• Tidak ada hasil yang ditemukan

ความเป็นจินตนิมิตของฉาก

บทที่ 3

3.1 ความเป็นมาของนวนิยายแนวจินตนิมิต

3.2.1 เค้ารากของความเป็นนวนิยายแนวจินตนิมิตในวรรณกรรมไทย

3.2.1.2 ความเป็นจินตนิมิตของฉาก

ฉากจินตนิมิตในวรรณคดีไทยมีมากมายขอยกตัวอย่างคือ ถ้ ามณี ในเรื่อง วงศ์เทวราช ถ้ ามณีเป็นถ้ าใต้น้ า สามารถเปลี่ยนสภาพกายของผีเสื้อยักษ์ได้ นั่นคือหากอยู่ในถ้ าจะ กลายเป็นมนุษย์ หากอยู่นอกถ้ าจะกลายเป็นร่างเป็นผีเสื้อยักษ์ นอกจากนั้นฉากในวรรณคดีที่น่าสนใจ

74 อีกแห่งหนึ่งคือป่าหิมพานต์ ถือเป็นฉากเหนือจริงที่ส าคัญในวรรณคดีไทย ปรากฏใน ไตรภูมิพระร่วง เป็นป่าที่ขนาดใหญ่ มีพื้นที่หนึ่งในสามของของชมพูทวีป สูง 500 โยชน์ กว้างและยาว 500 โยชน์

ประกอบด้วยป่า ภูเขา แม่น้ า สระน้ า ต้นไม้และสัตว์ต่าง ๆ ภูเขาในป่าหิมพานต์นั้นมีเขาหิมพานต์เป็น ภูเขาส าคัญ ประกอบด้วยยอดเขาจ านวนมาก เขาแต่ละยอดมีลักษณะพิเศษคือ เขาจิตรกูฏเต็มไปแก้ว รัตนะทุกชนิด เขากาฬกูดมีสีเขียวเหมือนดอกอัญชัน เขาคันธมาทนะ มีพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอมสิบชนิด และเป็นแหล่งรวมของยาสมุนไพร เขาสุทัสสนะเต็มไปด้วยทองค า เขาไกรลาสเต็มไปด้วยเงิน นอกจากนั้นมีสระน้ าและแม่น้ าที่มีลักษณะกว้างใหญ่ สระที่ส าคัญคือสระอโนดาต เป็นที่รวมของน้ า ทั้งหมด มีความใสสะอาดเห็นตัวปลาได้ชัดเจนและไม่เหือดแห้ง รอบ ๆ สระมีท่าน้ า มีขั้นบันไดประดับ ด้วยแก้ว เป็นที่อาบน้ าของผู้มีบุญบารมี ป่าหิมพานต์ยังมีพรรณไม้ที่มีความงดงาม รสชาติของผลไม้มี

ความหอมหวาน และยังมีสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษมากมาย

นวนิยายแนวจินตนิมิตมักจะสร้างฉากสมมติเพื่อด าเนินเรื่อง ประเด็นนี้ รัชนีกร รัชตกรตระกูล (2549) ได้เสนอไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง ฉากในจินตนิยายของแก้วเก้า ผู้วิจัยขอ ยกตัวอย่างฉากจินตนิมิตที่ปรากฏในนวนิยาย เช่น นางทิพย์ และ หนุ่มทิพย์ มีสวรรค์เป็นฉากส าคัญ, ปลายเทียน ปรากฏฉากป่าจากวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน, แก้วราหู มีเมืองสมมติคือ “อาณาจักรภู

แสน” เป็นเมืองแห่งสมบัติ, จอมนาง มี “ประเทศหงสา” ซึ่งเป็นเกาะรูปหงส์และมีค าพยากรณ์การสิ้น ตระกูลของเจ้าเมือง, นาคราช มี “บึงงูฟ้า” เป็นที่สถิตของพญานาค, มนตรา มี “วังกระจะ”

ซึ่งเป็นสถานปฏิบัติธรรมที่นิมิตขึ้นจากป่าช้า, เรือนมยุรา มี “เรือนมยุรา” เป็นบ้านทรงไทยที่รอดพ้น จากความหายนะในศึกเสียกรุงครั้งที่ 2 เนื่องจากปิดผนึกด้วยกฤตยามนตร์

ความเป็นจินตนิมิตของฉากที่ปรากฏในนวนิยายกลุ่มที่เลือกศึกษา เช่น เมือง คชาปุระ ในนวนิยายเรื่อง คชาปุระ และ นคราไอยรา บทประพันธ์ของ พงศกร ที่ได้รับการน าเสนอให้

เป็นเมืองอุดมคติเชิงนิเวศ หรือทะเลสาบกาฬวารี ในนวนิยายเรื่อง เพชรอัคนี บทประพันธ์ของ พงศกร เป็นแหล่งที่อยู่ของปิศาจ นอกจากนั้นยังมีป่าในมิติสนธยา ในนวนิยายเรื่อง มิติหลง บท ประพันธ์ของ หทัย ธรณี เป็นป่าดึกด าบรรพ์ซึ่งมีสิ่งมีชีวิตยุคไดโนเสาร์

3.2.1.3 ความเป็นจินตนิมิตขององค์ประกอบอื่น ๆ

ในวรรณคดียังมีองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีความเป็นจินตนิมิตจ านวนมาก ได้แก่ ของ วิเศษและเวทมนตร์

ด้านของวิเศษนั้น สุภาวรรณ ยี่บุญยันต์ (2548: 45,62) ให้ความหมายของวิเศษ ว่า ได้แบ่งของวิเศษออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ของวิเศษที่ไม่มีอิทธิฤทธิ์ คือ ของวิเศษที่เกิดจากการ ท าให้มีขึ้นโดยฉับพลัน และของวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์ คือ ของวิเศษที่มีคุณสมบัติพิเศษเหนือปกติธรรมดา และอาจเกิดขึ้นจากการสร้างหรือบันดาลด้วยอ านาจของผู้มีฤทธิ์ ในการปูพื้นความรู้เกี่ยวกับความเป็น จินตนิมิตของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ ผู้วิจัยขอรวบรวมเฉพาะของวิเศษที่มีอิทธิฤทธิ์เท่านั้น ได้แก่

75 ของวิเศษประเภทอาวุธหรือป้องกันอันตราย ของวิเศษประเภทนี้จะสามารถใช้

ป้องกันอันตรายแก่ผู้เป็นเจ้าของ เช่น หอยสังข์ในเรื่อง สังข์ทอง และ สังข์ศิลป์ชัย ในเรื่อง คาวี คาวีมี

พระขรรค์วิเศษ ฤๅษีได้ท าพิธีถอดดวงใจบรรจุไว้ในพระขรรค์เพื่อมิให้ผู้ใดฆ่าตาย หรือท าร้ายศัตรูได้

เช่น ในเรื่อง วงศ์เทวราช จักรที่อยู่รอบปราสาทจะสามารถป้องกันอันตรายจากศัตรูได้ โดยหากมีศัตรู

เข้ามารุกรานจักรจะพุ่งขึ้นมาท าร้ายทันที หรืออาจเสกเป็นสิ่งของต่าง ๆ ได้ ศรในเรื่อง ไชยเชษฐ์

สามารถแผลงเป็นดอกไม้ได้หรือกลายเป็นอาหารทิพย์ได้ ใน วงศ์เทวราช ตรีเพชรเป็นอาวุธของสังข ปัดวานรสามารถเสกเป็นสิ่งต่าง ๆ ได้ ท้าวสาตราสูรใน วงศ์เทวราช มีกระบองวิเศษที่กวัดแกว่งแล้ว เกิดปรากฏการณ์ท้องฟ้ามืดครึ้ม หรือ คทา คทาเป็นอาวุธวิเศษของยักษ์ เช่น ท้าวจัตุรัต ใน วงศ์

เทวราช มีคทาเพชรที่ขว้างออกไปเป็นสิงโตได้ หรือใน แก้วหน้าม้า บริวารของยักษ์กวัดแกว่งคทาจน เกิดเสียงสนั่นหวั่นไหว

ของวิเศษที่ช่วยท านายเหตุการณ์ เป็นของวิเศษที่สามารถน ามาใช้บอกเหตุการณ์

ล่วงหน้า เช่น ในเรื่อง คาวี คาวีได้ใช้ดอกบัวเสี่ยงทายว่าหากมีอันตรายกับตนขอให้ดอกบังเหี่ยวแห้ง หรือ อาสน์ ในวรรณคดีไทย อาสน์เป็นที่นั่งของพระอินทร์ ปกติเวลานั่งจะอ่อนนุ่ม เมื่อคนดีได้รับ ความเดือดร้อน อาสน์จะร้อนหรือแข็งกระด้าง พระอินทร์จะทราบถึงความเดือดร้อนและมาช่วย มนุษย์ เช่น ในเรื่อง ไชยเชษฐ์ เมื่อนางสุวิญชาถูกมเหสีกลั่นแกล้งโดยการเอาโอรสไปฝัง อาสน์ของ พระอินทร์ก็ร้อนเป็นไฟ หรือใน สังข์ศิลป์ชัย อาสน์ของพระอินทร์ร้อนเมื่อสังข์ศิลป์ชัยถูกกุมารทั้งหก ผลักตกเหว

ของวิเศษที่ควบคุมการด ารงชีวิต หมายถึงของวิเศษที่สามารถน ามาใช้ในก าหนด ความเป็นหรือตายของตัวละครได้ เช่น น้ าทิพย์ เป็นน้ าศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยให้ผู้หมดสติฟื้นขึ้นมาหรือ ชุบชีวิตผู้ที่ตายแล้วได้ เช่น สังข์ทอง วงศ์เทวราช หรือน้ ามนตร์ ใน วงศ์เทวราช นางสุวรรณมนทาใช้

ชุบชีวิตวิทยาธรที่ถูกจักรแก้วตัดเศียรจนถึงแก่ความตาย หรือเป็นของสามารถบงการสภาพร่างกายตัว ละคร เช่น ยันต์ ในเรื่อง ไกรทอง ใช้ปิดกลางเกศาของนางวิมาลาไม่ให้กลายร่างเป็นจระเข้

ของวิเศษที่ใช้เสก คือ ของที่สามารถใช้เสกให้กลายเป็นของอื่น ๆ ได้ เช่น น้ ากายสิทธิ์ในเรื่อง วงศ์เทวราช พระอินทร์ใช้ในการเสกรูปปั้นให้มีชีวิต ใน ไกรทอง ดวงแก้ววิเศษมี

คุณสมบัติ 3 ประการ ได้แก่ ท าให้ถ้ าสว่างตลอดเวลา ท าให้อิ่มทิพย์โดยไม่ต้องกินอาหาร และบันดาล ให้จระเข้ที่เข้ามาในถ้ าเป็นมนุษย์ได้ หรือใน วงศ์เทวราช ดวงแก้ววิเศษสามารถชุบชีวิตคนที่ตายแล้ว ให้ฟื้นคืนมาได้ พร้าโต้ใน แก้วหน้าม้า เป็นสิ่งที่ฤๅษีมองให้แก้วหน้าม้า มีคุณสมบัติพิเศษสามประการ ได้แก่ ใช้แปลงกายได้ เนรมิตสิ่งใดได้ตามใจปรารถนา และใช้เป็นอาวุธได้

ของวิเศษที่เป็นพาหนะหรือช่วยในการเดินทาง เช่น ส าเภาทองใน สังข์ทอง ท้าวภุชงค์เนรมิตให้เป็นพาหนะน าพระสังข์ไปในนางพันธุรัตเลี้ยงดู เรือส าเภานี้จะปกป้องอันตรายได้

เช่น เมื่อยักษ์จะจับพระสังข์กินก็ไม่สามารถจับต้องเรือได้ หรือเรือเหาะใน แก้วหน้าม้า หรือเทียน

76 ระเบิดน้ า ใน ไกรทอง ใช้ในการจุดแล้วจะสามารถแหวกน้ าเป็นทางแล้วเดินตามทางนั้นได้ ไกรทองใช้

ในการเดินทางเพื่อคืนดีกับนางวิมาลา ในเรื่อง วงศ์เทวราช มีรถวิเศษของท้าวจัตุรัต มีความงดงามดั่ง รถพระอินทร์ สามารถเหาะได้ และมีบุษบกวิเศษที่สามารถเหาะได้

ของวิเศษที่เป็นเครื่องแต่งกาย เมื่อน ามาสวมใส่แล้วจะมีอิทธิฤทธิ์ เช่น รูปเงาะ ในเรื่อง สังข์ทอง มีลักษณะคล้ายหัวคน ผิวด า ผมหยิก จมูกแบน ปากหนา เมื่อน ามาสวมจะกลายเป็น เงาะป่า หรือเกือกแก้ว ที่หากผู้ใดสวมใส่จะสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ หรือไม้เท้าทอง เป็นไม้เท้า ที่มีลักษณะยาว มีสีทอง เช่น ใน สังข์ทอง ไม้เท้าทองสามารท าคานหาบสิ่งของที่มีน้ าหนักมากได้

ของวิเศษในนวนิยายแนวจินตินิมิต เช่น คชาปุระ บทประพันธ์ของ พงศกร ได้แก่

“กุญชรวารี-อุบลมาลี-มณีนาคสวาท-อากาศไอยรา” ซึ่งนอกจากจะเป็นวัตถุที่ท าให้ตัวละครจากโลก สามัญเดินทางไปยังดินแดนจินตนิมิตได้แล้ว ของวิเศษยังแสดงให้เห็นความหมายทางสังคม

เวทมนตร์ สุภาวรรณ ยี่บุญยันต์ (2548: 80) ได้อธิบายถึงเวทมนตร์ไว้ว่า เวทมนตร์มีปรากฏในวรรณคดีไทยเพื่อต้องการให้ตัวละครได้ส าแดงอิทธิฤทธิ์อื่น ๆ นอกเหนือจากการ ใช้ของวิเศษ และได้แบ่งประเภทของเวทมนตร์ออกดังนี้

เวทมนตร์แปลงกาย คือเวทมนตร์ที่ท าให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนสภาพกายไป จากเดิม มีทั้งหมด 3 ลักษณะคือ การแปลงกายจากรูปเดิมให้ใหญ่ขึ้น เช่น นางพันธุรัตใช้แปลงกายให้

ใหญ่ขึ้นเมื่อไปเที่ยวป่า การแปลงกายจากรูปเดิมให้เล็กลง เช่น หลวิชัยใช้แปลงกายให้มีรูปร่างเล็กลง เมื่อจะเข้าไปในเมืองของท้าวสันนุราชและการแปลงกายจากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่ง เช่น พระอินทร์

ใน มณีพิชัย แปลงกายเป็นชายวิกลจริตเข้าไปในพิธีเลือกคู่ของนางเกศนี

เวทมนตร์สะกด คือ เวทมนตร์ที่ใช้ในการสะกดผู้อื่นให้เป็นไปตามประสงค์

ของผู้ใช้ จ าแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ สะกดให้หลับและสะกดให้เชื่อฟัง ด้านเวทมนตร์สะกดให้หลับ เช่น วงศ์เทวราช ท้าวสาตราสูรสะกดพระวงศ์เทวราชให้หลับแล้วอุ้มไปสังหาร ด้านเวทมนตร์สะกดให้

เชื่อฟัง มี 2 ประเภทคือเวทมนตร์มหาละลวยและเวทมนตร์เทพรัญจวน ตัวอย่างวรรณคดีเช่น เรื่อง สังข์ทอง นางจันทาร่ายมนตร์มหาละลวยเป่าท้าวยศวิมลให้น าพระสังข์ไปถ่วงน้ า หรือใน ไกรทอง ไกร ทองร่ายมนตร์เทพรัญจวนเป่านางวิมาลาเพื่อให้ตามขึ้นมาบนบก หรือใน ขุนช้างขุนแผน ขุนแผนใช้

คาถามหาละลวยท าให้ม้าสีหมอกมีความเชื่อง จงรักภักดีต่อตน และมีก าลังมากขึ้นด้วย

เวทมนตร์แก้สะกด เป็นเวทมนตร์ที่ใช้ส าหรับช่วยผู้ถูกสะกดให้มีสติ

เหมือนเดิม เช่น เมื่อวงศ์เทวราชถูกสะกดให้หลับ สังขปัดวานร พระยาราชสุบรรณและท้าววิเรนธร ได้

ช่วยแก้มนตร์สะกดให้

เวทมนตร์เนรมิต คือ เวทมนตร์ที่สามารถเนรมิตสิ่งต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะต้อง การ เช่น ท้าวภุชงค์เนรมิตส าเภาทองเพื่อเป็นพาหนะน าพระสังข์ไปเมืองนางพันธุรัต หรือ พระอินทร์

เนรมิตเรือเหาะให้นางแก้วหน้าม้า