• Tidak ada hasil yang ditemukan

การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารข้อมูลหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่

เกี่ยวข้องเพื่อน ามาเป็นแนวทางในการก าหนดเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาและบริหารหลักสูตร การเสริมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ดังนี้

1. แนวคิดทักษะชีวิต (Life Skills) เป็นการปรับตัวและมีพฤติกรรมในทางที่ถูกต้อง (WHO. 1997: 1 – 3) ยึดมั่นหลักการ (Principle) มีการตัดสินใจอย่างฉลาด เป็นการกระท าในสิ่งที่

ถูกต้องเหมาะสม (Covey. 2006: 1 – 350) ซึ่งทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดที่จ าเป็นมี 5 ด้าน คือ การควบคุมตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง การตัดสินใจ การแก้ปัญหาและการปฏิเสธ จากแนวคิด ของวอย์ทิธส์; และ การ์เนอร์ (Woititz; & Garner. 1990: ix – 192) กล่าวถึงการพัฒนาทักษะเพื่อ การด าเนินชีวิตที่จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ (Mature) ผู้ใหญ่ต้องสอนเด็กเกี่ยวกับ การจัดการกับชีวิต และจากแนวคิดของโควีย์ (Covey. 2006: 1 – 309) กล่าวว่านักเรียนต้องมี

ทักษะการตัดสินใจที่ดีเพื่อหลีกเลี่ยงยาเสพติด การก าจัดการเสพติดให้ได้ผลต้องตัดที่รากเหง้าของ ปัญหาและการตัดสินใจที่ส าคัญของชีวิตนักเรียนที่จะส่งผลต่อไปในอนาคต คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับ การเสพติด และทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง ซึ่งการปฏิเสธ (Refusal – Skills) เป็นทักษะที่ส าคัญ ต้องสอนให้เด็กสามารถปฏิเสธและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด และจากแนวคิดของ เบคเกอร์ (Becker. 2008: 1 – 5) กล่าวว่าการสอนทักษะชีวิตให้เด็กเกิดปัญญา (Wisdom) และ สุดท้ายเด็กสามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีให้แก่ชีวิตของตนได้ ได้แก่ การไม่เสพยาเสพติด จาก แนวคิดของกาลินสกี้ (Galinsky. 2010: 1 – 11) ที่กล่าวว่า ทักษะชีวิตที่จ าเป็นส าหรับเด็กใน ศตวรรษที่ 21 จะต้องมีและเป็นหัวใจของทักษะชีวิตอื่นๆ คือ ทักษะการควบคุมตนเอง

(Self – Control) จากแนวคิดของสเตราส์ (Strauss. 2011: 1 - 2) กล่าวว่า การควบคุมตนเอง (Self – Control) และความภาคภูมิใจในตนเอง (Self – Esteem) เป็นทักษะที่สร้างแก่นักเรียนให้

เกิดปัญญา (Wisdom) จะท าให้ครูสามารถช่วยป้องกันนักเรียนจากยาเสพติดได้ ขณะที่โกลสเตน;

รีเอเกิล; เอแมนน์ (Goldstein; Reagle; & Amann. 1990: 1 – 2) กล่าวว่า การปฏิเสธ (Refusal Skills) เป็นเช่นเดียวกับทักษะอื่นๆซึ่งสามารถสอนได้ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยจึง น าแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดประกอบด้วย 5 ด้าน มาใช้ในการศึกษา ดังนี้

1.1การควบคุมตนเอง (Self – Control) จากแนวคิดกาลินสกี้ (Galinsky. 2010:

1 – 11) กล่าวว่า การควบคุมตนเองเป็นหัวใจของทักษะชีวิตที่จ าเป็นในทักษะอื่นๆส าหรับเด็กซึ่งมุ่ง ให้เด็กประสบความส าเร็จตามเป้าหมายของตน สเตราส์ (Strauss. 2011: 1 – 2) กล่าวว่าทักษะที่

สร้างแก่นักเรียนจะท าให้ครูสามารถช่วยป้องกันนักเรียนจากยาเสพติด คือ การควบคุมตนเอง (Self Control) คอนแดรคกี้ (กานดา พู่พุฒ. 2548: 94 – 104; อ้างอิงจาก Kondracki. 1986: 12- 14) กล่าวว่า การควบคุมตนเอง คือ การเพิ่มความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคล บุคคลมีอิสระในการเลือกทางเดินชีวิตของตน การเลือกอย่างฉลาดเป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาและการ ฝึกหัด

1.2 ทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self - Worth) จากแนวคิดสเตราส์ (Struass.

2011: 1 - 2) กล่าวว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง คือ ทักษะที่สร้างแก่เด็กนักเรียนจะท าให้ครูสามารถ ช่วยป้องกันเด็กนักเรียนจากยาเสพติด และโควีย์ (Covey. 2006: 6) กล่าวว่า การเห็นคุณค่าใน ตนเองท าให้วัยรุ่นยืนหยัดต่อแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนได้

1.3 การตัดสินใจ (Decision – Making) จากแนวคิดโควีย์ (Covey. 2006: 1 - 14) กล่าวว่า หลักการตัดสินใจที่ส าคัญส าหรับวัยรุ่นเกี่ยวกับสิ่งเสพติด (Addiction) คือ การปฏิบัติตน เมื่อต้องเผชิญกับการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา เสพยา และสิ่งเสพติดชนิดอื่นๆ ได้อย่างเหมาะสม โค้ช (Couch. 2000: 25) กล่าวว่ากระบวนการตัดสินใจประกอบด้วยขั้นตอนที่จะช่วยให้วัยรุ่นพิจารณา ทางเลือกต่างๆที่มีเพื่อช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ดีที่สุด ทักษะการตัดสินใจ (Decision Making Skills) เป็นกระบวนการคิดที่ใช้การคิดพิจารณา เลือกทางเลือกที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่มีอยู่

(Beyth; & Colleagues. 1991: 21; อ้างอิงจาก ปณิชกา จีรพรชัย. 2552: 58) และแนวคิดของดนัย จันทร์เจ้าฉาย (2547: 13) กล่าวว่า ขั้นตอนการตัดสินใจ เน้นถึงขั้นการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดี

ที่สุด

1.4 การแก้ปัญหา (Problem – Solving) วอย์ทิธส์; และ การ์เนอร์ (Woititz; &

Garner. 1990: ix – 192) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเป็นกระบวนการ เป็นขั้นตอน วิลเลย์ และ ซันส์

(Wiley; & Sons. 2009: xiii) กล่าวว่า ทักษะการจัดการกับปัญหา (Problem - Solving Skills) ได้แก่ การกระท าการตัดสินใจที่ดี การใช้ทรัพยากร การตั้งเป้าหมาย ความเข้าใจในความเสี่ยง วาตานาเบะ เคนซูเกะ (2010: 1 – 89) กล่าวว่า การแก้ปัญหาเป็นนิสัย เมื่อพัฒนาทักษะที่เหมาะสม และปรับใช้ทัศนคติที่ถูกต้องแล้วจะสามารถแก้ปัญหาได้

1.5 การปฏิเสธ (Refusal – Skills) จากแนวคิดโกลด์สเตน; รีเอเกิล; และ เอแมน (Goldstein; Reagle; & Amann. 1990: 1 – 2) เป็นทักษะที่ท าให้เด็กสามารถปฏิเสธยาเสพติด และ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากแนวคิดของ คาร์นีย์ (Carney. 2007: Online) กล่าวว่า การปฏิเสธเป็นการตอบโต้กับแรงกดดันแบบกลุ่มจาก เพื่อนในสถานการณ์ต่างๆได้ และโควีย์ (Covey. 2006: 252 – 253) กล่าวว่า การปฏิเสธเป็นทักษะ ที่วัยรุ่นต้องฝึกฝนให้เกิดความเคยชินเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆที่ต้องเผชิญ และจากแนวคิด ของพรสุข หุ่นนิรันดร์; และ คนอื่นๆ (2545: 62) ที่กล่าวว่าทักษะการปฏิเสธเป็นส่วนหนึ่งของการ สร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารด้วยความสามารถในการใช้ค าพูด หรือท่าทาง เพื่อแสดงความรู้สึก นึกคิดของตนเอง และการรับรู้ความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความพอใจ ชื่นชม การปฏิเสธ และแนวคิดของลูคัส บิล (2552: 141 - 174) กล่าวว่า การตอบปฏิเสธต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง คือ การที่เราก าลังสร้างโอกาสให้สมองของเราได้เรียนรู้ในสิ่งอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิผล

2. การพัฒนาหลักสูตรเสริม ผู้วิจัยศึกษาจากเอกสาร ข้อมูล หลักการ บทความ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

2.1 การพัฒนาหลักสูตร จากแนวคิดวิชัย วงศ์ใหญ่ (2537: 10) กล่าวว่า การพัฒนา หลักสูตร หมายถึง ความพยายามวางโครงการที่จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ก าหนด และจากแนวคิดของจอยค์; และ คณะ (Joyce; Dana; & Neal. 1996: 12 – 13) อธิบายลักษณะของ หลักสูตรเสริมมีดังนี้ 1) มุ่งศึกษาสิ่งที่ลึกหรือกว้างกว่าสิ่งที่เรียนรู้จากหลักสูตรแกนกลาง เป็นการศึกษา ภายใต้โลกของความเป็นจริง และแก้ปัญหาในสิ่งที่นักเรียนต้องการจะรู้ 2) ให้ความส าคัญกับการปลูกฝัง ระเบียบวินัยในการอยู่ร่วมกันในสังคม 3) เป็นการพัฒนา การคิดระดับสูง เป็นการบูรณาการสิ่งที่ได้

เรียนรู้ และสร้างโอกาสในการประยุกต์ใช้ความรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนรู้มา 4) ช่วยให้นักเรียนได้

ปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ โดยจะให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ ได้ฝึกปฏิบัติ วางแผนการปฏิบัติตาม หน้าที่ และการประเมินประสิทธิภาพในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5) เป็นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ให้กับนักเรียน 6) เสริมการเรียนรู้ที่เป็นปัญหาของนักเรียน 7) เป็นการพัฒนานักเรียนให้

สามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน 8) จัดตามความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของนักเรียน 2.2 องค์ประกอบของหลักสูตรเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดได้ประยุกต์แนวคิด ของสมพร หลิมเจริญ (2552: 88) สงัด อุทรานันท์ (2532: 241 – 245) วิชัย ดิสสระ (2535: 11 – 12) ธ ารง บัวศรี (2542: 7 – 8) นิรมล ศตวุฒิ; ศักดิ์ศรี ปาณกุล; และ รวีวรรณ ศรีคร้ามครัน (2543: 3) บุญชม ศรีสะอาด (2546: 11) มีองค์ประกอบของหลักสูตรเสริม ดังนี้ 1) แนวคิดหลักการของหลักสูตร หมายถึง แนวคิดที่ต้องการพัฒนานักเรียนให้เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร

2) วิสัยทัศน์ 3) ปรัชญา 4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หมายถึง จุดมุ่งหมายที่เป็นแนวทางในการเรียน การสอนที่โรงเรียนต้องการให้เกิดผลแก่ผู้เรียนภายหลังจบหลังสูตร ตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ของผู้เรียน 5) เนื้อหาของหลักสูตร หมายถึง ความรู้ และประสบการณ์ และแนวสังเขปของรายวิชาที่

ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่ก าหนด 6) การน าหลักสูตร

ไปใช้ หมายถึง การจัดการเรียนการสอน กระบวนการ วิธีการในการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน 7) ปัจจัยเสริมการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ หมายถึง สิ่งที่ช่วยเสริมการ เรียนรู้ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ เอกสาร สื่อ วัสดุการเรียนการสอน 8) การวัดและประเมินผล หมายถึง การประเมินผลการเรียนรู้ และการประเมินผลหลักสูตรเพื่อตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่ก าหนดไว้

2.3 ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรเสริมที่ผู้วิจัยน ามาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้ประยุกต์

แนวคิดของไทเลอร์ (Tyler. 1949: 1 – 2) ทาบา (Taba. 1962: 12) เซเลอร์; และ อเล็คซานเดอร์

(Saylor; & Alexsander. 1974: 26 - 27) อาร์มสตรอง (Armstrong. 1989: 32 – 37) เฉลิมพล สวัสดิพงษ์ (2551: 64) สรุปมี 4 ขั้นตอนที่ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรเสริม ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา ความต้องการจ าเป็นในการพัฒนา หลักสูตรเสริม หมายถึง การศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เรียนสังคมหรือชุมชน และเนื้อหาความรู้แล้ว ก าหนดวัตถุประสงค์ชั่วคราวของหลักสูตรให้สอดคล้องกับข้อมูลที่ได้มา และศึกษาปรัชญา จิตวิทยา การเรียนรู้มวลประสบการณ์ที่จะจัดให้ผู้เรียน และเป้าหมายของโรงเรียน

ขั้นตอนที่ 2 การสร้างหลักสูตรเสริม หมายถึง กระบวนการตัดสินใจโดยใช้

เป้าหมาย วัตถุประสงค์และขอบเขตของหลักสูตรมาพิจารณาสร้างหลักสูตร

ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบประสิทธิภาพของหลักสูตรเสริม หมายถึง การตัดสินใจ จัดการเรียนการสอน และประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียน ตลอดจนความพึงพอใจจากครู ผู้บริหาร โรงเรียน และนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรเพื่อน าไปใช้ในการตัดสินใจและวางแผนปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

ขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงหลักสูตรเสริม หมายถึง การน าผลที่ได้จากการทดลองใช้

หลักสูตรมาปรับปรุงหลักสูตรให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

3. ทฤษฎีการเรียนรู้ ใช้เป็นเทคนิคส าหรับการสอนของบรูเนอร์ (ศิริบูรณ์ สายโกสุม. 2551:

89 – 99; อ้างอิงจาก Bruner; & et al. 1960: 21-23) กล่าวว่า เด็กแต่ละวัยมีลักษณะของพัฒนาการทาง ความคิดที่แตกต่างกันและการเรียนรู้อย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีความเข้าใจว่าจะใช้สิ่งที่เรียนรู้

อย่างไรจึงจะช่วยให้เด็กมีความเข้าใจขึ้นมาด้วยตนเอง นักเรียนแสวงหาค าตอบโดยอิสระด้วยการ อภิปรายกลุ่มและ การแก้ปัญหาและแนวคิดของสมโภช เอี่ยมสุภาษิต (2550: 53) กล่าวว่า การเรียนรู้

จากการเลียนแบบเป็นวิธีหนึ่งซึ่งท าให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้กว้างขวางขึ้น และศูนย์บ าบัดรักษายา เสพติดขอนแก่น (2547: 3 – 4) กล่าวว่าการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอาศัยหลักการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็น ศูนย์กลาง โดยมีพื้นฐาน คือ การเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

4. ทฤษฎีการป้องกันยาเสพติด ของวรวิทย์ อรรถโกวิทธาตรี (2542: 18) กล่าวว่า แนวคิดและ ทฤษฎีการควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติด ได้แก่ Atomistle Concept ที่เชื่อว่าการแก้ปัญหา ยาเสพติดต้องสร้างหรือเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล ด้วยกระบวนการเผยแพร่ข่าวสาร การให้การศึกษา การฝึกอบรม และ Holistic Concept ที่เชื่อว่า การแก้ปัญหายาเสพติดต้องมีการสร้างสรรค์ค่านิยม ทัศนคติ วัฒนธรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาตัวบุคคล และแนวคิดของประเสริฐ กรวยสวัสดิ์ (2541: 12);

ส านักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2549: 7 - 16) กล่าวว่า การป้องกัน

Dokumen terkait