• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.1 สรุปผลการศึกษา

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ในครั้งนี้

ได้ท าการศึกษาโดยแจกแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจ านวนทั้งสิ้น 400 คน ได้รับแบบสอบถามที่มี

ความครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งสิ้น 400 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100.00 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด สามารถ สรุปผลการศึกษาในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

5.1.1 ผลการศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ตอบแบบสอบถาม

จากการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จ านวน 292 คน คิดเป็นร้อยละ 73.00 มีอายุ 31 – 40 ปี จ านวน 158 คน คิดเป็นร้อยละ 39.50 สถานภาพโสด จ านวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 58.50 มีระดับการศึกษาปริญญาตรี จ านวน 244 คน คิดเป็นร้อยละ 61.00 ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน จ านวน 256 คน คิดเป็นร้อยละ 64.00 และมี

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท จ านวน 107 คน คิดเป็นร้อยละ 26.75 5.1.2 ผลการศึกษากระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19

จากการศึกษา พบว่า ผู้บริโภคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ประโยชน์ในการท า ประกันโควิด-19 โดยรวม ในระดับเห็นด้วยมาก (x̅ = 3.91, S.D. = 0.92) โดยพบว่า ผู้บริโภคมี

ระดับความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากในด้านราคา (x̅ = 4.01, S.D. = 0.86) โดยเฉพาะประเด็น กรมธรรม์ประกันโควิด-19 มีเงื่อนไขการช าระเบี้ยประกันมีความเหมาะสมกับความต้องการ รองลงมา คือ ด้านการตอบสนองทางอารมณ์ (x̅ = 3.91, S.D. = 0.86) โดยเฉพาะประเด็นบริษัทประกันที่เลือก

ท าประกันโควิด-19 มีความทันสมัยด้านเทคโนโลยีและความรวดเร็วในการให้บริการ ด้านชื่อเสียงของ ผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ (x̅ = 3.91, S.D. = 0.91) โดยเฉพาะประเด็นบริษัทที่รับท าประกันโควิด-19 เป็น บริษัทที่มีชื่อเสียง ภาพพจน์ดี และเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป ด้านคุณค่าทางสังคม (x̅ = 3.88, S.D. = 0.98) โดยเฉพาะประเด็นกรมธรรม์ประกันโควิด-19 สามารถให้ความคุ้มครองและสร้าง หลักประกันให้แก่ตนเองและครอบครัว และด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ (x̅ = 3.83, S.D. = 0.95) โดยเฉพาะประเด็นกรมธรรม์ประกันโควิด-19 มีความสะดวกในการช าระค่าเบี้ยประกัน เช่น สามารถ ช าระผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร/บัตรเครดิต/หักบัญชีอัตโนมัติ/ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส

5.1.3 ผลการทดสอบสมมติฐาน

จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศที่แตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้

ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคเพศชาย มีการรับรู้ประโยชน์ใน การท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ มากกว่า ผู้บริโภคเพศหญิง

ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท า ประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการตอบสนองอารมณ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ 41 – 50 ปี มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท า ประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้านการตอบสนองอารมณ์ มากกว่า ผู้บริโภคที่มีอายุต่ ากว่า 30 ผู้บริโภคที่

มีอายุ 31 – 40 ปี และผู้บริโภคที่มีอายุ 51 – 60 ปี

ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท า ประกันโควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพโสด และผู้บริโภค ที่มีสถานภาพหย่าร้าง/แยกกันอยู่ มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโค วิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ มากกว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรส

ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท า ประกันโควิด-19 ด้านราคา และด้านคุณค่าทางสังคม แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาต่ ากว่าปริญญาตรี มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท า

ประกันโควิด-19 ด้านราคา น้อยกว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาปริญญาตรี และผู้บริโภคที่มีการศึกษาสูง กว่าปริญญาตรี ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีการศึกษาต่ ากว่าปริญญาตรี มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ใน การท าประกันโควิด-19 ด้านคุณค่าทางสังคม มากกว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาปริญญาตรี และผู้บริโภค ที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

ผู้บริโภคที่มีอาชีพแตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

ด้านราคา ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคที่เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน และ ผู้บริโภคที่ว่างงาน มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้าน การตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ มากกว่า ผู้บริโภคที่เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริโภคที่เป็นพนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน ผู้บริโภค ที่ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว และผู้บริโภคที่อาชีพอิสระ

และผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นระบวนการการรับรู้

ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และ ด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ แตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท และผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มากกว่า 50,000 บาท มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้าน คุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของ ผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ มากกว่า ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 20,000 บาท ผู้บริโภคที่มี

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท

5.1.4 ผลการศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประกันโควิด-19

การศึกษาถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประกันโควิด-19 ของผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคมี

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประกันโควิด-19 ในประเด็นส าคัญ คือ บริษัทประกันควรให้มีการต่อประกัน โควิด-19 ไปอีก โดยอาจจะให้มีการเพิ่มเบี้ยประกันให้สูงขึ้น เพื่อความคุ้มครองที่อุ่นใจยิ่งขึ้น และ บริษัทประกันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาดูแลและบริหารจัดการเรื่องการเคลมประกันให้มี

ความรวดเร็วมากกว่าปัจจุบัน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน