• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1. มีความชัดเจนแจ่มแจ้งและถูกต้อง

4. ประโยคบาโรก (Baroque Sentence) มีโครงสร้างประโยคที่ขาดดุลหรือลักษณะ คู่ขนาน (Parallelism) อาจเพิ่มพูนทวีขึ้น ๆ คลี่คลายเนื้อความจากประโยคหนึ่งขยายไปสู่

อีกประโยคหนึ่ง หรืออาจเป็นประโยคสั้นมีค าเดียวโดยไม่ค านึงถึงความถูกผิดทางไวยากรณ์ เช่น

“หลับไปด้วยรสเอร็ดของกัญชา” “ผมไม่อยากตื่นเช้าโว้ยคุอย่ามาปลุกกูให้ยากเลยครับ”

นอกจากนี้ สมพร มันตสูตร แพ่งพิพัฒน์ (2540 : 47) กล่าวถึงประโยคที่ดีว่าจะต้องมี

ลักษณะ ดังนี้

กุสุมา รักษมณี และคณะ (2536 : 199) กล่าวว่า การเขียน คือ การแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก จินตนาการ และความต้องการของผู้ส่งสารออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้รับสาร สามารถอ่านเข้าใจตรงตามที่ผู้เขียนต้องการได้

นภดล จันทร์เพ็ญ (2538 : 90) ให้ความหมายของการเขียนว่า การเขียน เป็นการ แสดงออกในการติดต่อสื่อสารอย่างหนึ่งของมนุษย์ โดยอาศัยภาษาตัวอักษรเป็นสื่อ เพื่อถ่ายทอด ความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ และความในใจของเราให้กับผู้อื่นทราบ การเขียนนี้ จึงมีลักษณะการ สื่อสารที่ถาวร มีความคงทนอยู่นาน

วรนันท์ อักษรพงษ์ (2539 : 67) แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การเขียน หมายถึง การแสดง ความแตกต่างในด้านความคิดอ่านของมนุษย์ ด้วยการเขียนออกมาเป็นข้อความ การเขียนดังกล่าว ได้เนื้อหามาจากความรู้ ประสบการณ์ ค่านิยม และทัศนคติของผู้เขียนเอง เมื่อประกอบเข้ากับ อุปนิสัยใจคอ บุคลิกลักษณะและความลึกซึ้งทางจิตใจของผู้เขียนแล้ว การเขียนนั้นจะมี

ลักษณะเฉพาะหรือท่วงท านองการเขียน (Style) ที่เป็นเอกลักษณ์ของผู้เขียนออกมา

เสนีย์ วิลาวรรณ (2544 : 10) กล่าวว่า การเขียน หมายถึง การน าค าพูดออกมาเขียน ประกอบกันเป็นข้อความ เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจ

เอมอร ชิตตะโสภณ (2549 : 34 – 35) แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การเขียนเป็นเรื่อง ของกระบวนการทางความคิด ความคิด คือ จุดเริ่มต้นการแปรความคิดเป็นการกระท า คือ การปฏิบัติจริง กล่าวได้ว่า การใช้ภาษาและรูปแบบของการเขียน เป็นเพียงส่วนเดียวของ องค์ประกอบทั้งหมด ประการส าคัญ คือ การสะสมประสบการณ์จากการอ่าน การฟัง การดู ก่อนลง มือเขียนเพื่อขยายความคิดให้ลึกและกว้างขวางออกไป

ธนู ทดแทนคุณและกานต์รวี แพทย์พิทักษ์ (2552 : 117) ให้ความหมายของการเขียนว่า การเขียน หมายถึง การเรียบเรียงความคิดในสิ่งที่จะสื่อสารเป็นตัวหนังสืออย่างมีจุดมุ่งหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้สึก ความนึกคิด ความต้องการ และข้อมูลต่าง ๆ ไปยังผู้อ่าน

จากแนวคิดดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การเขียน เป็นการสื่อความหมาย โดยการน าความรู้ ความคิด ความรู้สึก ประสบการณ์และจินตนาการของผู้เขียนออกมาเรียบเรียง เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจุดมุ่งหมายในการสื่อสารระหว่างผู้เขียนกับผู้อ่านให้ได้ความเข้าใจ ตรงตามที่ผู้เขียนต้องการได้

ควำมส ำคัญของกำรเขียน

นักการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนหลายท่าน กล่าวถึงความส าคัญของภาษาเขียนไว้

หลากหลาย ประมวลได้ดังนี้

1. ภาษาเขียนเป็นวัฒนธรรมที่ส าคัญของชาติ เพราะภาษาเป็นสิ่งที่แสดงเอกลักษณ์และ วิถีชีวิตของคนในชาติ

2. เป็นเครื่องมือส าคัญที่แสดงอารยธรรมของมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย

3. เป็นเครื่องถ่ายทอดวัฒนธรรมที่ส าคัญ อันเป็นมรดกทางสติปัญญาของมนุษย์ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี ต านาน

4. เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพ

5. เป็นเครื่องมือสร้างสรรค์สังคม สร้างความมั่นคงของประเทศ เช่น การเขียนข่าวสาร การเขียนเพื่อก่อให้เกิดความสามัคคี เป็นต้น

นอกจากนี้ ทัศนีย์ ศุภเมธี (2527 : 12) กล่าวถึงความส าคัญของการเขียนไว้ ดังนี้

1. เป็นเครื่องมือวัดความเจริญหรืออารยธรรมของมนุษย์

2. เป็นเครื่องมือที่ใช้สนองความปรารถนาของมนุษย์ ท าให้เกิดผลตามที่ต้องการ 3. เป็นการแสดงว่าผู้เขียนมีเวลาคิด ไตร่ตรอง แล้วจึงล าดับความคิดเรียบเรียงออกมา เป็นเรื่องราวด้วยภาษา ผู้เขียนมีโอกาสแก้ไขก่อนถึงผู้อ่าน

4. เป็นเครื่องมือถ่ายทอดทางสติปัญญาของมนุษย์ เพราะเป็นการถ่ายทอดวัฒนธรรม ความคิด จินตนาการและความรู้ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง

อาจกล่าวได้ว่า การเขียนเป็นเครื่องมือสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันในสังคม เป็นเครื่องถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญาของมนุษย์ และเป็นเครื่องวัดความเจริญทางด้านอารยธรรม ทางภาษาของมนุษย์ มนุษย์จากรุ่นหนึ่งการที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมแนวความคิดของตนไปสู่ชน อีกรุ่นหนึ่งได้นั้น จะต้องอาศัยการเขียนมีความคงทน และใช้เป็นหลักฐานได้ดี อีกทั้งภาษาเขียนยัง จัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่บ่งบอกถึงความมีวัฒนธรรมและอารยธรรมของชาตินั้น การเขียนจึงเป็นทักษะหนึ่งที่มีความจ าเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าทักษะอื่น

จุดมุ่งหมำยของกำรเขียน

การเขียนแต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายเฉพาะของและอย่างที่แตกต่างกันออกไปตามเนื้อหา สาระของเรื่องที่เขียนนั้น ๆ การเขียนเป็นการสื่อสารความหมายที่มีจุดมุ่งหมายได้หลายประการ ซึ่งภาคภูมิ หรรนภา (2554 : 39 – 40) สรุป ดังนี้

1. การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการเล่าเรื่องราว ประสบการณ์

สถานการณ์ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หรือที่ตนรับรู้ มาให้ผู้อ่านได้ทราบ เช่น การบรรยาย หรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ต านาน ข่าวสารต่าง ๆ เป็นต้น

2. การเขียนเพื่ออธิบาย เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการชี้แจงหรืออธิบายสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจน เช่น การเขียนอธิบายความหมายค าศัพท์เฉพาะ การอธิบาย ขั้นตอนการท าสิ่งต่าง ๆ การอธิบายกรรมวิธีในการซ่อมหนังสือ เป็นต้น

3. การเขียนเพื่อแสดงทัศนะ ความคิดเห็น หรือวิพากษ์วิจารณ์ เป็นการเขียน ที่ผู้เขียนต้องการเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ หรือการวิเคราะห์วิจารณ์ที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แสดงทัศนะเกี่ยวกับบทบาทของครูในยุคปัจจุบัน การวิจารณ์วรรณกรรม การเขียนบทความใน หนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

4. การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดจินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึก ด้วยการใช้ภาษาอย่างมีชั้นเชิงและมีวรรณศิลป์ เช่น การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย กวีนิพนธ์ บทละคร บทภาพยนตร์ ซึ่งเป็นลักษณะบันเทิงคดีเชิงสร้างสรรค์

5. การเขียนเพื่อกิจธุระ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการติดต่อกิจธุระกับบุคคลหรือกลุ่ม บุคคลต่าง ๆ การเขียนลักษณะนี้ มีรูปการเขียนและลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปตาม ประเภทของกิจธุระ เช่น การเขียนจดหมายส่วนตัว การเขียนจดหมายธุรกิจ การเขียนจดหมายราชการ เป็นต้น

6. การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ เป็นการเขียนที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านเปลี่ยนแปลง ความคิด ทัศนคติ ความเชื่อ หรือพฤติกรรมให้คล้อยตามความคิดของผู้เขียน เช่น การโฆษณาสินค้า การหาเสียงเลือกตั้ง

7. การเขียนเพื่อล้อเลียน – เสียดสี เป็นการเขียนที่มุ่งให้ความรู้สึกในลักษณะล้อเลียน เสียดสีหรืออาจประชดประชัน เน้นความสนุกสนานเป็นหลัก เช่น เขียนค าอธิบายภาพการ์ตูน ล้อเลียนการเมือง บทละครล้อเลียนการเมือง สังคม เป็นต้น

8. การเขียนเพื่อแจ้งให้ทราบข้อเท็จจริง เป็นการเขียนที่มุ่งให้ข้อมูลที่เป็นจริง น าเสนอ รายละเอียดเพื่อการน าไปปฏิบัติ บางครั้งอาจอ้างอิง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เช่น กติกา การแข่งขัน การอ่านท านองเสนาะ ระเบียบการมาท างานของพนักงานบริษัท เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีนักวิชาการบางท่าน ได้จ าแนกจุดมุ่งหมายของการเขียนไว้อย่างละเอียด ไปอีก ดังเช่น บงกช สิงหกุง (2545 : 112) จ าแนกจุดมุ่งหมายของการเขียนออกเป็น 12 ประการ สรุปได้คือ เพื่อสั่งสอน เพื่อบันทึก เพื่อแนะน า เพื่อเล่าเรื่อง เพื่ออธิบาย เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อโฆษณาจูงใจ เพื่อปลุกใจ เพื่อสร้างจินตนาการ เพื่อล้อเลียนเสียดสี เพื่อบอกให้ทราบข้อเท็จจริง และเพื่อจุดประสงค์เฉพาะกิจ

ส่วน ดวงใจ ไทยอุบุญ (2545 : 14) แบ่งวัตถุประสงค์ของการเขียนไว้ใกล้เคียงกัน สรุปได้คือ เพื่อเล่าเรื่อง เพื่อโฆษณาจูงใจ เพื่อปลุกใจ เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือแนะน า เพื่อสร้าง

จินตนาการ เพื่อล้อเลียนเสียดสี เพื่อประกาศ เพื่อวิเคราะห์ เพื่อวิจารณ์ เพื่อท าข่าว และเพื่อเขียน เฉพาะกิจ

จากที่กล่าวมา อาจสรุปจุดมุ่งหมายของการเขียน ดังนี้

1. เพื่อให้ความรู้ มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น เพื่อเล่าเรื่อง เพื่ออธิบาย เพื่อท าข่าว เพื่อบันทึก เพราะวิเคราะห์วิจารณ์

2. เพื่อให้ความบันเทิง มีจุดหมายเฉพาะ เช่น เพื่อเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ เพื่อแสดง จินตนาการ เพื่อเฉพาะกิจบางอย่าง

3. เพื่อโน้มน้าวจิตใจ มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ เพื่อเขียน ปลุกใจ เพื่อเสียดสี ล้อเลียน เพื่อเสนอแนะ เพื่อแสดงความคิดเห็น เพื่อสรรเสริญ สดุดี และสร้างไมตรี

4. เพื่อติดต่อธุระ การงาน มีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น เพื่อติดต่อธุระ เพื่อท าข้อตกลง เพื่อขอความช่วยเหลือ

ประโยชน์ของกำรเขียน

การเขียนหนังสือมีความส าคัญ และจ าเป็นต่อชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ การเขียนท าให้

ผู้เขียนได้ท ากิจกรรมหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ท าให้เกิดการเรียนรู้กว้างขวางและลึกซึ้ง การเขียน มีประโยชน์นานัปการ ซึ่ง สิริวรรณ นันทจันทูล (2543 : 54) กล่าวถึงประโยชน์ของการเขียน สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. การเขียนเป็นการสื่อความหมายแสดงหลักฐานที่ชัดเจนต่อผู้อ่าน ช่วยให้ผู้เขียน เข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับหลักการและแนวคิดของเรื่องต่าง ๆ ด้วย

2. การเขียนเป็นกระบวนการที่อาศัยวิธีและช่องทางการท างานที่หลากหลาย ได้แก่ การ ใช้ความคิดและมโนภาพ ใช้ตัวอักษรในการถ่ายทอดความคิดและมโนภาพ รวมถึงประสบการณ์ต่าง ๆ ของตัวผู้เขียน การเขียนที่ดีก่อให้เกิดปัญญา เกิดการเรียนรู้ มีคุณค่า ผู้เขียนและผู้อ่านเข้าใจตรงกัน

3. การเขียนเป็นกิจกรรมที่ใช้พลังสมอง ผู้เขียนต้องใช้ทั้งความรู้สึก ความคิด และ การกระท า การเขียนจึงให้ความรู้ ความคิด การสร้างสรรค์ที่คงอยู่เป็นช่วงเวลานาน

4. การเขียนช่วยสร้างความเข้าใจ สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ท าให้เกิดบรรยากาศ ที่ดีต่อกัน และคิดสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามเป็นคุณแก่ตนเองและสังคม

5. การเขียนช่วยธ ารงรักษาภาษา ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ปรีชา ช้างขวัญยืน (2544 : 417 – 418) กล่าวถึงการเขียนเพื่อความเข้าใจว่า ช่วยให้ผู้อ่าน เกิดความเข้าใจ หรือค้นพบด้วยสติปัญญา การเสนอเรื่องแต่ละครั้งแก่ผู้อ่านจะมีจุดมุ่งหมาย ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ อารมณ์ความรู้สึก เป็นความคิดชนิดหนึ่งที่มนุษย์เราสื่อด้วยภาษา