• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ตาราง 2 วิเคราะห์ความหมายของทักษะชีวิต

4) ชนิดและประเภทของยาเสพติด

4.1) ยาเสพติดโทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และยาเสพติดตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเฉพาะที่ก าหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2535) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2545) มี 25 ชนิด ได้แก่ 1) เฮโรอีน 2) มอร์ฟีน 3) ฝิ่น 4) โคคาอีน 5) อาเซติคแอนไฮไดรค์ 6) อาเซติล คลอไรด์ 7) เอทิลิดีน ไดอาเซเตต 8) กัญชา 9) ไดเมทอกซีแอม - เฟตามีน 10) ไดเอทอกซีโปรโมแอมเฟตามีน 11) 2,5-ไดเมทอกซี –

4 เอทิลแอมเฟตามีน 12) เมธีลีน -ไดออกซีแอมเฟตามีน 13) 3,4 – เมทิลลีนไดออกซีแอมเฟตามีน 14) 5 – เมทอกซี – 3,4 เมมิลลีนได -ออกซีแอมเฟตามีน 15) พราราเมทอกซีแอมเฟตามีน

16) ไตรเมทอกซีแอมเฟตามีน 17) เดกซ์โตรโล -เซอร์ไยด์ หรือแอลเอสดี – 25 18) แอมเฟตามีน 19) เดกซ์แอมเฟตามีน 20) เมทแอมเฟตามีน 21) อีเฟรดีน 22) คีตามีน 23) ซูโดอีเฟรดรีน เว้นแต่

ซูโดอีเฟรดรีน ซึ่งเป็นส่วนผสมในต ารับยาสูตรผสมตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 และซูโดอีเฟรดรีน ซึ่งเป็นส่วนผสมในต ารับยาเสพติดให้โทษในประเภท 3 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 24) เฟนเคอมีน 25) มิดาโซแลม ในขณะที่กฎกระทรวงว่าด้วยการก าหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และ ปริมาณของยาเสพติด พ.ศ. 2546 และกฎกระทรวงว่าด้วยการก าหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และ ปริมาณของยาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 (กองพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด. 2551:

18 – 20) ก าหนดไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 บัญญัติไว้ว่า ลักษณะ ชนิด และประเภทของยาเสพติด ส าหรับความผิด ฐานเสพยาเสพติดตามมาตรา 19 วรรค 1 มีดังต่อไปนี้ (1) ยาเสพติดให้โทษในประเทศ 1 มี 6 ชนิด ได้แก่ (ก) เฮโรอีน (ข) เมทแอมเฟตามีน (ค) 3,4 เมทิลลีน ไดออกซีเมทเฟตามีน (จ) เมทิลลีนไดออกซี

แอม - เฟตามีน (ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี (2) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 2 มี 2 ชนิด ได้แก่

(ก) โคคาอีน (ข) ฝิ่น (3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 มี 1 ชนิด ได้แก่ กัญชา (4) สารระเหยตาม กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย ยาเสพติดให้โทษตาม (1) และ (2) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อ เป็นอย่างอื่น แต่มีสูตรโครงสร้างทางเคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใดๆ ของ ยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย

ข้อ 2 ยาเสพติดให้โทษตามข้อ 1 ส าหรับความผิดฐานเสพและมีไว้ใน ความครอบครอง ความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจ าหน่าย และความผิดฐานเสพและ

จ าหน่ายยาเสพติด ตามมาตรา 19 วรรคหนึ่ง ต้องมีปริมาณดังต่อไปนี้ (1) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (ก) เฮโรอีนมีน ้าหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยมิลลิกรัม (ข) เมทแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้

ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน ้าหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อยมิลลิกรัม (ค) แอมเฟตามีนมี

ปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน ้าหนักสุทธิไม่เกินห้าร้อย มิลลิกรัม (ง) 3,4 เมทิลลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่า ด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน ้าหนักไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมาย (จ) เมทิลลีนไดออกซีแอม - เฟตามีนมีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน ้าหนักสุทธิไม่

เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม (ฉ) เอ็น เอทิล เอ็มดีเอ หรือเอ็มดีอี มีปริมาณไม่เกินห้าหน่วยการใช้

ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือมีน ้าหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งพันสองร้อยห้าสิบมิลลิกรัม (2) ยาเสพติดให้โทษประเภท 2 (ก) โคคาอีนมีน ้าหนักสุทธิไม่เกินสองร้อยมิลลิกรัม (ข) ฝิ่นมีน ้าหนักสุทธิไม่

เกินห้าพันมิลลิกรัม (3) ยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ได้แก่ กัญชามีน ้าหนักสุทธิไม่เกินห้าพัน มิลลิกรัมยาเสพติดให้โทษตาม (1) และ (2) ให้รวมถึงวัตถุที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นแต่มีสูตรโครงสร้างทาง เคมีอย่างเดียวกันกับยาเสพติดให้โทษดังกล่าว และเกลือใดๆ ของยาเสพติดให้โทษดังกล่าวด้วย

4.2) ในทางการแพทย์ มีหลักฐานว่ายาเสพติดจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ส่วนกลาง สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท (ส านักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

(2552?; และ ส านักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. 2548: 8 – 12) คือ

4.2.1) ประเภทออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท กระตุ้นการท างานของสมอง หัวใจ ท าให้หัวใจ เต้นแรงและเร็ว ความดันเลือดขึ้นสูง ไม่หลับไม่นอน ไม่หิว หากเสพมากท าให้มีอาการ หงุดหงิด กระวนกระวาย หวาดระแวง ก้าวร้าว อาละวาด ท าร้ายผู้อื่น ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาบ้า ยาอี ยาเลิฟ โคเคน เป็นต้น

4.2.2) ประเภทออกฤทธิ์กดประสาท กดการท างานของกล้ามเนื้อ ศูนย์

ควบคุมการหายใจ และสมอง ส่วนที่ควบคุมความคิด ท าให้เซื่องซึม ง่วง สะลึมสะลือ ปฏิกิริยาโต้ตอบช้า ควบคุมตัวเองไม่ได้ มือสั่น ขนลุก คลื่นไส้ ตัดสินใจผิดพลาด หากขาดยาจะมีอาการกระวนกระวาย อาละวาด ท าร้ายผู้อื่น ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยานอนหลับ ยาระงับประสาท เครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด รวมทั้งสารระเหย เช่น ทินเนอร์ แลกเกอร์ เบนซิน เป็นต้น

4.2.3) ประเภทออกฤทธิ์หลอนประสาท มีผลต่อสมองส่วนรับรู้ ท าให้

การรับรู้ทางประสาทสัมผัสแปรปรวน ความจ าระยะสั้นและความนึกคิดเสื่อม การกะระยะผิด ความรู้สึก เกี่ยวกับเวลาเปลี่ยนไป หากเสพมากท าให้มีอาการประสาทหลอน รับรู้เสียงและภาพเปลี่ยนแปลงไป เช่น เห็นภาพหลอน ได้ยินเสียงประหลาด หวาดผวา ป่วยเป็นโรคจิต ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่ ยาเค แอลเอสดี เห็ดขี้ควาย เป็นต้น

4.2.4) ประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน ออกฤทธิ์ผสมผสานทั้งกดและหลอน ขึ้นอยู่กับขนาดและระยะเวลาของการเสพ ท าให้หวาดระแวง ความคิดสับสน เห็นภาพลวงตา ควบคุม ตนเองไม่ได้ สุดท้ายจะกลายเป็นโรคจิต ยาเสพติดประเภทนี้ได้แก่ กัญชา

4.3) ยาเสพติดแบ่งตามที่มาของยาเสพติด แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) ยาเสพติด จากธรรมชาติ เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน กระท่อม กัญชา 2) ยาเสพติดจากการสังเคราะห์ เช่น เฮโรอีน

แอมเฟตามีน ยาอี เอ็คซ์ตาซี

4.4) ยาเสพติดแบ่งตามกฎหมาย แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) พระราชบัญญัติ

ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน แอลเอสดี ยาอี 2) พระราชบัญญัติวัตถุที่ออก ฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 เช่น อีเฟดรีน 3) พระราชก าหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 เช่น ทินเนอร์ กาว แล็กเกอร์

4.5) ยาเสพติดก าเนิดใหม่ ยาเสพติดก าเนิดใหม่ หมายถึง สารเสพติดที่ยังไม่

เคยถูกน าออกมาเผยแพร่ในสังคมมาก่อนหน้านี้ ยังไม่เคยมีการใช้และการแพร่ระบาด และยังไม่มี

ความชัดเจนในเรื่องสถานะทางกฎหมายที่ใช้ในการควบคุม สาเหตุของการก าเนิด คือ 1) น าเสนอ สินค้าใหม่เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด 2) เพื่อทดลองวิชาความรู้ทางด้านการดีไซน์ยาเสพติด 3) เพื่อ น าหน้าการควบคุมทางกฎหมาย/หลีกเลี่ยงกฎหมาย 4) เพื่อเศรษฐกิจของผู้ค้า

ตัวยา ได้แก่ 1) mCPP เม็ดกลม สีเขียว มีฤทธิ์เหมือนยากลุ่มเอ็กซ์ตาซี

2) DMA เป็นก้อนสีขาวใสเล็กๆ มีฤทธิ์เหมือนยาบ้า เข้าสู่ร่างกายแล้วถูกเปลี่ยนเป็นยาบ้าที่ตับ 3) Synthetic Heroin Pills (Subutex) เม็ดยาวรี มีร่องแบ่งครึ่งเม็ด มีฤทธิ์เหมือนเฮโรอีน

4) Synthetic Heroin Pills (3-methylfentanyl) ผงละเอียดสีน ้าตาลอ่อน สูดเข้าโพรงจมูกแล้วได้ฤทธิ์

เหมือนเฮโรอีน 5) New Heroin หรือ MPTP ผงละเอียดสีขาว สูดเข้าโพรงจมูกแล้วได้ฤทธิ์เหมือน

เฮโรอีน และท าให้เกิด Parkinsonian Syndrome 6) Crack หรือ ROCK ผงสีขาว สูดควันแล้วได้

ฤทธิ์กระตุ้นประสาท 7) วันทูคอล/4x100/8x100/10x100 ยาน ้าสีต่างๆ ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาไม่

ชัดเจน 8) เด็กซ์โตร ยาเม็ดแก้ไอ ท าให้เกิดอาการเมาและประสาทหลอน 9) ไฟแช็กแก๊ส ไฟแช็ก แก๊สส าเร็จรูปแบบใช้หมดแล้วทิ้ง ท าให้เกิดอาการมึนเมาจากฤทธิ์กดประสาท 10) Bufopaper/Cane toads skin กระดาษซับ/หนังกบตากแห้ง ท าให้เกิดอาการประสาทหลอนเกิด Serotonin Syndrome

4.6 ยาเสพติดที่ระบาดในประเทศไทย ที่แพร่ระบาดขณะนี้แบ่งตาม

คุณลักษณะของยาเสพติดได้ (สุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. 2547: 63 – 65); (ส านักยุทธศาสตร์. 2551:

13 – 18) ดังนี้

4.6.1) ยาเสพติดประเภทฝิ่นเป็นมหาภัยร้ายแรงและมีผู้ติดยาเสพติดชนิด นี้เป็นปริมาณสูงกว่ายาประเภทอื่นๆ ยาเสพติดพวกฝิ่นและกลุ่มของฝิ่นเป็นยากดประสาทและสมอง อย่างรุนแรง ได้แก่ เฮโรอีน มอร์ฟีน ฝิ่น และอนุพันธ์อื่นๆที่สกัดได้จากฝิ่น เช่น โคเดอีน ปาปาเวอร์- รีน (Papaverine) เป็นต้น การติดยาเสพติดประเภทนี้ร้ายแรงมาก ท าลายทั้งร่างกายและสภาพจิต สติปัญญา ความนึกคิด และบั่นทอนชีวิตให้สั้นลงอย่างรวดเร็ว

4.6.2) ยาเสพติดประเภทยานอนหลับ และยานอนหลับชนิดต่างๆที่เคยใช้

ในวงการแพทย์ ก็ได้มีผู้น ามาใช้ในทางที่ผิด เกิดเสพติดขึ้นมาได้ และท าให้เกิดอันตรายแก่สมอง และระบบประสาทของร่างกาย ได้แก่ ยานอนหลับประเภทบาร์บิทูเรต และที่ขึ้นชื่อมากในเมืองไทย คือ เซโคนัลหรือเหล้าแห้ง อีกพวกหนึ่ง คือยาสงบประสาทส าหรับระงับความกระวนกระวาย เคร่งเครียด เป็นยาระงับประสาทอย่างอ่อน เช่น พวกเมทาควาโลน (Methaqualon) ก็มีผู้น ามาใช้

ในทางที่ผิดจนเป็นยาเสพติดได้

4.6.3) ยาเสพติดประเภทกัญชาและพืชกระท่อม กัญชาเป็นยาเสพ ติดตามกฎหมาย ออกฤทธิ์ทั้งกดและหลอนประสาท เกิดหลงผิด ร่างกายเสื่อมโทรมและเป็นโรคจิต ได้ง่าย ส่วนพืชกระท่อมก็เป็นยาเสพติดเช่นเดียวกัน มีฤทธิ์ในทางกระตุ้นประสาทให้ท างาน ตื่นตัว อยู่ได้อย่างผิดปกติชั่วคราว ใช้ไปนานๆ จะท าลายประสาท เกิดประสาทหลอน โรคจิตเช่นเดียวกัน

4.6.4) ยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน ยาพวกนี้เป็นยากระตุ้นระบบ ประสาทกลาง ที่เรียกกันว่า ยาขยัน เปปบีล หรือสปิค ฯลฯ ผู้ใช้ในทางที่ผิดใช้เป็นยาแก้ง่วงหรือ เรียกว่า ยาขยัน ยาเพิ่มพลัง ยาลดความอ้วน เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเป็นการใช้ในทางเกิดโทษแก่

ร่างกาย จะกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ร่างกายจะอ่อนล้าลงทุกขณะ เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะ อ่อนเพลียมึนงง ไม่สามารถบังคับตนเองได้ และมักมีอาการคลุ้มคลั่งหรือโรคจิตประสาทหลอน ตลอดเวลา ใช้กันมากในหมู่นิสิต นักศึกษาผู้ที่ต้องการนอนดึก ผู้ที่ท างานเวลากลางคืน หรือผู้ที่ขับ รถยนต์ทางไกล หรือตรากตร าเหน็ดเหนื่อยผิดปกติ โดยคิดว่ายาเสพติดชนิดนี้จะช่วยบรรเทาความ เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า

4.6.5) ยาเสพติดประเภทหลอนประสาทและไอระเหยยังไม่แพร่หลายนัก แต่ก็เริ่มมีผู้น าเข้ามาเสพติดเป็นนิสัยมากขึ้น โดยใช้เพื่อให้เกิดความมึนเมาหลอนจิตประสาทตนเอง ยาประเภทนี้ ได้แก่ แอล.เอส.ดี เมสคาลีน ไซโลซีบิน เอส.ที.พี. เป็นต้น มาในรูปของยาเม็ดสีขาว สี

Dokumen terkait