• Tidak ada hasil yang ditemukan

งานวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติในวรรณกรรมในประเทศไทย

บทที่ 2

2.2.2 งานวิจัยเกี่ยวกับธรรมชาติในวรรณกรรมในประเทศไทย

การศึกษาธรรมชาติปรากฏในการศึกษาวรรณกรรมมาอย่างต่อเนื่องและในตัวบทที่

หลากหลายทั้งวรรณคดี กวีนิพนธ์ วรรณกรรมร่วมสมัย และขยายวงกว้างไปยังสื่อภาพยนตร์ มีทั้ง การศึกษาในเชิงคุณค่าหรือบทบาทของธรรมชาติในวรรณกรรม ศึกษาในฐานะภาพสะท้อนสังคมว่า ธรรมชาติสะท้อนให้เห็นอะไร ไปจนถึงการศึกษาธรรมชาติในมุมมองหลังสมัยใหม่ซึ่งมองว่าธรรมชาติ

เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้นทางสังคม โดยผู้วิจัยขอสังเคราะห์รายละเอียดดังนี้

การศึกษาธรรมชาติในแง่ของบทบาทในวรรณกรรมปรากฏเช่นในงานของวัชราภรณ์

อาจหาญ (2547: 105-117) ซึ่งเขียนบทความเรื่อง บทพรรณนาธรรมชาติในวรรณคดีไทย: ความจริง ความสมจริง และความงามทางวรรณศิลป์ วัชราภรณ์วิเคราะห์ว่าธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งของวรรณคดี

ไทยในฐานะแก่นเรื่อง แต่ธรรมชาติคือความจริงที่เกิดขึ้นเองตามวิสัยของโลก กวีจึงต้องมีวิธีน าความ จริงมาปรากฏในโลกวรรณคดีซี่งเป็นเรื่องจินตนาการ ดังนั้นจึงต้องหลอมรวมความจริงกับความลวง เข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้เกิดความสมจริงที่ผู้อ่านยอมรับได้โดยค านึงถึงความงามทางวรรณศิลป์ วัชราภรณ์

แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1) พรรณนาธรรมชาติที่มุ่งแสดงความเป็นจริงของธรรมชาติ

มีลักษณะการเขียนที่มุ่งเอาความเป็นจริงของลักษณะธรรมชาติเป็นส าคัญ 2) พรรณนาธรรมชาติโดย มุ่งถ่ายทอดอารมณ์ ไม่เน้นความสมจริงของสภาพธรรมชาติแต่ธรรมชาติจะแปรเปลี่ยนไปตามอารมณ์

ของกวี 3) พรรณนาธรรมชาติโดยมุ่งแสดงความงามทางวรรณศิลป์ การพรรณนาเช่นนี้ไม่เน้นความ สมจริงและไม่แต่งตามอารมณ์ของกวีแต่จะสรรหาถ้อยค าเกี่ยวกับธรรมชาติให้มีการสัมผัสคล้องจอง น าไปสู่ความงดงามทางวรรณศิลป์

นอกจากนั้นยังมีงานของกอบกาญจน์ ภิญโญมารค (2554) ศึกษาธรรมชาติในกวีนิพนธ์

ในงานวิทยานิพนธ์เรื่อง ธรรมชาติในกวีนิพนธ์ไทยร่วมสมัย ซึ่งได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขา ปรัชญา ผลงานของกอบกาญจน์ชี้ให้เห็นถึงความสามารถทางการใช้วรรณศิลป์ของกวีกลุ่มตัวอย่างที่

เลือกมาศึกษา กวียังคงสืบทอดขนบในการแต่งค าประพันธ์โดยผสานการประพันธ์แบบใหม่เพื่อ น าเสนอเนื้อหาให้มีความน่าสนใจโดยการใช้สัญลักษณ์ทางธรรมชาติเพื่อสื่อความหมาย ที่น่าสนใจคือ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าธรรมชาติในบทกวีมิได้เป็นเพียงฉากแต่ยังมีบทบาทเป็นตัวแทนสัญญะแทน อารมณ์ของมนุษย์ นอกจากนั้นธรรมชาติยังเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นความเกื้อกูลที่มีต่อมวลมนุษย์และ เป็นเหมือนผู้สอนให้รู้แจ้งถึงสัจธรรมชีวิต

เช่นเดียวกับงานของนิตยา แก้วคัลนา (2557) ได้ศึกษา บทพรรณนาธรรมชาติใน วรรณคดีไทย: ลีลา ความคิด และการสืบสรรค์ ที่มีประเด็นที่ศึกษาเกี่ยวกับการพรรณนาถึงธรรมชาติ

พบว่าการกล่าวถึงธรรมชาติได้บ่งชี้ความรู้สึกของกวีที่มีต่อธรรมชาติ ทั้งในแง่การสื่อความและการใช้

39 ธรรมชาติเป็นวัสดุภาวะทางอารมณ์และความคิด ซึ่งการพรรณนาถึงธรรมชาตินั้นมีนัยบ่งบอกถึง ความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติคือ มนุษย์มีธรรมชาติเป็นผู้ก ากับชีวิตให้ด ารงอยู่ในคุณธรรม เห็นได้จากเนื้อหาของบทประพันธ์ที่บรรยายว่าหากมนุษย์ด ารงสถานะอย่างมีจริยธรรมสภาวะ ธรรมชาติจะเป็นปกติ หากไม่แล้วธรรมชาติจะแปรปรวนและท าลายล้างมนุษย์ นอกจากนั้นธรรมชาติ

ยังมีอิทธิพลต่อการประพันธ์ นั่นคือเป็นฉากส าคัญของเรื่อง ทั้งฉากท้องเรื่อง ฉากผสานอารมณ์และ ฉากเตือนใจ อีกทั้งยังใช้ธรรมชาติมาแสดงให้เห็นถึงสัจธรรมชีวิตตามหลักพุทธศาสนา ที่ส าคัญบทกวี

ยังได้ชี้ให้เห็นถึงวิกฤติธรรมชาติและผลกระทบที่มีต่อมนุษย์

ส่วนประเด็นการศึกษาธรรมชาติในด้านการพรรณนาธรรมชาติที่สอดคล้องกับอารมณ์

ของกวีหรือตัวละคร ดังตัวอย่างผลงานของกิตติศักดิ์ หารดี (2542) ท าวิทยานิพนธ์เรื่อง กลวิธีการ เสนอมุมมองเกี่ยวกับธรรมชาติของกวีในวรรณกรรมนิราศสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่

3) ผลการศึกษาท าให้เห็นว่ากวีใช้ธรรมชาติและสิ่งเหนือธรรมชาติมาแสดงอารมณ์ โดยเฉพาะอารมณ์

รัก อีกทั้งยังน าธรรมชาติมาเปรียบกับคนรัก ซึ่งเป็นขนบของนิราศ สอดคล้องกับในงานของ วันชนะ ทองค าเภา (2554: 244) วิเคราะห์ถึงการใช้ฉากธรรมชาติในการสร้างภาพแทนของตัวละครกษัตริย์ใน วิทยานิพนธ์เรื่อง ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรม วันชนะได้อธิบายว่า การพรรณนาธรรมชาติในวรรณกรรมไทยมีความสัมพันธ์กับอารมณ์ของตัวละคร ที่ส าคัญฉากยังมี

ความเป็นพลวัตโดยขึ้นอยู่กับการตีความของตัวละคร พื้นที่เดียวกันแต่หากอารมณ์ของตัวละคร แตกต่างกันอาจให้ความหมายแตกต่างกันได้

ประเด็นต่อมามีการศึกษาความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ และการตระหนักถึง คุณค่าธรรมชาติ ซึ่งสุรางค์ แพรกทอง (2536) ได้ท าวิทยานิพนธ์เรื่อง การวิเคราะห์วรรณกรรม เยาวชนของ มาลา ค าจันทร์ สุรางค์เลือกนวนิยายที่น าเสนอความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ

นั่นคือการสร้างให้ตัวละครมีอาชีพเกษตรกรรม ด ารงชีพด้วยการเก็บของป่า มีการตระหนักถึงคุณค่า ของธรรมชาติ และน าเสนอธรรมชาติในด้านที่มีอ านาจน่าเกรงขาม เช่น เขี้ยวเสือไฟมาจากเสือป่า ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเครื่องรางของขลัง งานวิจัยเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าวรรณกรรมเยาวชนปลูกฝัง จริยธรรมและหลักการด าเนินชีวิตให้กับเด็ก ๆ คุณธรรมหนึ่งในนั้นคือการตระหนักถึงคุณค่าของ ธรรมชาติ

งานศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมเยาวชนในประเด็นเรื่องการอนุรักษ์ยังปรากฏใน การวิเคราะห์วรรณกรรมเยาวชนประเภทบันเทิงคดี แนวอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของ ถวัลย์ พึ่งเงิน (2537) ผลการศึกษาพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นโดยมนุษย์ โดยปัญหาเหล่านี้

ถูกคลี่คลายลงในตอนจบ ตัวละครในวรรณกรรมมีทั้งตัวละครสมจริงและตัวละครเหนือจริง เช่นเดียวกับฉากที่มีทั้งฉากสถานที่ที่จริงและฉากอุดมคติ ท้ายสุดแล้วถวัลย์เสนอว่าวรรณกรรม เยาวชนแนวดังกล่าวต้องการปลูกฝังการอนุรักษ์ธรรมชาติแก่เยาวชนผ่านวรรณกรรม

40 ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติยังปรากฏในบทความของ ธัญญา สังขพันธานนท์ (2558: 64-90) เรื่อง มาตุคามส านึกและการโหยหาอดีตในกวีนิพนธ์ของ เรวัตร์ พันธุ์

พิพัฒน์ บทความเรื่องนี้อธิบายให้เห็นถึงการประกอบสร้างความหมายเรื่องการส านึกในถิ่นที่และการ โหยหาสถานที่ ธัญญาชี้ให้เห็นว่าการส านึกในบ้านเกิดและการโหยหาถิ่นก าเนิดนั้นน าเสนอผ่าน ธรรมชาติ ข้าวของเครื่องใช้ และวิถีการด าเนินชีวิตในชนบท ที่น่าสนใจคือในกวีนิพนธ์สามารถ ถอดรหัสความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติได้ว่าธรรมชาติเป็นมารดาผู้โอบอุ้ม โดยสร้างภาพ เมืองกับชนบทให้มีลักษณะตรงข้ามกัน สุดท้ายแล้วธัญญาต้องการเสนอให้เห็นว่าการใช้ชีวิตใกล้ชิด ธรรมชาติจึงเป็นวิถีที่ท าให้มนุษย์ปลอดภัยและสงบงดงาม

จากที่กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า เห็นได้ว่าวรรณกรรมเกี่ยวกับธรรมชาติคือตัวแทนของ บันทึกเรื่องราวของสิ่งแวดล้อม ดังในงานของกุลวดี มกราภิรมย์ (2558: 7-26) เขียนบทความเรื่อง 72 ปี มก. ผู้ใหญ่ลีกับนางมาและศาสตร์แห่งแผ่นดิน โดยมองว่านวนิยายเรื่อง ผู้ใหญ่ลีกับนางมา เป็น บันทึกความทรงจ าของสังคมการเปลี่ยนแปลงทางการพัฒนาด้านการเกษตรของไทย กุลวดีเชื่อมโยง ตัวบทกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยในนวนิยายได้กล่าวถึงมหาวิทยาลัยในฐานะเป็นสถานที่

ฝึกอบรมทางการเกษตร โดยชี้ให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นสถานที่บ่มเพาะศาสตร์แห่ง แผ่นดิน นอกจากนั้นนวนิยายยังได้บ่มเพาะความรู้เกี่ยวกับการการเกษตรมากมาย เช่น การลงแขก การขอฝน เป็นต้น โดยสรุปแล้วนวนิยายเรื่องนี้เป็นเหมือนตัวแทนต าราการเกษตรที่ปูพื้นฐานความรู้

เกี่ยวกับศาสตร์ของกสิกรรมเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป

การศึกษาธรรมชาติในด้านการน าเสนอความเสื่อมโทรมของธรรมชาติอันเกิดจากมนุษย์ ยัง พบในงาน กายพ่ายพิษ: ร่างกาย ตัวตน สังคม และมลภาวะใน Body Toxic: Am Environmental Menmoir ของ ซูซาน แอนโทเนตตา ซึ่งดารินทร์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ (2558: 287-332) ได้น าเสนอ บทความเรื่องนี้ที่เป็นการศึกษาการน าเสนอพิษภัยของสารเคมีที่มีต่อธรรมชาติและมนุษย์จากงาน เขียนแนวชีวประวัติ โดยชี้ให้เห็นว่าตัวบทเชื่อมโยงร่างกายมนุษย์เข้ากับสิ่งแวดล้อมและสร้างภาพเกิน จริงให้กับธรรมชาติที่ได้รับผลจากสารเคมี นอกจากนั้นยังเชื่อมโยงปัญหาสิ่งแวดล้อมกับประเด็นเรื่อง ชนชั้น

ประเด็นเกี่ยวกับปัญหาธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนยังปรากฏในงานของ มานิตย์ โศกค้อ (2557: 31-52) ในบทความ วาทกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการต่อสู้และ การต่อรองเชิงอ านาจ: กรณีศึกษากลอนล าของวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ บทความเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่ากลอนล า ของอีสานได้น าพื้นที่ทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาสร้างสรรค์บทกลอน ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือเนื้อหา กลอนล าได้โต้กลับวาทกรรมการพัฒนาที่ท าให้สังคมชนบทมีความเปลี่ยนแปลงไป กลอนล ายังท า หน้าที่เชื่อมร้อยความคิดการโหยหาบ้านเกิดและส านึกเชิงอนุรักษ์เพื่อให้คนอีสานกลับมาฟื้นฟูถิ่น ก าเนิดอีกด้วย