• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ภาพประกอบ 7 การผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์

ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2549). คู่มือ

“เทคนิคการจัดกิจกรรมเพื่อสอนทักษะชีวิตส าหรับเยาวชน. หน้า 32.

การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participation Learning) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอาศัย หลักการเรียนรู้ที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยพื้นฐานส าคัญประการแรก คือ การเรียนรู้เชิง

ประสบการณ์ และประการที่สอง การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (ศูนย์บ าบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น.

2547. 2 – 4) การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ มุ่งเน้นอยู่ที่การให้นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากประสบการณ์

เดิม การเรียนรู้เชิงประสบการณ์มีหลักส าคัญ 5 ประการ คือ

1) เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์ของนักเรียน

2) ท าให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง และเป็นการเรียนรู้ที่

เรียกว่า Active Learning

3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนด้วยกันเอง และระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน 4) ปฏิสัมพันธ์ที่มีท าให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่

ออกไปอย่างกว้างขวาง

5) มีการสื่อสารโดยการพูด หรือการเขียนเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้

องค์ประกอบของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมี 4 ประการ ประสบการณ์ที่

จับต้องได้

การสังเกตและ การสะท้อนกลับ

การทดสอบความคิด ใหม่และการแสวงหา ความหมายที่แฝงอยู่

การสรุปย่อการ เชื่อมโยงและการ

สรุปแนวคิด

คือ ประสบการณ์การสะท้อนความคิดและการถกเถียง เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอดและการทดลอง เรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

1) ประสบการณ์ (Experience) ครูช่วยให้นักเรียนน าประสบการณ์เกิดของตน มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้

2) การสะท้อนความคิดและการถกเถียง (Reflex and Discussion) ครูช่วยให้

นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ซัึั่งกันและกันอย่างลึกซึ้ง 3) เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด (Understanding and

Conceptualization) นักเรียนเกิดความเข้าใจและน าไปสู่การเกิดความคิดรวบยอด อาจเกิดขึ้นโดย นักเรียนเป็นฝ่ายริเริ่มแล้วครูช่วยเติมแต่งให้สมบูรณ์หรือในทางกลับกัน ครูเป็นผู้น าทางและนักเรียน เป็นผู้สานต่อจนความคิดนั้นสมบูรณ์เป็นความคิดรวบยอด

4) การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด (Experiment/Application) นักเรียนเอา การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆจนเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติของนักเรียนเอง สามารถแสดงได้ดังภาพประกอบ 8

ประสบการณ์

การทดลอง การสะท้อนความคิด

หรือประยุกต์แนวคิด และถกเถียง

เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด

ภาพประกอบ 8 องค์ประกอบ 4 ประการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ที่มา: ศูนย์บ าบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น. (2547). คู่มือโฮมรูมเพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเรียน. หน้า 3.

ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้ง 4 ประการ จะเป็นไปอย่างพลวัตรโดยอาจเริ่มจากจุด ใดจุดหนึ่ง และเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ดังนั้นในแง่ของการเรียนการสอนจึงอาจ เริ่มต้นที่จุดใดจุดหนึ่งก่อนก็ได้ แต่ส าคัญที่การจัดกระบวนการให้ครบทุกองค์ประกอบ องค์ประกอบของ

กระบวนการกลุ่มในการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กระบวนการกลุ่มจะช่วยให้นักเรียนมีส่วนร่วม ด้วย การออกแบบกลุ่มที่เหมาะสมและช่วยให้บรรลุงานหรือวัตถุประสงค์ด้วยการออกแบบงานที่เหมาะสม ตาราง 4 หลักการออกแบบกลุ่ม

ประเภท ข้อบ่งชี้ ข้อจ ากัด

กลุ่มที่ไม่มีการจัดบทบาท 1. กลุ่ม 2 คน

2. กลุ่มย่อยระดมสมอง (3 – 4 คน)

กลุ่มที่มีการจัดสรรบทบาท 1. กลุ่ม 3 คน

2. กลุ่มเล็ก (5 – 6 คน)

มีส่วนร่วมได้ง่ายในเวลาสั้นๆ มีส่วนร่วมโดยมีความลึกซึ้ง ปานกลาง

เรียนรู้ตามบทบาทที่แตกต่างกัน วิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง

ขาดความลึกซึ้ง ขาดการวิเคราะห์ที่ลึกซึ้ง

ขาดความหลากหลาย

ใช้เวลาในการรวมกลุ่มและท างาน ที่มา: ศูนย์บ าบัดรักษายาเสพติดขอนแก่น. (2547). คู่มือโฮมรูมเพื่อพัฒนาศักยภาพ นักเรียน. หน้า 4.

การเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 หมวดที่ 4 มาตรา 23 ก าหนด ไว้ว่า ‚การจัดการศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เน้น ความส าคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมในแต่ละระดับ การศึกษา‛ มาตรา 24 (4) ก าหนดไว้ว่า ‚การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้าน ต่างๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ใน ทุกวิชา‛ การเรียนรู้แบบบูรณาการสามารถบูรณาการหลักสูตรและการเรียนการสอนได้เป็นสองแบบ (สุวิทย์ มูลค า; และ คนอื่นๆ. 2542: 25; อ้างอิงจาก UNESCO – UNEP. 1994: 51)

1) การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Interdisciplinary) เป็นการสร้างหัวเรื่อง (Theme) ขึ้นมาแล้วน าเนื้อหาจากวิชาต่างๆ มาโยงสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเรียกวิธี

บูรณาการแบบนี้ได้ว่า สหวิทยาการแบบมีหัวข้อ (Themetic Interdisciplinary Studies) หรือบูรณาการที่

เน้นการน าไปใช้เป็นหลัก (Application – First Approach) การก าหนดหัวเรื่อง (Theme) ได้แก่ การสร้าง หัวเรื่อง โดยมีหลักในการก าหนดหัวเรื่อง ดังนี้

- เป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจ และมีโอกาสได้เลือกเรียน

- เป็นเรื่องที่สามารถโยงความสัมพันธ์ได้หลายวิชาหรือหลายกลุ่ม ประสบการณ์

- เป็นเรื่องที่นักเรียนมีประสบการณ์เดิมอยู่แล้วและสอดคล้องกับชีวิตจริง

และมีความหมายต่อผู้เรียน

- เป็นเรื่องที่มีแหล่งความรู้ให้ผู้เรียนรู้ได้ศึกษาค้นคิดอย่างหลากหลาย และ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับความรู้ที่เป็นสากล

- เป็นเรื่องที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของผู้เรียนและส่งเสริม การพัฒนาผู้เรียนรอบด้านการตั้งชื่อต้องทันสมัย และน่าสนใจยั่วยุให้ผู้เรียนอยากรู้ อยากเรียน

2) การบูรณาการแบบพหุวิทยาการ (Multidisciplinary) เป็นการน าเรื่องที่

ต้องการจะให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดแทรก (Infusion) ไว้ในวิชาต่างๆ หรือบูรณาการเน้นเนื้อหาของวิชา เป็นแกนแล้วน าสิ่งที่ต้องการให้เกิดแก่ผู้เรียนเกิดไปสอดแทรกในวิชาแกนดังกล่าวซึ่งบางครั้งเราก็อาจจะ เรียกวิธีบูรณาการแบบนี้ได้ว่า การบูรณาการที่เน้นเนื้อหารายวิชาเป็นหลัก (Discipline First Approach)

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติด

งานวิจัยต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดซึ่งประกอบไปด้วย วิธีการจัดการสอนแบบการแก้ปัญหาซึ่งงานวิจัยของพาตีเมาะ นิมา (2548: บทคัดย่อ) ได้วิจัยเรื่องผล ของวิธีสอนการแก้ปัญหาและการเสนอตัวแบบที่มีต่อการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสพยาเสพติดของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบวัดรูปแบบการคิด แผนการจัด การเรียนรู้วิธีสอนการแก้ปัญหา แผนการจัดการเรียนรู้วิธีสอน การเสนอตัวแบบ และแบบ วัดพฤติกรรมที่มีต่อยาเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรืองานวิจัยที่ได้ศึกษาถึงประสิทธิผล ของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเช่นงานวิจัยของนรินทร์ นาคอร่าม (2549: 105 – 110) ได้วิจัย เรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันการเสพยาเสพติดของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่านักเรียนที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อ ป้องกันการเสพยาเสพติดมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และนักเรียนที่

ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องการเสพยาเสพติดมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มากกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรม ขณะที่สันต์ สุวทันพรกุล (2551: ง) สรุปผลการวิจัยและ พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการสาระท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานเพื่อพัฒนาทักษะ ชีวิตส าหรับนักเรียนประถมศึกษาว่าสภาพปัจจุบันและการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การจัดการเรียนรู้

แบบบูรณาการ การใช้สาระการเรียนรู้ท้องถิ่นและการใช้กระบวนการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ของครูใน ปัจจุบันมีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต ครูมีการปฏิบัติอยู่ในระดับสูงแต่มีความส าเร็จในระดับ

ปานกลาง ครูเข้าใจว่าการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนต้องผ่านการใช้กิจกรรมและวิธีการที่หลากหลาย ปัญหาคือ นักเรียนขาดความพร้อม และครูขาดการเอาใจใส่และเห็นความส าคัญ

ส่วนสกล วรเจริญศรี (2550: 31) กล่าวว่าการสอนให้เด็กและเยาวชนได้รู้จักคิด ว่าจะท าอะไร (How to Think) ดีกว่าสอนให้คิดว่าอะไร (What to Think) จึงจะช่วยให้เด็กและเยาวชน สามารถคิดและแก้ปัญหา สร้างการตัดสินใจ และการจัดการกับอารมณ์ของตนเอง โดยผ่านกระบวนการ ของการมีส่วนร่วม ที่จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพต่อการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กนักเรียนและ วัยรุ่นเป็นอย่างมาก จากหลักการแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ ตลอดจนการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ

การจัดการเรียนรู้เพื่อป้องกันยาเสพติดดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยสรุปเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่จะ น ามาใช้จัดการเรียนการสอนแก่นักเรียน ดังแสดงในตาราง 5

Dokumen terkait