• Tidak ada hasil yang ditemukan

การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านสัตว์ประหลาด

ภาพแทนธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตของไทย

4.1 ภาพแทนธรรมชาติด้านร้าย

4.1.1.2 การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านสัตว์ประหลาด

สัตว์ประหลาดหมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะใหญ่โต แปลกประหลาด มหัศจรรย์

เป็นส่วนผสมของมนุษย์และสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ หรืออาจเป็นสัตว์หลายสายพันธุ์ผสมอยู่ในตัวเดียว รูปลักษณ์สื่อถึงความชั่วร้าย บางชนิดมีคุณลักษณะคล้ายมนุษย์แต่บางชนิดมีคุณสมบัติค่อนไปทาง สัตว์ (ธิดารัตน์ ปานบ ารุง, 2556: 9-10) หากพิจารณาในบริบทของนวนิยายแนวจินตนิมิตแล้ว สัตว์ใน ตัวบทมีคุณสมบัติที่พิลึกพิลั่น เช่น มีร่างกายใหญ่กว่าปกติ หรือสามารถใช้ภาษาในการพูดคุยกับ มนุษย์ได้ แต่ผู้วิจัยไม่จัดว่าเป็นสัตว์ประหลาด โดยในวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้นิยามสัตว์ประหลาดให้

แตกต่างจากสัตว์โดยน าเอาสายพันธุ์เป็นเกณฑ์ นั่นคือสัตว์ประหลาด หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วย สายพันธุ์มากกว่าหนึ่งสายพันธุ์ขึ้นไป และมีลักษณะน่ารังเกียจน่าขยะแขยง สัตว์ประหลาดยังนิยามไป ถึงอสุรกายที่มีรูปลักษณ์น่ารังเกียจ สัตว์ประหลาดเป็นตัวละครที่เป็นลักษณะส าคัญของนวนิยายแนว จินตนิมิต นั่นคืออุดมไปด้วยจินตนาการและการสร้างความแปลกประหลาดให้ล้นเกิน

อันเทอร์ทัวเนอร์ และ โวก์ท (Unterthurner & Vogt, 2012: 7) กล่าวว่า สัตว์

ประหลาดเป็นตัวละครที่อยู่ในเรื่องแนวลึกลับมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าสังคม จ าเป็นต้องมีสิ่งที่ชั่วร้าย ในหลายศตวรรษที่ผ่านมามีการแยกมนุษย์ออกจากสัตว์โดยนักวิทยาศาสตร์

119 แต่ถึงกระนั้น องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ไม่สามารถจัดประเภทของสัตว์ประหลาดได้11 สัตว์

ประหลาดแม้ไม่ใช่ผี แต่เมื่อสัตว์ประหลาดเป็นผู้จ้องมองมนุษย์ ก็อาจท าให้มนุษย์ตกตะลึงไปชั่วขณะ นอกจากสัตว์สัตว์ประหลาดยังท าให้โครงสร้างทางสังคมหละหลวมแปรปรวน สัตว์ประหลาดน าเสนอ ความคิดเกี่ยวกับปัญหาแบบสมัยใหม่ ได้แก่ การจัดล าดับหรือการแยกประเภทแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ระเบียบวินัยที่เคยมีกลับวุ่นวาย ความปกติถูกลอกเปลือกออกกลายเป็นความไม่ปกติ และมนุษย์เริ่ม จะสยบยอมให้ความประหลาด นี่เป็นการน าเสนอความคิดที่มนุษย์มีต่อสัตว์ประหลาดโดยที่ไม่

เพียงแต่เป็นการท าให้เห็นถึงการต่อต้านเท่านั้น แต่มันยังเป็นการบังคับให้มีความรู้สึกบางอย่างต่อ สัตว์ประหลาด การวิเคราะห์สัตว์ประหลาดเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นความหลากหลายคุณสมบัติที่

มนุษย์ไม่อาจยอมรับได้ เมื่อพิจารณาบทความต่าง ๆ ที่วิเคราะห์เกี่ยวกับสัตว์ประหลาดหรือตัวตนที่

ประหลาดพบว่า เป็นการศึกษาที่บรรจบกันระหว่างศาสตร์ทางวรรณคดี จิตวิเคราะห์ และปรัชญา เฟร็ดแมน (Friedman, 1981: 1) กล่าวถึงสัตว์ประหลาดว่า แน่นอนว่าผู้คนทั้งหมด ไม่ใช่สัตว์ประหลาด ค าว่าสัตว์ประหลาดถูกอธิบายได้ก็ต่อเมื่อมีการปรากฏตัวของรูปลักษณ์ที่ผิดไป จากพวกเขา บางครั้งสัตว์ประหลาดถูกเรียกด้วยชื่อที่ประหลาด ๆบางครั้งนักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึง การวิเคราะห์สัตว์ประหลาดและสิ่งมหัศจรรย์อื่น ๆ ที่มีความเหนือจริงและเป็นชายขอบนั้น ถูกสร้าง ขึ้นมาจากการท าให้ตรงข้ามกับลักษณะในอุดมคติ ความมีเหตุผล และรสนิยมที่ดี (Daston & Park, 1998: 10)

เช่นเดียวกับคลาเซน12 (Clasen, 2012: 224) ที่เสนอว่าแนวคิดเชิงจิตวิทยาได้

อธิบายความประหลาดกับการน าเสนอสัตว์ประหลาดและมีความส าคัญต่อโครงสร้างสัตว์ประหลาดใน ฐานะตัวแทนของอันตรายจากความผิดปกติของธรรมชาติ นอกจากนั้นอรรถพล ปะมะโข (2558:

432 อ้างอิงจาก Graham, 2002: 53) ได้อธิบายถึงสัตว์ประหลาดไว้อย่างน่าสนใจว่าสัตว์ประหลาด ด ารงอยู่ในที่ที่ยากต่อการค้นพบและท าหน้าที่เป็นเสมือนผู้เฝ้าทางเข้า สัตว์ประหลาดปรากฏตัวใน ฐานะการเตือนต่อผู้บุกรุก ความน่าสะพรึงกลัวของสัตว์ประหลาดได้ขัดขวางไม่ให้ผู้คนบุกรุกได้

นอกจากนั้น ดาสตันและพาร์ค (Daston & Park, 1998: 173-201) ได้อธิบายไว้ว่า สัตว์ประหลาดสามารถเชื่อมโยงกับอารมณ์ 3 ลักษณะ ได้แก่ ด้านความกลัว (Horror) สัตว์ประหลาด ถูกเชื่อมโยงกับความพิลึกพิลั่นจนดูน่าสะพรึงกลัว ด้านความสนุกสนาน (Pleasure) ภาพของสัตว์

11 Monsters have long been objects of fascination and horror. In one sense, society needs monstrosity. The centuries-old separation of humans from animals upon which so much of the human sciences [Geisteswissenschaften] rest cannot survive without the monsters it perpetually conjures up only to dispel them all the more completely.

12 Psychology goes a long way toward explaning our fascination with made-up monsters and the underlying structure of monsters as unnatural dangerous agents.

120 ประหลาดถูกเชื่อมโยงกับความน่าตื่นเต้น และด้านความน่ารังเกียจ (Repugnance) สัตว์ประหลาด ถูกมองว่าเป็นความผิดพลาด

ในขณะที่โคเฮน13 (Cohen, 1996: 4) กล่าวว่าร่างกายของสัตว์ประหลาดได้รวมเอา ความกลัวความปรารถนา, ความกังวล, ความเหนือจริง (มีนัยของการก่อความไม่สงบ) การท าให้ชีวิต เป็นความแปลกประหลาดอย่างอิสระ กล่าวได้ว่าร่างกายที่ประหลาดคือวัฒธรรมบริสุทธิ์ (Pure Culture) โครงสร้างและการสร้างสัตว์ประหลาดนั้นด ารงอยู่ในฐานะการอ่านเท่านั้นเหมือนตัวอักษร หนึ่งในหน้ากระดาษ ตามความหมายเชิงนิรุกติศาสตร์ ค าว่า “monstrum” แปลได้ถึง “การเปิดเผย”

และ“การเตือน” นอกจากนั้นสัตว์ประหลาดเป็นสัญญะหลายประการนอกเหนือจากตัวมันเอง ซึ่งมี

นัยของการบังคับให้คนออกไปจากที่ตรงนั้นเสมอ

อาจกล่าวได้ว่า ตัวละครสัตว์ประหลาดเป็นตัวละครที่มีลักษณะเป็นจินตนิมิตอย่าง น่าสนใจ เพราะคุณสมบัติของความเป็นจินตนิมิตได้เอื้อให้ผู้ประพันธ์มีอิสระในการสร้างสรรค์และ ถ่ายทอดรูปกายของสัตว์ประหลาดได้อย่างเสรี นั่นหมายถึงผู้เขียนมีอิสระในการปลดปล่อยอุดมการณ์

ภาพแทน และวาทกรรมต่าง ๆ ที่ครอบง าในสังคมที่ผู้เขียนด ารงอยู่ นวนิยายแนวจินตนิมิตที่น าเสนอ ภาพของสัตว์ประหลาดมีดังนี้ ภูตพระจันทร์ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, สาปพิษฐาน บท ประพันธ์ของ หมอกมุงเมือง, วังพญาพราย บทประพันธ์ของ พงศกร, พรายพระกาฬ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, โสมสีเลือด บทประพันธ์ของ หมอกมุงเมือง, มิติหลง บทประพันธ์ของ หทัย ธรณี, มฤตยูเขียว บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, มนุษย์ชิ้นส่วน บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ และ อาศรมสาง บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ ตัวอย่างเช่น

สัตว์ประหลาดที่น่าสนใจคือสัตว์ประหลาดในบริบทของค าสาป หมายถึง กระบวนการเป็นสัตว์ประหลาดมีผลมาจากค าสาปแช่ง ได้แก่ ค้างคาวหน้ามนุษย์ ในนวนิยายเรื่อง ภูตพระจันทร์ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ สิงหราปาตีในร่างอสุรกาย และอสุรกายแห่งเกาะนกยูง ในนวนิยายเรื่อง สาปพิษฐาน บทประพันธ์ของ หมอกมุงเมือง โรม (มนุษย์) ในร่างสัตว์ประหลาด ในนวนิยายเรื่อง วังพญาพราย บทประพันธ์ของ พงศกร

ตัวอย่างแรก ค้างคาวหน้ามนุษย์ ใน ภูตพระจันทร์ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์

แท้จริงแล้วคือเจ้าทิพมาลา มารดาของเจ้าทิพดนัย พระเอกของเรื่อง ที่โดนค าสาปให้กลายเป็น ค้างคาวทุกคืนเพ็ญ อนุภาคการสาปให้มนุษย์กลายเป็นสัตว์ประหลาดเป็นอนุภาคที่พบได้ในนวนิยาย

13 The monster’s body quite literally incorporates fear, desire, anxiety, and fantasy (ataratic or incebdiary), giving them life and an uncanny indepencedence. The monsterous body is pure culture. A construction and a projection, the monster exist only to be read : the monstrum is etymologically “that which reveals,” “that which warns,” a glyph that seeks a hierophant. Like a letter on the page, the monster signifies something other itself: it is always a displacement…

121 แนวจินตนิมิตแสดงลักษณะเหนือจริงในการน าเสนอความเป็นลูกผสมระหว่างมนุษย์และสัตว์ ค้างคาว หน้ามนุษย์เป็นสัตว์ที่ถูกเชื่อมโยงกับนรกและเวลากลางคืน

...สิ่งนั้นเป็นสีด าสนิท...ด ายิ่งกว่าความมืดของรัตติกาล มันไม่ได้หยุดนิ่ง อยู่กับที่ หากฉวัดเฉวียนไปมาเสมือนหนึ่งก าลังระเริงเล่นแสงเดือนอยู่ท่ามกลาง ปริมณฑลอันนวลละไมนั้นอย่างร่าเริงล าพอง ปีกกว้างหยักโค้งอันผิดลักษณะของปี

กนกทั้งหลายทั้งปวงกวักกระพืออยู่ไหว ๆ นิศามณีมองเห็นล าตัวของมันอยู่กึ่งกลาง ระหว่างปีกใหญ่คู่นั้นชัดเจน

ค้างคาว

แต่มันจะต้องเป็นค้างคาวยักษ์อย่างแน่นอน เพราะขนาดความใหญ่โต อย่างนั้น ไม่มีค้างคาวธรรมดาที่ไหนจะใหญ่เท่า คะเนด้วยตาในระยะห่างขนาดนั้น นิศามณีคิดว่า ปีกแต่ละข้างของเจ้าสัตว์ประหลาดจะต้องยาวไม่น้อยกว่าสองเมตร และล าตัวของมันคงจะใหญ่กว่าล าตัวมนุษย์ผู้ชายที่ว่าร่างใหญ่เสียอีก [...] หญิงสาว ลืมตาขึ้นช้า ๆ และมองดูภาพนั้นยังคงปรากฏอยู่ที่เดิมปีกหยักกว้างใหญ่ขยับโบก กระพืออย่างเริงร่า วนเวียนเป็นวงกลมอยู่รอบดวงจันทร์ เดี๋ยวโฉบวูบลงต่ า เดี๋ยว เชิดสูงขึ้นกลางนภากาศ เดี๋ยวบินเอียงกะเทเร่ และประเดี๋ยวก็ยักเยื้องเสมือนก าลัง จะร่ายระบ ากระนั้น

(จินตวีร์ วิวัธน์, 2558 ก: 221-222) กระบวนการน าเสนอค้างคาวหน้ามนุษย์อธิบายผ่านสีด าของร่างกาย การเน้นย้ าว่า

“ด ายิ่งกว่าความมืดของรัตติกาล” เป็นการเน้นถึงความทะมึนของรูปร่าง อากัปกิริยาที่ “เสมือนหนึ่ง ก าลังระเริงเล่นแสงเดือน” เป็นการอุปมากับการบิน แสดงให้เห็นว่าค้างคาวตัวนี้พอใจในความเป็น ค้างคาวของตน ไม่ได้ทุกข์ทรมานด้วยค าสาป จินตวีร์ วิวัธน์ น าเสนอโดยเน้นความสุขจากการบิน ท่ามกลางแสงจันทร์ จากการพิจารณารูปลักษณ์ที่ใหญ่โตผิดปกติและมีหน้าเป็นมนุษย์ร่วมกับบริบท ของค าสาปนั้น สามารถอธิบายได้ว่าเป็นการรวมเข้าของสายพันธุ์มนุษย์และสัตว์อย่างชัดเจน โดยเป็น การผสมผสานอันเป็นผลมาจากค าสาป ตัวละครค้างคาวหน้ามนุษย์จึงแสดงให้เห็นว่าการรวมเข้าของ สายพันธุ์เป็นเรื่องกรณีพิเศษมากกว่าเรื่องปกติ สถานะของค้างคาวหน้ามนุษย์ตัวนี้ยังถูกท าให้มีความ ก ากวมในด้านรูปลักษณ์ นั่นคือเป็นค้างคาวแต่ใบหน้าเป็นมนุษย์ ความลักลั่นดังกล่าวเป็นลักษณะของ ตัวละครในนวนิยายแนวจินตนิมิต