• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ภาพประกอบ 3 กระบวนทัศน์ของการป้องกันยาเสพติด

4) ท าจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส

5) เลือกคบเพื่อนที่ดี ต้องรู้จักปฏิเสธในสิ่งที่ควรปฏิเสธ เช่น การพูดปฏิเสธ เมื่อถูกชักชวนให้ลองเสพยาเสพติด เป็นต้น

6) ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เช่น การออกก าลัง อ่านหนังสือ ท างานอดิเรก เล่นดนตรี เป็นต้น

7) รู้จักแก้ปัญหาชีวิตไปในทางที่ถูก รู้จักกล้าเผชิญปัญหา แก้ปัญหาด้วย การคิดไตร่ตรองด้วยเหตุผล

8) ปรึกษาผู้ใหญ่เมื่อมีปัญหา หากมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง ควรปรึกษาผู้ใหญ่ทันที อย่าหลีกหนีปัญหาหรือแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง

การป้องกันและแก้ไขครอบครัวของตนเองจากปัญหายาเสพติด ครอบครัวเป็น สถาบันแรกของสังคมที่ทุกคนได้มีโอกาสสัมผัส การสร้างให้คนมีคุณค่าความเป็นมนุษย์ต้องเริ่มจาก สิ่งใกล้ตัวของคนนั้น คือ ครอบครัวที่อบอุ่น บิดา มารดา จึงเป็นบุคคลส าคัญในการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้แก่เด็กและเยาชน ผู้ที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติดมักกล่าวว่า ครอบครัวมีบทบาทส าคัญอย่างยิ่งในการป้องกันยาเสพติด เนื่องจากผู้ติดยาเสพติดส่วนใหญ่มาจาก ครอบครัวที่มีปัญหา ครอบครัวขาดความรัก ความอบอุ่น ขาดบิดา มารดา ขาดการอบรมเลี้ยงดู

ขาดความสัมพันธ์ในครอบครัว ความใกล้ชิดบิดา มารดา เป็นต้น ในฐานะที่ตัวเราเป็นสมาชิกของ ครอบครัว ทุกคนในครอบครัวก็ต้องมีบทบาทต่อครอบครัว เพื่อให้สมาชิกภายในครอบครัวมี

ภูมิคุ้มกันให้ปลอดภัยจากการติดยาเสพติด โดย

1) สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว พ่อ แม่ ต้องให้

ความรัก ความอบอุ่น และความเป็นเพื่อนที่ดี และเป็นที่ปรึกษาของลูกเมื่อมีปัญหา พี่น้องต้องรักกัน ช่วยเหลือกัน

2) รู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเองในการเป็นสมาชิกในครอบครัว โดยปฏิบัติ

ตามค าสั่งสอนของพ่อแม่ ศึกษาเล่าเรียนและช่วยเหลือการงานในครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เป็น ประโยชน์

ถ้าสมาชิกในครอบครัวคนใดติดยาเสพติด ต้องให้ความช่วยเหลือ โดยปฏิบัติตาม ค าสั่งสอนของพ่อแม่ ศึกษาเล่าเรียนและช่วยเหลือการงานในครอบครัว ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ให้ก าลังใจและร่วมมือแก้ไขปัญหา ดังนี้

1) ถ้าลูกติดยาเสพติด พ่อแม่ควรท าจิตใจให้สงบ ไม่วู่วามดุด่าหรือลงโทษ ต้องท าใจยอมรับความจริง เอาใจใส่เพิ่มขึ้น และหาทางแก้ไขปัญหาต่อไป โดย

- ชี้แจงให้ลูกเข้าใจถึงอันตรายของยาเสพติด และให้โอกาสลูกตัดสินใจ

- พ่อแม่ควรแนะน าให้ลูกเข้ารับการบ าบัดรักษาด้วยความสมัครใจ และต้องให้

ก าลังใจ เพราะผู้ติดยาเสพติดส่วนมากจะเป็นพวกที่มีปมด้อย จะต้องมีการชี้แนะ ติดตามและ ช่วยเหลือ ผู้ติดยาเสพติดจะไม่เชื่อฟังญาติพี่น้องหรือผู้มีบุญคุณ

- ในกรณีที่ลูกต้องเข้ารับการบ าบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายกับทาง โรงพยาบาล ตามระยะเวลาที่แพทย์ก าหนด พ่อแม่และสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้านจะต้องเตรียม ความพร้อมในการที่จะรับเขากลับเข้าบ้านโดยความรู้สึกอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ เพื่อสร้าง ความเชื่อมั่นในตนเอง และความรู้สึกที่ไม่โดดเดี่ยว

- เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมบางอย่าง เช่น ให้เขาห่างจากสถานที่หรือเพื่อน ที่ชักน าไปสู่ยาเสพติด เช่น การเปลี่ยนโรงเรียน เปลี่ยนที่อยู่อาศัย เป็นต้น

2) ถ้าสมาชิกที่เป็นพ่อหรือแม่ ติดยาเสพติดหรือเกี่ยวข้องกับยาเสพติด สมาชิกภายในบ้านควรจะน าปัญหานี้ไปปรึกษาและขอความช่วยเหลือจากญาติผู้ใหญ่ หรือจาก หน่วยงานที่ให้บริการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น โรงพยาบาลของรัฐ

การป้องกันและแก้ไขชุมชนของตนเองให้ปลอดภัยจากปัญหายาเสพติด การ แก้ปัญหาจึงต้องท าที่คน ด้วยแนวทางพัฒนาปัญหายาเสพติดยังเกี่ยวเนื่องกับอิทธิพลผลประโยชน์

การใช้อ านาจและกลไกรัฐมีข้อจ ากัด และการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องใช้พลังบริสุทธิ์ของ ประชาชนเข้าด าเนินการ

แนวทางการป้องกันยาเสพติดในโรงเรียน เนื่องจากได้มีการแพร่ระบาดของ ยาเสพติดเข้าไปในโรงเรียนและท าให้นักเรียนติดยาเป็นจ านวนมาก และยังร่วมในกระบวนค้า ยาเสพติด บุคลากรผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน เช่น ครู เจ้าหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการทุก ระดับ เจ้าหน้าที่ต ารวจ บุคลากรด้านสาธารณสุข ตลอดจนผู้ปกครองจึงควรทราบแนวทางป้องกัน การใช้ยาเสพติดในโรงเรียน วิธีป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนติดยาเสพติดแบ่งออกเป็น 5 ประการ คือ 1) ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติดแก่นักเรียน 2) ให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และ ความนึกคิด 3) มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ 4) สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กนักเรียนต้านยา เสพติด 5) ฝึกทักษะการต่อต้านการเสพยาเสพติด

วิธีป้องกันไม่ให้เด็กนักเรียนติดยาเสพติด แบ่งออกเป็น 5 วิธี (สมภพ เรืองตระกูล.

2543: 171 – 176) คือ

1) ให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด ให้เด็กนักเรียนทราบเกี่ยวกับฤทธิ์ของ ยาเสพติด อาการเสพติด อันตรายและพิษของยาเสพติด ตลอดจนวิธีการแพร่ระบาด เป็นการสร้าง ภาพพจน์ที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายอย่างยิ่งของยาเสพติดชนิดต่างๆ เช่น บุหรี่ สุรา เฮโรอีน โคเคน และยาอี ให้เด็กรับทราบโดยที่เด็กยังไม่เคยรู้มาก่อน หรืออาจรู้มาผิดๆ เมื่อเด็กเกิดความกลัวต่อพิษ ภัยดังกล่าว โอกาสที่เด็กจะไปเสพยาเสพติดก็จะลดน้อยลง

วิธีการเผยแพร่ความรู้อาจท าในรูปของการแจกแผ่นพับหรือเอกสารจัดให้มี

ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนี้ เช่น แพทย์ พยาบาล นักจิตวิทยา หรือต ารวจมาพูดให้เด็กฟังเป็นครั้งคราว

นอกจากนี้ยังอาจจัดให้มีชั่วโมงเรียนเรื่องยาเสพติดในตารางสอนรวมทั้งให้เด็กทราบเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของสังคมที่มีการรณรงค์ให้เลิกการเสพสาร เช่น เลิกบุหรี่และดื่มสุรา

2) ให้เด็กได้มีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และความนึกคิด

การเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์และความนึกคิดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะ ช่วยให้เด็กมีแรงจูงใจที่จะไม่เสพยาเสพติด ด้วยการจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กเกิดความส านึก ในคุณค่าของตัวเอง และแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เช่น ให้เด็กคอยดูแลความปลอดภัย ของเด็กอนุบาล หรือมีเวรกันท าความสะอาดห้องเรียน โดยก าหนดให้เด็กท าคนเดียวหรือท าเป็นกลุ่ม

การท างานเป็นกลุ่มจะช่วยให้ปฏิสัมพันธ์หรือการติดต่อพูดคุยกับเพื่อนเกิดผลดี

ต่อเด็ก เช่น เด็กรู้จักการสมาคม ไม่เป็นเด็กเก็บตัว หรือคบคนยาก มีการสื่อสารที่ดี มีการปรึกษาหารือ ร่วมกัน แสดงความเห็นอกเห็นใจกันและเกิดความเชื่อมั่นในตนเอง

การแสดงออกดังกล่าวจะท าให้เด็กเกิดความคิดว่าการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกัน และกันเช่นนี้เป็นสิ่งดีงาม และแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ซึ่งควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย การที่เด็กได้สัมผัสกับความรู้สึกเช่นนี้ เด็กจะเกิดความส านึกในคุณค่าของตัวเอง โอกาสที่เด็กจะลอง เสี่ยงภัยไปกับการเสพสารอันตรายก็จะลดน้อยลง

3) มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์

3.1) ตั้งศูนย์เยาวชนให้นักเรียนได้มีกิจกรรมร่วมกัน เช่น ช่วยเหลือชุมชนต่างๆ สอนหนังสือให้นักเรียนนอกเวลา การเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเก็ตบอล ปิงปอง และเทนนิส รวมทั้ง จัดให้มีงานอดิเรก เช่น เย็บปักษ์ถักร้อย และท าสวนปลูกต้นไม้

3.2) น านักเรียนไปเที่ยวพักผ่อน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น เขาดิน สวนสาธารณะ สถานที่ประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา เพื่อให้เด็กได้มีความสนใจต่อความเป็นไปของโลกภายนอก มี

มุมมองชีวิตกว้างขึ้น เป็นการเสริมทักษะด้านความคิดและความรู้รอบตัว ซึ่งจะเสริมประสิทธิภาพของ การท างานเป็นกลุ่ม เกิดความเชื่อมั่นและความรู้สึกในคุณค่าของตนเอง

3.3) ให้นักเรียนมีการออกก าลังกาย ที่มีลักษณะเฉพาะบางอย่างเพื่อเป็น การคลายเครียด เช่น เต้นแอโรบิคหรือเดินทางไกลออกจากโรงเรียนไปที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ผลดีต่อเด็ก คือ ในช่วงออกก าลังกายนี้จะมีสารเคมีหลั่งจากสมองเรียกว่า ‚เอ็นดอร์ฟีน‛ สารนี้มีคุณสมบัติที่ดี

3 ประการ คือ (ก) ท าให้เกิดความสุข (ข) ลดอาการปวด (ค) ช่วยให้นอนหลับสบาย

3.4) การจัดให้เด็กได้เล่นดนตรี เช่น ดนตรีไทยและดนตรีสากลจะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะการที่ประสาทสัมผัสของเด็กได้รับการกระตัุั้นจากความไพเราะของ เสียงดนตรี ย่อมจะส่งผลดีให้จิตใจเด็กอ่อนโยน ความกระด้างที่มีอยู่ในจิตใจจะลดน้อยลงรวมทั้ง การที่จะไปมีพฤติกรรมเสียงภัย เช่น การเสพสารก็จะลดน้อยลงด้วยเช่นกัน

3.5) จัดให้มีพระมาเทศน์ให้เด็กฟังเป็นครั้งคราว ผลดีที่จะได้รับคือ นอกจาก จะเป็นการสอนทางด้านศีลธรรมแล้ว พระท่านอาจจะสอดแทรกเรื่องภัยของยาเสพติดเข้าไปด้วย

4) สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กนักเรียนต้านยาเสพติด

สังคมมีส่วนให้เด็กเสพยาเสพติด เช่น การสูบบุหรี่หรือดื่มสุรา เนื่องจากใน

สังคมบางกลุ่มยังถือว่าการสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นสิ่งปกติ นอกจากนี้สื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์หรือ หนังสือพิมพ์ก็มี การโฆษณาบุหรี่และสุรา ซึ่งจากการกระท าดังกล่าวมีผลให้เด็กไขว้เขวว่าการเสพ ยาเสพติดเป็นสิ่งผิดหรือสิ่งถูกต้อง

มีงานวิจัยของอีวาน และคณะในประเทศสหรัฐอเมริกา ได้น าเสนอวิธีการให้เด็ก ได้มีภูมิคุ้มกันในการต่อต้านยาเสพติด ด้วยการฉายภาพยนตร์แสดงให้เห็นพิษภัยของการสูบบุหรี่

รวมทั้งแสดงวิธีการที่เด็กจะรู้จักปฏิเสธต่อการเสพสาร ปรากฏว่าได้ผลส าเร็จเป็นอย่างดี

Dokumen terkait