• Tidak ada hasil yang ditemukan

การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านเทพารักษ์

ภาพแทนธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตของไทย

4.1 ภาพแทนธรรมชาติด้านร้าย

4.1.1.3 การน าเสนอภาพแทนธรรมชาติด้านร้ายผ่านเทพารักษ์

เทพารักษ์หมายถึง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สิงสถิตอยู่ประจ าธรรมชาติ คอยอารักขา ปกป้อง ไม่ให้ผู้ใดเข้าไปรุกล้ า บางครั้งเทพารักษ์ได้รับการน าเสนอให้มีความดุร้าย ท าลายชีวิตมนุษย์

เทพารักษ์ ถือเป็นเทพลักษณะหนึ่ง สอดคล้องกับ ธิดารัตน์ ปานบ ารุง (2556: 57) ซึ่งสรุปไว้ว่า เทพคือ ภาวะที่ได้รับการเคารพบูชา มีอ านาจในการดลบันดาลทุกข์สุข อาจประจ าอยู่ตามพื้นที่

ธรรมชาติ หรือเขตของธรรมชาติ เช่น ท้องฟ้า แผ่นดิน เทพอาจมีรูปกายเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรือมี

140 คุณลักษณะเหล่านี้ผสมผสานกัน หรือบางครั้งไม่มีรูปกายมนุษย์จึงมองไม่เห็น เทพอาจคอยช่วยเหลือ มนุษย์ที่เคารพบูชา หรือลงโทษผู้ที่ลบหลู่ดูหมิ่น ดังนั้นสามารถมองได้ว่าเทพารักษ์เป็นจิตวิญญาณเชิง นิเวศในลักษณะหนึ่ง

ข้อเสนอเกี่ยวกับเทพารักษ์ยังมีในทัศนะของ ภัทรพร สิริกาญจน (2557: 5 อ้างอิง จาก White) ซึ่งกล่าวว่าในอดีต ต้นไม้ น้ าพุ ล าธาร และเนินเขาทุกที่ มีภูตธรรมชาติคอยพิทักษ์อยู่

และมนุษย์สามารถสื่อสารกับผีเหล่านี้ได้ รูปลักษณ์ของเทพารักษ์แตกต่างจากมนุษย์ เช่น เป็นคนครึ่ง ม้า คนครึ่งแพะ หรือเป็นนางเงือก เป็นต้น ก่อนจะตัดต้นไม้ ระเบิดภูเขาหรือสร้างเขื่อน มนุษย์

จ าเป็นต้องท าให้เทพารักษ์อยู่ในความสงบ ต่อมาอิทธิพลทางคริสต์ศาสนาเข้ามามีบทบาทท าให้เกิด การเอาเปรียบธรรมชาติ จนละเลยการเคารพต่อเทพรักษ์

นวนิยายแนวจินตนิมิตน าเสนอเทพารักษ์ให้มีความน่าสะพรึงกลัว เป็นภาพแทนของ การท าลายชีวิตมากกว่าปกป้องชีวิต ซึ่งความเป็นประเภทของนวนิยายนี้เอง เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการ นิยามความหมายอีกชุดหนึ่งให้กับเทพารักษ์ นวนิยายที่น าเสนอตัวละครเทพารักษ์ ได้แก่ บุปผาเพลิง บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ สร้อยแสงจันทร์ บทประพันธ์ของ พงศกร, กลกิโมโน บทประพันธ์ของ พงศกร, พรายพระกาฬ บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์, คชาปุระ บทประพันธ์ของ พงศกร และ วังพญาพราย บทประพันธ์ของ พงศกร ขอยกตัวอย่างดังนี้

ท้าวพญา ในนวนิยายเรื่อง บุปผาเพลิง บทประพันธ์ของ จินตวีร์ วิวัธน์ เป็น เทพารักษ์ที่คอยอารักขาและสถิตอยู่ที่เทือกพญาหลับ “เขาเรียกขานเทือกเขานี้ว่า ‘เทือกพญาหลับ’

เพราะก่อนสิ้นอายุขัย ข้าได้นอนอยู่บนแท่นหยกนี้เสมอ” (จินตวีร์ วิวัธน์, 2557: 299) ซึ่งตั้งอยู่ภายใน ป่าลึกและมีเหตุการณ์พิศวงเกิดขึ้นในเรื่องมากมาย ท้าวพญาได้รับการน าเสนอให้ปรากฏกายใน ลักษณะของการเข้าสิงร่างวรุตม์ และท าให้รูปกายของวรุตม์เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับค าอธิบาย ที่ว่า เทพารักษ์ไม่มีรูปกาย ในกรณีของท้าวพญาถูกน าเสนอให้ไม่มีกายหยาบ การสื่อสารกับมนุษย์จึง จ าเป็นต้องเข้าสิงมนุษย์ ซึ่งเป็นการบรรจุความเป็นจินตนิมิตลงไปในฉากดังกล่าว

เขาเห็นดวงหน้าค่อนข้างซีดของหนุ่มร่างเล็กเปลี่ยนไป มันมีสีเรื่อขึ้น ปากที่หุบสนิทก็เผยออกในลักษณะพิกล คือคล้ายแสยะมากกว่า ส่วนเปลื่อกตาที่

ปิดกั้นสนิทนั้น บัดนี้ขยับน้อย ๆ เหมือนก าลังจะลืมตา...เป็นตาคู่โต กลมดิก กระด้างปราศจากแวว แต่ที่ร้ายที่สุดก็คือ

ดวงตาคู่นั้นเป็นสีแดงจ้า

ดวงตาของอมนุษย์ชัด ๆ !...ในปากอันแสยะบิดเบ้นั้นคือฟันด าผุและหัก อย่างน่าเกลียด เป็นฟันของคนแก่ชราโดยแท้

(จินตวีร์ วิวัธน์, 2557: 291-292)

141 ภาพที่ได้รับการน าเสนอเป็นภาพเทพารักษ์ในด้านที่น่าเกลียดน่ากลัว ถูกเชื่อมโยง กับความชรา และดวงตาสีแดงซึ่งสัญญะของอ านาจ เช่นเดียวกับตัวละคร สางไพร ในนวนิยายเรื่อง สร้อยแสงจันทร์ เป็นผีป่าที่ซ่อนตัวหลานชายของเดือนเต็มดวง นางเอกของเรื่องไว้ ค าอธิบายเกี่ยวกับ สางไพรได้รับการบอกเล่าโดยนกจโกระที่ชื่อ กีรณะ สัตว์ที่ถูกสาปให้ดูแลปราสาทปักษาจ าจอง กีรณะ เล่าให้พุทธิ พระเอกผู้ที่ก าลังตามหาตัวเด็กชายอยู่

“สางไพรเหล่านั้นซ่อนเด็กเอาไว้ พวกเจ้าจึงหาเด็กไม่พบ...พวกมันเก็บ เด็กเอาไว้ และรอเวลาจะสูบกินเลือดเนื้อ...รอจนดวงจันทราล่วงเข้าสู่ข้างแรมและ หมดรัศมี...เมื่อนั้นพวกมันจะเริ่มลงมือ...สางเหล่านั้นจะเรืองอ านาจเมื่อพระจันทร์

เริ่มเข้าสู่ข้างแรม และเริ่มอ่อนแรงลงเมื่อจันทร์เริ่มย่างสู่ข้างขึ้น ตรงกันข้ามกับ เหล่าจโกระ ที่พละก าลังลดน้อยถอยลงยามพระจันทร์แรม ดังนั้น หากรอจนถึงยาม นั้นพละก าลังของเราจะลดลงเรื่อย ๆ ส่วนอ านาจมืดของสางไพรจะแกร่งกล้าขึ้น เรื่อย ๆ ด้วยแสงจันทราที่รางเลือน...เราจะไม่สามารถช่วยเจ้าได้อีก”

(พงศกร, 2558 ค: 91) ค าบอกเล่าของนกกีรณะแสดงให้เห็นการเทียบเคียงอ านาจของตนกับอ านาจของ สางไพร ดังนั้นสางไพรจึงเป็นรูปสัญญะของความมืดมน ขณะที่นกกีรณะเป็นรูปสัญญะของความสว่าง ไสว พงศกรน าเสนอสางไพรให้มีความน่าสะพรึงกลัวด้วยกรงเล็บและดวงตา

รายรอบโพรงไม้ใหญ่ขนาดนั้น มีเงาด าของอะไรบางอย่างที่พุทธิบอกกับ ตัวเองได้ว่าไม่ใช่เงามนุษย์ ยืนรายล้อมอยู่ห้าถึงหกเงา...

รูปเงาที่สูงใหญ่เกินกว่าจะเป็นเงาของของมนุษย์มนา ส่ายไหวไปมาราว ปิศาจเริงระบ า ส่วนรยางค์ยาวเรียวสีด าที่ห้อยอยู่ข้างล าตัว มองดูเหมือนกับแขน กางประสานไว้ บางครั้งก็กลับชูสูงขึ้นเหนือส่วนศีรษะจนมองเห็นกรงเล็บแหลมคม ราวสัตว์ร้ายจ้องจะตะครุบเหยื่อ แสงนวลเย็นตาของกีรณะที่ฉายส่องไปยังดงไม้

ก่อให้เกิดปฏิกิริยามากมายต่อรูปเงาเหล่านั้น...

ทันที่ที่เงาจันทร์ตกกระทบถูกร่างของเหล่าปิศาจร้าย รูปเงาของมันสั่น ไหวราวกับกลุ่มควันที่ไม่สามารถคงตัวอยู่ได้ยามสายลมพัดผ่าน สีด าเข้มของร่างสูง ทั้งหกจางลงไปมากเหมือนสายหมอกที่เริ่มสลายเมื่อต้องแสงตะวันเช้า

พุทธิทันเห็นดวงตาแดงจัดจ้าราวถ่านไฟของเงาที่สูงที่สุดในบรรดาเงา ทั้งหมด มันหันมามองกีรณะด้วยแววตาอาฆาตมาดร้าย...ก่อนที่จะสลายหายไป

142 มันเป็นสายตาที่น่ากลัวที่สุด เท่าที่พุทธิจะเคยเห็นสายตาของใครมา...

ในดวงตาสีแดงเพลิงเปี่ยมไปด้วยความแค้นเคือง หิวกระหาย และมีความ พยาบาทมากมายอยู่ในนั้น...

(พงศกร, 2558 ค: 90) จากตัวบทเห็นได้ว่าเงาของสางไพรถูกเทียบเคียงกับเงาของมนุษย์อย่างชัดเจน การน าเสนอภาพสางไพรจึงยึดเอามนุษย์เป็นศูนย์กลาง และถูกเทียบเคียงกับปิศาจ นวนิยายได้

น าเสนอให้เห็นว่าสางไพรมีอ านาจในเวลากลางคืน และที่น่าสนใจคืออ านาจของสางไพรถูกท าลายลง ด้วยสายฝน ในฉากที่สางไพรลวงให้เดือนเต็มดวง นางเอกของเรื่องหลงทางและใช้อ านาจท าให้นอน ขยับตัวไม่ได้ แต่เมื่อฝนตก สางไพรก็สลายอ านาจลง

หล่อนประหลาดใจเมื่อเห็นว่าสายฝนนั้น ก่อให้เกิดปฏิกิริยาที่ตรงกันข้าม โดยสิ้นเชิงกับเหล่าภูตพรายที่รายรอบหล่อนอยู่...ยิ่งหยดฝนน าความเย็นชุ่มฉ่ ามา ให้แก่หล่อนเท่าใด สายฝนนั้นก็เปรียบเสมือนคมมีดที่เฉือนเชือดร่างของพวกมัน มากเท่านั้น...

ร่างด าทึบทะมึนของสางทั้งห้า ส่ายไหวไปมาราวเจ็บปวด เดือนเต็มดวง ได้ยินเสียงกรีดร้องแหลมของพวกมันเต็มสองหู...ควันสีด าที่รวมกันเป็นกลุ่มของ พวกมันแลดูปั่นป่วน จนรูปเงาบิดเบี้ยวไปมา

เวลาผีถูกน้ ามนตร์พระคงจะเป็นเช่นนี้ละมัง...หล่อนอมยิ้มกับตัวเอง

(พงศกร, 2558 ค: 192) ฝนถูกเปรียบกับน้ ามนตร์ ซึ่งเป็นอ านาจของพุทธศาสนาอันเป็นตัวแทนพลังที่

สามารถเอาชนะสางไพรได้ นอกจากนั้นสางไพรยังพ่ายแพ้ต่อสร้อยแสงจันทร์ อัญมณีคู่ราชบัลลังค์

กษัตริย์ สร้อยแสงจันทร์จึงเป็นภาพแทนของอ านาจมนุษย์ในอีกลักษณะหนึ่ง

พลังอานุภาพของแสงสีแดงมากมายยิ่งกว่าสายฝนหลายเท่า เพราะมันที

ที่แสงสีแดงสว่างกระทบเงาด าของสางที่รายล้อมร่างของหล่อน...ร่างซึ่งสั่นไหวอยู่

แล้วของพวกมันก็สลายไปอย่างรวดเร็วในชั่วพริบตานั้น

ภูตสูงใหญ่ ร่างด าทะมึนสลายและแตกกระจาย ไม่ผิดอะไรกับควันไฟที่

ถูกแรงลมพัดท าลาย

(พงศกร, 2558 ค: 192-193)

143 เมื่อพิจารณาการน าเสนอภาพสางไพรดังที่กล่าวมาเห็นได้ว่า สางไพรเป็นผีป่า เป็น ตัวละครจินตนิมิตที่พงศกรน าเสนอให้มีอ านาจได้ในเวลากลางคืนและพ่ายแพ้ต่อธรรมชาติด้านดีและ อ านาจมนุษย์ จากตัวบทสามารถวิเคราะห์ได้ว่าสางไพรไม่สามารถต้านอ านาจของฝนได้ ฝนจึงเป็น ตัวแทนของอ านาจธรรมชาติด้านดีที่เข้ามาสยบธรรมชาติด้านร้ายได้

ในนวนิยายแนวจินตนิมิต เทพารักษ์ที่น่าสนใจอีกประเภทหนึ่ง คือ “เงือก” หรือ ผีพรายประจ าแหล่งน้ า มีฐานะเป็นผู้ท าลาย กลายเป็นเงือกในฐานะผีพราย ปรากฏในนวนิยาย พราย พระกาฬ บทประพันธ์ของ พงศกร, คชาปุระ บทประพันธ์ของ พงศกร และวังพญาพราย บทประพันธ์

ของ พงศกร

ตัวอย่างเช่น ในนวนิยายเรื่อง วังพญาพราย บทประพันธ์ของ พงศกร เรืองแสงฟ้า เป็นเทพารักษ์สิงสถิตที่บึงพรายมีลักษณะคล้ายนางเงือก ซึ่งพงศกรน าเสนอให้มีความชรา เล็บแหลม คม เมื่อพิจารณาร่างกายเรืองแสงฟ้าที่เป็นนางเงือกหรือผีพรายเฝ้าบึงพราย พบว่าเรืองแสงฟ้าในภพ ภูมิที่เป็นนางพรายมีความยั่วยวนและน่าเกลียดน่ากลัวในเวลาเดียวกัน การบรรยายภาพของเรืองแสง ฟ้าแสดงให้เห็นภาพแทนของธรรมชาติ

จากความงดงามราวกุหลาบแย้มกลีบ ริมฝีปากและใบหน้าของหญิงสาว ลึกลับเริ่มบวมและมีสีเขียวคล้ า ก่อนจะแตกออกเป็นแผลเน่ามีหนอนสีขาวหลุด ออกมา [...] หญิงสาวพยายามจะถอนสายตาออกจากดวงหน้าซึ่งเริ่มบวมอืด ดวงตา ถลนออกจากเบ้า และเขี้ยวยาวที่งอกแหลมออกมาจากสองข้างของมุมปาก [...] มือ เรียวยาวที่เนื้อหลุดจนแหว่งวิ่นเห็นกระดูกขาวโพลนเป็นบางส่วน...เสียงน้ ากระฉอก เมื่อสตรีบนโขดหินขยับกายท่อนล่าง เผยให้เห็นเกล็ดหนาสีน้ าตาลอมด าคล้ า และ ครีบที่แผ่ติดกันราวกับหางองปลาขนาดใหญ่ […] ดวงหน้าทีสวยงามบิดเบี้ยว ผิวหนังที่เคยเต่งตึงด้วยเลือดฝาด กลับเหี่ยวย่นลงไปอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาเพียงชั่ว อึดใจร่างทั้งร่างก็ยับย่นราวกับคนชราอายุหลายร้อยปี

ดวงตาที่เคยสดใสเรื่อเรื่องเป็นประกาย กลับแดงฉานราวถ่านไฟก่อนจะ หลุดผลัวะออกจากเบ้า ห้อยต่องแต่งอยู่บนใบหน้า สร้างความหวาดกลัวให้กับทุก ผู้คนโดยถ้วนหน้า

ยายแก่พันปี ผู้นั้นยื่นมือที่เหี่ยวย่นและตะปุ่มตะป่่าออกมาข้างหน้าพร้อม กับแสยะยิ้มจนเห็นเขี้ยวขาววาววะวับ

เล็บมือของนางแหลมคมราวกรงเล็บสัตว์ป่า เสียงหัวเราะแหลมเล็กราว กับภูตผีปิศาจ...

(พงศกร, 2557 ค: 106,163)