• Tidak ada hasil yang ditemukan

ประเภทความเห็นต่างในอิสลาม

Dalam dokumen in Three Southern Border Provinces (Halaman 130-149)

ในความเห็นต่างในอิสลาม

2.2.2 ประเภทความเห็นต่างในอิสลาม

ความส าเร็จในระหว่างทั้งสอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงสัพพัญญู” (อันนิ

สาอ์: 35)

ِفِ ْمَُ اََّنَِّإَف اْوَّلَوَ ت نِإَّو ۖ اوَدَتَْا ِدَقَ ف ِهَِ مُتنَمآ اَم ِْْثِِبِ اوُنَمآ ْنِإَف ،قاَق ِش

َُّللَّا ُمُهَكيِفْكَيَسَف ۖ

ُميِلَعْلا َُيِمَّسلا َوََُو (

ٌرقبلا : 137 )

ความว่า “แล้วหากพวกเขาศรัทธาอย่างที่พวกเจ้าศรัทธาแล้ว แน่นอนพวกเขาก็ย่อม ได้รับข้อแนะน าที่ถูกต้อง และหากพวกเขาผินหลังให้ แน่นอนพวกเขาย่อมอยู่ในความ แตกแยกกัน แล้วอัลลอฮฺก็จะทรงให้เจ้าพอเพียงแก่พวกเขา และพระองค์นั้นเป็นผู้ทรง ไว้ซึ่งการได้ยิน ทรงไว้ซึ่งความรอบรู้” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 137)

โดยสรุปความหมายข้างต้น ผู้วิจัยพบว่า ความเห็นต่าง หรือ อัลอิคติลาฟ

“ف الَِتخ ِلاا” หมายถึง การยอมรับหรือการยึดถือความคิดเห็น หรือทรรศนะ หรือค าพูด หรือ แนวทางปฏิบัติที่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลหรือกลุ่ม ซึ่งอาจเป็นความเห็นที่ท าให้ทั้งสองฝ่ายที่

มีความเห็นต่างกันได้รับความเข้าใจที่ถูกต้อง หรืออาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง หากความเห็นต่างนั้น ไม่ได้ตั้งอยู่บนเจตนาหรือจุดมุ่งหมายเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและยอมรับความถูกต้อง

ความเห็นต่างในอิสลามนี้เอง ผู้วิจัยจึงได้วิเคราะห์กลุ่มความเห็นเกี่ยวกับประเภทความเห็นต่างใน อิสลาม และจัดกลุ่มความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้จากปัจจัยที่ท าให้เกิดความเห็นต่าง ซึ่งสามารถแบ่ง ประเภทความเห็นต่างออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากแรงจูงใจที่ท าให้เกิดความเห็นต่าง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ความเห็นต่างที่เกิดจากความต้องการสัจธรรม ความเห็นต่างที่เกิดจากอคติ

ทางอารมณ์และอคติทางความคิดควบคุม และความเห็นต่างที่อยู่ระหว่างน่าชื่นชมกับน่าต าหนิ

(Tāhā Jābir Fayyād al-‘Ulwāniy, 1987: 26-29)

กลุ่มที่ 2 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากลักษณะการยอมรับความเห็นต่างใน อิสลาม แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ความเห็นต่างที่น่าชื่นชม ความเห็นต่างที่น่าต าหนิ และความเห็นต่าง ที่ได้รับการอนุโลม (Sālih ‘Abdullāh Hāmid, 1992: 8-11; Hind Muhammad, n.d.: 12-13)

กลุ่มที่ 3 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากการน าเสนอความเห็นต่าง แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ การน าเสนอความเห็นที่ตรงข้ามกัน การน าเสนอหลักฐานที่แตกต่างกัน และการ น าเสนอความเข้าใจแตกต่างกัน (‘Āqil Muhammad al-Maqtariy, 1993: 9-15; ‘Aliy Wanis, n.d.: 4-5)

กลุ่มที่ 4 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากที่มาของความเห็นต่างและการ ยึดถือปฏิบัติแตกต่างกัน แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ความเห็นต่างในเรื่องศาสนา ความเห็นต่างในเรื่อง หลักความเชื่อ ความเห็นต่างในเรื่องการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติอิสลาม (Muhammad

‘Aawwāmah. 2007: 17-20)

ผู้วิจัยขอน าเสนอรายละเอียดความคิดเห็นในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

2.2.2.1 กลุ่มที่ 1 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากแรงจูงใจที่ท าให้เกิด ความเห็นต่าง ดังที่ Tāhā Jābir Fayyād al-‘Ulwāniy (1987: 26-29) ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขา ที่มีชื่อว่า Adāb al-Ikhtilāf “มารยาทการเห็นต่าง” ความเห็นต่างในอิสลามนั้น แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

1) ความเห็นต่างที่มีสัจธรรมควบคุม ( ُّقَح لا ه َلاْمَأ ٌف َلاِخ อ่านว่า คิลาฟุน อัมลาฮุ

อัลหักฺกุ) หมายถึง ความเห็นที่ปราศจากการใช้อารมณ์หรือปลอดภัยจากการถูกอารมณ์ควบคุม เป็น ความเห็นที่ปรารถนาในความถูกต้องและผลักดันให้เกิดการแสวงหาความรู้ และการใช้สติปัญญาอย่าง เหมาะสม ท าให้บุคคลที่มีความเห็นต่างประเภทนี้มีความศรัทธาที่ถูกต้อง ปฏิเสธความเชื่อที่หลงผิด คัดค้านการตั้งภาคี ไม่สนับสนุนพฤติกรรมที่ชั่ว และไม่ยอมรับต่อการหน้าไว้หลังหลอก และเป็น ความเห็นต่างที่มีความต้องการปกป้องสัจธรรม เช่น การแสดงความเห็นต่างระหว่างการศรัทธาและ การปฏิบัติของมุสลิมกับบรรดาต่างศาสนิก ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ปฏิเสธอิสลามหรือผู้ที่ไม่มีศาสนา หรือมี

ศาสนา เช่น ยิว คริสต์ พุทธ หรือชีอะฮฺ หากแต่ความเห็นต่างนี้ จะเป็นลักษณะการประกาศจุดยืนด้าน

ความศรัทธาและอุดมการณ์ของอิสลาม ซึ่งสามารถท าให้ต่างศาสนิกสนใจและน้อมรับค าสอนอิสลาม และขจัดความเห็นต่างที่จะชี้น าสู่การปฏิเสธศรัทธาหรือการตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ  และเป็นความเห็น ต่างที่ป้องกันความแตกแยกและพฤติกรรมชั่วร้ายทั้งหลาย ตลอดจนป้องกันการอุตริกรรมและความ เชื่อที่ผิดต่อหลักการศาสนา

2) ความเห็นต่างที่มีอคติทางอารมณ์ควบคุม (ىَوَه لا ه َلاْمَأ ٌف َلاِخ อ่านว่า คิลาฟุน อัมลาฮุ อัลฮะวา) หมายถึง ความเห็นต่างที่มีอคติทางอารมณ์และทางความคิดเป็นแรงจูงใจและมี

อิทธิพลในการควบคุมให้บุคคลบรรลุตามเป้าหมายที่เขาสนใจ ซึ่งบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นในสถานการณ์

ที่มีความต้องการโต้แย้งความเข้าใจหรือความเห็นที่ต่างจากคนอื่น ความเห็นประเภทนี้ถือเป็น ความเห็นที่น่าต าหนิไม่ว่าจะปรากฏในลักษณะใด เพราะอคติทางอารมณ์หรืออคติทางความคิดจะเป็น ตัวปิดกั้นไม่ให้บุคคลสามารถค้นพบหรือเข้าใจสัจธรรมที่แท้จริง (Tāhā Jābir Fayyād al-‘Ulwāniy, 1987: 26) ยิ่งไปกว่านั้น อาจท าให้เขาถล าตัวยึดติดความเห็นของตนเอง และมีอาจเข้าใจสิ่งที่ผิดเป็น ถูกต้อง สิ่งที่ถูกต้องเป็นผิด รวมทั้งไม่ยอมรับฟังค าแนะน าใดๆ ที่แตกต่างจากสิ่งที่ตนเองเชื่อถือหรือ ปฏิบัติ ความเห็นต่างประเภทนี้เป็นความเห็นที่ถูกกระซิบกระซาบโดยมารร้าย (ชัยฏอน) ซึ่งอาจจะท า ให้บุคคลดังกล่าวกลายเป็นผู้อธรรมหรือผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ ดังที่อัลลอฮฺ  ได้ตรัสถึงคุณลักษณะของ พวกบะนู อิสรออีล ซึ่งพวกเขามีนิสัยหยิ่งยโสและต่อต้านสัจธรรม ว่า

 ۖ ُِْسُّرلِبِ ِهِدْعَ َ ِْم اَنْ يَّفَ قَو َباَتِكْلا ىَسوُم اَنْ يَ تآ ْدَقَلَو ِتاَنِّيَ بْلا ََيمْرَم ََْْا ىَسيِع اَنْ يَ تآَو

ُْتَْبَْكَتْسا ُمُكُسُفنَأ َٰىَوَْتُ َل اَِبِ ٌلوُسَر ْمُكَءاَج اَمَّلُكَفَأ ِسُدُقْلا ِحوُرَِ ُهََْدَّيَأَو ْمُتْ ََّذَك اًقيِرَفَ ف

َنوُلُ تْقَ ت اًقيِرَفَو :ٌرقبلا( 

97 )

ความว่า “และแท้จริงนั้น เราได้ให้คัมภีร์มูซาและหลังจากเขา เราได้ให้บรรดาเราะสูล ติดตามมา และเราได้ให้หลักฐานต่าง ๆ อันชัดเจน แก่ อีซา บุตรของมัรยัม และเรา ได้สนับสนุนเขาด้วยวิญญาณอันบริสุทธิ์ แล้วคราใดที่ได้มีเราะสูลน าสิ่งที่ไม่สบอารมณ์

ของพวกเจ้ามายังพวกเจ้า พวกเจ้าก็หยิ่งยโสแล้วกลุ่มหนึ่งพวกเจ้าก็ปฏิเสธ และอีก กลุ่มหนึ่งพวกเจ้าก็ฆ่าเสียกระนั้นหรือ” (อัลบะเกาะเราะฮฺ: 87)

Ibn Kathīr (Tafsīr al-qurān al-‘Azīm: 1/321) อธิบายว่า อัลลอฮฺ  ได้ทรง กล่าวถึงพวกบะนู อิสรออีล (ชาวยิว) ในอดีต ปฏิบัติต่อบรรดาศาสนทูตของพระองค์ด้วยพฤติกรรมที่

หยาบคายและชั่วช้า พวกเขาบางกลุ่มปฏิเสธต่อสัจธรรม และบางกลุ่มก็ฆ่าศาสนทูตที่ถูกส่งไปยังพวก เขา เนื่องจากพวกเขาปฏิบัติตนตามอารมณ์และไม่สนใจต่อหลักค าสอนที่ปรากฏในคัมภีร์เตารอต ยิ่ง ไปกว่านั้น พวกเขายังได้บิดเบือนค าสอนที่มีอยู่ในคัมภีร์ จนกระทั่งเป็นเหตุให้เกิดความแตกแยก ระหว่างพวกเขา และพวกเขาบางกลุ่มก็ท าร้ายและเป็นศัตรูต่อกันเอง

นอกจากนี้ พระองค์ได้ทรงสั่งห้ามการปฏิบัติตนตามอารมณ์ เพราะจะท าให้หลงทาง จากสัจธรรมของพระองค์ ดังที่พระองค์ตรัสในอีกหลายอายะฮฺ ตัวอย่างเช่น

ْعَ ت اَِبِ َناَك ََّللَّا َّنِإَف اوَُِرْعُ ت ْوَأ اوُوْلَ ت نِإَو اوُلِدْعَ ت نَأ َٰىَوَْلَا اوُعِبَّتَ ت َلاَف اًيِْبَخ َنوُلَم

ةيلآا ْم ضعَ :ءاسنلا(

135 )

ความว่า “ดังนั้นจงอย่าปฏิบัติตามความใคร่ใฝ่ต่ าในการที่พวกเจ้าจะมีความยุติธรรม และหากพวกเจ้าบิดเบือนหรือผิน หลังให้แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้อย่างถี่ถ้วนในสิ่งที่

พวกเจ้ากระท ากัน” (อันนิสาอ์: ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺ 135)

ِْيِبَس َْع َكَّلِضُيَ ف َٰىَوَْلَا َِِبَّتَ ت َلَو َنوُّلِضَي َْيِذَّلا َّنِإ َِّللَّا

ٌباَذَع ْمَُلَ َِّللَّا ِْيِبَس َْع

ِباَسِْلحا َمْوَ ي اوُسَن اَِبِ ٌديِدَش

ةيلآا ْم ضعَ :ص( 

86 )

ความว่า “และจงอย่าปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ า มันจะท าให้เจ้าหลงไปจากทาง ของอัลลอฮฺ แท้จริงบรรดาผู้ที่หลงไปจากทางของอัลลอฮฺนั้น ส าหรับพวกเขาจะได้รับ การลงโทษอย่างสาหัส เนื่องด้วยพวกเขาลืมวันแห่งการช าระบัญชี” (ศ็อด: ส่วนหนึ่ง จากอายะฮฺ 26)

Tāhā Jābir Fayyād al-‘Ulwāniy (1987: 27) กล่าวว่า แท้จริง อารมณ์ใฝ่ต่ านั้น มีหลากหลายและมีสื่อมากมายที่จะสนองต่ออารมณ์ แต่ทั้งหมดเกิดจากแหล่งที่มาเดียวกัน คือ จิตใจ ที่ใฝ่ต่ า (นัฟซู) และความหลงใหลในตนเอง ท าให้บุคคลที่มีพฤติกรรมลักษณะนี้สู่ความผิดพลาดและ หลงผิด สามารถปฏิเสธต่อค าสอนของศาสนาและเชิญชวนผู้อื่นไปสู่การกระท าอุตริกรรม (บิดอะฮฺ) อันเนื่องความคิดและความเชื่อของเขาเป็นไปตามอารมณ์ ซึ่งสามารถส่งผลต่อความคิดของบุคคล โดย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

(1) อารมณ์อยู่เหนือความคิด หมายถึง อารมณ์ที่สามารถควบคุมบุคคลให้ต่อต้าน ความถูกต้องโดยไม่มีการใช้ความคิดไตร่ตรองหรือใคร่ครวญเรื่องใดให้ดีเสียก่อน และเป็นอารมณ์ที่

ปฏิเสธต่อสัจธรรมทั้งที่มีหลักฐานชัดเจน และถึงแม้สติปัญญาของคนทั่วไปจะให้การยอมรับ แต่คนที่มี

อารมณ์ประเภทนี้ก็จะปฏิเสธอย่างดื้อดึง บางครั้งก็อาจเรียกร้องผู้อื่นสู่การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ  วาง กฎเกณ์ที่ผิดต่อศาสนบัญญัติและฝืนต่อธรรมชาติของมนุษย์ มักสร้างเรื่องโกหกไร้สาระ และหลงใหล กับความฟุ่มเฟือยและความสุรุ่ยสุร่าย ถือได้เป็นอามรมณ์ที่มีมารร้ายชัยฏอนเป็นตัวชี้น า และ

(2) อารมณ์อยู่ในความนึกคิด หมายถึง อารมณ์ที่ควบคุมให้เกิดกระบวนการ สังเกต พิจารณา และใคร่ครวญโดยใช้สติปัญญาอย่างเป็นเหตุและผล แต่เนื่องจากพฤติกรรมของ บุคคลที่มีอารมณ์อยู่ในความนึกคิด ท าให้เขาคิดมากและคิดลึกเกินกว่าความเหมาะสม เป็นความคิดที่

น าไปสู่ความสับสนและความกังวล และท าให้บุคคลเกิดความอ่อนแอ ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นเครื่องมือ และเป็นทาสของมารร้ายชัยฏอน นะอูซุบิลลาฮิ มินซาลิก

3) ความเห็นต่างที่ลังเลระหว่างน่าชื่นชมกับน่าต าหนิ ( ِّمَّذلاَو ِحدَمْلا َينََ ُدَّدََتََي ٌف َلاِخ อ่านว่า คิลาฟุน ยะตะร็อดดะดุ บัยนะ อัลมัดหิ วัซซัมมิ) หมายถึง ความเห็นต่างในประเด็นปลีกย่อย ที่มีหลักฐานหลากหลายและมีการให้น้ าหนักแตกต่างกันระหว่างนักวิชาการ ตัวอย่างเช่น ความเห็น ต่างในเรื่องการเสียน้ าละหมาดเนื่องจากการมีเลือดไหลออกจากแผล หรือการอาเจียนโดยเจตนา ความเห็นต่างในเรื่องข้อชี้ตัดสิน (ฮูก่ม) การอ่านหลังผู้น าละหมาด (อิหม่าม) การอ่านบิสมิลลาฮฺเพื่อ เริ่มต้นสูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ การอ่าน “อามีน” เสียงดัง และตัวอย่างอื่นๆ ที่เป็นประเด็นศาสนาใน ลักษณะปลีกย่อยและท าให้เกิดข้อจ ากัดในการปฏิบัติศาสนกิจ ความเห็นต่างประเภทนี้ เป็นความเห็น ต่างที่ให้ความส าคัญต่อการน าเสนอหลักฐาน และเป็นความเห็นที่สามารถจัดการอคติทางอารมณ์ด้วย ความย าเกรงต่ออัลลอฮฺ  จัดการความสงสัยแคลงใจด้วยความรู้และสติปัญญา ยอมรับต่อหลักฐาน ที่มีน้ าหนักกว่า ปฏิเสธต่อความผิดพลาดในอดีต มีหลักยึดในการตัดสินใจ มีระเบียบ และมารยาทใน การแสดงความคิดเห็น เปลี่ยนแปลงความแตกแยกในสังคมให้กลายเป็นความสามัคคี และท าให้ทั้ง สองฝ่ายที่มีความเห็นต่างยึดมั่นต่อแนวทางของบรรดาผู้ที่มีความย าเกรงต่ออัลลอฮฺ  และได้รับ ความปลอดภัยจากมารร้ายชัยฏอน

2.2.2.2 กลุ่มที่ 2 จัดประเภทความเห็นต่างโดยพิจารณาจากการให้การยอมรับในอิสลาม ดังที่ Sālih ‘Abdullāh Hāmid (1992: 8-11) ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Adāb al- Ikhtilāf “มารยาทการเห็นต่าง” และ Hind Muhammad (n.d.: 12-13) ในหนังสือ Adāb al-

Ikhtilāf “มารยาทการเห็นต่าง” ว่า สามารถแบ่งความเห็นต่างออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

1) ความเห็นต่างที่น่าชื่นชม (دوُمْح َم لا فَلا ِتخ ِلا อ่านว่า อัลอิคติลาฟ อัลมะห์มูด หรือ حوُدم َم لا فَلا ِلخا อ่านว่า อัลคิลาฟ อัลมัมดูห์) หมายถึง การแสดงความเห็นต่างของผู้ศรัทธาใน เรื่องจุดยืนและอุดมการณ์อิสลามต่อบรรดาผู้ที่ตั้งภาคี ชาวคัมภีร์ กลุ่มคนชั่ว และกลุ่มคนที่มีความเชื่อ อย่างบ้าคลั่งในลัทธิบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเห็นต่างในเรื่องบุคลิกภาพ ความเชื่อ การ รักษาจุดยืนที่มั่นคงต่อพิธีกรรมทางศาสนาและวันส าคัญต่าง ๆ ของพวกเขา รวมถึงการปฏิบัติตนใน ครรลองของหลักการอิสลามและออกห่างจากสิ่งที่คลุมเครือและสิ่งต้องห้ามทั้งหลาย

Hind Muhammad (n.d.: 13) กล่าวว่า ความเห็นต่างประเภทนี้เป็นความเห็นที่น่า ได้รับการชื่นชม เนื่องจากเป็นความเห็นที่รักษาหลักการอิสลาม หลักการศรัทธา สร้างความเป็น เอกภาพของประชาชาติอิสลาม และการมีส่วนร่วมฟื้นฟูและท านุบ ารุงสังคมให้เกิดความดีงาม

Dalam dokumen in Three Southern Border Provinces (Halaman 130-149)