• Tidak ada hasil yang ditemukan

สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

5.2 อภิปรายผล

ชีวิต จ ากัด (มหาชน) แตกต่างกัน การศึกษาของนัฏฐภัค ผลาชิต (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยภายในส านักงานเขต ปทุมธานี พบว่า เพศ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การศึกษาของ ศนิษา สัมพคุณ (2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทน และผ่านธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ผู้บริโภคที่มีเพศต่างกัน มีกระบวนการ ตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยรวมและรายด้านแตกต่าง กันและการศึกษาของพีรญา นิชานนท์ (2563) ศึกษาเรื่อง กระบวนการตัดสินใจซื้อประกันภัย (โรคโควิด-19) ของกลุ่มประชากรในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า เพศแตกต่างกัน ท าให้กระบวนการ ตัดสินใจซื้อประกันภัย (โรคโควิด-19) ต่างกัน

ผู้บริโภคที่มีอายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

ด้านราคา และด้านการตอบสนองอารมณ์ แตกต่างกัน สอดคล้องกับทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์

ของศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538) อธิบายว่า บุคคลที่มีช่วงอายุต่างกันย่อมจะมีพฤติกรรม ความคิด ทัศนคติ ที่ต่างกัน บุคคลที่มีอายุมากกว่าจะมีประสบการณ์ชีวิตที่มากกว่า ยึดติดกับสิ่งเดิม ๆ เพราะมี

ความผู้พันธ์และเชื่อใจ มองโลกโดยใช้เวลาพิจารณามากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า เนื่องจากประสบการณ์

น้อยกว่า และมักยึดตามคนส่วนมาก และมีความคิดที่เสรีมากกว่า ดังนั้น อายุ จึงส่งผลต่อ กระบวนการทางความคิดและสิ่งที่สนใจที่แตกต่างกัน โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ 41 – 50 ปี มี

แนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 โดยรวม กระบวนการ การรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์ ด้านราคา และด้าน การตอบสนองอารมณ์ มากกว่า ผู้บริโภคที่มีอายุ 51 – 60 ปี และสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรฎา โสภาสิทธิ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) ในเขตบางแค กรุงเทพมหานครพบว่า อายุ

ที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยในการสร้างตราสินค้าของ การตัดสินใจเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ผ่านบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) แตกต่างกัน การศึกษาของ นัฏฐภัค ผลาชิต (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยภายในส านักงานเขตปทุมธานี พบว่า อายุ

เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การศึกษาของมณีรัตน์ รัตนพันธ์

(2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา พบว่า อายุที่

ต่างกันที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตในภาพรวมแตกต่างกัน การศึกษาของศนิษา สัมพคุณ (2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและผ่านธนาคาร พาณิชย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ผู้บริโภคที่มีอายุต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์

ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันการศึกษาของ จีราพร แก้วปัน (2563) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภควัยท างานใน เขตพื้นที่บางเขน กรุงเทพมหานคร พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อ และ การศึกษาของฐิติวรรณ หาจันดา (2563) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ ประกันสุขภาพ กรณีศึกษาแบบประกันสุขภาพของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จ ากัด (มหาชน) พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรสแตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ แตกต่าง กัน สอดคล้องกับทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์ของศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538) อธิบายว่า สถานภาพของ บุคคล มีผลต่อปฏิกิริยาการรับรู้สาร เพราะความแต่ต่างกันของแต่ละคนที่มีวัฒนธรรม ประสบการณ์

ที่ไม่เหมือนกันจะรับรู้ข่าวสารต่างกัน โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพโสด และผู้บริโภคที่มี

สถานภาพหย่าร้าง/แยกกันอยู่ มีแนวโน้มที่จะมีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 โดยรวม กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณภาพผลิตภัณฑ์

ด้านการตอบสนองอารมณ์ ด้านคุณค่าทางสังคม และด้านชื่อเสียงของผลิตภัณฑ์/ตรายี่ห้อ มากกว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพสมรส และสอดคล้องกับภัทรฎา โสภาสิทธิ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) ในเขตบางแค กรุงเทพมหานครพบว่า สถานภาพสมรสที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาด และปัจจัยในการสร้างตราสินค้าของการตัดสินใจเลือกซื้อประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์ ผ่านบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) แตกต่างกัน การศึกษาของ ณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์ (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคใน เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า สถานภาพที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิต ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่แตกต่างกัน การศึกษาของนัฏฐภัค ผลาชิต (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทาง ธนาคารกรุงไทยภายในส านักงานเขตปทุมธานี พบว่า สถานภาพ เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การศึกษาของศนิษา สัมพคุณ (2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและผ่านธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

พบว่า ผู้บริโภคที่มีสถานภาพต่างกัน มีกระบวนการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและ ผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันการศึกษาของจีราพร แก้วปัน (2563) ศึกษา เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภควัยท างานในเขตพื้นที่บางเขน กรุงเทพมหานครพบว่า สถานภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อและการศึกษาของ

ฐิติวรรณ หาจันดา (2563) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกซื้อประกันสุขภาพ กรณีศึกษาแบบประกันสุขภาพของบริษัท เมืองไทยประกันภัย จ ากัด (มหาชน) พบว่า สถานภาพ สมรสมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีกระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกัน โควิด-19 ด้านราคา และด้านคุณค่าทางสังคม แตกต่างกัน สอดคล้องกับทฤษฎีด้านประชากรศาสตร์

ของศิริวรรณ เสรีรัตน์ (2538) อธิบายว่า บุคคลที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าจะมีความรู้ที่กว้างและไม่

เชื่ออะไรง่าย ๆ โดยต้องมีหลักฐานหรือมีการสืบหาข้อมูลก่อน ดังนั้น ความรู้ที่แตกต่างกันมีผลต่อ ความเชื่อที่แตกต่างกัน บุคคลที่มีความรู้มากกว่าย่อมมีความสามารถในการอ่านมากและหลายภาษา จะยิ่งได้ข้อมูลที่กว้างกว่า จึงเป็นปัจจัยที่ส าคัญต่อความคิดและค่านิยม ทัศนคติ และยังท าให้มี

พฤติกรรมที่ต่างกันออกไป โดยพบว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาต่ ากว่าปริญญาตรี มีกระบวนการการรับรู้

ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านราคา น้อยกว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาปริญญาตรี และ ผู้บริโภคที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีการศึกษาต่ ากว่าปริญญาตรี มี

กระบวนการการรับรู้ประโยชน์ในการท าประกันโควิด-19 ด้านคุณค่าทางสังคม มากกว่า ผู้บริโภคที่มี

การศึกษาปริญญาตรี และผู้บริโภคที่มีการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี และสอดคล้องกับการศึกษาของ ภัทรฎา โสภาสิทธิ (2557) ศึกษาเรื่อง พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตแบบ สะสมทรัพย์ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) ในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีผลต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และปัจจัยในการสร้าง ตราสินค้า ของการตัดสินใจเลือกซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ผ่านบริษัทกรุงเทพประกันชีวิต จ ากัด (มหาชน) แตกต่างกัน การศึกษาของณัฐิยา ภัทรกิจจานุรักษ์ (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผล ต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่

แตกต่างกัน การศึกษาของนัฏฐภัค ผลาชิต (2560) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกัน ชีวิตแบบสะสมทรัพย์ผ่านช่องทางธนาคารกรุงไทยภายในส านักงานเขตปทุมธานี พบว่า ระดับ การศึกษา เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ การศึกษาของ ศนิษา สัมพคุณ (2561) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทน และผ่านธนาคารพาณิชย์ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มี

กระบวนการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตผ่านตัวแทนและผ่านธนาคารพาณิชย์ โดยรวมและราย ด้านแตกต่างกันและการศึกษาของจีราพร แก้วปัน (2563) ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้อ ประกันชีวิตของผู้บริโภควัยท างานในเขตพื้นที่บางเขน กรุงเทพมหานคร พบว่า ระดับการศึกษามี

ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้อ