• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

1.1 ข้อมูลพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษและเป็นเมืองหลวงแห่งราชอาณาจักรไทย โดย มิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งค าว่า กรุงเทพมหานคร ใช้เป็นค าเรียกส านักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของ กรุงเทพมหานคร (วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2553: ออนไลน์) ปัจจุบันมีการแบ่งกลุ่มการปฏิบัติ งาน ของกรุงเทพมหานครตามค าสั่งที่ 2460/2552 ดังนี้

1) กลุ่มกรุงเทพกลาง ประกอบด้วย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตดินแดง เขตห้วยขวาง เขตพญาไท เขตราชเทวี และเขตวังทองหลาง

2) กลุ่มกรุงเทพใต้ ประกอบด้วย เขตปทุมวัน เขตบางรัก เขตสาทร

เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตวัฒนา เขตพระโขนง เขตสวนหลวง และเขตบางนา 3) กลุ่มกรุงเทพเหนือ ประกอบด้วย เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตหลักสี่ เขตดอนเมืองเขตสายไหม และเขตบางเขน

4) กลุ่มกรุงเทพตะวันออกประกอบด้วยเขตบางกะปิ เขตสะพานสูง เขตบึงกุ่ม เขตคัน นายาว เขตลาดกระบัง เขตมีนบุรี เขตหนองจอก เขตคลองสามวา และเขตประเวศ

5) กลุ่มกรุงธนเหนือ ประกอบด้วย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตบางกอกใหญ่ เขตบางกอกน้อย เขตบางพลัด เขตตลิ่งชันและเขตทวีวัฒนา

6) กลุ่มกรุงธนใต้ ประกอบด้วย เขตภาษีเจริญ เขตบางแค เขตหนองแขม เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตทุ่งครุ

1.2 ความเป็นมาของการจัดการศึกษาในกรุงเทพมหานคร

การจัดการศึกษาในกรุงเทพมหานคร จัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี 2427 ในรูปแบบของโรงเรียน ราษฎร์ที่วัดมหรรณพารามต่อมาในปี พ.ศ. 2430 มีการขยายการจัดการศึกษาโดยจัดตั้งองค์กร รับผิดชอบเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และเป็นกระทรวงธรรมการในปี พ.ศ. 2435 ถึง พ.ศ. 2441 ได้มี

โครงสร้างการศึกษาเกิดขึ้น โดยแบ่งความรับผิดชอบให้กรมศึกษาธิการของกระทรวงศึกษาธิการจัด การศึกษาในกรุงเทพมหานคร และให้กระทรวงมหาดไทยจัดการศึกษาในหัวเมืองร่วมกับพระสงฆ์

ภายหลังได้มีการขยายการศึกษาภาคบังคับออกไปถึงระดับต าบลระหว่างปี พ.ศ. 2454 ถึง พ.ศ. 2475 มีหน่วยงานที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา 3 กระทรวง คือ 1) กระทรวงนครบาล รับ หน้าที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษาในส่วนกลาง 2) กระทรวงมหาดไทย รับหน้าที่จัดการศึกษาระดับ ประถมศึกษาในส่วนภูมิภาค 3) กระทรวงธรรมการ รับหน้าที่ประสานงาน ให้การจัดการศึกษาเป็นไป ตามนโยบายกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จัดตั้งขึ้นเมื่อ

ปี พ.ศ. 2515 ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนครหลวง กรุงเทพธนบุรี องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ตลอดจน สุขาภิบาลต่างๆ ในนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียวกัน คือ กรุงเทพมหานคร รวมถึงการรับโอนการจัดการศึกษาจากหน่วยงานที่ยุบรวมกัน

บทบาทหน้าที่ด้านการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร ส านักการศึกษา ส านักงานเขต โรงเรียนกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นนครหลวงของประเทศไทย และเป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น รูปแบบพิเศษที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลมีระเบียบการปกครองตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร รองรับโครงสร้างการบริหารของกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย ฝ่าย นิติบัญญัติ ได้แก่ สภากรุงเทพมหานครและฝ่ายบริหาร คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนมีหน้าที่จัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนใน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็นเขตแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง บทบาท หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา คือ การจัดการศึกษาให้กับประชาชน ในกรุงเทพมหานคร โดยมีบทบาทส าคัญในการก าหนดนโยบาย ดูแลมาตรฐาน ก ากับติดตามดูแล สนับสนุนทรัพยากร ซึ่งกรุงเทพมหานคร ได้ด าเนินการจัดการศึกษาหลายระดับและหลายรูปแบบ ดังนี้

1) การจัดการศึกษาในรูปศูนย์เลี้ยงดูเด็ก หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอยู่ใน

ความรับผิดชอบของส านักพัฒนาชุมชนซึ่งด าเนินงานในลักษณะของการให้ความสนับสนุนชุมชนที่เปิด ด าเนินการ

2) การจัดการศึกษาในระดับปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา อยู่ในความรับผิดชอบของส านักการศึกษาและส านักงานเขต

3) การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยการแพทย์ และวิทยาลัย พยาบาลเกื้อการุณย์ในความรับผิดชอบของส านักการแพทย์

4) การจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ได้แก่ ฝึกอบรมวิชาชีพระยะสั้นในโรงเรียน ฝึกอบรมวิชาชีพกรุงเทพมหานคร และจัดให้กลุ่มสนใจตามความเหมาะสม ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ ส านักพัฒนาชุมชน หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพ มีดังนี้

ส านักการศึกษาเป็นหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากรม มีหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษา โดยน านโยบายด้านการศึกษาของกรุงเทพมหานครทั้ง 4 ด้านได้แก่ ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้าน บริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป ให้ส านักงานเขตและโรงเรียนด าเนินการ ส านักการศึกษา แบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 7 หน่วยงาน คือ ส านักเลขานุการ กองการเจ้าหน้าที่กองคลังหน่วย ศึกษานิเทศก์ ส านักยุทธศาสตร์การศึกษากองเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนกองพัฒนาข้าราชการครู

กรุงเทพมหานคร

บทบาทหน้าที่ของส านักการศึกษารับผิดชอบเกี่ยวกับการก าหนดนโยบาย เป้าหมาย การจัดท าและพัฒนาแผนการจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร จัดการศึกษาในระบบอย่างมีคุณภาพ ส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมการน าเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารมาใช้ในการบริหารจัดการเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายการเรียนรู้ด้านการศึกษาเพื่อน าไปสู่

การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ได้ก าหนดฐานะ กรุงเทพมหานคร เป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง ฉะนั้นกรุงเทพ มหานคร จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคล มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้ง และผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครเลือกรองผู้ว่าราชการฯอีก 4 คน เข้ามาบริหารและรับผิดชอบงานของส านักต่างๆ เช่น ส านักการแพทย์ ส านักระบายน ้า ส านักการศึกษา เป็นต้น ส านักการศึกษาเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ด้านการจัดการศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีหน้าที่จัดการศึกษา 3 ระดับคือ 1) ระดับชั้นเด็กเล็ก 2) ระดับชั้นประถมศึกษา 3) ระดับชั้นมัธยมศึกษา

1.3 โครงสร้างและอ านาจหน้าที่การจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานคร

การบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร จัดในลักษณะของสาย การบังคับบัญชาซึ่งมีผู้บริหารคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปลัดกรุงเทพมหานคร ส านักงานเขต และโรงเรียนตามล าดับ โดยส านักการศึกษาเป็นฝ่ายอ านวยการหรือหน่วยงานที่ปรึกษา ส่งเสริม สนับสนุนในระดับกรุงเทพมหานคร เป็นส่วนราชการที่ท าหน้าที่เช่นเดียวกับในระดับส านักงานเขต โครงสร้างระบบบริหารการศึกษามีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารสูงสุดและเป็นฝ่าย การเมือง มีอ านาจหน้าที่ก าหนดนโยบาย การบริหารกรุงเทพมหานครทุกด้าน เป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ในสายราชการประจ ามีปลัดกรุงเทพมหานคร ด ารงต าแหน่งสูงสุดของข้าราชการประจ ามีอ านาจหน้าที่ตามที่กฎหมายก าหนดและตามค าสั่งของผู้ว่า ราชการกรุงเทพมหานคร และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจ ากรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตาม นโยบายของกรุงเทพมหานครก ากับ เร่งรัด ติดตามผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการใน

กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการกรุงเทพมหานครและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร รองจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แสดงดังภาพประกอบ 2

ภาพประกอบ 2 โครงสร้างระบบบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานของกรุงเทพมหานคร

ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กรุงเทพมหานคร. (2549ก). โครงการศึกษาและ พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่พึงประสงค์ของกรุงเทพมหานคร. หน้า 7

ส านักงานเขต มีอ านาจหน้าที่ในการด าเนินเกี่ยวกับการศึกษา และการอบรมดูแล โรงเรียนประถมศึกษา มีผู้อ านวยการเขตเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานครใน สังกัดส านักงานเขต รับผิดชอบการปฏิบัติราชการภายในเขต ส่วนราชการภายในส านักงานเขต ก าหนดให้มีฝ่ายการศึกษา เป็นที่ปรึกษาและสนับสนุนการบริหารด้านการจัดการศึกษา และโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ถูกก าหนดให้เป็นส่วนราชการหนึ่งของส านักงานเขต (ส านักงานคณะกรรมการข้าราชการครู กรุงเทพมหานคร. 2549ข: 7)

การแบ่งกลุ่มเพื่อพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ได้จัดแบ่งตามสภาพความเหมาะสมของพื้นที่ แต่ละส านักงานเขต โดยเรียกว่ากลุ่มส านักงานเขต ซึ่งในแต่ละกลุ่มส านักงานเขต มีโรงเรียนขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก การแบ่งกลุ่มพัฒนา วิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จ านวน 436 โรงเรียน แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มเขต ดังนี้

Dokumen terkait