• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ภาพประกอบ 3 กระบวนทัศน์ของการป้องกันยาเสพติด

5) ฝึกทักษะการต่อต้านการเสพยาเสพติด

สังคมบางกลุ่มยังถือว่าการสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นสิ่งปกติ นอกจากนี้สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์หรือ หนังสือพิมพ์ก็มี การโฆษณาบุหรี่และสุรา ซึ่งจากการกระท าดังกล่าวมีผลให้เด็กไขว้เขวว่าการเสพ ยาเสพติดเป็นสิ่งผิดหรือสิ่งถูกต้อง

มีงานวิจัยของอีวาน และคณะในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้น าเสนอวิธีการให้เด็ก ได้มีภูมิคุ้มกันในการต่อต้านยาเสพติด ด้วยการฉายภาพยนตร์แสดงให้เห็นพิษภัยของการสูบบุหรี่

รวมทั้งแสดงวิธีการที่เด็กจะรู้จักปฏิเสธต่อการเสพสาร ปรากฏว่าได้ผลส าเร็จเป็นอย่างดี

กลุ่มนักเรียนทั่วไปที่ไม่เคยใช้ยาเสพติด นักเรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่ไม่เคยใช้

ยาเสพติด การด าเนินงานในกลุ่มนักเรียนที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้ยาเสพติดจึงเป็นกิจกรรมด้าน การป้องกันภาพกว้างที่ครอบคลุมนักเรียนทั่วไปในโรงเรียน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันมีมาตรการในการ ด าเนิน คือ มาตรการทางการศึกษา ในการให้การศึกษาเพื่อการป้องกันยาเสพติด

การป้องกันและแก้ไขการสูบบุหรี่ ควรแก้ที่ค่านิยมเป็นอันดับแรก โดยต้องอาศัย ความร่วมมือจะหลายฝ่าย (สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. 2547: 150 – 151) ดังนี้

1) บิดามารดาหรือผู้ปกครองจะต้องไม่สูบบุหรี่เป็นตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น และ ควรสั่งสอนหรือห้ามปรามเด็กๆ ของตนมิให้ริเริ่มหัดสูบบุหรี่

2) ครูไม่ควรสูบบุหรี่เพื่อจะได้เป็นตัวอย่างที่ดีของนักเรียน และทางโรงเรียนควร ห้ามนักเรียนทุกคนสูบบุหรี่ ตลอดจนให้ความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่

3) พระภิกษุสงฆ์ควรเทศน์และแสดงตนเป็นตัวอย่างแก่อุบาสกและอุบาสิกาใน เรื่องการไม่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ อุบาสกและอุบาสิกาก็ไม่ควรน าบุหรี่ไปถวายพระภิกษุสงฆ์ด้วย

4) แพทย์ควรท าตนเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน และชี้ให้เห็นถึงพิษของบุหรี่

5) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาลและองค์การเอกชน อื่นๆ เพื่อชี้แจงถึงอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพของประชาชน ด้วยการเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์

บรรยายทางวิทยุ โทรทัศน์ และแทรกเข้าไปในงานศิลปะ ต่างๆ เช่น เพลง ละคร ภาพยนตร์ การ์ตูน รูปภาพ และค าขวัญที่ต่อต้านการสูบบุหรี่

6) รัฐบาลควรด าเนินการตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับการ จ ากัดการสูบบุหรี่ ดังนี้

- ควรออกกฎหมายห้ามการโฆษณาบุหรี่

- ให้เขียนไว้ที่ริมซองว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ - ให้บุหรี่ทุกซองแสดงส่วนผสมของนิโคตินและทาร์ไว้ให้ชัดเจน

- ให้บุหรี่ทุกซองเขียนไว้ชัดเจนว่า ท าอย่างไรจึงจะลดการสูบบุหรี่ลงได้

- สร้างระบบภาษีให้สูงส าหรับบุหรี่ที่มีนิโคตินและทาร์จ านวนมาก - เพิ่มภาษียาสูบให้สูงขึ้น สร้างเกณฑ์ไม่ควรสูบบุหรี่เกินวันละ 4 มวน - รัฐบาลควรก าชับให้เจ้าหน้าที่ต ารวจท าการจับกุมและปรับอย่างจริงจัง ส าหรับผู้สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น ในโรงภาพยนตร์

กล่าวโดยสรุปจากการศึกษาเอกสาร หลักการ แนวคิด ทฤษฎีการป้องกันยาเสพติด พบว่าการป้องกันยาเสพติดเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง เป็นกระบวนการที่ด าเนินการ ล่วงหน้า โดยการอบรมเลี้ยงดู ให้การศึกษา ข้อมูลข่าวสารและความรู้อย่างถูกต้องทั้งในระบบ โรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย แก่ประชาชน และสัมพันธ์กันในเรื่อง คุณภาพชีวิต ยา และยาเสพติด การป้องกันตนเอง ครอบครัว ชุมชนให้รอดพ้นจากยาเสพติด โดยมี

วิธีการในการป้องกัน ใช้รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล คือ ให้บุคคลมีเจตคติและพฤติกรรมที่

ถูกต้องเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งวิธีการในการป้องกัน ได้แก่ การให้ความรู้ การเสริมทักษะกิจกรรม

ทางเลือก โดยการสอนให้รู้จักการปฏิเสธ และส่งเสริมกิจกรรมต่างๆ ส าหรับวิธีการป้องกันยาเสพติด ในโรงเรียนแบ่งเป็น 5 วิธี คือ 1) ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติดแก่นักเรียน 2) ให้เด็กได้มี

พัฒนาการทางด้านอารมณ์และความนึกคิด 3) มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ 4) สร้าง ภูมิคุ้มกันให้เด็กนักเรียนต้านยาเสพติด 5) ฝึกทักษะการต่อต้านการเสพยาเสพติดและมี

การสร้างสรรค์ค่านิยม เจตคติ วัฒนธรรม ของสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาตัวบุคคล โดยมีรูปแบบ การเปลี่ยนแปลง ดังนี้ คือ 1) Liberal Model คือ การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วม ของชุมชน (Community Participation) ในการท ากิจกรรมต่างๆ 2) Radical Model คือ การเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมแบบฉับพลันทันที โดยการน าหลักจิตวิทยามวลชนมาใช้ เช่น การปลุกเร้าให้คนในชุมชน ร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่

ส าหรับทฤษฎีที่ผู้วิจัยน ามาใช้คือ Atomistle Concept ที่เชื่อว่าการแก้ไขปัญหา ยาเสพติดต้องเปลี่ยนแปลงตัวบุคคล เชื่อว่าทุกคนเป็นคนมีเหตุผลพร้อมตอบสนองต่อข่าวสารใหม่ๆ ข่าวสารใหม่ๆท าให้บุคคลสร้างหรือเปลี่ยนแปลงทัศนคติ และอิทธิพลจากบรรทัดฐานของกลุ่มที่

แต่ละคนผูกพันอยู่จะหล่อหลอมทัศนคติ ค่านิยม รูปแบบพฤติกรรมที่มีอยู่เดิม ท าให้เกิด

การเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลได้ พร้อมกับน าทฤษฎี Holistic Concept ซึ่งแนวคิดนี้ให้ความส าคัญ กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม คือ การลดความต้องการยาเสพติดด้วยการแก้ปัญหาที่ตัวบุคคล ด้านเดียวย่อมไม่ประสบความส าเร็จต้องมีการสร้างค่านิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม ควบคู่ไปกับ การพัฒนาตัวบุคคล

2.2.3 การเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติด

การเรียนรู้ สุรางค์ โคว้ตระกูล (2541: 187) กล่าวว่า การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยน พฤติกรรมซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมหรือการฝึกหัด รวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน ส่วนพรธิดา วิเชียรปัญญา (2547: 116) กล่าวว่าการเรียนรู้

โดยทั่วไป หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการฝึกหัด หรือ ประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ช่วยให้บุคคล สามารถปรับตัวทั้งทางด้านส่วนตัว สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถด ารงชีวิตอยู่ท่ามกลางกระแส ของการเปลี่ยนแปลงได้ ส าหรับการเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดที่น ามาใช้ส าหรับพัฒนาหลักสูตรเสริม ครั้งนี้เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดมี

รายละเอียด ดังนี้

ทฤษฎีการเรียนรู้

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบพุทธินิยมและการแก้ปัญหา ซึ่งบรูเนอร์ให้ความส าคัญกับ โครงสร้างและการค้นพบ การเรียนรู้หลักการซึ่งมีลักษณะเป็นฟันเฟืองหมุนเวียนต่อเนื่องกันไป (Spiral Curriculum) มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับความเข้าใจในโครงสร้าง คือ เมื่อเด็กโตพอที่จะสามารถจับ ความหมายของความคิดพื้นฐาน บรูเนอร์มีความเชื่อเช่นเดียวกับเพียเจต์ว่า เด็กแต่ละวัยมีลักษณะของ

พัฒนาการทางความคิดแตกต่างกัน (ศิริบูรณ์ สายโกสุม. 2551: 89 – 99; อ้างอิงจาก ; Bruner; & et al.

1960) โดยแบ่งเป็น

1) เด็กวัยก่อนเข้าเรียน หรือเด็กปฐมวัย ความคิดพื้นฐานของเด็กอยู่ในรูปของ การกระท า บรูเนอร์เรียกวัยนี้ว่า Enactive คือ การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมการสัมผัสจับต้อง

2) วัยเด็ก ความคิดพื้นฐานของเด็กจะเป็นรูปภาพ หรือภาพในใจเป็นความสามารถ ในการจินตนาการ สร้างมโนภาพโดยไม่ต้องสัมผัสของจริง ซึ่งเรียกพัฒนาการในวัยนี้ว่า Iconic

3) วัยเด็กตอนปลาย หรือวัยรุ่นตอนต้น เริ่มมีสูตรทางคณิตศาสตร์ ข้อสันนิษฐาน สัญลักษณ์ ความเป็นเหตุเป็นผล เริ่มเข้าใจสิ่งที่ซับซ้อนเป็นนามธรรม บูรเนอร์ เรียกวัยนี้ว่า Symbolic บรูเนอร์เห็นว่าแม้แต่เด็กเล็กๆ สามารถจับสาระของความคิดพื้นฐาน แต่จะอยู่ในรูปแบบที่ง่ายๆ และ หยั่งรู้ ในวัยต่อมาเมื่อความคิดมีวุฒิภาวะขึ้น เด็กสามารถน าความคิดอันเดิมกลับเข้ามาใหม่ในรูปแบบที่

มีความซับซ้อน บรูเนอร์เรียกสิ่งนี้ว่า หลักสูตรแบบฟันเฟือง (Spiral Curriculum)

การเรียนรู้แบบค้นพบ (Discovery learning) บรูเนอร์เห็นว่า การเรียนรู้ในโรงเรียน เน้นการเรียนรู้ทีละขั้นตอนอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็นภาษา ตัวเลข หรือสูตรต่างๆ ซึ่งไม่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถน าความรู้ไปใช้นอกชั้นเรียนได้ การสอนแบบโปรแกรมท าให้ผู้เรียนต้อง พัึั่งพาสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมและการเรียนรู้ท าเพียงเพื่อให้ได้รับรางวัล

แทนที่ครูจะสอนเนื้อหาซึ่งคัดสรรและจัดเตรียมมาแล้ว ครูควรให้เด็กเผชิญกับ ปัญหาและช่วยให้เด็กแสวงหาค าตอบโดยอิสระหรือโดยการอภิปรายกลุ่ม การเรียนรู้อย่างแท้จริงจะ เกิดได้ต่อเมื่อมีความเข้าใจว่าจะใช้สิ่งที่เราเรียนรู้มาอย่างไร การช่วยให้เด็กมีความเข้าใจขึ้นมาด้วย ตนเองจะเป็นสิ่งที่มีความหมายส าหรับเขายิ่งกว่าการที่ผู้อื่นเสนอแนวความคิด การเกิดความเข้าใจ ขึ้นมาด้วยตนเองย่อมจะเป็นรางวัลด้วยตัวของมันเองเพราะสามารถท าให้สิ่งที่ตนสงสัยมีความหมาย การที่เด็กสามารถค้นหาค าตอบด้วยตนเองไม่เพียงจะช่วยพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาแต่ยังช่วยให้

เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถในการเรียนรู้ ท าให้สามารถจะแก้ปัญหาในวัยต่อมาเป็นการเรียนรู้

วิธีเรียน และการน าสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งที่เรียนรู้เป็นสาระส าคัญของวิธีการศึกษาด้วย ค้นพบ

การใช้วิธีการค้นพบในห้องเรียน

1) สิ่งแรกที่ต้องท า คือ การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นกันเอง ท าให้

นักเรียนรู้สึกอบอุ่น มั่นใจ

2) จัดสภาพการเรียนรู้ซึ่งช่วยให้เกิดการค้นพบ คือ

- ให้นักเรียนอภิปรายหัวข้อที่มีความคุ้นเคย หรือแสดงความคิดเห็น - ให้ข้อมูลที่จ าเป็นโดยให้นักเรียนอ่านหนังสือ จดค าบรรยาย หรือดู

ภาพยนตร์

3) วางโครงสร้างการอภิปรายโดยการตั้งค าถามขึ้นมา หรือตั้งประเด็นที่ท้าทาย ให้นักเรียนเลือกหัวข้อ

- ในบางกรณีอาจกระตุ้นให้นักเรียนหาข้อสรุป

Dokumen terkait