• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ตาราง 2 วิเคราะห์ความหมายของทักษะชีวิต

2.1.3 องค์ประกอบของทักษะชีวิต

การสร้างและออกแบบหลักสูตรขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบต้องการให้ผลลัพธ์เป็นอะไร ทักษะชีวิตมีหลายประเภท ที่มีการจัดเป็นกลุ่มทักษะชีวิตไว้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

2550: 19 – 25) ได้แก่ กลุ่มทักษะการคิด กลุ่มทักษะการตัดสินใจ และกลุ่มทักษะการปรับตัว หรือ ทักษะชีวิตที่ทุกคนจ าเป็นต้องมี และองค์การอนามัยโลก (WHO. 1997: 1) กล่าวว่า โดยธรรมชาติ

แล้วทักษะชีวิตจะมีความแตกต่างในแต่ละวัฒนธรรม แต่ในภาพรวมจะพบว่ามีทักษะชีวิตหลัก (Core Life Skills) อยู่ 10 ประการ ดังนี้

1) การตัดสินใจ (Decision Making) หมายถึง สิ่งที่น าไปสู่การตัดสินใจเกี่ยวกับ เรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งถ้าเด็กนักเรียนมีการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพในการกระท าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยมีการประเมินทางเลือกและผลจากการตัดสินใจเลือกทางเลือกนั้นๆ จะมี

ผลต่อสุขภาพอนามัยของเด็กนักเรียน (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2550: 19 – 25) เป็น ความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถ ตัดสินใจเกี่ยวกับการกระท าของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมี

สุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ (WHO. 1997: 1)

2) การแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นความสามารถในการจัดการกับปัญหา ที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหา ใหญ่โตเกินแก้ไข

3) ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การมีความคิดสร้างสรรค์ (Being Creative) เป็นกระบวนการสร้างจินตนาการโดยกระบวนการนี้ ผู้ใช้จะหลุดพ้นจากความทรงจ าทั้ง มวลที่สะสมไว้จากประสบการเดิม จะคิดเลี่ยงๆไปหรือที่เรียกว่า คิดนอกกรอบ การมีความคิด สร้างสรรค์มุ่งเน้นไปที่การคิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและสร้างสรรค์แนวคิดออกมาเป็นกระบวนการที่

หลากหลาย (วีระ สุดสังข์. 2550: 36; อ้างอิงจาก Melvin. 2006: 4) ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO. 1997: 1) ให้ความหมายของการคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าเป็นความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วน ช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่างๆ รวมทั้งผลที่จะ เกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถน าประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจ าวันได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับอรพรรณ พรสีมา (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2550: 19; อ้างอิงจาก อรพรรณ พรสีมา. 2543: 1 – 24) ที่กล่าวว่าความคิดสร้างสรรค์ หมายถึง สิ่งที่มีส่วนสนับสนุนใน การตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ในการค้นหาทางเลือกต่างๆ และผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก ถึงแม้ว่ายังไม่มีการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถน า ประสบการณ์ที่ผ่านมาใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ าวันได้

อย่างเหมาะสม ขณะที่สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ (2551: 3 – 27) ให้ความหมาย ของการคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กให้ฉลาดคิดว่าเป็นการคิดได้หลายวิธี คนฉลาดคิดจะสามารถ

หาทางออกได้เสมอ ซึ่งหมายถึงหากวิธีทางออกหนึ่งไม่ได้ผลก็สามารถหาวิธีทางออกที่สองหรือสาม ต่อไปได้ คนฉลาดนั้นสามารถคิดทางออกได้หลายวิธีเสมอ ซึ่งมักจะคิดได้อย่างน้อยสามวิธี คือ สุด ขั้วด้านน้อยสุด สุดขั้วด้านมากสุด และทางสายกลาง

สรุป การคิดสร้างสรรค์ หมายถึง สิ่งที่มีส่วนสนับสนุนในการตัดสินใจและ

แก้ไขปัญหา ในการค้นหาทางเลือกต่าง ๆ และผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก เป็นการคิดได้หลาย วิธี ถึงแม้ว่ายังไม่มีการตัดสินใจและแก้ไขปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถ น าประสบการณ์ที่ผ่านมาใช้ในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญและกดดันได้อย่าง เหมาะสม

4) ความคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) ฮาร์ดแมน; และ

แมคชี (Hardman; & Macchi. 2003: x! – xv) กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง “การคิด” ว่าการคิดประกอบ ไปด้วย 3 ประเด็นส าคัญ คือ 1) การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning) 2) การตัดสิน (Judgment) 3) การกระท าการตัดสินใจ (Decision Making) ทักษะด้านการคิดประกอบด้วยความรู้ 3 ระดับ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2550: 19; อ้างอิงจาก อรพรรณ พรสี่มา. 2543: 1 – 24) ดังนี้

1) ทักษะการคิดพื้นฐาน จัดเป็นทักษะที่มีความจ าเป็นในการด ารงชีวิตประจ าวันและเป็นทักษะ น าไปสู่การคิดระดับกลางและระดับสูง เริ่มตั้งแต่ การบันทึก การจัดระบบข้อมูล การเปรียบเทียบ การเรียงล าดับความส าคัญ 2) ทักษะการคิดระดับกลาง จัดเป็นความรู้ในระดับที่สูงกว่าทักษะการคิด พื้นฐาน การคิดดังกล่าวเป็นภาคความรู้ในการวิเคราะห์หาเหตุผล แยกแยะความซับซ้อน 3) ทักษะ การคิดระดับสูง จัดเป็นทักษะที่มีความจ าเป็นในการศึกษาทุกระดับ ซึ่งการคิดระดับสูงเป็นการคิดที่

ใช้วิจารณญาณ การไตร่ตรองอย่างรอบคอบ มีความคิดสร้างสรรค์และแก้ปัญหา การหาทางเลือก ใหม่ การประเมินค่า และการตัดสินใจเพื่อเลือกปฏิบัติ และถ่ายทอดให้ผู้อื่นมีความเข้าใจได้เป็น อย่างดี

กลุ่มทักษะการคิดจึงมีความสัมพันธ์กับทักษะชีวิตในการแสวงหาความรู้และเป็น พื้นฐานในด้านการตัดสินใจและการปรับตัว คุณภาพของความคิดขึ้นอยู่กับคุณภาพของสมองและ วุฒิภาวะทางอารมณ์และสภาพแวดล้อม ซึ่งโครงสร้างทางสมองของบุคคลบ่งชี้ความสามารถของ บุคคลโดยจ าแนกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มแรก สมองซีกขวา จะรับผิดชอบทางด้านอารมณ์ (Emotional) และความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ก่อให้เกิดคุณลักษณะโดดเด่นในด้านความอ่อนไหว ทางอารมณ์ที่สามารถประกอบอาชีพทางด้านศิลปะ การออกแบบ การแสดงต่างๆ เป็นต้น กลุ่มที่

สอง สมองซีกซ้าย จะท าหน้าที่ในการควบคุมการรับรู้ การคิดหาเหตุผล วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์

ก่อให้เกิดลักษณะเด่นในการคิดอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนเหมาะสมกับการศึกษาทางด้าน วิทยาศาสตร์ ส าหรับการคิดเชิงวิเคราะห์เปรียบเทียบมีความเหมาะสมกับงานเชิงธุรกิจและ การตลาด เป็นต้น

อย่างไรก็ตามทักษะการคิดมีความจ าเป็นในการผสมผสานการใช้สมองซีกซ้าย และสมองซีกขวาเพื่อการด ารงชีวิตประจ าวันตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อมิให้บุคคลใช้ความคิด เพียงด้านเดียว ทักษะชีวิตได้ครอบคลุมทักษะการคิดทั้งส่วนสมองและอารมณ์ โดยมีทักษะย่อยที่

ส าคัญได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเมลวิน (วีระ สุดสังข์.

2550: 36; อ้างอิงจาก Melvin. 2006: 4) กล่าวว่าศูนย์กลางของการคิดอย่างชาญฉลาดคือขุมพลัง ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการคิดสร้างสรรค์ ที่ผู้วิจัยจะกล่าวถึงต่อไปดังนี้

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) องค์การอนามัยโลก (WHO.

1997: 1-3) กล่าวว่า เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ และประเมินปัญหาหรือ สถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการด าเนินชีวิต ส่วนสุวิทย์ มูลค า; และ คณะ (2549: 46) ให้

ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณว่าเป็นการคิดที่มีเหตุผลโดยผ่านการพิจารณาไตร่ตรอง อย่างรอบคอบมีหลักเกณฑ์และหลักฐานที่เชื่อถือได้ เพื่อน าไปสู่การสรุปและตัดสินใจที่มี

ประสิทธิภาพว่า สิ่งใดถูกต้อง สิ่งใดควรเชื่อ สิ่งใดควรเลือกสิ่งใดควรท า สอดคล้องกับความเห็นของ วินัย ด าสุวรรณ (2548: 34) กล่าวว่าหมายถึงการตั้งค าถามซึ่งรวมไปถึงการรับข้อมูล ข่าวสาร การสอบถามและใช้สิ่งเหล่านั้นเพื่อสร้างความคิดใหม่หรือน าไปแก้ปัญหาหรือใช้ในการตัดสินใจ ใช้สร้างเหตุผล ข้ออ้างทั้งปวงและใช้ในการวางแผนขณะที่ เอ็นเนส (ส านักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ. 2545: 172; อ้างอิงจาก Ennes. 1985: 12-13) ให้ความหมายของการคิดอย่าง มีวิจารณญาณว่า หมายถึง การคิด พิจารณาไตร่ตรองอย่างมีเหตุผล เป็นความสามารถที่จะ

วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและประเมินปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรม เช่น ค่านิยม แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน อิทธิพลจากสื่อต่าง ๆ ที่มุ่งการตัดสินใจว่าสิ่งใดควรเชื่อ หรือสิ่งใดควรท า ที่มีผลต่อการไม่ใช้ยาเสพติด

สรุป การคิดอย่างมีวิจารณญาณ หมายถึง การคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างมี

เหตุผล เป็นความสามารถที่จะวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและประเมินปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติ

และพฤติกรรม เช่น ค่านิยม แรงกดดันจากกลุ่มเพื่อน อิทธิพลจากสื่อต่างๆที่มุ่งการตัดสินใจว่าสิ่งใด ควรเชื่อ หรือสิ่งใดควรท าหรือไม่ควรท า

5) การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication) เป็น ความสามารถในการใช้ค าพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเองได้อย่าง เหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดง ความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ

6) ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship Skills) การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationship) เป็นความสามารถในการ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว

7) ความตระหนักในตนเอง (Self-Awareness) เป็นความสามารถในการค้นหา รู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็น พื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่นๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอก เห็นใจผู้อื่น (WHO. 1997: 2) ความตระหนักในตนเองเป็นความสามารถของบุคคลด้านการเข้าใจ จุดดี จุดด้อยของตนและผู้อื่น ผู้ที่มีความตระหนักรู้ในตนจะเป็นผู้ที่มีจิตใจดี มีสัมพันธภาพกับคน รอบข้างและสื่อสารกับผู้อื่นอย่างเป็นมิตร (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2550: 19 – 25)

8) ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เป็นความสามารถในการเข้าใจ ความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือ บุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์ (WHO. 1997: 2) เป็นความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกและเห็นใจผู้อื่น ยอมรับความแตกต่างของบุคคล มีจิตใจ กว้าง มองโลกในแง่ดี (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2550: 19 – 25)

9) การจัดการกับอารมณ์ (Coping with Emotions) เป็นความสามารถในการรับรู้

อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับ อารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม

10) การจัดการกับความเครียด (Coping with Stress) เป็นความสามารถในการ รับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด แนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ

นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น แมนกรูก้า; วิทแมน ; และ โพสเนอร์ (Mangrulkar; Whitman; & Posner. 2001: 22) ได้แบ่งองค์ประกอบของโปรแกรม การพัฒนาทักษะชีวิตไว้ 3 ทักษะที่จ าเป็น คือ 1) องค์ประกอบทักษะทางด้านสังคม (Social Skills) 2) องค์ประกอบทักษะทางด้านความคิด (Cognitive Skills) 3) องค์ประกอบทักษะทางด้านการเผชิญ ทางอารมณ์ (Emotional Coping Skills) ขณะที่แม็คเวล (Maxwell. 1981: 7 – 8) กล่าวถึง

องค์ประกอบของทักษะชีวิต คือ 1) ทักษะด้านความรู้ในตนเอง (Self – Knowledge or Self – Awareness Skills) 2) ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Skills) 3) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem – Solving Skill) ในประเทศไทย ปิยะพงษ์ ไสยโสภณ (2550: 29) กล่าวว่ามีการปรับ เปลี่ยนทักษะชีวิตเป็น 5 คู่ คือ 1) ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดวิเคราะห์วิจารณ์ เป็นองค์ประกอบ ร่วมและเป็นพื้นฐานของทุกองค์ประกอบ 2) ความตระหนักรู้ในตน และความเห็นใจผู้อื่นเป็นด้าน จิตพิสัย และเพิ่มเจตคติอีก 1 คู่ คือ ความภูมิใจในตนเองและความรับผิดชอบต่อสังคม อีก 3 คู่ เป็น ด้านทักษะพิสัย คือ การสร้างสัมพันธภาพและการสื่อสาร การตัดสินใจและการแก้ไขปัญหาและ การจัดการด้านอารมณ์และความเครียด นอกจากนั้นสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ได้

Dokumen terkait