• Tidak ada hasil yang ditemukan

แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ

บทที่ 2

2.1.1 แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ

การวิเคราะห์ธรรมชาติในนวนิยายแนวจินตนิมิตนั้น แนวคิดที่ส าคัญและเป็นกรอบใหญ่

คือ การวิจารณ์เชิงนิเวศซึ่งมุ่งพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติที่ปรากฏใน วรรณกรรม แนวคิดดังกล่าวได้มีนักวิชาการให้ค านิยาม อธิบายลักษณะความเป็นมาและแนวทาง การศึกษาดังนี้

นักวิชาการชาวตะวันตกได้เสนอค าอธิบายเกี่ยวกับการวิจารณ์เชิงนิเวศไว้ เช่น กล็อตเฟลตี้ (Glottfelty, 1996: xviii-xix) ให้ค าจ ากัดความของการวิจารณ์เชิงนิเวศไว้ว่าเป็น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสิ่งแวดล้อม และน าแนวคิดเกี่ยวกับสตรีนิยมเข้ามา อธิบายร่วมด้วยในประเด็นภาษาที่ใช้ในการน าเสนอธรรมชาติ นอกจากนั้นยังมีประเด็นเกี่ยวกับ แนวคิดมาร์กซิสม์ในการวิพากษ์เรื่องชนชั้นทางสังคม การวิจารณ์เชิงนิเวศมองโลกเป็นศูนย์กลางใน การศึกษาตัวบทวรรณกรรม แนวคิดดังกล่าวอาจมีค าถามน าไปสู่การวิเคราะห์ธรรมชาติในตัวบท เช่น ธรรมชาติได้รับการน าเสนออย่างไร ฉากธรรมชาติมีบทบาทต่อเนื้อเรื่องอย่างไร ค่านิยมในวรรณกรรม สอดคล้องกับภูมิปัญญาการอนุรักษ์ธรรมชาติหรือไม่ งานเขียนแนวอนุรักษ์ธรรมชาติของชายและหญิง มีการน าเสนอที่แตกต่างกันหรือไม่ ผลกระทบเกี่ยวกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมได้แทรกซึมเข้าไปในเนื้อหา ของวรรณกรรมประชานิยมและวัฒนธรรมประชานิยมอย่างไร ท าอย่างไรวิทยาศาสตร์จึงจะเปิดตัวเอง เข้าสู่การวิเคราะห์วรรณกรรม อะไรคือจุดร่วมที่พอจะเป็นไปได้ระหว่างวรรณคดีศึกษากับวาทกรรม

16 สิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ระหว่าง ปรัชญา ประวัติศาสตร์ จริยศาสตร์ จิตวิทยา ในทาง ทฤษฎีวรรณคดีให้ความส าคัญกับความสัมพันธ์ของนักเขียน ตัวบท และโลก ซึ่งค าว่าโลกนั้นโดยทั่วไป มีความหมายโยงใยถึงสังคม แต่การวิจารณ์เชิงนิเวศกล่าวไว้ว่า โลก หมายรวมถึงโลกในระบบนิเวศ เพราะทุกสรรพสิ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ดังนั้นวรรณคดีจึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับโลกทาง สุนทรียศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวโยงถึงโลกระบบนิเวศ พลังงาน และปฎิสัมพันธ์ทางความคิดด้วย เช่นกัน

นอกจากนั้นเอ็มมานิวล์และโงซิ (Emmanuel & Ngozi, 2015: 32-42) อธิบายถึง แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศไว้ในบทความ Eurocentrism and the African frora and fauna: an ecocritical discourse of Obinkarm Echewa’s The Land’s Lord ว่าเป็นหนึ่งในแนวคิดใน การมองวรรณกรรม เป็นการวิจารณ์ที่มาจากความคิดเรื่องวรรณคดีสีเขียว วรรณกรรมวิจารณ์เชิง นิเวศถูกใช้ครั้งแรกโดย วิลเลียม เรอเคิร์ท (William Rueckert) ในปี 1978 ในบทความชื่อ Literature and Ecology: An Experment in Ecocriticism แนวคิดนี้เป็นการขับเคลื่อนความคิด เชิงนิเวศในวรรณคดีศึกษา การวิจารณ์เชิงนิเวศมีพัฒนาการการวิจารณ์และการวิเคราะห์ที่

หลากหลาย มีลักษณะเป็นสหวิทยาการอันเป็นลักษณะพิเศษของแนวคิดนี้ สิ่งที่น่าสนใจคือการ วิจารณ์เชิงนิเวศเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม ค านิยามของการวิจารณ์เชิง นิเวศอาจแตกต่างกันไป แต่ก็มีลักษณะร่วมที่เหมือนกันคือสนใจศึกษาวรรณกรรมและธรรมชาติใน ฐานะการมองธรรมชาติในมุมใหม่และการท าให้ผู้อ่านได้รับรู้ถึงโลกที่ไม่ได้มีแค่มนุษย์อาศัยอยู่และ น าไปสู่การตระหนักถึงความมีอยู่ของธรรมชาติ การวิจารณ์เชิงนิเวศอ้างถึงหลักฐานที่แสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและพิจารณาถึงผลกระทบที่มนุษย์กระท าต่อธรรมชาติ จาก ที่กล่าวมานั้น เราสามารถสรุปได้ว่า แนวคิดนี้สนใจความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในมุมมอง เชิงนิเวศในวรรณกรรม รวมถึงการพิจารณาทัศคติผู้เขียนที่มีต่อธรรมชาติด้วย การวิจารณ์เชิงนิเวศ เป็นแนวคิดที่แตกแขนงจากแนวคิดการวิจารณ์วรรณคดีซึ่งพิจารณาธรรมชาติ มนุษย์ และการกระท า ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติถูกใช้อย่างเป็นทางการในปี 1990 ซึ่งขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วในการวิจารณ์

วรรณกรรม ในวงการวิชาการได้มีการวิจารณ์ถึงความไม่เป็นธรรมที่มนุษย์กระท าต่อธรรมชาติ และ การตักตวงเอาผลประโยชน์จากธรรมชาติ อันแสดงถึงบทบาทส าคัญในชีวิตและการอยู่รอดของ มนุษยชาติ การวิจารณ์เชิงนิเวศพิจารณาความจริงของมนุษย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและในด้านที่เป็นปฏิปักษ์กับธรรมชาติ โดยมีแนวโน้มของการประสาน ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในฐานะองค์ประกอบที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันและการอยู่ร่วมกันโดยสันติ

ธรรมชาติแสดงให้เห็นบทบาทที่สมบูรณ์ในมนุษย์แต่ถูกละเลยที่จะพูดถึงอย่างจริงจัง นอกจากนั้น ลูก้า (Luga, 2010: 203) ยังได้เสนอว่า โดยรวมของกระบวนการและการกลายเป็นโลกใบหนึ่งนั้น

17 การเข้าไปในโลกและระบบนิเวศและมนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ นี่คือข้อพิสูจน์ว่าความ จริงแล้วมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ผู้ก่อให้เกิดผลกระทบและท าให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง

ขณะที่ไฮสน์ (Heise, 1997: 4) อธิบายถึงแนวคิดดังกล่าวไว้ว่า การวิจารณ์เชิงนิเวศ หรือการวิจารณ์แบบสีเขียว (Green Criticism) เป็นหนึ่งในสาขาสหวิทยาวิทยาการที่เกิดขึ้นใหม่เร็ว ๆ นี้

ซึ่งปรากฏในการศึกษาวรรณคดีและวัฒนธรรม การวิจารณ์เชิงนิเวศวิเคราะห์บทบาทของธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อมที่มีผลในสังคมวัฒนธรรม ค าว่า “ธรรมชาติ” ถูกกล่าวถึงว่าถูกก าหนดคุณค่าอย่างไร หรือถูกปฏิเสธอย่างไรและท าไม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติถูกคาดหวังไปในทิศทางใด สิ่งที่พิเศษกว่านั้นคือ ธรรมชาติในวรรณกรรมถูกอุปมาอย่างไร ธรรมชาติในวรรณกรรมอาจไม่ได้ถูกจัด อยู่ในประเภทวรรณกรรมใดวรรณกรรมหนึ่งอย่างตรงไปตรงมาในการวิเคราะห์จะอธิบายถึงค านิยาม ของค าว่า “ธรรมชาติ” และ “ความเป็นธรรมชาติ” ที่วรรณกรรมและงานเขียนต่าง ๆ ได้ประกอบ สร้างขึ้น จนน าไปสู่การประจักษ์ถึงการมีอยู่ของธรรมชาติ บางครั้งการวิจารณ์เชิงนิเวศยังก้าวล้ าไปยัง แนวคิดอื่น ๆ เช่น แนวคิดทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ในการอภิปรายถึงปัญหาของสิ่งแวดล้อม และการอนุรักษ์ แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กับ แนวคิดทางวรรณกรรมและวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์โต้แย้งเกี่ยวกับการถูกประกอบสร้างขึ้นของ ธรรมชาติในวัฒนธรรมตะวันตก มีการศึกษาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศที่ถูกท าลาย การสูญพันธุ์ของ สิ่งมีชีวิต และการกัดเซาะของดิน วิทยาศาสตร์ให้ความสนใจกับการเหลื่อมล้ าของสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อ พิจารณาในมุมของนักนิเวศวิทยา บางครั้งวิทยาศาสตร์เป็นปฏิปักษ์กับนิเวศวิทยา โดยมองว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ กลุ่มนักนิเวศวิทยา สนับสนุนการต่อต้านการท าลายสิ่งแวดล้อมและมุมมองแบบวัตถุนิยม จากที่กล่าวมาเห็นได้ว่า วิทยาศาสตร์กับสิ่งแวดล้อมบางครั้งมีแนวคิดขัดแย้งกัน วิทยาศาสตร์ควรจะมีส่วนรับผิดชอบต่อ การท าให้ระบบนิเวศเสียสมดุล การวิจารณ์เชิงนิเวศมองกลับไปที่การวิจารณ์วรรณกรรมแบบดั้งเดิม นั่นคือการเข้าถึงธรรมชาติในเชิงสุนทรีย์โดยไม่มีการวิเคราะห์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ บ่อยครั้งที่

การมองธรรมชาติในเชิงตรรกะท าให้สูญเสียความงามเชิงสุนทรียะไป นี่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความ เป็นปฏิปักษ์และความแตกต่างในเชิงการให้ความหมายและการสร้างวาทกรรมให้กับธรรมชาติในแบบ วิทยาศาสตร์กับวรรณคดี ซึ่งบางครั้งวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์อาจท าให้ธรรมชาติขาดความงามทาง วรรณศิลป์ไปแม้จะเป็นการอ่านตัวบทในเรื่องเดียวกันก็ตาม

ไฮสน์ยังได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาในการนิยามค าว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ดังนี้ ค าว่า สิ่งแวดล้อม ได้รับการนิยามที่คลุมเครือมากกว่าค าว่าธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างทั้ง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างไรก็ตามเราควรจะมุ่งความสนใจไปที่นิยาม ของธรรมชาติและวัฒนธรรมมากกว่า โดยที่ธรรมชาติถูกนิยามให้มีความป่าเถื่อนโดยมนุษย์ องค์

ความรู้หลังสมัยใหม่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดประวัติศาสตร์ใหม่ วัฒนธรรมศึกษา และการวิจารณ์

18 วรรณกรรมพยายามจะก าหนดเส้นแบ่งระหว่างธรรมชาติกับวัฒนธรรม วรรณกรรมเชิงนิเวศได้มี

กระบวนการของการประกอบสร้างวาทกรรม การประกอบสร้างสุนทรียภาพซึ่งเป็นการศึกษาสถานที่

ทางธรรมชาติที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ ในเชิงการประกอบสร้างการประกอบสร้างทาง การเมืองเน้นไปที่การลดคุณค่าของธรรมชาติโดยมีประเด็นเรื่องอ านาจเข้ามาเกี่ยวข้อง และสุดท้ายคือ การประกอบสร้างของความเป็นวิทยาศาสตร์ของธรรมชาติมุ่งอธิบายหน้าที่ของระบบนิเวศ ดังนั้นจะ เห็นได้ว่าการศึกษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีแง่มุมที่หลากหลาย

กระบวนการศึกษาโดยใช้แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศนั้น รอย (Roy, 2014: 93) ได้

แสดงให้เห็นว่าแนวคิดดังกล่าวมีวิธีการศึกษาที่คล้ายกับวัฒนธรรมศึกษา เช่น หลังอาณานิคม มาร์กซิสม์ เควียร์ (Queer) หรือสตรีนิยม เพียงแตกต่างในมุมที่ใช้วิเคราะห์ เช่น สตรีนิยมพยามยาม จะสืบสาวการจัดประเภทของเพศและเพศวิถีที่น าเสนอในวรรณกรรมและมีความคิดที่ผันแปรตาม กาลเวลาอย่างไรและมีอิทธิพลต่อปัจจุบันอย่างไร การวิจารณ์เชิงนิเวศก็คล้ายคลึงกันในการท าความ เข้าใจธรรมชาติว่าได้รับการน าเสนอในวรรณกรรมอย่างไรและความคิดที่มีต่อธรรมชาติมีความสัมพันธ์

ต่อมนุษย์อย่างไร พัฒนาการน าเสนอธรรมชาติในวรรณกรรมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร รวมทั้งการศึกษา ความสัมพันธ์ของมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ อะนิเมซยังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า แนวคิดการวิจารณ์

เชิงนิเวศไม่ได้จ ากัดอยู่ที่งานเขียนเกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้นแต่ยังสามารถใช้ในตัวบทที่หลากหลาย นอกจากนั้นธัญญา สังขพันธานนท์ (2556 ข: 50-51 อ้างอิงจาก Scheese) ได้สรุป ลักษณะและวิธีการของวรรณกรรมเชิงนิเวศไว้ดังนี้ แนวคิดและภาคปฏิบัติของการวิจารณ์เชิงนิเวศมี

ความเป็นการเมือง มีจุดมุ่งหมายที่จะเปลี่ยนจิตส านึกของผู้อ่าน สร้างจิตส านึกผ่านองค์ความรู้

เกี่ยวกับสถานที่ที่พวกเขาเคยอาศัยอยู่ให้เกิดกับนักเขียนและผู้อ่านทั่วไป แนวคิดการวิจารณ์เชิงนิเวศ ยังเอื้อต่อการผูกมัด เชื่อมโยง บูรณาการกับทฤษฎีอื่น ๆ เพื่อที่จะเข้าถึงธรรมชาติหรือเรียกได้ว่า เป็นสหวิทยาการ นอกจากนั้นการวิจารณ์เชิงนิเวศยังเหมาะที่จะใช้ประยุกต์กับงานที่มีลักษณะเด่น เกี่ยวข้องกับภูมิประเทศ เนื่องจากจะมีการตอบโต้ระหว่างผู้แต่งกับสถานที่ ตัวละครกับสถานที่

ภูมิประเทศที่ก าหนด โดยเฉพาะองค์ประกอบที่ไม่ใช่มนุษย์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติซึ่งอยู่ใน ฐานะที่มนุษย์ส าเหนียกรู้ และท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การวิเคราะห์อาจมองว่าผู้เขียนน าเสนอ เกี่ยวกับองค์ประกอบทางธรรมชาติต่าง ๆ ให้สัมพันธ์กับธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา อุตุนิยมวิทยา นิเวศวิทยาอย่างไร สิ่งที่น่าสนใจคือนักวิชาการทางการวิจารณ์เชิงนิเวศควรออกวิจัย ภาคสนามเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความประทับใจของผู้อ่าน ผู้เขียน และเพื่อให้เห็นว่าตนเองเป็นส่วน หนึ่งของสิ่งแวดล้อม

ขณะเดียวกันโฮวาร์ด (Howarth, 1996: 69) ได้แสดงทัศนะว่าการวิจารณ์เชิงนิเวศเป็น มากกว่ากระบวนการวิจารณ์ธรรมชาติในวรรณกรรม เขาเสนอว่าค าว่า Ecocriticism มาจากศัพท์ 2 ค าที่มาจากภาษากรีกนั่นคือค าว่า “oikos” และ “kritis” ซึ่งมีความหมายว่าผู้พิพากษาของบ้าน