• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ตาราง 2 วิเคราะห์ความหมายของทักษะชีวิต

2) สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทย

นับแต่ปี 2547 สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากประมาณการผู้เสพยาเสพติด เมื่อปี 2546 ประมาณ 460,000 คน เพิ่มเป็น 570,000 คน ในปี 2550 และประมาณ 605,000 คน ในปี 2551 และสถิติตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2553 มี

การจับกุมคดียาเสพติด 31,954 คดี ได้ผู้ต้องหา 34,657 คน จ าแนกเป็นผู้ต้องหารายเก่า 9,196 คน ผู้ต้องหารายใหม่ 24,646 คน ส่วนการปราบปรามนักค้ารายส าคัญ พบว่ามีการจับกุม 286 คดี ผู้ต้องหา

502 คน ขณะเดียวกันมีข้อมูลเกี่ยวกับการบ าบัดผู้เสพและผู้ติดยา พบว่ามีผู้เข้ารับการบ าบัดมากที่สุด คือ อายุ 15 – 19 ปี 7,348 คน อายุ 20 – 24 ปี 6,374 คน และอายุ 25 – 29 ปี 5,660 คน ที่น่าเป็นห่วง คือ มีเยาวชนอายุต ่ากว่า 15 ปี เข้าบ าบัดถึง 425 คน (ทีมข่าวเฉพาะกิจ. 2553: 2) หากมีเงื่อนไขและ ปัจจัยเอื้ออ านวย ปัจจัยที่ส่งผลท าให้ปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต มาจาก 5 ปัจจัย ส าคัญ (ส านักนายกรัฐมนตรี. 2552: 7 – 32) คือ

2.1) จุดอ่อนทางด้านชายแดน ยาเสพติดส่วนใหญ่ที่สุดมาจากแหล่งผลิตใน ประเทศเพื่อนบ้าน และลักลอบเข้ามาแพร่ระบาดในประเทศไทย เช่น ยาบ้า เฮโรอีน ยาเสพติดบางตัว ประเภท club drugs พื้นที่ลักลอบน าเข้ายาเสพติดหลักกว่า 80% ของพื้นที่น าเข้าทั้งหมดอยู่ใน 18 อ าเภอส าคัญ 8 จังหวัด

2.2) จุดอ่อนในด้านพื้นที่ปัญหาที่ยังด ารงอยู่ ผลของมาตรการแก้ไขปัญหาที่ผ่าน มา แม้ว่าจะท าให้ยาเสพติดลดปริมาณลง แต่ก็ยังมีบางพื้นที่ที่ยังมีสัดส่วนของปัญหายาเสพติดมากกว่า ในพื้นที่อื่น และส่งผลต่อสถานการณ์ทั้งหมด

2.3) จุดอ่อนทางด้านปัจจัยเสี่ยงของสังคม เช่น ค่านิยมและพฤติการณ์ทางลบ ของเยาวชน แหล่งมั่วสุมและสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ ฯลฯ ที่เป็นจุดอ่อนและเป็นปัจจัยยั่วยุ ให้

เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงและก้าวไปสู่ปัญหายาเสพติด จากการเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยงทางสังคมนี้ในช่วง 2 – 3 ปี ที่ผ่านมาพบว่า แนวโน้มของปัญหานี้ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง

2.4) ความอ่อนแอของครอบครัวและชุมชน ที่ส่งผลให้ภูมิต้านทานของหน่วย พื้นฐานของสังคม ไม่สามารถป้องกันยาเสพติดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะครอบครัวและ หมู่บ้าน/ชุมชนที่มีปัญหายาเสพติด และครอบครัวกลุ่มเสี่ยงที่ยังมีจ านวนมาก

2.5) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ – สังคม สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี 2552 เป็นปีที่ประเทศไทยต้องประสบปัญหาต่างๆ มากมาย เช่น วิกฤติเศรษฐกิจของโลกที่มีส่วนกระทบกับ ประเทศไทย วิกฤติทางด้านการเมืองและความสมานฉันท์ของคนในชาติ วิกฤติทางด้านสังคม – อาชญากรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ปัญหาการว่างงาน ความยากจน ฯลฯ วิกฤติปัญหาเหล่านี้ ท าให้

ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของยาเสพติดจะมีมากขึ้น คาดหมายได้ว่า จ านวนและปัญหาอันเกิด จากยาเสพติดก็จะมีแนวโน้มในเกณฑ์สูง หากไม่มีทิศทางและยุทธศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ปัญหายาเสพติดก็จะเป็นส่วนส าคัญหนึ่งในการฉุดรั้งประเทศไทยทั้งประเทศ

จากการพิจารณาสถานะของปัญหายาเสพติดในภาพรวมประมาณว่า ในแต่ละปี

ผลจับกุมและบ าบัดของหน่วยงานต่างๆ รวมกันประมาณ 160,000 คน หรือ คิดเป็น 25% ของประมาณ การผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดทั้งหมด ในขณะที่อีกจ านวนหนึ่ง เป็นผู้ค้าและผู้เสพทั่วไปที่ยังคงอยู่ในพื้นที่

ต่างๆทั่วประเทศ บางส่วนเป็นเครือข่ายรายส าคัญที่พัฒนารูปแบบการค้า และส่งผลต่อการกระจายตัว ของยาเสพติดทั่วประเทศ

จุดอ่อนทั้ง 5 ข้างต้น ล้วนส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของปัญหายาเสพติด ขณะที่

ประมาณการผู้เสพยาเสพติดรายใหม่ในแต่ละปี ประมาณ 70,000 คน และผู้ที่กลับไปมีพฤติการณ์ซ ้า ประมาณ 30,000 – 40,000 คน หรือรวมกันประมาณ 100,000 – 110,000 คน ซึ่งมีสัดส่วนของตัวเลขที่

ไม่แตกต่างกันมากนักกับจ านวนที่ถูกจับกุมและบ าบัดรักษาร่วมกัน หากทิศทางการแก้ปัญหายังอยู่ใน ลักษณะนี้ จึงย่อมเป็นไปได้ยากที่จะลดระดับปัญหายาเสพติดให้น้อยลงได้

สถานการณ์ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดในเยาวชน ในระยะแรกการแพร่

ระบาดของยาเสพติดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานทั้งในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และการขนส่งต่อมาได้

ขยายวงกว้างออกไปยังกลุ่มอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนในสถานศึกษา (อรรณพ วิสุทธิมรรค.

2541: 1) ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีความส าคัญมากที่สุดและมีสัดส่วนมากที่สุด มากกว่ากลุ่มประชากร กลุ่มอื่นๆ ทั้งนี้เพราะจ านวนเยาวชนส่วนใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกว่า 90 % อยู่ในสถานศึกษาระดับ ต่างๆ จากการประมวลปัญหาสถานศึกษา พบว่าอยู่ในภาวะอ่อนแอ แทบไม่มีภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติด ได้อย่างทั่วถึง ยังไม่มีระบบปฏิบัติอย่างชัดเจนในการป้องกันและแก้ไขปัญหากลุ่มเสี่ยงและยาเสพติดใน สถานศึกษา ข้อจ ากัดเหล่านี้ มีส่วนส าคัญที่ท าให้เกิดปัญหายาเสพติดและพฤติกรรมเสี่ยงในพื้นที่

ปัญหาการแพร่ระบาดยาเสพติดของเยาวชนในสถานศึกษาปัจจุบัน มิใช่เป็น ปัญหาใดปัญหาหนึ่งเป็นการเฉพาะ แต่เป็นปัญหาร่วมในหลายๆปัญหา เยาวชนที่มีพฤติการณ์เสี่ยงใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็จะมีพฤติการณ์เสี่ยงในเรื่องอื่นเช่นเดียวกัน เช่น หนีเรียน มั่วสุม ยาเสพติด ก้าวร้าว สูบบุหรี่ ดื่มของมึนเมา ไม่สนใจในการเรียน ฯลฯ ดังนั้น มาตรการแก้ไขปัญหาของเยาวชนใน

สถานศึกษา จึงต้องบูรณาการร่วมกันในหลายปัญหา (ส านักนายกรัฐมนตรี. 2552: 18)

สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นจากประมาณการผู้

เสพยาเสพติด เมื่อปี 2546 ประมาณ 460,000 คน เพิ่มเป็น 570,000 คน ในปี 2550 และประมาณ 605,000 คน ในปี 2551 และสถิติตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน 2552 ถึงเดือนมีนาคม 2553 มีการจับกุมคดี

ยาเสพติด 31,954 คดี ได้ผู้ต้องหา 34,657 คน และพบว่ามีผู้เข้ารับการบ าบัดมากที่สุด คือ อายุ 15 – 19 ปี 7,348 คน อายุ 20 – 24 ปี 6,374 คน และอายุ 25 – 29 ปี 5,660 คน ที่น่าเป็นห่วง คือ มีเยาวชนอายุ

ต ่ากว่า 15 ปี เข้าบ าบัดถึง 425 คน ด้วยปัจจัยที่ส่งผลให้ปัญหายาเสพติดมีแนวโน้มสูงหากปัจจัย ดังนี้

เอื้ออ านวย คือ 1) ปัจจัยด้านชายแดนมีจุดอ่อนปล่อยให้มีการน าเข้ายาเสพติดมากขึ้น 2) จุดอ่อนด้าน พื้นที่มีปัญหายาเสพติดยังคงด ารงอยู่ (ไม่ลดลง) 3) จุดอ่อนด้านปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เช่น ค่านิยมและ พฤติการณ์ทางลบ ของเยาวชน แหล่งมั่วสุมและสถานบันเทิง/สถานบริการต่างๆ ที่เป็นจุดอ่อนและเป็น ปัจจัยยั่วยุ ให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงและก้าวไปสู่ปัญหายาเสพติด 4) ความอ่อนแอของครอบครัวและ ชุมชน 5) ปัจจัยทางเศรษฐกิจ – สังคม สภาพแวดล้อมที่เป็นวิกฤติในปัจจุบัน กอรปกับประมาณการผู้

เสพยาเสพติดรายใหม่ในแต่ละปี ประมาณ 70,000 คน และมีผู้ที่กลับไปมีพฤติการณ์เสพซ ้า ประมาณ 30,000 – 40,000 คน หรือรวมกันประมาณ 100,000 – 110,000 คน ต่อปี และการขยายตัวของปัญหา ยาเสพติดเข้าสู่เยาวชนในสถานศึกษาเป็นกลุ่มเป้าหมายส าคัญของผู้ค้ายาเสพติด

ดังนั้น สถานภาพยาเสพติด หมายถึง แก่นของสถานการณ์ยาเสพติดใน สถานศึกษาจุดอ่อนด้านปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เช่น ค่านิยมและพฤติการณ์ทางลบของเยาวชน แหล่ง มั่วสุมและสถานบันเทิง/สถานบริการที่เป็นปัจจัยยั่วยุให้เยาวชนมีพฤติกรรมเสี่ยงและก้าวไปสู่ปัญหา ยาเสพติด ความอ่อนแอของครอบครัวและชุมชน ปัจจัยทางเศรษฐกิจ – สังคม สภาพแวดล้อมที่เป็น วิกฤติ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาเสพติด ชนิดและประเภทของยาเสพติด นโยบายการป้องกันและแก้ไข

ปัญหายาเสพติด สาเหตุของปัญหายาเสพติดซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานบ่งชี้ถึงความจ าเป็นของ การพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติดในนักเรียน

Dokumen terkait