• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

2.1.3 แนวคิดภาพแทน

นอกจากแนวคิดการวิจารณ์วรรณกรรมเชิงนิเวศแล้ว ยังมีแนวคิดภาพแทนที่ใช้ในการ วิเคราะห์ ซึ่งเป็นแนวคิดส าคัญในการอธิบายการน าเสนอภาพธรรมชาติ สุรเดช โชติอุดมพันธ์ (2559:

112-113) นิยามว่า ภาพแทน ตรงกับภาษาอังกฤษว่า representation แต่ค าว่า “representation”

อาจหมายรวมถึงกระบวนการน าเสนอด้วย ฉะนั้น “representation” จึงมีแง่มุมของการน าเสนอใหม่

และการเป็นตัวแทน นอกจากนั้นสุรเดชยังได้สรุปข้อเสนอของฮอลล์ (Hall) ซึ่งได้อธิบายว่าแต่เดิมนั้น ไม่มีสิ่งใดมีความหมายแต่เราสร้างความหมายให้กับทุกสิ่งทุกอย่างผ่านภาษา ภาษาจึงอยู่กึ่งกลางของ สิ่งที่เราสร้างขึ้นทุกอย่าง ฮอลล์ยังกล่าวอีกว่าภาพแทนมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมอย่างแน่นอน ภาษาเป็นคลังของวัฒนธรรมและความหมาย ฮอลล์สรุปว่าภาพแทนเป็นการผลิตสร้างความหมายโดย ระบบสัญญะ โดยการเชื่อมโยงแนวคิดกับสัญญะเข้าด้วยกัน กระบวนการน าเสนอภาพแทนเกิดได้ 2 ระดับ คือ 1) ระดับการน าเสนอภาพแทนในใจ (Mental Representation) เป็นการพยายามตีความความจริง รอบตัวซึ่งเป็นกระบวนการกลั่นกรองสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราให้เป็นชุดความคิดชุดหนึ่งที่เกิดขึ้นภายใน ใจ 2) ระดับการน าเสนอภาพแทนภายนอก เป็นการสื่อสารชุดความคิดที่ว่านั้นให้ผู้อื่นทราบโดย ระบบสัญญะหนึ่ง ๆ เช่น ภาษา เป็นต้น การน าเสนอภาพแทนมีขั้นตอนที่กลั่นกรองความจริงอย่าง น้อย 2 ระดับ ในงานวรรณกรรมการน าเสนอภาพแทนของสิ่งต่าง ๆ ผ่านภาษาซึ่งมีความน่าสนใจ

25 เพราะภาษาไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่มนุษย์ใช้สื่อสารสิ่งที่อยู่ภายในใจออกมาเท่านั้น แต่ยังมีบทบาท ส าคัญในการสร้างและจัดการความจริง การน าเสนอภาพแทนไม่ได้เป็นกระบวนการที่โปร่งใส แต่เป็น กระบวนการที่แอบแฝงการผลิตความหมาย วรรณกรรมจึงเป็นภาพแทนที่ให้ความหมายกับสิ่งต่าง ๆ ตามแต่ผู้เขียนน าเสนอ

นอกจากฮอลล์ยังได้เชื่อมโยงภาพแทนกับการประกอบสร้างความหมายและภาษาใน วัฒนธรรม ภาพแทนจะใช้ภาษาในการอธิบายให้ความหมายแก่บางสิ่งบางอย่าง และเป็นส่วนหนึ่งของ การอธิบายความหมายที่ถูกผลิตขึ้นมา ฮอลล์ได้อธิบายถึงแนวคิดการเชื่อมโยงความหมายกับภาพ แทนไว้ 3 แนวทางดังนี้ แนวทางที่หนึ่ง Reflective approach มองว่าความหมายขึ้นอยู่กับทุกสรรพ สิ่งในโลกใบนี้ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ภาษา เป็นเพียงกระจกสะท้อนความหมายนั้น แนวคิดนี้จึงมองภาษาเป็นสิ่งบริสุทธิ์ท าหน้าที่สะท้อนความ จริง แนวคิดนี้ต่อมาได้มีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่ามีข้อบกพร่องว่าไม่สามารถทาบความหมายได้สนิทกับสิ่ง ต่าง ๆ แต่เป็นเพียงรหัสที่ใช้ในการอ้างถึงเท่านั้น แนวทางที่สอง Intentional approach มองว่า ความหมายด ารงอยู่ตามธรรมชาติแต่ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้ส่งสาร แนวคิดนี้มองว่าภาษาเป็น อ านาจของผู้ส่งสารในการให้ความหมายของสิ่งต่าง ๆ แนวทางที่สาม Construction approach มอง ว่าความหมายไม่ได้มีอยู่ตามธรรมชาติหรือถูกก าหนดโดยผู้ใดทั้งสิ้น แต่ความหมายเกิดจากการ ประกอบสร้างโดยใช้ระบบสัญญะหรือภาพแทนเพื่อใช้อ้างอิงถึงโลกความจริงให้ผู้อื่นเข้าใจได้ ซึ่งกล่าว ได้ว่า แนวคิดภาพแทนไม่อาจแยกขาดจากวาทกรรมได้ สิ่งต่าง ๆ ไม่ได้มีความหมายในตัวของมันเอง ผู้น าเสนอเป็นผู้ที่ใส่ “ความหมาย” ลงไปในกระบวนการน าเสนอ การศึกษาภาพแทนจึงสามารถ เชื่อมโยงกับแนวคิดเรื่องวาทกรรมได้เพราะทั้ง 2 แนวคิดให้ความส าคัญกับผู้น าเสนอในฐานะที่เป็นผู้

ก าหนดกรอบและให้ความหมายกับสิ่งรอบข้างซึ่งไม่มีความหมายในตัวเอง การศึกษาวรรณกรรมใน ฐานะภาพแทนจึงช่วยท าให้เราเห็นถึงกรอบความคิดที่ผู้แต่งใช้ในการประกอบสร้างความเป็นจริง

นอกจากนั้นไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2556: 423-424 อ้างอิงจาก Shapiro) ยังได้

แสดงทัศนะของการน าเสนอภาพแทนอย่างน่าสนใจว่ามีความเป็นการเมืองที่เรียกว่า “การเมืองของ การน าเสนอ” (The Politic of Representation) เขาอธิบายว่าการน าเสนอใช่การสะท้อนความจริง แต่มันเป็นการสร้างความหมายและคุณค่าให้สิ่งนั้น แต่เราคุ้นชินว่าวิธีการน าเสนอกับสิ่งที่ถูกน าเสนอ เป็นสิ่งเดียวกัน การเมืองของการน าเสนอเป็นความพยายามที่จะท าให้สิ่งที่ถูกน าเสนอเกิดความพร่า มัวไม่ชัดเจนเพื่อที่จะน าไปสู่มุมมองหรือความหมายแบบอื่น การน าเสนอมี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก คือการตอกย้ าหรือผลิตซ้ าคุณค่าและโครงสร้างอ านาจต่าง ๆ ที่ด ารงอยู่ในสังคม ลักษณะที่สองคือ การน าเสนอเพื่อท้าทายและตั้งค าถามกับระบบและโครงสร้างอ านาจที่ด ารงอยู่ในสังคม

26 ขณะที่วันชนะ ทองค าเภา (2554: 14) สรุปความหมายของภาพแทนว่า เป็นการน า ความจริงหรือภาพต้นแบบมาเสนอซ้ าอีกครั้งโดยที่อาจไม่ต้องน าเสนอตรงกับภาพต้นแบบ เพราะภาพ แทนเป็นการน าเสนอครั้งใหม่ดังนั้นจึงไม่จ าเป็นต้องมีคุณสมบัติเท่าเทียมกับภาพดั้งเดิมแต่เป็นเพียง ตัวแทนที่มีความคล้ายคลึงกับภาพต้นแบบเท่านั้น สอดคล้องกับกาญจนา แก้วเทพ (2545: 80) ที่

กล่าวว่าภาพแทนไม่ใช่สิ่งที่เคยเป็น แต่เป็นภาพที่เกิดจากการประกอบสร้างใหม่ตลอดเวลา ภาพแทน จะมีลักษณะอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าถูกน าเสนออย่างไรหรือถูกเล่าเรื่องออกมาอย่างไร

นอกจากนี้อภิญญา เฟื่องฟูสกุล (2546: 93) เสนอถึงกลไกการสร้างภาพแทนว่า แท้จริง แล้วการสร้างภาพแทนคือการท าให้เรามองเห็นถึงอ านาจที่แฝงในกระบวนการสร้างภาพซึ่งหลีกเลี่ยง ไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงภาพลักษณ์ต้นแบบ ภาพลักษณ์ต้นแบบหมายถึงการเลือกดึงเอาคุณสมบัติบาง ประการที่เด่นชัด เข้าใจง่าย เป็นที่รับรู้ทั่วไปมาน าเสนอด้วยการลดทอนคุณสมบัติบางประการลงไปให้

เหลือเพียงไม่กี่อย่าง

ส่วนการน าเสนอภาพธรรมชาติผ่านภาษานั้นไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2554: 257-265 อ้างอิงจาก Herndl & Brown, 1996: 3-20) เสนอไว้อย่างน่าสนใจว่าธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ใช่

วัตถุสิ่งของแต่เป็นการสร้างขึ้นผ่านภาษาหรือวาทกรรม สิ่งแวดล้อมกับภาษาจึงแยกกันไม่ออกเพราะ ภาษามักเชิดชูความคิด ความเชื่อ ความรู้ชุดหนึ่ง ในขณะที่เก็บกด ปิดกั้นความรู้ชุดหนึ่งเสมอ การ ปะทะกับวาทกรรมธรรมชาติที่ดีที่สุดคือการวิเคราะห์โวหาร (Rhetorical Analysis) ค าถามหลักของ การวิเคราะห์โวหารคือ มนุษย์ใช้ภาษาในการสร้างโลกอย่างไร การวิเคราะห์โวหารให้ความส าคัญกับ การน าเสนอเพราะการน าเสนอธรรมชาติแบบหนึ่งจะน าไปสู่การเคลื่อนไหว การปฏิบัติต่อธรรมชาติที่

แตกต่างกันไป นอกจากนั้นยังให้ความส าคัญกับตัวบท (Text) เพื่อเชื่อมโยงกับบริบท เพื่อพิจารณา ฉากที่ตัวบทน าเสนอว่ามีสารใดที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสาร นอกจากนี้วาทกรรมธรรมชาติยังสามารถ จ าแนกออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ ประการแรก วาทกรรมแบบจัดระบบ ระเบียบ ควบคุม (The Regulatory Discourse) วาทกรรมลักษณะนี้มักผลิตโดยสถาบันที่มีอ านาจในสังคมที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการธรรมชาติ วาทกรรมชุดนี้มองธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นทรัพยากรที่มีไว้ตอบสนอง ความต้องการของมนุษย์ ประเภทที่สอง วาทกรรมวิทยาศาสตร์ (The Scientific Discourse) ธรรมชาติถูกมองเป็นวัตถุเพื่อการศึกษา ผ่านวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ มีการแยกวิธีการศึกษา ผู้ศึกษา และสิ่งที่ถูกศึกษาออกจากกัน ขณะเดียวกันก็เชิดชูความสามารถของผู้ศึกษาด้วยว่าท าให้เรา เข้าใจธรรมชาติอย่างถูกต้อง และประเภทที่สาม วาทกรรมแบบกวี (The Poetic Discourse) มอง ธรรมชาติในเชิงสุนทรีย์ ใช้ภาษาพรรณนาถึงความงามของธรรมชาติ มองธรรมชาติในเชิงคุณค่า สร้าง จิตวิญญาณให้กับมนุษย์ ภาษาที่ใช้มักช่วยให้มนุษย์ตระหนักถึงคุณค่าของธรรมชาติ วาทกรรมชุดนี้

ลดทอนด้านโหดร้ายของธรรมชาติลง

27 ภาพแทนธรรมชาติคือการน าเสนอธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ปรากฏในตัวบทโดยบรรจุ

คุณสมบัติบางประการไว้ บูเอล (Buell, 2005: 30-31, 45) เสนอว่า การน าเสนอภาพธรรมชาติเป็น ทั้งการประดิษฐ์ใหม่ (Invention) และการค้นพบ (Discovery) การมองธรรมชาตินั้นแบ่งออกเป็น 2 คลื่นความคิดคือ การพิจารณาธรรมชาติในมุมมองของบูรพศึกษาหรือการศึกษาระบบคิดของคนใน สังคมทางซีกโลกตะวันออก และการวิเคราะห์ธรรมชาติในเชิงการตีความใหม่ที่ให้ความยุติธรรมเชิง นิเวศ (Ecojustice) โดยที่การน าเสนอภาพธรรมชาติแบบเดิมนั้นให้ความส าคัญกับภาพธรรมชาติที่

สมจริง (Realistic) ซึ่งการให้ภาพธรรมชาติดังกล่าว บูเอลได้อ้างถึง จอห์น บูร็อก (John Burrought) ที่ได้แสดงความเห็นว่างานเขียนแนวธรรมชาตินิยมนั้นไม่ใจกว้างต่อความเป็นจริง เขายกตัวอย่างว่า บางครั้งพืชเฉพาะถิ่นนั้นอยู่นอกเหนือจากถิ่นที่นักเขียนเหล่านั้นอาศัยอยู่ การให้ภาพธรรมชาติเป็น สัจจนิยมนั้นถือได้ว่าเป็นความล้าสมัย เมื่อพิจารณางานวรรณกรรมแล้วกลับพบว่ารูปแบบการเขียน วรรณกรรมนั้นมีข้อได้เปรียบกว่างานเขียนประเภทอื่น ๆ ในการจ าลองธรรมชาติขึ้นมา เป็นการเสนอ ภาพธรรมชาติแบบใหม่ ดังนั้นการวิจารณ์เชิงนิเวศจึงไม่ได้สนใจเรื่องของภาพที่น าเสนอเพียงอย่าง เดียวแต่ยังสนใจกลวิธีทางภาษาที่ใช้น าเสนอธรรมชาติในฐานะเป็นองค์ประกอบ ใช้ประกอบสร้าง ความเป็นตัวตนของธรรมชาติ นอกจากนั้นบูเอลยังได้กล่าวไว้อีกว่าโวหารในวรรณกรรมนั้นเป็นสิ่งที่

น่าสนใจที่สุดในการวิเคราะห์ภาพของธรรมชาติ โวหารที่ใช้พรรณนาธรรมชาตินั้นไม่ได้บอกเพียงแต่

ภาพลักษณ์ของธรรมชาติภายนอกเท่านั้นแต่ยังรวมถึงการน าเสนอความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติผ่าน ภาษา และนี่เองคือความสามารถพิเศษของภาษา มันไม่ใช่เพียงภาพแทนของโลกแต่มันยังเป็นการ บอกว่าเราสัมพันธ์กับโลกใบนี้อย่างไร

เช่นเดียวกับฟีเดอร์8 (Feder, 2010: 59) อธิบายว่าภาษาคือระบบของการสื่อสาร ซึ่งเป็นสัญญะอย่างหนึ่ง ภาษาท าให้สิ่งนามธรรมเป็นรูปธรรม นอกจากนั้นภาษายังสนับสนุนการ แบ่งแยกมนุษย์ออกจากสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์และแยกธรรมชาติออกจากวัฒนธรรม ภาษาน าเสนอให้เห็น ความแตกต่างระหว่างมนุษย์และธรรมชาติหรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือความแตกต่างระหว่างการเป็น ตัวแทนและการไม่เป็นตัวแทน เรารู้จักธรรมชาติผ่านการน าเสนอแบบจินตภาพและการใช้ค า การวิจารณ์เชิงนิเวศเป็นการศึกษาธรรมชาติและวัฒนธรรมในรูปแบบของสัญญะ ซึ่งน าไปสู่การ ตีความหมายโดยการถอดรหัสตัวบท (William, 1996: 77)

โดยสรุป ภาพแทนเป็นแนวคิดที่โต้แย้งกรอบคิดเรื่องภาพสะท้อน (Reflection) ที่มอง ว่าวรรณกรรมเป็นกระจกสะท้อนสังคม แนวคิดภาพแทนเชื่อว่าตัวบทเป็นเพียงการน าเสนอภาพของ

8 Language, defined as asystem of communication that signifies abstract concepts as well as concrete referents, is supposedly that which separates human beings from creatures and, correspondingly, culture from nature. Language represents the differents between human and nonhuman as the difference between agency and nonagency.