• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ตาราง 5 ต่อ)

1) เนื้อหาสาระของแต่ละวิชาแยกจากกันโดยเด็ดขาด

2) แต่ละวิชามีหลักการ เหตุผล เนื้อหาสาระ และวิธีการที่ตายตัวตามความรู้ในวิชา นั้น และไม่มีการแสดงความสัมพันธ์เกี่ยวกับวิชาอื่นๆ

3) หลักสูตรไม่ได้แสดงความเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับการปฏิบัติจริง 4) การเลือกและการจัดเนื้อหารายวิชายึดคุณค่าที่มีอยู่ในเนื้อหาสาระที่สอน โดยคาด ว่าผู้เรียนสามารถน าความรู้มาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

3.5.2 หลักสูตรสหสัมพันธ์ (Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่พยายามปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรรายวิชา โดยน าเอาเนื้อหาของวิชาอื่นที่สัมพันธ์มาผนวกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิชาตั้งแต่สองวิชาขึ้นไป โดยที่ความสัมพันธ์ระหว่างวิชาและเนื้อหา ไม่ซับซ้อน

3.5.3 หลักสูตรผสมผสาน (Fused Curriculum) เป็นหลักสูตรที่พยายามลดการเน้น รายวิชา โดยรวมวิชาตั้งแต่ 2 วิชาขึ้นไปให้เป็นวิชาเดียว แต่ก็ยังคงรักษาเนื้อหาวิชาเดิม

3.5.4 หลักสูตรหมวดวิชาแบบกว้าง (Board Fields Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ขยายจาก หลักสูตร แบบสหสัมพันธ์และแบบผสมผสานเป็นการน าเอาเนื้อหาวิชาจากหลายๆวิชามาจัดเป็นวิชา ทั่วไป หลักสูตรนี้เน้นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาต่างๆ

3.5.5 หลักสูตรวิชาแกน (Core Curriculum) เป็นหลักสูตรที่ประสานสัมพันธ์ เนื้อหาวิชา ต่างๆเข้าด้วยกัน โดยมีวิชาหนึ่งหรือกลุ่มวิชาหนึ่งเป็นแกน มุ่งตอบสนองความต้องการและความสนใจ ของผู้เรียน

3.5.6 หลักสูตรที่เน้นกิจกรรมและปัญหาสังคม (Social Activities and Problem Curriculum) หลักสูตรนี้มีความเชื่อว่าหลักสูตรควรสอดคล้องกับการด ารงชีวิตตามสภาพสังคม ซึ่งควร เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาของชีวิตคนในสังคม โดยใช้โรงเรียนเป็นที่อบรมนักเรียนโดยตรง เน้น กิจกรรมหรือปัญหาทางสังคมมากกว่าการเน้นวิชาหรืออย่างอื่น

3.5.7 หลักสูตรที่เน้นความต้องการและความสนใจของแต่ละบุคคล (Individual and Interest Curriculum) เป็นหลักสูตรที่สร้างขึ้นตามความรู้บนพื้นฐานความต้องการและความสนใจของ ผู้เรียน หลักสูตรมีความยืดหยุ่นสูง ผู้เรียนได้รับค าปรึกษาและได้รับการสอนเป็นรายบุคคลตามความ เหมาะสม และกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นเอกัตบุคคล

3.5.8 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม (Social Process and Life Function Curriculum) เป็น หลักสูตรที่มุ่งแก้ไขข้อบกพร่องหลักสูตรที่ผ่านมาด้วยการรวบรวมความรู้ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยึด กิจกรรมต่างๆของคนในสังคมเป็นหลัก ยึดสังคมและชีวิตจริงของเด็กเป็นหลัก ผู้เรียนจะได้น าความรู้ไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจ าวันได้ มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อหาวิชาในหลักสูตรกับชีวิตจริง ของผู้เรียน

3.5.9 หลักสูตรบูรณาการ (Integrated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่รวบรวมประสบการณ์

การเรียนรู้ต่างๆเข้าด้วยกัน ประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกจากหลากหลายสาขาวิชา จัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์ โดยการบูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ผู้เรียน ได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์และต่อเนื่อง ซึ่งรูปแบบของการบูรณาการ มีดังนี้

1) บูรณาการภายในหมวดวิชา การบูรณาการท าได้โดยน าเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ เข้ามาอยู่ภายใต้จุดประสงค์เดียวกัน เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา อาจจะผสมผสานวิชาวิทยาศาสตร์

ภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา ดนตรี และศิลปะ วิชาที่น ามาผสมผสานกันไม่จ าเป็นต้องอยู่ภายใต้หมวดวิชา เดียวกัน การผสมผสานนี้ท าให้ความเป็นเอกลักษณ์ของวิชาต่างๆหมดไป เกิดเป็นการบูรณาการที่

แท้จริง เพราะนอกจากจะเป็นการผสมผสานเนื้อหาวิชาแล้วยังเป็นการผสมผสานกิจกรรมการเรียนการ สอนเข้าด้วยกัน

2) การบูรณาภายในหัวข้อหรือโครงการ การบูรณาการนี้ท าได้โดยการน าความรู้

ทักษะและประสบการณ์ของวิชาหรือหมวดวิชาตั้งแต่ 2 วิชา หรือ 2 หมวดวิชาขึ้นไป มาผสมผสานกันใน ลักษณะที่เป็นหัวข้อหรือโครงการซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้เรียน และในแต่ละหัวข้อจะมีการแบ่ง หน่วยการเรียน

3) การบูรณาการโดยการผสมผสานสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและ สังคม เป็นการผสมผสานเหมือนรูปแบบภายในหมวดวิชา และการผสมผสานภายในหัวข้อหรือโครงการ ซึ่งจะเน้นการแก้ปัญหาชีวิตประจ าวันของผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาชีวิตส่วนตัว ชุมชน สังคม เช่น การว่างงาน ภาวะมลพิษ การท าลายทรัพยากรธรรมชาติ การศึกษาเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ผู้เรียนต้อง ศึกษาจากวิทยาการต่างๆ หลายสาขา ต้องมีการพัฒนาทักษะที่จ าเป็นในการแก้ปัญหาการบูรณาการ แบบนี้ไม่มีการก าหนดขอบเขตของวิชาหรือแบ่งเนื้อหาวิชาที่จะเรียนไว้ตั้งแต่เริ่มต้น การก าหนดว่าจะ น าเนื้อหาสาระมาใช้ในการเรียนการสอนนั้นล้วนมาจากสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนและ สังคมเป็นหลัก

3.5.10 หลักสูตรอิงมาตรฐาน (Standards – Base Curriculum) เป็นหลักสูตรที่มี

มาตรฐานเรียนรู้ ซึ่งได้ก าหนดเป้าหมายหรือกรอบทิศทางในการก าหนดเนื้อหา ทักษะกระบวนการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการประเมินผล เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถบรรลุ

มาตรฐานที่ก าหนด

รูปแบบของหลักสูตรสถานศึกษาในระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานก ากับนั้น มีลักษณะ เป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน โดยก าหนดมาตรฐานเป็นเป้าหมายและกรอบทิศทางในการพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนให้มี ความรู้ ความสามารถ และทักษะตามที่มาตรฐานระบุ ลักษณะส าคัญของการจัดท าหลักสูตร สถานศึกษาแบบอิงมาตรฐาน มีดังนี้

1) ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรต้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้

2) หน่วยการเรียนรู้จัดเป็นหัวใจของหลักสูตร

3) การจัดการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ต้องน าพาผู้เรียนให้บรรลุมาตรฐานที่

ระบุในหน่วยการเรียนรู้นั้น

4) การวัดและประเมินผลชิ้นงาน/ภาระงานที่ก าหนดในหน่วยการเรียนรู้ควรเป็นการ ประเมินการปฏิบัติหรือการแสดงความสามารถของผู้เรียน (Performance Assessment)

5) กระบวนการและขั้นตอนการจัดท าหน่วยการเรียนรู้มีความยืดหยุ่นซึ่งการจัดท า หลักสูตรนี้อาจเริ่มต้นจากการวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้หรืออาจเริ่มจากความสนใจของผู้เรียนหรือ สภาพปัญหาของชุมชนได้

รูปแบบของหลักสูตรที่น ามาใช้จ าเป็นต้องค านึงถึงข้อดีและข้อด้อยตามแต่ละรูปแบบ เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เน้นความยืดหยุ่นและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลง ตามบริบทของสังคมและวัฒนธรรม

ในการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรเสริมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ได้น าลัทธิปรัชญาการศึกษา รูปแบบของหลักสูตร ทฤษฎีทางการศึกษา ปรัชญาการป้องกันยาเสพติด รูปแบบการป้องกันยาเสพติด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันยาเสพติดพัฒนาเป็นวิสัยทัศน์และองค์ประกอบของหลักสูตรเสริม ทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดในเด็กนักเรียน ดังภาพประกอบ 11

ภาพประกอบ 11 องค์ประกอบของหลักสูตรเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด สรุป หลักสูตรเสริมการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด หมายถึง มวล

ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดเพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษา มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น การพัฒนานักเรียนด้านทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด องค์ประกอบของหลักสูตรเสริมทักษะชีวิต เพื่อป้องกันยาเสพติดประกอบไปด้วย

1) แนวคิด หลักการของหลักสูตร หมายถึง แนวคิดที่ต้องการพัฒนานักเรียนให้

เปลี่ยนแปลงไปตามจุดประสงค์ของหลักสูตร

2) วิสัยทัศน์ของหลักสูตร หมายถึง ภาพอนาคตของหลักสูตรที่มุ่งให้เกิดกับผู้เรียน - แนวคิด หลักการของหลักสูตร

- วิสัยทัศน์ของหลักสูตร - ปรัชญาของหลักสูตร - จุดมุ่งหมายของหลักสูตร - เนื้อหาของหลักสูตร - การน าหลักสูตรไปใช้

(กิจกรรมการเรียนการสอน) - ปัจจัยเสริม (สื่อ,อุปกรณ์) - การวัดและการประเมินผล

ลัทธิปรัชญาการศึกษา

ทฤษฎีทางการศึกษา รูปแบบของหลักสูตร

ปรัชญาการป้องกันยาเสพติด

รูปแบบการป้องกันยาเสพติด

ทฤษฎีการป้องกันยาเสพติด องค์ประกอบของหลักสูตร

ได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นมีภูมิคุ้มกันยาเสพติด สามารถควบคุมตนเอง เห็นคุณค่าใน ตนเอง จัดการกับปัญหา ตัดสินใจที่ดี มีทักษะการปฏิเสธ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผล กระทบต่อตนเองและผู้อื่น

3) ปรัชญาของหลักสูตร หมายถึง ความคิด ความเชื่อว่าการจัดการศึกษาเพื่อป้องกัน ยาเสพติดให้มีประสิทธิภาพได้ โดยการพัฒนาผู้เรียนด้วยประสบการณ์เป็นฐานความรู้ มีทักษะชีวิต เน้นกระบวนการคิด ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม มีทัศนคติที่ดี

4) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หมายถึง จุดมุ่งหมายที่เป็นแนวทางในการเรียน การสอนที่โรงเรียนต้องการให้เกิดผลแก่ผู้เรียนภายหลังจบหลักสูตร

5) เนื้อหาของหลักสูตร หมายถึง ความรู้ และประสบการณ์ และแนวสังเขปของ รายวิชาที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาไปสู่จุดมุ่งหมายที่ก าหนดไว้เป็น โครงสร้างของหลักสูตร

6) การน าหลักสูตรไปใช้ หมายถึง การจัดการเรียนการสอน กระบวนการ วิธีการใน การเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียน

7) ปัจจัยเสริม หมายถึง สิ่งที่ช่วยเสริมการเรียนรู้ ได้แก่ แหล่งเรียนรู้ เอกสาร สื่อ วัสดุการเรียนการสอน

8) การวัดและประเมินผล หมายถึง การประเมินผลการเรียนรู้ และการประเมินผล หลักสูตรเพื่อตรวจสอบจุดมุ่งหมายที่ก าหนดไว้

ลัทธิปรัชญาการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการน าแนวคิดและความเชื่อตาม ความต้องการจ าเป็นมาประยุกต์เป็นแนวทางในการจัดการศึกษา

รูปแบบของหลักสูตร หมายถึง หลักสูตรที่ใช้แนวคิดแบบบูรณาการโดยผสมผสาน สภาพปัญหา ความต้องการของผู้เรียนและสังคม เน้นการแก้ปัญหาชีวิตประจ าวันของผู้เรียน และ แนวคิดอิงมาตรฐานซึ่งก าหนดมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายพัฒนาผู้เรียน โดยก าหนดสิ่งที่ผู้เรียน พึงรู้พึงปฏิบัติได้

ทฤษฎีทางการศึกษา หมายถึง ทฤษฎีการเรียนรู้ อันเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง จากการฝึกหัด การเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียนซึ่งช่วยให้บุคคล สามารถปรับตัวทางด้านส่วนตัว สังคม สิ่งแวดล้อมท่ามกลางปัญหาและความเปลี่ยนแปลงได้

ปรัชญาการป้องกันยาเสพติด หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยการน าแนวคิดและความเชื่อที่

เน้นการป้องกันน าหน้าการปราบปราม โดยเชื่อว่าถ้าไม่มีผู้เสพ ผู้ค้าก็จะหมดไป ซึ่งยาเสพติดไม่ได้

เป็นปัญหาจนกว่าจะมีคนน ายาเสพติดไปใช้

รูปแบบการป้องกันยาเสพติด หมายถึง แนวทางการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน ที่

เน้นการให้ข้อมูลข่าวสารที่จ าเป็น ให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และความนึกคิด มีกิจกรรมที่

สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ สร้างภูมิคุ้มกันต้านยาเสพติดและฝึกทักษะการต่อต้านยาเสพติด ทฤษฎีการป้องกันยาเสพติด หมายถึง แนวความคิด ความเชื่อเกี่ยวกับการควบคุม การแพร่ระบาดของยาเสพติดในโรงเรียน ได้แก่ 1) การป้องกันที่เน้นที่การเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล

Dokumen terkait