาติในวรรณกรรม นักวิชาการหลายคน เสนอว่า ธรรมชาติเป็นวาทกรรมรูปแบบหนึ่งที่ได้รับการประกอบสร้างขึ้นในตัวบท ดังที่ดารินทร์

ประดิษฐ์ทัศนีย์ (2559: 292-293) สรุปค ากล่าวของแฮนนิกัน (Hannigan) ว่าความรู้และภัยเกี่ยวกับ ธรรมชาติไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงทางกายภาพ แต่เป็นผลผลิตของการให้ค าจ ากัดความและการประกอบ สร้างทางสังคม แฮนนิกันกล่าวว่าการประกอบสร้างมีความสัมพันธ์กับวาทกรรม โดยเขาอธิบายค าว่า