• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

10. การใช้ถ้อยค าแสดงภาพพจน์

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2533 : 42) เรียก “ท่วงท านองทางภาษา” ว่า “วัจนลีลา” และ กล่าวถึงวัจนลีลาไว้ว่า “วัจนลีลา” (Style) หมายถึง รูปแบบการใช้ภาษาแบบใดแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่าง จากการใช้ภาษาแบบอื่น เนื่องมาจากมีบริบทหรือสถานการณ์การใช้ภาษาที่แตกต่างกัน” การแบ่ง ภาษาออกเป็นวัจนลีลาแบบต่าง ๆ ไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว ส่วนใหญ่จะแบ่งตามเกณฑ์สถานการณ์การ ใช้ภาษา ซึ่งเป็นตัวก าหนดการเลือกรูปแบบของภาษาแบบต่าง ๆ รวมเรียกว่า วัจนลีลาแบบต่าง ๆ และอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (2533 : 142 – 157) จ าแนกวัจนลีลาเรียงล าดับจากที่เป็นทางการมาก ที่สุดไปสู่ที่เป็นทางการน้อยที่สุดออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่

1. วัจนลีลาตายตัว (Frozen Style) เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในสถานการณ์ที่เป็น พิธีการ มีความศักดิ์สิทธิ์ ความเคร่งขรึมและเป็นทางการมากที่สุด ลักษณะของภาษาในวัจนลีลา ตายตัวมีความเด่นตรงความอลังการความซับซ้อนและมักใช้ถ้อยค าดั้งเดิมที่ใช้มาเป็นเวลานาน ในสังคม

2. วัจนลีลาเป็นทางการ (Formal Style) เป็นรูปแบบภาษาที่ใช้ในโอกาสส าคัญใช้พูดกับ บุคคลที่สูงกว่าและใช้พูดเรื่องที่จริงจัง มีความส าคัญลักษณะเด่นของภาษาในวัจนลีลา

เป็นทางการ คือ มีรูปแบบที่สมบูรณ์ทางไวยากรณ์ ใช้ประโยคซับซ้อน แต่มีความยืดหยุ่นและ ไม่เท่าวัจนลีลาตายตัว

3. วัจนลีลาหารือ (Consultative Style) เป็นวัจนลีลาที่อยู่ตรงกลางของวัจนลีลาทั้งหมด เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้มากในชีวิตประจ าวัน ลักษณะด้านภาษาของวัจลีลาหารือคือใช้รูป ประโยคที่หลวม ไม่สมบูรณ์ตามกฎไวยากรณ์ มีการละค า ละประธานของประโยค มีการใช้ค า ต่างประเทศปน

4. วัจนลีลาเป็นกันเอง (Casual Style) เป็นวัจนลีลาที่ใช้ในโอกาสไม่เป็นทางการ ลักษณะของภาษาในวัจนลีลาเป็นกันเองคือมีการกร่อนค า การซ ้าค า การใช้ค าสแลง ค าลงท้ายรูป ประโยคสั้น ๆ ง่าย ๆ และมีการละประธานมากกว่าในวัจนลีลาหารือ

5. วัจนลีลาสนิทสนม (Intimate Style) เป็นวัจนลีลาที่อยู่สุดท้ายในระดับความเป็น ทางการ เป็นวัจนลีลาที่ไม่มีความเป็นทางการเลย ใช้พูดกับคนที่สนิทสนมที่สุด ลักษณะของภาษา ในวัจนลีลานี้ คือ รูปประโยคย่นย่อมาก มีการใช้ค าสแลงเช่นเดียวกับวัจนลีลาเป็นกันเอง แต่ใช้

มากกว่าและยังมีการใช้ศัพท์เฉพาะกลุ่ม (Jargon) มากมีการใช้ค าสบถสาบานหรือค าหยาบและใช้ค า ย่อมาก

จากการศึกษาเอกสารดังกล่าวสามารถสรุปเกี่ยวกับท่วงท านองทางภาษา (Style) ได้ว่า ท่วงท านองทางภาษา (Style) หมายถึง ลักษณะเฉพาะตัวของผู้เขียนแต่ละคนในการเลือกใช้ถ้อยค า ส านวนและประโยคที่เหมาะสมในการเรียบเรียงสาร ตลอดจนสื่อออกมาด้วยกลวิธีการเขียน ที่ชัดเจน น่าสนใจ ท่วงท านองทางภาษาของแต่ละคนไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในการใช้

ภาษา ประสบการณ์ ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนความสามารถที่เป็นกลวิธีเฉพาะตัวมักถ่ายทอด ออกมาให้เห็นซ ้า ๆ จนเป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักเขียนแต่ละคนซึ่งไม่สามารถลอกเลียนกันได้

กลวิธีกำรเขียน

การเขียน หมายถึง การเรียบเรียงความคิดในสิ่งที่จะสื่อสารเป็นตัวหนังสืออย่างมี

จุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการและข้อมูลต่าง ๆ ไปยังผู้อ่าน

ธนู ทดแทนคุณ และกานต์รวี แพทย์พิทักษ์ (2557 : 144 – 153) กล่าวถึงจุดมุ่งหมาย ในการเขียนไว้ว่า ประสิทธิภาพในการเขียนจะเกิดขึ้นได้นั้น ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของ การเขียนว่าต้องการสื่อสารให้ผู้อ่านได้ทราบถึงอะไร หรือเขียนเพื่ออะไร โดยอาจแบ่งจุดมุ่งหมาย ในการเขียน ได้ดังนี้

1. การเขียนเพื่ออธิบายหรือให้ความรู้ เป็นการเขียนที่มุ่งให้ข้อมูลความรู้เพื่อให้ผู้อ่าน ได้รับข้อมูลอย่างละเอียด เช่น การอธิบายวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ อธิบายวิธีการต่อวงจรไฟฟ้า ฯลฯ

2. การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เป็นการเขียนที่มุ่งให้ข้อมูลแก่ผู้อ่านเพื่อให้ได้อรรถรสในสิ่งที่

ผู้เขียนพบหรือประสบมากับตนเอง เช่น เล่าเหตุการณ์ที่พบในท้องถนน เล่าถึงการเดินทางท่องเที่ยว ในช่วงปิดภาคเรียนที่ผ่านมา

3. การเขียนเพื่อแนะน าหรือให้ข้อคิด เป็นการเขียนที่มุ่งให้ค าแนะน า ให้ข้อคิดเห็นอัน เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่าน สามารถน าไปใช้ได้จริง บางครั้งอาจเป็นข้อมูลส าคัญเพื่อการด าเนินงาน เช่น แนะน าสถานที่ท างานใหม่ แนะน าวิธีการสัมภาษณ์งานเพื่อให้ได้งานท า แนะน าเคล็ดลับต่าง ๆ ฯลฯ

4. การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่มุ่งชักจูง โน้มน้าว โฆษณา เพื่อให้ผู้อ่าน รู้สึกเห็นด้วยหรือคล้อยตามและอาจน าไปสู่การประเมินหรือตัดสินใจได้ เช่น การเขียนข้อความ โฆษณาในนิตยสารหนังสือพิมพ์ ค าขวัญรณรงค์ต่อต้านสารเสพติด ฯลฯ

5. การเขียนเพื่อสร้างแนวคิดเชิงจินตนาการ เป็นการเขียนที่มุ่งน าเสนอภาพความคิดที่

สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถคิดตามไปด้วย และน าไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ค าประพันธ์ ฯลฯ

6. การเขียนเพื่อล้อเลียน – เสียดสี เป็นการเขียนที่มุ่งให้ความรู้สึกในลักษณะล้อเลียน เสียดสี หรืออาจประชดประชัน เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก เช่น เขียนค าอธิบายภาพการ์ตูน ล้อเลียนการเมือง บทละครล้อเลียนการเมือง ฯลฯ

7. การเขียนเพื่อแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริง เป็นการเขียนที่มุ่งให้ข้อมูลที่เป็นจริง น าเสนอ รายละเอียดเพื่อการน าไปปฏิบัติ บางครั้งอาจอ้างอิง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เช่น กติกาการแข่งขัน อ่านท านองเสนาะ ระเบียบการมาท างานของพนักงานบริษัท ฯลฯ

8. การเขียนเพื่อให้ข้อมูล เป็นการเขียนที่มุ่งให้รายละเอียดหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัว ผู้เขียนเอง เพื่อสื่อสารให้กับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องได้รับทราบในประโยชน์ทางธุรกิจ กิจธุระและ เรื่องส าคัญของตน เช่น การออกแบบฟอร์มของทางราชการ การเขียนจดหมายสมัครงาน ประวัติย่อ การเขียนเอกสารสัญญา ฯลฯ

นอกจากนี้ ธนู ทดแทนคุณ และกานต์รวี แพทย์พิทักษ์ (2557 : 154) ยังกล่าวถึงลักษณะ ของงานเขียนที่ดี ไว้อย่างน่าสนใจว่างานที่ดีจะต้องมีลักษณะที่ถูกต้อง สมบูรณ์ สามารถสื่อ ความหมายได้อย่างมีประสิทธิผล โดยจะต้องมีลักษณะ ต่อไปนี้

1. มีความชัดเจน ได้แก่ การใช้ค าให้ถูกต้องตามความหมาย การเรียบเรียงประโยค ที่ถูกต้อง มีจุดมุ่งหมายในการสื่อสารที่ตรงประเด็น สามารถเห็นสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารได้

อย่างชัดเจน เนื้อหาของงานเขียนมีเอกภาพ เป็นต้น

2. มีความเรียบง่าย ได้แก่ การใช้ค าธรรมดา ๆ แต่สามารถอ่านแล้วเข้าใจทันที ไม่ใช้ค า ที่อ่านแล้วต้องแปลความหมายมาก ใช้ประโยคที่เรียบ ๆ แต่สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์และ จินตนาการต่างๆ ได้ เป็นต้น

3. มีความกระชับ ได้แก่การใช้ถ้อยค าน้อยแต่มีความหมายกว้าง ไม่ใช้ค าฟุ่มเฟือย อ้อมค้อม วกวน จนท าให้ไม่สามารถจับประเด็นของงานเขียนนั้นได้เลย

4. สร้างความประทับใจ ได้แก่ การสร้างอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ให้ผู้อ่านเกิด ความรู้สึกที่ดีด้วยการใช้ค า ส านวน โวหาร ค าภาพพจน์ต่าง ๆ สื่อความโดยการใช้ค าที่เร้าความรู้สึก อาจเกิดจากการเน้นค า ส านวน ประโยค เช่น การซ ้าค า ใช้ค าไวพจน์ ค าอธิพจน์ ค านามนัย ฯลฯ

5. มีลีลา ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรรค ามาใช้ในงานเขียนแล้วท าให้ผู้อ่านเกิด ความรู้สึกที่ดี เช่น การใช้ถ้อยค าที่ราบรื่นและสร้างความไพเราะ การหลากค า การเล่นค า ฯลฯ

6. สร้างภาพพจน์หรือจินตนาการ ในงานเขียนบางชนิดจ าเป็นที่ผู้เขียนจะต้องใช้ถ้อยค า ที่สร้างภาพพจน์หรือจินตนาการให้ผู้อ่านเห็นภาพตามไปด้วย

7. มีความสร้างสรรค์ ได้แก่ การใช้ภาษาเขียนที่สื่อสารในทางบวก ไม่ยุยงส่งเสริมสิ่งที่

ไม่ดีแก่ผู้อ่าน อันจะก่อให้เกิดการแตกร้าว ขาดความสามัคคีในสังคม

ส่วน วิจิตรา แสงพลสิทธิ์ (2524 : 14) กล่าวถึงองค์ประกอบการเขียนว่า งานเขียน ที่ดีต้องมีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ

1. ภาษาดี หมายถึง ใช้ภาษาประณีต มีประสิทธิภาพ

2. มีแง่งาม หมายถึง งานเขียนนั้นมีจุดเด่นที่เร้าอารมณ์ผู้อ่าน

3. ความเที่ยงธรรม หมายถึง งานเขียนที่ไม่มีอคติกับใครหรือแหล่งใด 4. มุ่งส าคัญ หมายถึง มีจุดประสงค์หลักที่เด่นชัด

5. สรรค์จ าเป็น หมายถึง นึกถึงผู้อ่านและเห็นว่ามีความส าคัญมากจึงน ามาเสนอ 6. เด่นเนื้อหา หมายถึง การอ่านครั้งนี้ต้องได้ประโยชน์คุ้มค่าและเนื้อหาโดดเด่นมี

เอกลักษณ์

7. สูงค่านิยม หมายถึง เป็นงานเขียนที่มีรสนิยมและมีคุณค่าที่ดีต่อคนทั่วไปกลวิธีการ เขียนในงานวิจัยนี้ หมายถึง วิธีการเขียนที่ผู้เขียนเลือกใช้เพื่อให้งานเขียนมีความโดดเด่นน่าสนใจ และสื่อสารได้ตรงตามวัตถุประสงค์เริ่มตั้งแต่กลวิธีการตั้งชื่อเรื่องกลวิธีการเขียนส่วนน าเรื่องกลวิธี

การน าเสนอเนื้อหาและกลวิธีการเขียนบทสรุป

กลวิธีการเขียนนับว่าเป็นส่วนที่ส าคัญอย่างยิ่งที่จะท าให้งานเขียนนั้นประสบความส าเร็จ เนื่องจากกลวิธีการเขียนที่ดีช่วยให้ผู้เขียนสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดและประสบการณ์ต่าง ๆ

มายังผู้อ่านได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามเจตนาของผู้เขียน นอกจากนี้กลวิธีการเขียนที่ดีจะช่วยให้

งานเขียนโดดเด่น สามารถดึงดูดความสนใจและสร้างความประทับใจให้ผู้อ่านได้ง่าย ในเรื่องนี้

ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกลวิธีการเขียนที่ใช้ในงานเขียนประเภทต่าง ๆ เพื่อใช้เป็น แนวทางในการศึกษากลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ดังนี้

กลวิธีกำรตั้งชื่อเรื่อง

การตั้งชื่อเรื่องนับว่ามีความส าคัญเป็นอันดับแรกในการน าเสนองานเขียน เนื่องจากเป็น ส่วนประกอบแรกที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านว่าจะอ่านเนื้อหาต่อไปหรือไม่ มีนักวิชาการ หลายท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งชื่อเรื่อง ไว้ดังนี้

อวยพร พานิชและคณะ (2553 : 267 – 271) กล่าวถึง การตั้งชื่อว่าเป็นการขมวดเรื่องราว เป็นถ้อยค ากลุ่มหนึ่ง เป็นการรวบรวมมโนทัศน์อันกว้างไกลตามหลักความคิดที่เกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรมความเชื่อและวัฒนธรรมการใช้ภาษา มักเป็นค าสั้น ๆ หรือวลีที่เป็นที่ยอมรับหรือเข้าใจ ร่วมกันระหว่างผู้ตั้งชื่อกับผู้อ่านพบชื่อนั้น ในที่นี้อวยพร พานิชและคณะ กล่าวถึงการตั้งชื่อเรื่องของ บทบรรณาธิการและบทความเอาไว้ ดังนี้

การตั้งชื่อเรื่องของบทบรรณาธิการและบทความ

1. LABEL HEADS เป็นการตั้งชื่อเรื่องที่ท าให้ผู้อ่านรู้ว่าผู้เขียนก าลังจะเขียนเรื่อง อะไร การเขียนแบบนี้ไม่ก่อให้เกิดความสนใจมากนัก เช่น ความเป็นมาของตะเกียบ ไทยกับปัญหา เขมร แวดวงดนตรีในปี พ.ศ. 2534 ณ พัทยา เป็นต้น

2. SUMMARY STATEMENT การตั้งชื่อเรื่องที่ผู้เขียนพยายามบีบเข้าหาจุดส าคัญใน เนื้อเรื่องนั้น การเขียนชนิดนี้ผู้เขียนจะต้องจับประเด็นที่ประสงค์ จะให้ผู้อ่านเข้าถึงจุดมุ่งหมายของ ตน เช่น ส.ส. สิ้นคิด วนสิ่งแวดล้อมไทยกับวิกฤตการณ์เรื่องน ้า เป็นต้น

3. STRINKIN STATEMENT ท าให้สะดุ้ง การตั้งชื่อแบบนี้ผู้เขียนบทบรรณาธิการ เริ่มใช้กันมากในปัจจุบัน เขียนด้วยการใช้รูปของค า ประโยค หรือวลีที่ก่อให้เกิดความเร้าใจให้

ผู้อ่านเกิดความสนใจ เช่น ฆาตกรรมนครวัด วิกฤตพัทยา เป็นต้น

4. DESCRIPTIVE PHRASE การเขียนลักษณะพรรณนาหรือบรรยายโวหารด้วย ค าคุณศัพท์เพื่อให้เกิดสีสัน เห็นภาพ เช่น สายหมอกดอกไม้บาน ต านานแห่งขุนเขาที่เชียงราย ทุ่งดอกกระเจียว ที่สุดแผ่นดินที่ราบสูงอีสาน

5. QUOTATION เป็นการเขียนชื่อเรื่องที่เป็นที่นิยมในหมู่ผู้อ่านไม่น้อยเลยทีเดียว อาจเขียน โดยใช้ค าคม ส านวน ค าพังเพย สุภาษิต หรือประโยคซึ่งแสดงการบรรยายได้ดี

อ่านแล้วเข้าใจในทันที อาจใช้เครื่องหมายค าพูดเปิดปิดก ากับไว้ด้วยก็ได้ เช่น ฟาสต์ฟู้ด อาหาร