• Tidak ada hasil yang ditemukan

1 การจัดการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

ตาราง 2 วิเคราะห์ความหมายของทักษะชีวิต

6) สาเหตุของปัญหายาเสพติด

ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติดเป็นปัญหาสังคมที่มีความสลับ ซับซ้อน มี

องค์ประกอบ 3 ประการที่เป็นสาเหตุของปัญหา คือ ตัวบุคคล ยา และสิ่งแวดล้อม (ส านักพัฒนา

การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. 2543: 24 – 27) องค์ประกอบของปัญหายาเสพติดทั้ง 3 ประการ ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน มีความสัมพันธ์กันเปรียบเสมือนวงกลม 3 วงที่เกยทับกัน ยิ่งเคลื่อนเข้าหากันเมื่อใด พื้นที่ของปัญหาก็จะเพิ่มขึ้น (ส านักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. 2548:

8 – 12)

6.1) ด้านตัวบุคคล ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 3 ทศวรรษ ที่ผ่านมาได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยในด้านโครงสร้าง จากฐานการผลิตที่เป็นสังคม เกษตรกรรมเปลี่ยนไปสู่สังคมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ สังคมชนบทเปลี่ยนไปเป็นสังคมเมือง ครอบครัว เปลี่ยนจากครอบครัวขยายเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ค่านิยมการเปลี่ยนแปลงจากการบริโภคที่

พอเพียงเป็นลักษณะของการบริโภคนิยม มีปัญหาสังคมเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นกับ เด็กและเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดสูงสุด ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชน กลุ่มนี้ ได้แก่การถูกปล่อยปละละเลยจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องอพยพถิ่นฐานเพื่อหางานท าในเมือง ท าให้ถูกทอดทิ้งอยู่กับคนแก่ชราในหมู่บ้านเกิดปัญหาเด็กเร่ร่อน ปัญหาโสเภณีเด็ก

การด าเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมจะต้องประสบกับปัญหาเนื่องจากการ เปลี่ยนแปลงหลายๆด้าน เช่น ร่างกาย อารมณ์ เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ และสังคม ดังกล่าว ผู้ที่ปรับตัว ให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงหรือสภาพนั้นๆ ไม่ได้ก็จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากความถูกต้องของ สังคม และอาจหันไปใช้ยาเสพติด ซึ่งปราณีพร บุญเรือง; และ อิทธิศักดิ์ พลงาม (2547: 25 - 42) กล่าวว่า ชีวิตในวัยรุ่นจัดเป็นช่วงวัยที่ส าคัญที่สุด เพราะเป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็น ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เด็กในวัยนี้ต้องประสบกับยุ่งยาก มีปัญหาต่างๆมากมายและความล าบาก ในการปรับตัว ระยะต่างๆ ของวัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นและวัยรุ่นมี ดังนี้

1) วัยเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น (11 – 13 ปี) เด็กหญิงจะอยู่ช่วงอายุประมาณ 11 – 13 ปี และเด็กชายอายุประมาณ 13 – 15 ปี เป็นระยะที่ร่างกายเริ่มการเจริญเติบโตทางเพศอย่างสมบูรณ์ทั้ง ในเด็กหญิงและเด็กชาย

2) วัยรุ่นตอนต้น (12 – 14 ปี) มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ และความนึกคิด การเจริญเติบโตในระยะวัยรุ่นนี้มีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปในด้านร่างกายมี

การเปลี่ยนแปลงมากและสิ้นสุดลงเมื่อถึง ‚วุฒิภาวะของวัยรุ่น‛ส่วนในด้านจิตใจส่วนใหญ่เป็นผลพลอยได้

จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นสิ่งปกติของเด็กทุกคนเมื่อ เข้าสู่วัยรุ่นก็ตาม แต่ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจของเด็กแต่ละคนมักไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อม จึงท าให้เข้าใจได้ว่าเหตุใดเด็กบางคนถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ในเกณฑ์วัยรุ่นก็ตาม แต่ก็ยัง ไม่มีลักษณะ ‚พายุบุแคม‛ ของวัยรุ่นหรือลักษณะอื่นๆที่ควรเกิดขึ้นในวัยรุ่นให้เห็นเลย ลักษณะเฉพาะ ในวันนี้ที่พบได้ คือ หงุดหงิดง่าย สนิทกับเพื่อนและอยากใช้เวลากับเพื่อนมากกว่าพ่อ แม่ มีวัฒนธรรม ตามกลุ่มเพื่อนที่ตนเองนับถือ

3) วัยรุ่นตอนกลาง (14 – 17 ปี) เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อมใหม่และมีผลต่อการพัฒนาการทางสังคมของเด็ก โดยทั่วไปเด็กส่วนใหญ่จะคบเพื่อน ที่มีรสนิยมคล้ายกันหรือคนที่ถูกใจ เริ่มรู้จักปรับปรุงบุคลิกภาพเลียนแบบผู้ที่ตนชื่นชอบ ชอบท าในสิ่งที่

แปลกใหม่ เด็กที่ขาดความมั่นใจในตนเอง จะเป็นเด็กที่ไวต่อความรู้สึก มีความกระวนกระวายใจต่อ ค าพูดที่กล่าวออกไป ซึ่งครูหรือผู้ปกครองต้องร่วมมือกันช่วยเหลือแนะน าอย่างใกล้ชิด ลักษณะเฉพาะ วัยรุ่นกลุ่มนี้คือ จะสนใจบุคลิกของตนเองมากขึ้น กังวลกับรูปร่างหน้าตาของตน อยากมีเอกลักษณ์

เฉพาะตน ต้องการอิสระ เป็นตัวของตัวเอง

4) วัยรุ่นตอนปลาย (17 – 19 ปี) การพัฒนาการของวัยรุ่นเริ่มเข้าสู่วุฒิภาวะ อย่างสมบูรณ์แบบในวัยรุ่นตอนปลาย โดยในระยะนี้มักมีการพัฒนาทางด้านจิตใจมากกว่าทางด้าน ร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกี่ยวกับความนึกคิดปรัชญาชีวิต

นักเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในวัยรุ่น มีอายุระหว่าง 12 – 18 ปี ซึ่งอยู่ในวัยที่มี

พัฒนา การด้านต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านสังคม ด้าน สติปัญญา วัยรุ่นจึงเป็นวัยวิกฤตของการปรับตัวมากที่สุดวัยหนึ่ง ซึ่งปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาที่

พบมาก คือ ปัญหายาเสพติด สาเหตุส าคัญ คือ อยากลอง อยากรู้ และถูกชักน าให้ใช้ยาเสพติด แก้ปัญหาทางอารมณ์ ซึ่งระยะแรกจะช่วยลดความเครียด ความวิตกกังวลได้ทันที เพราะฤทธิ์เข้าไป

กระตุ้นประสาทท าให้รู้สึกผ่อนคลาย แต่เมื่อใช้ไปนานเข้าก็ท าให้ติดใจ และอยากใช้จนไม่สามารถอยู่ได้

โดยขาดยาเสพติดนั้น นอกจากนี้บุหรี่และเหล้าเป็นยาเสพติดที่วัยรุ่นเสพกันมาก เพราะเห็นว่าแบบอย่าง จากผู้ใหญ่ท าให้หลงผิดท าตามอย่าง

6.2) ด้านตัวยา ยา ปัจจุบันมียาชนิดต่างๆ อยู่มากมาย ทั้งที่ถูกกฎหมายและไม่

ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตัวของยาเองแล้วนั้นมิได้ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ จนกว่าคนจะน ายานั้นไปใช้

ในทางที่ผิด

6.3) ด้านสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบตัวคนมีอิทธิพลในอันที่จะผลักดัน ให้คนหันไปใช้ยาเสพติด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งผลให้มีปัญหายาเสพติดมากที่สุดในปัจจุบัน คือ แหล่งชุมชนแออัดหรือ แหล่งสลัม ซึ่งเป็นผลพวงของการพัฒนาประเทศท าให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองใหญ่ที่มีแหล่งงานเพื่อ ขายแรงงาน สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่น าไปสู่การใช้ยาเสพติดของเด็กและเยาวชน ทั้งที่อยู่ในแหล่งเสื่อม โทรมหรือแหล่งอื่นๆ ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ครอบครัวมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย เพราะไม่มี

ความมั่นคงทางอาชีพ เป็นแรงงานนอกระบบ ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง ปัญหาสาธารณสุข สุขภาพอนามัย เสื่อมโทรมอันเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม เต็มไปด้วยมลพิษทั้งในน ้าในอากาศ ปัญหาการติดเชื้อโรคเอดส์

ปัญหาสังคมอื่นๆ ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว ปัญหาการค้าประเวณี และปัญหาแหล่งอบายมุข ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ ล้วนเป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่มีส่วนในการผลักดันเด็กและเยาวชนให้หันเข้าหา ยาเสพติดทั้งสิ้น

การแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดผลส าเร็จ จ าเป็นต้องด าเนินการจัดการ องค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยเฉพาะองค์ประกอบในส่วนของ “คน”

นับว่าส าคัญที่สุด การสร้างให้คนมีภูมิคุ้มกันยาเสพติด ถือเป็นการป้องกันยาเสพติดที่สาเหตุ ที่ปัญหา เมื่อคนมีภูมิคุ้มกันยาเสพติดรู้จักการป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากปัญหายาเสพติดไม่ว่าจะอยู่ใน สภาพแวดล้อมที่มีทั้งตัวยาเสพติด สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเสพยาเสพติด คนๆนั้นก็สามารถน าตนเอง ให้ผ่านพ้นจากปัญหายาเสพติดได้

กล่าวได้ว่าสาเหตุของปัญหายาเสพติด มีองค์ประกอบ 3 ประการที่เป็นสาเหตุของ ปัญหา คือ 1) ตัวบุคคล ซึ่งเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดมากที่สุด และปัญหาของ นักเรียนมัธยมศึกษาที่พบมากคือ ปัญหายาเสพติด 2) ยา ที่เป็นปัญหา ได้แก่ แอมเฟตามีน สารระเหย กัญชา เฮโรอีน ฝิ่น เอ็กซ์ตาซี(ยาอี) เคตามีน (ยาเค)และโคเคนซึ่งเป็นที่นิยมของกลุ่มวัยรุ่นและ

3) สิ่งแวดล้อม ที่อยู่โดยรอบตัวคนมีอิทธิพลในอันที่จะผลักดันให้คนหันไปใช้หรือไม่ใช้ยาเสพติด แบ่ง ได้เป็น 2 ประเภท คือ สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ คือ แหล่งชุมชนแออัดหรือแหล่งสลัม แหล่งอบายมุข สถานบันเทิง และสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ครอบครัวมีรายได้ไม่เพียงพอกับ รายจ่าย ปัญหาสาธารณสุข สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรมอันเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม เต็มไปด้วยมลพิษ ปัญหาการติดเชื้อโรคเอดส์ ปัญหาสังคมอื่นๆ ปัญหาความแตกแยกในครอบครัว ปัญหาการค้าประเวณี

สรุป จากการค้นคว้าเอกสาร สถานภาพของยาเสพติดที่เป็นแก่นของสถานการณ์ที่

ผู้วิจัยศึกษาจะน าไปสู่ที่มาของแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความ ต้องการในการแก้ปัญหายาเสพติด ได้แก่ สถานการณ์ยาเสพติดโดยทั่วไปที่มีการผลิต และจ าหน่ายยา เสพติดอย่างต่อเนื่อง สถานการณ์ยาเสพติดในประเทศไทยยังพบว่ามีความรุนแรงและแพร่ระบาดอยู่

มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ด้านความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดเกี่ยวข้อง กับความหมายของยาเสพติด ชนิดและประเภทของยาเสพติด ซึ่งปัจจุบันมีความหลายหลาย ยังไม่เคย ถูกน ามาใช้ในสังคมก่อนหน้านี้ ที่ส าคัญ คือไม่มีความชัดเจนในเรื่องสถานะทางกฎหมายที่จะใช้ควบคุม ส่วนในด้านนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ความรู้เกี่ยวกับทักษะชีวิตเพื่อป้องกัน ยาเสพติดในโรงเรียนถือเป็นนโยบายส าคัญที่ต้องด าเนินการอย่างจริงจัง เช่น การสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันยาเสพติดให้เยาวชน ได้แก่ การพัฒนาเสริมสร้างทักษะชีวิต ด้วยการจัดหลักสูตร การเรียนการ สอนวิชาเฉพาะขึ้น ส่วนสาเหตุของปัญหายาเสพติดที่ผู้วิจัยศึกษาสถานการณ์ยาเสพติดประกอบด้วย 1) ตัวบุคคลพบว่าเด็กและเยาวชนเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหายาเสพติดมากที่สุด (อายุ 12 – 18 ปี) โดยสาเหตุ คือ อยากลอง อยากรู้ และถูกชักน าให้ใช้ยาเสพติดเพื่อแก้ปัญหาทางอารมณ์ ลดความเครียด ความวิตกกังวล 2) ตัวยา สาเหตุ คือมียาเสพติดชนิดต่างๆมากมายทั้งถูกกฎหมายและไม่ถูกกฎหมาย 3) สิ่งแวดล้อมแบ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สาเหตุ คือ แหล่งชุมชนแออัด แหล่งอบายมุข สภาพสิ่ง ปลูกสร้างที่ไม่เอื้อต่อการป้องกันยาเสพติด และสิ่งแวดล้อมทางด้านสังคม คือ พฤติกรรมและความ เป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคมที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เช่นอิทธิพลจากเพื่อน สัมพันธภาพภายใน ครอบครัว และสัมพันธภาพภายในโรงเรียน ปัญหาเศรษฐกิจที่ครอบครัวมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ปัญหาสาธารณสุขที่เป็นผลจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น มลพิษ การติดเชื้อเอดส์ และปัญหา ครอบครัวแตกแยก

ส าหรับการสอบถามสถานภาพของยาเสพติดในสถานศึกษา โดยใช้แบบสอบถามที่

ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบสอบถามระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหา โดยให้ผู้ตอบระบุสภาพปัญหา ยาเสพติดในโรงเรียน และความต้องการหลักสูตรเสริมทักษะชีวิต กลุ่มเด็กและเยาวชนที่คาดว่าจะเป็น กลุ่มเสี่ยงต่อการใช้ยาเสพติดอยู่ในช่วงอายุเท่าไร ชนิด ประเภทยาเสพติดที่ระบาดในปัจจุบัน ความรู้

เกี่ยวกับทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด และสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหามากที่สุด ด้านกายภาพและด้าน สังคม คือ อะไร ตลอดจนข้อเสนอแนะ รายละเอียดจะได้กล่าวในบทต่อไป

2.2.2 หลักการ แนวคิดและทฤษฎีการป้องกันยาเสพติด

การป้องกันยาเสพติดต้องท าให้แตกต่างออกไป เพื่อให้สู้ได้กับความท้าทายของ สหัสวรรษใหม่ การป้องกันเป็นแนวคิดที่กว้างและครอบคลุมวิธีการต่างๆ มากมาย ค าจ ากัดความ ของป้องกันมีผลต่อจุดมุ่งหมายของกิจกรรมป้องกันและการเลือกกลยุทธ์ในการเข้าแทรกแซงปัญหา ที่เหมาะสมที่สุด การป้องกัน หมายถึง การหลีกเลี่ยงบางสิ่งที่อาจเกิดขึ้นซึ่งสามารถเตรียมรับมือและ ตอบโต้ล่วงหน้าเพื่อชะลอการเริ่มต้นของปัญหา (ส านักงานคณะกรรมการการป้องกันและ

ปราบปรามยาเสพติด. 2549: 6) ส าหรับงานวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ท าการศึกษาแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และความหมายเกี่ยวกับการป้องกันยาเสพติด มีรายละเอียดดังนี้

Dokumen terkait