• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

การทดลอง 3 ขั้นตอน ดังนี้

3. ทดสอบ คะแนนที่ได้ของแต่ละ บุคคล

ขั้นตอน

1. ผู้เรียนอ่านเนื้อหาชุดที่ 1 เพื่อให้เข้าใจเรื่อง ทั้งหมด (อาจให้เป็นการบ้าน)

2. ผู้เรียนอ่าน Expert sheets คนละหัวข้ออย่าง ตั้งใจ

3. ให้ผู้เรียนเข้ากลุ่มใหม่ (Expert group) ตาม หัวข้อที่อ่าน อภิปรายร่วมกัน ประมาณครึ่งชั่วโมง จนเข้าใจทุกประเด็น

4. ผู้เรียนเข้ากลุ่มเดิม (Home group) เล่าเรื่องที่

อ่าน และอภิปรายให้เพื่อนในกลุ่มฟัง

5. ทดสอบครอบคลุมทุกหัวข้อ คะแนนที่ได้เป็น คะแนนของกลุ่ม ซึ่งมาจากคะแนนความก้าวหน้า ของแต่ละคน ดังนั้น ผู้เรียนจึงตั้งใจศึกษาใน Expert group เพื่อให้ได้คะแนนทดสอบสูง

6. รับรางวัลเช่นเดียวกับ STAD การใช้ Jigsaw ในลักษณะอื่น

Jigsaw เป็นเทคนิคของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดสามารถปรับ รายละเอียดของการใช้ แต่ยังคงองค์ประกอบส าคัญไว้ เช่น

1. แทนที่จะให้ผู้เรียนอ่านเนื้อหาที่ครูเตรียมให้ ให้ผู้เรียนค้นเนื้อหาจากห้องสมุด หรือ อินเตอร์เน็ต

2. แทนที่จะท าการทดสอบ หลังจากผู้เชี่ยวชาญเล่าให้เพื่อนฟัง ครูอาจให้ผู้เรียนเขียน รายงาน หรือรายงานปากเปล่าหน้าชั้น

3. แทนที่จะให้ทุกทีมศึกษาเนื้อหาเรื่องเดียวกัน ให้แต่ละทีมศึกษาทีมละหัวข้อโดย สมาชิกแต่ละคนได้ศึกษาหัวข้อย่อย แล้วเตรียมรายงานหน้าชั้นเรียน

4. Group investigation เป็นเทคนิคที่เหมาะส าหรับการเรียนรู้ที่ต้องการค้นหา Dewey (1969) เชื่อว่าผู้เรียนต้องการเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย การศึกษาต้องจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน

ตัดสินใจหรือแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย ชั้นเรียนต้องให้โอกาสมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ใน กระบวนการประชาธิปไตย โดยเข้าไปศึกษา ค้นสืบสอบ ปัญหาจริง ๆ

Group investigation มักน ามาใช้สอนการเรียนรู้ที่มีประเด็นสังคม หรือจิตพิสัย การ แบ่งปันกันรับผิดชอบการเรียนรู้ ช่วยสร้างความตระหนัก และความอดทนต่อความแตกต่างระหว่าง บุคคล

วิธีการของ Group investigation มี 6 ขั้นตอน ดังนี้

4.1 การเลือกหัวข้อ ครูให้หัวข้อ ผู้เรียนแบ่งเป็นหัวข้อย่อย ผู้เรียน จัดกลุ่ม 2 - 6 คน ตามงาน ให้คละกันทั้งความสามารถและเพศ

4.2 การร่วมกันวางแผน ผู้เรียน และครูร่วมกันวางแผนวิธีการเรียนรู้ และงาน ก าหนด เป้าหมายของหัวข้อย่อย

4.3 การด าเนินการ ผู้เรียนน าแผนไปท ากิจกรรมและฝึกทักษะต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน ครูติดตามดูความก้าวหน้าอย่างใกล้ชิด และให้ความช่วยเหลือเมื่อจ าเป็น

4.4 การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ผู้เรียนวิเคราะห์และประเมินข้อมูลจากการท ากิจกรรม ในขั้นที่ 3 และวางแผนสรุปให้น่าสนใจ

4.5 การน าเสนอผลงาน กลุ่มน าเสนอผลที่ได้จากการศึกษาอย่างน่าสนใจและเปิดโอกาส ให้เพื่อนในชั้นมีส่วนร่วมในงานของแต่ละกลุ่ม ท าให้มีความคิดที่กว้างขวางขึ้น

4.6 การประเมิน ในกรณีที่ศึกษาหัวข้อเดียว แต่กลุ่มละหัวข้อย่อย ผู้เรียนและครูจะช่วยกัน ประเมินความร่วมมือของแต่ละกลุ่มเป็นภาพรวมของชั้น

สมศักดิ์ ภู่วิภาวรรธณ์ (2554, น. 3– 4) กล่าวว่า วิธีการเรียนแบบร่วมมือ 3 วิธีต่อไปนี้

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีนัยส าคัญ วิธีการทั้ง 3 คือ

การแข่งขันเป็นทีม (Teams – Games – Tournaments) เป็นวิธีการที่ตื่นเต้นสนุกสนานที่สุด การที่ต้องแข่งขันกันในเกมส์การเรียนแบบเผชิญหน้ากันท าให้เกิดความตื่นเต้นการต้องแข่งขัน ท าให้ผู้เรียนใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์มากขึ้น

1. การประสบความส าเร็จเป็นทีม (Student Teams – Achievement Divisions) เป็น วิธีการที่ใช้แบบทดสอบสั้น ๆ แทนเกมส์ ได้ปรึกษาช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียนเป็นทีม ผู้สอนต้องใช้เวลามากในการตรวจให้คะแนนแบบทดสอบ โดยเน้นค าถามแบบที่ต้องการค าตอบที่

ถูกที่สุดเพียงค าตอบเดียว

2. วิธีการติดต่อภาพ (Jigsaw) เป็นการช่วยเหลือกันในกลุมเพื่อนจะมีแบบแผน เน้นเรื่อง สิ่งที่สมาชิกน ามาให้กลุ่มมาก ในส่วนที่เกี่ยวกับความเข้าใจใน Concept และในกรณีที่นักเรียนต้อง อ่านเนื้อหา จะใช้วิธีการตัดต่อภาพได้ดี

ดังนั้นสรุปได้ว่าเราควรเลือกใช้ TGT หรือ STAD ถ้าเนื้อหาที่ต้องการถาม ถามในข้อความ ที่ต้องการค าตอบตรงไปตรงมาโดยไม่ต้องแสดงความคิดเห็น และควรใช้ Jigsaw เมื่อเรียนเกี่ยวกับ แนวคิด (Concept)

ทิศนา แขมมณี (2555, น. 266 - 271) รวบรวมรูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือ 8 รูปแบบไว้ดังนี้

1. กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) มีเทคนิคการสอนดังนี้

1.1 เข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (Home Group)

1.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านเรา ได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระ คนละ 1 ส่วน (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาค าตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอน มอบหมายให้

1.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านเรา แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหา เดียวกัน ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) ขึ้นมา และร่วมกันท าความเข้าใจในเนื้อหาสาระ นั้นอย่างละเอียดและร่วมกันอภิปรายหาค าตอบประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้

1.4 สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ กลับไปสู่กลุ่มบ้านเรา แต่ละคนช่วยสอนเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจในสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เช่นนี้ สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวม ของสาระทั้งหมด

1.5 ผู้เรียนทุกคนท าแบบทดสอบ แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคลและน า คะแนนทุกคนในกลุ่มบ้านเรามารวมกัน (หรือหาค่าเฉลี่ย) เป็นคะแนนกลุ่ม กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด ได้รับรางวัล

2. การเรียนการสอนแบบ Student Teams-Achievement Division (STAD)

การเรียนการสอนแบบ Student Teams-Achievement Division (STAD) มีขั้นตอน การสอนดังนี้

2.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คน และเรียก กลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (Home Group)

2.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านเรา ได้รับเนื้อหาสาระศึกษาเนื้อหาสาระนั้นร่วมกันเนื้อหา สาระนั้นอาจมีหลายตอน ซึ่งผู้เรียนอาจท าแบบทดสอบในแต่ละตอนและเก็บคะแนนของตนไว้

2.3 ผู้เรียนทุกคนท าแบบทดสอบครั้งสุดท้าย ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอดและน า คะแนนของตนไปหาคะแนนพัฒนาการ (Improvement Score) ซึ่งหาได้ดังนี้

คะแนนพื้นฐาน : ได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลาย ๆ ครั้ง ที่ผู้เรียน แต่ละคนท าได้

คะแนนที่ได้ : ได้จากการน าคะแนนทดสอบครั้งสุดท้ายลบคะแนนพื้นฐาน คะแนนพัฒนาการ : ถ้าคะแนนที่ได้คือ

-11 ลงมา คะแนนพัฒนาการเท่ากับ 0

-1 ถึง -10 คะแนนพัฒนาการเท่ากับ 10

+1 ถึง 10 คะแนนพัฒนาการเท่ากับ 20 +11 ขึ้นไป คะแนนพัฒนาการเท่ากับ 30

2.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านเรา น าคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกัน เป็นคะแนนของกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด กลุ่มนั้นได้รางวัล

3. การเรียนการสอนแบบ Team-Assisted Individualization (TAI)

การเรียนการสอนแบบ Team-Assisted Individualization(TAI) มีขั้นตอนการสอน ดังนี้

3.1 จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ (เก่ง-กลาง-อ่อน) กลุ่มละ 4 คน และเรียก กลุ่มนี้ว่า กลุ่มบ้านของเรา (Home Group)

3.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน 3.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา จับคู่กันท าแบบฝึกหัด

3.3.1 ถ้าใครท าแบบฝึกหัดได้ 75% ขึ้นไป ให้ไปรับการทดสอบรวมยอดครั้ง สุดท้ายได้

3.3.2 ถ้ายังท าแบบฝึกหัดได้ไม่ถึง 75% ให้ท าแบบฝึกหัดซ่อมจนกระทั่งท าได้

แล้วจึงไปรับการทดสอบรวมยอดครั้งสุดท้าย

3.4 สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราแต่ละคน น าคะแนนทดสอบรวบยอดมารวมกันเป็น คะแนนกลุ่ม กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุด กลุ่มนั้นได้รางวัล

สรุปเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ผู้สอนจะต้องค านึงถึงความแตกต่างระหว่าง บุคคลและธรรมชาติเนื้อหาวิชา เพื่อให้มีความสอดคล้องกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงจะ มีประสิทธิภาพ และผู้เรียนจะมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบ ล้วนเป็นรูปแบบที่

น่าสนใจ มีความแปลกใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อต้องการให้การเรียนสอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผู้เรียนจะเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น มีโอกาสพัฒนาความสามารถในการคิดมากขึ้น และเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน

ประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ

วันเพ็ญ จันทร์เจริญ (2542, น. 120 - 128) กล่าวถึงประโยชน์ของการเรียนแบบร่วมมือ ดังนี้

1. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกเพราะทุก ๆ คน ร่วมมือในการท างานกลุ่ม ทุก ๆ คน มีส่วนร่วมเท่าเทียมกัน

2. สมาชิกทุกคนมีโอกาสคิด พูดแสดงออก แสดงความคิดเห็น ลงมือกระท าอย่างเท่า เทียมกัน

3. เสริมให้มีความช่วยเหลือกัน เช่น เด็กเก่งช่วยเด็กที่เรียนไม่เก่ง ท าให้เด็กเก่งภูมิใจ รู้จักสละเวลา ส่วนเด็กที่ไม่เก่งเกิดความซาบซึ้งในน ้าใจของเพื่อนสมาชิกด้วยกัน

4. ร่วมกันคิดทุกคนท าให้เกิดการระดมความคิด น าข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกัน เพื่อ ประเมินค าตอบที่เหมาะสมที่สุด เป็นการส่งเสริมให้ช่วยกันคิดหาข้อมูลให้มาก และวิเคราะห์และ ตัดสินใจเลือก

5. ส่งเสริมทักษะทางสังคม เช่น หารอยู่ร่วมกันด้วยมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เข้าใจกัน และกัน อีกทั้งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการท างานเป็นกลุ่ม สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งเสริมผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนสูงขึ้น

จากที่กล่าวมาทั้งหมด สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่

ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนมีความพยายามเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้

เป็นการท างานร่วมกันเป็นกลุ่ม เน้นให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการเรียนรู้

มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนความรู้ มีการปรึกษาหารือกัน ให้ก าลังใจซึ่ง กันและกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจในการท างาน และประสบผลส าเร็จในการ เรียนรู้ ซึ่งผลส าเร็จของผู้เรียนแต่ละคน จะน าไปสู่ผลส าเร็จของกลุ่ม และยังช่วยพัฒนาทักษะทาง สังคมได้เป็นอย่างที่ดี ซึ่งขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม และน าเสนอบทเรียน ขั้นสอน ขั้นกิจกรรมกลุ่ม ขั้นตรวจผลงานและทดสอบ และขั้นสรุปบทเรียน และมีเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีหลากหลายเทคนิค คือ เทคนิคการเรียนแบบแบ่งกลุ่ม ผลสัมฤทธิ์ (STAD) เทคนิคจัดกลุ่มแบบช่วยรายบุคคล (TAI) เทคนิคเรียนร่วมกัน (LT) เทคนิค แบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) และเทคนิคคิดเดี่ยว คิดคู่ ร่วมกันคิด (Think Pair Share) เป็นต้น ดังนั้น ผู้สอนจะต้องค านึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและธรรมชาติเนื้อหาวิชา เพื่อให้มีความ สอดคล้องกัน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนจึงจะมีประสิทธิภาพ และผู้เรียนจะมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งมีหลายรูปแบบแต่ละรูปแบบ ล้วนเป็นรูปแบบที่น่าสนใจ มีความแปลกใหม่ มีจุดมุ่งหมายเพื่อ