• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

การทดลอง 3 ขั้นตอน ดังนี้

3) ภาษา 4) พฤติกรรม

กิลฟอร์ด กล่าวโดยสรุปว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถด้านสมองที่จะคิด ได้หลายแนวทางหรือคิดได้หลายค าตอบ เรียกว่า การคิดแบบอเนกนัย

Torrance (1962, น.16) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถของบุคคลใน การคิดสร้างสรรค์ผลิตผล หรือสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ อาจจะเกิด จากการรวมความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากประสบการณ์แล้วเชื่อมโยงกับสถานการณ์ใหม่ ๆ สิ่งที่เกิดขึ้น แต่ไม่จ าเป็นสิ่งสมบูรณ์อย่างแท้จริง ซึ่งอาจออกมาในรูปของผลผลิตทางศิลปะ วรรณคดี วิทยาศาสตร์

Wallach and Kogan (1965, น. 13 - 20) ให้ความหมายของความคิดสร้างสรรค์ว่า หมายถึงความคิดโยงสัมพันธ์ (Association) คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ คือ คนที่สามารถจะคิด อะไรได้อย่างสัมพันธ์เป็นลูกโซ่

สุพัตรา ทาวงศ์ (2526, น. 3) กล่าวถึง ความคิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของ สมองซึ่ง มีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถน าไป ประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนน าไปสู่การคิดค้นและสร้าง สิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่า เนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่น การมีความคิด สร้างสรรค์ในการท างาน การเรียนหรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือการเล่นกีฬาที่ต้องสร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ ้า แบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิง

วิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของ ความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงน าไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้ดี

อารี พันธ์มณี (2537, น. 25) กล่าวถึง ความคิดสร้างสรรค์ว่า เป็นกระบวนการทาง สมองที่คิดในลักษณะอเนกนัย อันน าไปสู่การคิดพบสิ่งแปลกใหม่ด้วยการคิดดัดแปลง ปรุงแต่ง จากความคิดเดิมผสมผสานกันให้เกิดสิ่งใหม่ ซึ่งรวมทั้งการประดิษฐ์คิดค้นพบสิ่งต่าง ๆ ตลอดจน วิธีการคิด ทฤษฎีหลักการได้ส าเร็จ ความคิดสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้มิใช่เพียงแต่คิดในสิ่งที่เป็น ไปได้ หรือสิ่งที่เป็นเหตุผล เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่คิดจินตนาการก็เป็นสิ่งส าคัญยิ่งที่จะ ก่อให้เกิดความแปลกใหม่ แต่ต้องควบคู่กันไปกับความพยายามที่จะสร้างความคิดฝันหรือ จินตนาการให้เป็นไปได้หรือเรียกว่าเป็นจินตนาการประยุกต์นั้นเอง จึงจะท าให้เกิดผลงาน

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ (2554, น. 79) กล่าวถึง ความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถ ในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในแง่มุมใหม่ ๆ เป็นการคิดที่ไม่ธรรมดาหรือเป็นการกระท าสิ่งต่าง ๆ ได้

อย่างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหรือไม่ซ ้าแบบใครอย่างมีความแปลกใหม่ เป็นการเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่

สัมพันธ์ให้กลายเป็นสิ่งใหม่ได้อย่างเหมาะสม ความคิดสร้างสรรค์สามารถอธิบายได้จาก 1. ผลงาน (Product) ที่ผลิต

2. กระบวนการ (Process) ที่จัดกระท า 3. ทักษะ (Skill) ที่ใช้ในแง่ความคล่องแคล่ว 4. บุคลิกภาพ (Personality Traits) ของบุคคล

5. เงื่อนไขสิ่งแวดล้อม (Environmental Conditions) ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์

คินนอนส์ (Kinnon’s, 1962) ศึกษาผู้ใหญ่ที่มีความคิดสร้างสรรค์ พบว่าบุคคลเหล่านี้

เมื่อเด็กมีตัวแปรต้นด้านครอบครัวดังนี้ คือ 1. พ่อแม่ยอมรับในตัวลูก

2. เชื่อมั่นในความสามารถของลูก 3. ให้อิสระในการส ารวจและตัดสินใจ

4. วินัยที่สร้างต้องสม ่าเสมอไม่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

5. ค่านิยมของครอบครัวเน้นที่ความซื่อสัตย์ คุณภาพ ความพยายาม ความส าเร็จและ ความทะเยอทะยาน ปัจจัยดังกล่าวสามารถฝึกหรือจัดกระท าได้ทั้งที่บ้านและโรงเรียน เพื่อช่วยใน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก

สรุปได้ว่า ความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะคิด ได้หลายทิศหลายทาง หรือคิดได้หลายค าตอบและความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ของ

สิ่งต่าง ๆ โดยมีสิ่งเร้าเป็นตัวกระตุ้นท าให้เกิดความคิดใหม่ต่อเนื่องกันไป และความคิดสร้างสรรค์

นี้อาจเป็นความคิดใหม่ผสมผสานกัประสบการณ์ก็ได้ ความคิดสร้างสรรค์สามารถอธิบายได้จาก 1. ผลงาน (Product) ที่ผลิต

2. กระบวนการ (Process) ที่จัดกระท า 3. ทักษะ (Skill) ที่ใช้ในแง่ความคล่องแคล่ว 4. บุคลิกภาพ (Personality Traits) ของบุคคล

5. เงื่อนไขสิ่งแวดล้อม (Environmental Conditions) ที่มีอิทธิพลต่อความคิดสร้างสรรค์

องค์ประกอบทักษะความคิดสร้างสรรค์

องค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากทฤษฎีโครงสร้างทาง สติปัญญาของกิลฟอร์ด Guilford (1967, น. 62) ซึ่งเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์เป็นความสามารถทาง สมองที่คิดได้อย่างซับซ้อน กว้างไกล หลายทิศทาง หรือที่เรียกว่า คิดอเนกนัย (Divergent thinking) ซึ่งประกอบด้วย ความคิดริเริ่ม (Originality) ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) ความคิดละเอียดลออ (Elaboration)

กิลฟอร์ด (Guilford, 1967, p.145-151) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับองค์ประกอบของ ความคิดสร้างสรรค์ไว้ดังนี้

1. ความคิดริเริ่ม (Originality) หมายถึง ความคิดแปลกใหม่ไม่ซ ้ากันกับความคิด ของคนอื่น และแตกต่างจากความคิดธรรมดา ความคิดริเริ่มอาจเกิดจากการคิดจากเดิมที่มีอยู่แล้วให้

แปลกแตกต่างจากที่เคยเห็น หรือสามารถพลิกแพลงให้กลายเป็นสิ่งที่ไม่เคยคาดคิด ความคิดริเริ่ม อาจเป็นการน าเอาความคิดเก่ามาปรุงแต่งผสมผสานจนเกิดเป็นของใหม่ ความคิดริเริ่มมีหลายระดับ ซึ่งอาจเป็นความคิดครั้งแรกที่เกิดขึ้นโดยไม่มีใครสอนแม้ความคิดนั้นจะมีผู้อื่นคิดไว้ก่อนแล้วก็ตาม 2. ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ ้ากันในเรื่อง เดียวกัน โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

2.1 ความคล่องแคล่วทางด้านถ้อยค า (Word Fluency) เป็นความสามารถในการ ใช้ถ้อยค าอย่างคล่องแคล่ว

2.2 ความคิดคล่องแคล่วทางด้านการโยงสัมพันธ์ (Associational Fluency) เป็น ความสามารถที่จะคิดหาถ้อยค าที่เหมือนกันได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายในเวลาที่ก าหนด

2.3 ความคล่องแคล่วทางด้านการแสดงออก (Expression Fluency) เป็นความ สามารถในการใช้วลีหรือประโยค กล่าวคือ สามารถที่จะน าค ามาเรียงกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้ได้

ประโยคที่ต้องการ

2.4 ความคล่องแคล่วในการคิด (Ideational Fluency) เป็นความสามารถที่จะคิดค้น สิ่งที่ต้องการภายในเวลาที่ก าหนด เช่น ใช้คิดหาประโยชน์ของก้อนอิฐให้ได้มากที่สุดภายในเวลาที่

ก าหนดซึ่งอาจเป็น 5 นาที หรือ 10 นาที

3. ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) หมายถึง ประเภทหรือแบบของการคิดแบ่งออกเป็น 3.1 ความคิดยืดหยุ่นที่เกิดขึ้นทันที (Spontaneous Flexibility) เป็นความสามารถที่

จะพยายามคิดได้หลายทางอย่างอิสระ ตัวอย่างของคนที่มีความคิดยืดหยุ่นในด้านนี้จะคิดได้ว่า ประโยชน์ของหนังสือพิมพ์มีอะไรบ้าง ความคิดของผู้ที่ยืดหยุ่นสามารถจัดกลุ่มได้หลายทิศทาง หรือหลายด้าน เช่น เพื่อรู้ข่าวสาร เพื่อโฆษณาสินค้า เพื่อธุรกิจ ฯลฯ ในขณะที่คนที่ไม่มีความคิด สร้างสรรค์จะคิดได้เพียงทิศทางเดียว คือ เพื่อรู้ข่าวสาร เท่านั้น

3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางด้านการดัดแปลง (Adaptive Flexibility) หมายถึง ความสามารถในการดัดแปลงความรู้หรือประสบการณให้เกิดประโยชน์หลาย ๆ ด้าน ซึ่งมี

ประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา ผู้ที่มีความยืดหยุ่นจะคิดดัดแปลงได้ไม่ซ ้ากัน

4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดลออจัดเป็น รายละเอียดที่น ามาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น

อารี รังสินันท์ (2527, น. 24 - 34) อธิบายองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ไว้โดย สรุปดังนี้

1. ความคิดริเริ่ม หมายถึง ลักษณะความคิดแปลกใหม่แตกต่างความคิดธรรมดาหรือ ความคิดง่าย ๆ ความคิดริเริ่มที่เรียกว่า Wild Idia เป็นความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ความคิดริเริ่มเป็นลักษณะความคิดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นความคิดที่จ าเป็นต้องอาศัยจินตนาการ ผสมกับเหตุผลแล้วหาทางท าให้เกิดผลงาน ผู้ที่มีความคิดริเริ่มเป็นคนกล้าคิด กล้าแสดงออก พร้อม ทั้งกับทดลอง ทดสอบความคิดนั้นอยู่เสมอ

2. ความคล่องตัว หมายถึง ปริมาณความคิดที่ไม่ซ ้ากันเมื่อตอบปัญหาเรื่องเดียวกัน ความคล่องในการคิดนี้มีความส าคัญต่อการแก้ปัญหาหลาย ๆ วิธี และต้องการน าวิธีการเหล่านั้นมา ทดลองจนกว่าจะพบวิธีการที่ถูกต้อง

3. ความคิดยืดหยุ่น หมายถึง ประเภทหรือแบบของความคิด แบ่งออกเป็น

3.1 ความคิดยืดหยุ่น ที่เกิดขึ้นทันที เป็นความสามารถในการคิดอย่างอิสระให้

ได้ค าตอบหลายแนวทางในขณะที่คนทั่วไปจะคิดได้แนวทางเดียว

3.2 ความคิดยืดหยุ่นทางการดัดแปลง เป็นความสามารถในการดัดแปลง ของ สิ่งเดียวให้เกิดประโยชน์หลายด้าน

4. ความคิดละเอียดลออ เป็นลักษณะของความพยายามในการใช้ความคิดและ ประสานความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความส าเร็จ

ดังนั้นองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ประกอบด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับสติปัญญา และความคิด แต่ที่จะใช้เป็นแนวคิดในการศึกษาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์มี 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎี

โครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด ทฤษฎีความคิดสองลักษณะและทฤษฎีโมเดล ทฤษฎีที่มีส่วน เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวมาแล้ว คือ ทฤษฎีโครงสร้างทาง สติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford,1956, p.53) แบ่งสมรรถภาพทางสมองออกเป็น 3 มิติ คือ

1. เนื้อหาที่คิด (Content) หมายถึง สิ่งเร้าหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่สมองรับเข้าไปคิดมี

4 ประเภท ได้แก่ ภาพ สัญลักษณ์ ภาษา และพฤติกรรม

2. วิธีการคิด (Operation) หมายถึง ลักษณะกระบวนการท างานของสมองแบบต่าง ๆ มี

5 แบบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ ความจ า การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) การคิดแบบ อเนกนัย และการประเมินผล

3. ผลของการคิด (Product) เป็นผลของกระบวนการจัดกระท าของความคิดกับ ข้อมูลเนื้อหา ผลิตผลของความคิดออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆ การแปลงรูป และการประยุกต์จากแบบ ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ดนี้จะเห็นว่าองค์ประกอบส่วนหนึ่งในมิติที่ว่าด้วยการ คิดแบบอเนกนัยมีความสัมพันธ์โดยตรงกับความคิดสร้างสรรค์ และองค์ประกอบส่วนหนึ่งในมิติ

ที่ว่าด้วยผลของคิดที่เรียกว่า การแปลงรูปเป็นส่วนที่แสดงถึงความคิด

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์ (2554, น. 79) กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นความคิดอเนกนัย (Divergent Thinking) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ประการคือ

1. ความคิดคล่อง (Fluency) 2. ความคิดยึดหยุ่น (Flexibity) 3. ความคิดริเริ่ม (Originality)

4. ความคิดละเอียดละออ (Elaboration)

กิจกรรมการเรียนการสอนใดจะส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์มากน้อยเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากผลผลิตหรือกระบวนการในการเรียนรู้ตามองค์ประกอบทั้ง 4 ดังตารางที่

2.5