• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวิเคราะห์องค์ประกอบการสร้างสรรค์และนวัตกรรมจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่

92 ด้านปัญญาสร้างสรรค์ (Creativity Cognitive) ด้านจิตใจเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Affective) ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) ด้านการสร้างนวัตกรรม (Implement Innovations)

93 “...การสร้างสรรค์และนวัตกรรมต้องความใหม่ สิ่งที่ถูกพัฒนาขึ้นหรือปรับปรุง จากของเดิมต้องค านึงถึงประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ คือเพิ่มมูลค่า เพิ่มประโยชน์ให้สิ่งนั้น ๆ สมองต้องได้ว่าจ าท าให้เกิดสิ่งใหม่ได้อย่างไร โดยที่ ไม่ซ้ าใคร ไม่เลียนแบบใคร...”

“...ก่อนหน้าจะสร้างสรรค์อาจารย์คิดว่า การส ารวจค้นหาความต้องการหรือ อุปสรรคจากสภาพแวดล้อมก็มีส่วนส าคัญ จากนั้นค่อยไปการเลือกสรรนวัตกรรมเพื่อน าไปใช้ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด...”

“...อีกความหมายถึงอาจจะเป็นการน าไปใช้ หรือด าเนินการ การเรียนรู้

หรือการประเมินผลการใช้ การเลือกที่จะใช้ต่อหรือปรับปรุงอันนี้ก็เรียกว่าสร้างสรรค์สิ่งที่มีอยู่เดิม ปรับปรุงให้ดีขึ้น...”

(ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1, วันที่ 17 ตุลาคม 2562 : การสัมภาษณ์) “...การสร้างสรรค์และนวัตกรรมมี 2 องค์ประกอบที่ส าคัญเลย คือ ทักษะ

กระบวนและผลผลิต ทักษะกระบวนการได้แก่ 1) คุณภาพของการปฏิบัติ 2) เวลา ความคุ้มค่า ความทันสมัย 3) ทักษะการปรับปรุงการท างาน 4) ความปลอดภัย 5) การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า ส่วนผลผลิต คือ 1) คุณภาพผลงาน 2) ปริมาณงาน 3) ทักษะการปรับปรุงงาน 4) ความปลอดภัย 5) ความสิ้นเปลือง 6) ความใหม่ เป็นชิ้นงานที่ไม่เคยมีมาก่อน 7) มิติการแก้ปัญหาผลงาน 8) การต่อ เติมเสริมแต่ง ความสวยงาม...”

“...และต้องตั้งเป้าหมายและลงมือท าให้ส าเร็จด้วย...”

(ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2, วันที่ 18 ตุลาคม 2562 : การสัมภาษณ์) “...การสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นทักษะในการปรับปรุงแนวคิด เป็นทักษะใน การน าสิ่งต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในทางสร้างสรรค์...”

“...เป็นการน าความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ผ่านกระบวนการคิด ริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียดลออ...”

“...เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เป็นรูปธรรม...”

(ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3, วันที่ 19 ตุลาคม 2562 : การสัมภาษณ์) “...เป็นความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์ ไม่ซ้ าแบบเดิม หรือปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น...”

“...แรงจูงใจภายในเพื่อการสร้างสรรค์ ได้แก่ ความกระตือรือร้นตื่นตัว ความอยากรู้อยากเห็น ความกล้าในการเสี่ยง ชอบความท้าทาย แหวกแนว ไม่ยึดติดกับของเดิม มีความเป็นผู้น า กล้าออกจากกรอบประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายใต้ความเป็นจริง...”

94 “...เป็นนักปฏิบัตินิยม คือ มีการตั้งเป้าหมาย การวางแผน การลงมือปฏิบัติตาม แผน การน านวัตกรรมไปใช้ การประเมิน และการปรับปรุงชิ้นงาน โดยค านึงถึงคุณค่า และประโยชน์

ของชิ้นงานใหม่ที่สร้างขึ้น...”

(ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 4, วันที่ 20 ตุลาคม 2562 : การสัมภาษณ์) “...การสร้างสรรค์และนวัตกรรมเป็นบุคลิกภาพภายในและภายนอกของบุคคลที่

แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ชอบอยู่ในสถานการณ์ใหม่ ๆ ชอบความท้าทาย มองความล้มเหลว เป็นโอกาสในการเรียนรู้ เข้าใจว่าการสร้างสรรค์ต้องใช้เวลาเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ มีความมุ่งมั่นพยายาม เอาชนะอุปสรรค เชื่อว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาได้...”

(ผู้เชี่ยวชาญคนที่ 5, วันที่ 20 ตุลาคม 2562 : การสัมภาษณ์) สรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับองค์ประกอบการสร้างสรรค์และนวัตกรรม

ทั้ง 4 องค์ประกอบ และเพิ่มเติมนิยามบางส่วนสรุปได้ดังนี้

องค์ประกอบที่ 1 การใช้ข้อมูลพื้นฐานและความรู้ต่าง ๆ มาปรับปรุงแนวคิด ด้วยเทคนิควิธีการที่หลากหลายมุมมอง หลากหลายมิติ ให้เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีแปลกใหม่

ไปจากสิ่งเดิม หรือปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีประโยชน์ มีคุณค่ามากขึ้น เป็นการน าความรู้พื้นฐานหรือ ประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ผ่านกระบวนการคิดริเริ่ม คิดคล่องแคล่ว คิดยืดหยุ่น และคิดละเอียดลออ เพื่อให้เกิดเป็นความคิดใหม่ที่สร้างสรรค์ ไม่ซ้ าแบบเดิม หรือปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 2 แรงจูงใจภายในเพื่อการสร้างสรรค์ ได้แก่ ความกระตือรือร้น ตื่นตัว ความอยากรู้อยากเห็น ความกล้าในการเสี่ยง ชอบความท้าทาย แหวกแนว ไม่ยึดติดกับ ของเดิม มีความเป็นผู้น า กล้าออกจากกรอบประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมภายใต้ความเป็นจริง การมองความผิดพลาดล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้ พลิกวิฤตเป็นโอกาส การเปิดใจยอมรับ ความคิดหรือสถานการณ์ใหม่ ๆ เข้าใจว่าความคิดแปลกใหม่เป็นสิ่งที่ท าให้คนยอมรับได้ยากต้องใช้

เวลามากในการยอมรับ และมีความพยายามในการสร้างสรรค์ มีความมุ่งมั่นในความส าเร็จ เอาชนะ อุปสรรคต่าง ๆ บุคลิกภาพภายในของบุคคลที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็น ชอบอยู่ในสถานการณ์

ใหม่ ๆ ชอบความท้าทาย มองความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้ เข้าใจว่าการสร้างสรรค์ต้องใช้

เวลาเพื่อให้ผู้อื่นยอมรับ มีความมุ่งมั่นพยายามเอาชนะอุปสรรค เชื่อว่าทุกสิ่งสามารถพัฒนาได้

องค์ประกอบที่ 3 การแสดงพฤติกรรม หรือความรู้สึกใน การท างานร่วมกับผู้อื่น เพื่อการสร้างสรรค์ ได้แก่ การระดมความคิดร่วมกับผู้อื่น ความกล้าในการสื่อสารความคิดใหม่ ๆ ของตนเอง เพื่อให้ผู้อื่นยอมรับอย่างมีประสิทธิภาพ การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นแปลกใหม่

95 ที่เป็นไปไม่ได้ของผู้อื่น หรือยอมรับแนวคิดของผู้อื่นที่ตรงข้ามกับความคิดของตนเอง ความรับผิดชอบ ในการท างาน มีความเป็นผู้น า และผู้ตามที่ดี แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นเสมอ

องค์ประกอบที่ 4 การลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ให้เกิด เป็นนวัตกรรมใหม่เป็นรูปธรรมที่มีคุณค่า มีประโยชน์ ได้แก่ การตั้งเป้าหมาย รู้ถึงจุดประสงค์

ในการสร้าง การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน การน านวัตกรรมไปใช้ การประเมิน การปรับปรุง ชิ้นงาน เป็นการลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างชิ้นงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เป็นรูปธรรม โดยมีความเป็น นักปฏิบัตินิยม คือ มีการตั้งเป้าหมาย การวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผน การน านวัตกรรมไปใช้

การประเมิน และการปรับปรุงชิ้นงาน โดยค านึงถึงคุณค่า และประโยชน์ของชิ้นงานใหม่ที่สร้างขึ้น ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบการสร้างสรรค์และนวัตกรรมจากการศึกษาเอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ โดยใช้ค าถามปลายเปิด ท าให้ผู้วิจัยได้

องค์ประกอบของการสร้างสรรค์และนวัตกรรม รวมถึงนิยามความหมายและพฤติกรรมบ่งชี้ ดังนี้

96

ภาพประกอบ 5 องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การสร้างสรรค์และนวัตกรรม

การสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation) หมายถึง คุณลักษณะใน การคิดเพื่อสร้างสรรค์ ประยุกต์ แก้ปัญหา และจะต้องท างาน สื่อสาร ประสานงานกับร่วมผู้อื่น เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ชิ้นงานที่มีความแปลกใหม่ เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทรอบตัว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่

1. ปัญญาสร้างสรรค์ (Creativity Cognitive) หมายถึง คุณลักษณะในการน าความรู้

พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมที่มีอยู่มาปรับปรุง สร้างสรรค์เป็นความคิดที่แปลกใหม่ แตกต่างจากเดิม ปรับปรุงสิ่งเดิมให้ดีขึ้น มีประโยชน์มีคุณค่ามากขึ้น

97 2. จิตใจเชิงสร้างสรรค์ (Creativity Affective) หมายถึง คุณลักษณะภายใน

ตัวบุคคลที่แสดงถึงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็น กล้าเสี่ยง กล้าท้าทาย มองความล้มเหลว เป็นโอกาสในการเรียนรู้ อดทนต่ออุปสรรค

3. ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (Social Interaction) หมายถึง คุณลักษณะในการสื่อสาร ความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจในความคิดของตนเอง ความกล้าในการเสนอความคิดแปลกใหม่ของตนเอง ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน การยอมรับความคิดแปลกใหม่ของผู้อื่นเพื่อก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่

4. การสร้างนวัตกรรม (Implementing Innovations) หมายถึง คุณลักษณะ ในการลงมือสร้างชิ้นงานให้เกิดเป็นนวัตกรรมใหม่เป็นรูปธรรม โดยมีความเป็นนักปฏิบัตินิยม คือ มีการตั้งเป้าหมาย การวางแผน การลงมือปฏิบัติ ตามแผน การน านวัตกรรมไปใช้ การประเมิน และการปรับปรุงชิ้นงาน โดยค านึงถึงคุณค่า และประโยชน์ของชิ้นงานใหม่ที่สร้างขึ้น

จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ท าให้ได้ข้อสรุปที่น าไปสู่การก าหนดองค์ประกอบของการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ซึ่งสามารถ ก าหนดตัวบ่งชี้เชิงพฤติกรรม ความหมาย และค าอธิบายเชิงพฤติกรรมของการสร้างสรรค์และ นวัตกรรม ปรากฏดังตาราง 9

Garis besar

Dokumen terkait