• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

3. กำรสื่อสำรตำมวิธีกำร แบ่งเป็น 3 ประเภท

1.1 ถูกต้องตำมควำมหมำยจริง ๆ เช่น

1.2.3 กำรใช้ค ำบุพบทและค ำสันธำน กำรใช้บุพบท

บุพบท หมายถึง ค าที่ใช้น าหน้าค านาม หรือค าที่ท าหน้าที่ได้อย่างค านาม เพื่อให้ความเนื่องกันและได้ความสมบูรณ์ ท าให้รู้ว่าค าที่อยู่หลังบุพบทนั้นมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับค าที่

อยู่ข้างหน้าอย่างไร ดังนั้น การใช้ค าบุพบทต้องระมัดระวังความหมายและต้องใช้ให้ถูกต้อง เพราะ ถ้าใช้ค าบุพบทต่างกัน จะท าให้ความหมายของข้อความแตกต่างกันได้ เช่น

ฉันนั่งใต้รถยนต์

ฉันนั่งข้างรถยนต์

ฉันนั่งในรถยนต์

ฉันนั่งบนรถยนต์

ข้อความทั้ง 4 ประโยค ใช้ค าบุพบทต่างกัน จึงท าให้ความหมายทั้ง 4 ประโยค ต่างกันด้วย

กำรใช้ค ำสันธำน

สันธาน แปลว่า การต่อ เครื่องต่อ ค าสันธานจึงหมายถึงค าที่ใช้เชื่อมข้อความ ให้ติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน หรือใช้เชื่อมข้อความให้สละสลวย

ข้อควรระวัง เกี่ยวกับการใช้ค าสันธาน ก็คือต้องศึกษาความหมายของ ค าสันธานแต่ละค าให้ดีว่า ค านั้น ๆ เชื่อมความไปในทางใด มีความหมายไปทางเดียวกันหรือ มีความหมายขัดแย้งกัน หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน หรือแบ่งรับแบ่งสู้ หรือต้องการให้มีความหมายทาง เปรียบเทียบ ทั้งนี้ เพราะค าสันธานแต่ละค าจะมีความหมายในตัว ถ้าใช้อย่างไม่เข้าใจความหมาย ก็อาจจะสับสนได้ หรือแม้ว่าจะเป็นค าพวกเดียวกัน เช่น ค าว่า คล้าย ราว ราวกับ เหมือน เหมือนราว กับ ก็มิได้เหมือนกันทีเดียว เช่น

จมูกลูกชายของคุณเหมือนคุณราวกับมาจากเบ้าพิมพ์เดียวกัน จมูกลูกชายคุณคล้ายคุณมาก

จมูกลูกชายคุณเหมือนคุณมาก

จะเห็นว่า “คล้าย” ไม่ค่อยเหมือนนัก ส่วน “เหมือน” ก็ไม่เหมือนเท่ากับ

“เหมือนราวกับ” ซึ่งดูเหมือนมากกว่า “เหมือน” ค าเดียว

การใช้ค าสันธานมีความส าคัญมากในภาษาไทย เพราะสันธานช่วยท าให้

ข้อความต่อเนื่องเป็นเอกภาพและได้ความสมบูรณ์ ช่วยเน้นข้อความที่ต้องการสื่อสารและช่วยท าให้

ข้อความไพเราะสละสลวย การเลือกค าสันธานจึงต้องเลือกให้ถูกต้องและเหมาะสม

นอกจากหลักในการเลือกใช้ค าดังกล่าวแล้วในการสื่อสารผู้ส่งสารต้องใช้ค าให้เหมาะสม กับกาลเทศะ เหมาะกับบุคคล เหมาะกับข้อความหรือเหมาะกับบริบทและให้เหมาะกับความรู้สึก ในเรื่องนี้ มัลลิกา คณานุรักษ์ (2547 : 194 – 199) อธิบายถึง การใช้ค าให้เหมาะสม ดังนี้

1. เหมำะกับบุคคล การใช้ค าให้เหมาะกับบุคลเป็นเรื่องส าคัญเนื่องจากในสังคมไทยมี

คนต่างเพศ ต่างวัย ต่างฐานะ มีค าบางค าใช้เฉพาะเพศ ถ้าหากน ามาใช้ผิดเพศก็ดูเป็นเรื่องตลก เช่น 1.1 ลักษณะของผู้หญิง มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ อ้อนแอ้น แช่มช้อย อ่อนหวาน อ่อนโยน ละมุนละไม ละมุนละม่อม ฯลฯ

1.2 กิริยำอำกำรของหญิงสำว มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ กระเง้ากระงอด กระชดกระช้อย กระฟัดกระเฟียด กระตุ้งกระติ้ง สะบัดสะบิ้ง ดัดจริต ฯลฯ

1.3 ลักษณะของผู้ชำย มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ บึกบึน ล ่าสัน ทรหด กล้องแกล้ง ทะลึ่ง ตึงตัง กรุ้มกริ่ม

1.4 ลักษณะของเด็ก มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ จ ้าม ่า เจ้าเนื้อ ขี้อ้อน โยเย ขี้แย งอแง

1.5 ลักษณะของคนแก่ มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ งกเงิ่น หง่อม ย่องแย่ง ง่อนแง่น หง่อม แต่ถ้าคนแก่นั้นมีผิวพรรณสดใส ท่าทางกระปรี้กระเปร่า ก็จะใช้ค า กระชุ่มกระชวย

1.6 ลักษณะของคนที่แข็งแรงและขยันขันแข็ง มีค าที่ใช้ได้ ดังนี้ คล่องแคล่ว ว่องไว กระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉง ทะมัดทะแมง

พึงสังเกตว่าค าบางค าเหมาะที่จะใช้กับผู้อาวุโสกว่า บางค าเหมาะกับเด็ก ๆ บางค าเหมาะ กับภิกษุสงฆ์ บางค าเหมาะกับเชื้อพระวงศ์หรือพระมหากษัตริย์เท่านั้น แม้ว่าค านั้น ๆ จะแปลแล้วมีความหมายเหมือนกัน แต่การเลือกค ามาใช้นั้นจะเอามาใช้แทนกันไม่ได้ การเลือกค า ให้เหมาะกับบุคลจึงเป็นเรื่องส าคัญที่ต้องฝึกฝน

2. เหมำะกับโอกำส โอกาสในที่นี้หมายถึงโอกาสที่เป็นทางการที่เป็นพิธีการและโอกาส ที่เป็นกันเองแบบไม่มีพิธีรีตอง โอกาสที่ไม่เป็นทางการจะใช้ค าอย่างไรก็ได้ ถ้าผู้ส่งสารเข้าใจ ก็พอแล้ว แต่โอกาสที่เป็นทางการหรือเป็นพิธีการ ซึ่งมักใช้พูดในงานพิธีการต่าง ๆ หรือใช้ในภาษา เขียนอย่างเป็นแบบแผนจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ค าเหล่านี้

2.1 ค ำต ่ำ (Vulgarism) ได้แก่ ค าหยาบคาย เช่น กู มึง เหี้ย ค าด่าต่าง ๆ ค าสบถ สาบาน ค าเสียดสี ค าประเภทนี้ไม่เหมาะที่จะน ามาใช้ในการพูดและเขียนที่เป็นทางการ ยกเว้น ในข้อเขียนบางประเภท เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น บทละคร ฯลฯ ที่ต้องการความสมจริงเท่านั้น

2.2 ค ำภำษำถิ่น (Provincial) ได้แก่ ค าที่ใช้อยู่ตามท้องถิ่นของภาคต่าง ๆ ทั้ง ภาคเหนือ อีสาน ใต้ และตะวันออก เนื่องจากค านี้จะรู้และเข้าใจความหมายกันเฉพาะหมู่คน ที่อยู่ในท้องถิ่นเดียวกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นภาษากลางหรือภาษามาตรฐานที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน ด้วยเหตุนี้ในโอกาสที่เป็นทางการไม่ควรใช้ภาษาถิ่นเลย

2.3 ค ำภำษำพูด (Colloquial) ได้แก่ ค าที่ใช้ในภาษาพูดทั่วไป เช่น เบ้อเริ่ม (ใหญ่) เยอะแยะ (มากมาย) เจอะ (พบ) ยังงี้ (อย่างนี้) ใช่มั๊ย (ใช่หรือไม่, ใช่ไหม) ขี้เกียจ (เกียจคร้าน)

2.4 ค ำสแลง (Slang) ได้แก่ ค าที่กลุ่มวัยรุ่นสร้างขึ้นใช้เพื่อความสะใจ ค าเหล่านี้

มักจะอยู่ได้ไม่นาน มีการใช้กันชั่วครั้งชั่วคราว และใช้เฉพาะหมู่เท่านั้น บางครั้งความหมายก็

คลาดเคลื่อนจากความหมายปกติ เป็นภาษาคะนองปาก เช่น เก๋ากึ๊ก (แก่ที่สุด) ยากส์ (ยากมาก ๆ) ชิมิ

(ใช่ไหม)

2.5 ค ำภำษำโฆษณำ ได้แก่ ค าที่ใช้ในวงการโฆษณา ทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุ

โทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งต้องการให้สะดุดหู สะดุดตา มากกว่าจะค านึงถึงความถูกต้องของภาษา เช่น รสดัง รสโต กลิ่นสะอาด ถือว่าค าพวกนี้สื่อความหมายได้ แต่ยังไม่ยอมรับในภาษาราชการ คือ ถ้าเป็นการใช้ภาษาระดับทางการหรือพิธีการจะไม่ใช้ค าเหล่านี้สื่อความหมาย เนื่องจากไม่ตรง ความหมาย ไม่ตรงตามความเป็นจริง และบางทีก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เช่น กลิ่นที่เราดมได้ก็มี

กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น ส่วนกลิ่นสะอาดดมไม่ได้ ความสะอาดเห็นได้ด้วยตา และรสชาติ

ก็เช่นเดียวกัน มีแต่รสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม รสฝาด รสขม ไม่มีรสดัง เพราะดังรับรู้ทางหู ไม่ใช่ลิ้น ใช้ในโอกาสที่ใช้ภาษาอย่างเป็นทางการไม่ได้ ค าเหล่านี้ใช้อุปมาอุปไมย โดยอาศัยแนวเทียบจากค า ที่ใช้อยู่แล้ว เช่น ตาหวาน ความจริงหวานจะรู้ได้ต้องชิมหรือเสียงแหลม ปกติแหลมเห็นได้ด้วยตา ไม่ใช่ได้ยินด้วยหู แต่ใช้กันจนเคยชิน

2.6 ค ำภำษำต่ำงประเทศ (Foreign Word) ได้แก่ ค าที่เอาค าภาษาต่างประเทศมาใช้

โดยไม่แปลเป็นภาษาไทยก่อน โดยมากมักเป็นค ามาจากภาษาอังกฤษ ถ้ามีค าแปลเป็นภาษาไทยใช้

อยู่ด้วย ก็ไม่ควรใช้ค าภาษาต่างประเทศในโอกาสที่เป็นทางการ เช่น ฟรี (ได้เปล่า, ให้เปล่า) ไอเดีย (ความคิด) กิ๊ฟ (พรสวรรค์) จับรถ (โดยสารรถ) เคลียร์ (ชัดเจน, แจ่มแจ้ง)

2.7 ค ำย่อ มักเป็นค าที่ใช้เฉพาะแห่งไม่เป็นที่เข้าใจทั่วไปจึงไม่ควรใช้ ถ้าสามารถ เขียนเต็มได้ควรเขียนให้เต็ม ไม่ควรเขียนค าย่อ อาจยกเว้นได้เฉพาะค าย่อเกี่ยวกับวุฒิ

ประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร ยศทหารต ารวจ อักษรย่อของหน่วยงาน กระทรวง ทบวง กรม ของ ทางราชการ ซึ่งเป็นตัวย่อตายตัว ส่วนค าย่ออื่น ๆ ไม่ควรใช้

2.8 ค ำศัพท์ที่เข้ำใจยำก ได้แก่ ค าที่ต้องแปลอีกทีหนึ่งจึงจะเข้าใจนั้นไม่ควน ามาใช้

เช่น

เทียร (หมายถึง ย่อม) เยีย (หมายถึง ท า)

ปริเฉท (หมายถึง บท ข้อความที่ก าหนดให้เป็นตอน ๆ) 2.9 ค ำเฉพำะกลุ่ม (Jargon) ได้แก่ ค าที่สร้างขึ้นใช้ภายในกลุ่มเฉพาะของตนเท่านั้น จึงจะเข้าใจความหมาย คนนอกกลุ่มจะไม่เข้าใจจนกว่าจะได้ศึกษาค านั้นเป็นพิเศษ เช่น “ท าประตู”

ส าหรับนักฟุตบอล หมายถึง ยิงลูกเข้าประตูได้คะแนน แต่ส าหรับโสเภณี หมายถึง รับแขก

2.10 ค ำศัพท์บัญญัติ (Technical Term) ได้แก่ ค าที่สร้างขึ้นใช้ในกิจการอย่างใด อย่างหนึ่ง ใช้ได้แต่มีข้อแม้ว่าควรวงเล็บภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นค าศัพท์เดิมประกอบ คนทั่วไปมัก ไม่เข้าใจ ส่วนมากจะเป็นค าที่ใช้ในวงการศึกษา วงการวิทยาศาสตร์ วงการแพทย์ ฯลฯ ถึงแม้ว่าจะ ใช้นานแล้วแต่ก็ไม่แพร่หลาย จึงสื่อความหมายได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ต้องการ ถ้าจ าเป็นต้องใช้

ค าแบบนี้อย่างชนิดหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ควรจะเขียนขยายความเพิ่มหรือวงเล็บภาษาอังกฤษก ากับไว้

ด้วยเพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น

2.11 ค ำผวน ได้แก่ ค าที่อ่านย้อนกลับสลับสระกัน แล้วได้ความหมายใหม่ บางครั้ง กลายเป็นความหมายหยาบคาย หยาบโลนก็มี ไม่เหมาะที่จะน ามาเป็นภาษาส าหรับใช้ในโอกาสที่

เป็นทางการ เช่น

พวกแขกตี้ (พวกขี้แตก)

กากินขี้หมู (กูกินขี้หมา)

แขกดอยทั้งนั้น (คอยแดกทั้งนั้น)

2.12 ค ำที่พ้นสมัย (Obsolete) ได้แก่ ค าโบราณที่คนยุคใหม่ไม่เข้าใจความหมายแล้ว ก็ไม่ควรน ามาใช้อีก เช่น

อิน หมายถึง แก่วัด อี๋ หมายถึง สนุก

ทุ่มเหว หมายถึง ยกย่อง, สรรเสริญ

3. เหมำะกับข้อควำมและบริบท (Context) มัลลิกา คณานุรักษ์ (2547 : 199 – 201) กล่าวว่า การใช้ค าที่เหมาะกับข้อความและบริบท ได้แก่ การใช้ค าที่เหมาะกับข้อความหรือบริบท นั้นๆ ทั้งนี้เนื่องจากค าในภาษาไทยบางค ามีความหมายคล้าย ๆ กัน แต่มีความหมายแฝงต่างกัน ใช้แทนกันไม่ได้ ดังนั้น เมื่อข้อความหรือบริบท (Context) ที่ห้อมล้อมต่างกัน ค าที่ใช้ก็ต้องต่างกัน ตามความเหมาะสมด้วย เช่น

“เขาพยายามอดกลั้นท างานให้เสร็จในวันนี้”

ค าว่า “อดกลั้น” มักใช้กับความรู้สึก ใช้กับจิตใจ แต่ถ้า “อดทน” มักใช้กับร่างกาย ใช้กับการท างาน ค าที่เหมาะกับข้อความนี้ ก็คือ “อดทน” มิใช่ “อดกลั้น”

ใช้ค ำเหมำะกับควำมรู้สึก ปัญหาการใช้ค าไม่เหมาะกับความรู้สึกที่พบบ่อย ๆ คือ ค าว่า

“ถูก” ในภาษาไทยไม่นิยมใช้ค าว่า “ถูก” แสดงกรรมวาจก เว้นแต่จะใช้กับเรื่องที่ไม่ดี เช่น ถูกตี ถูก ต่อย ถูกด่า ถูกลงโทษ คงจะยกเว้น “ถูกลอตเตอรี่” เท่านั้น ที่มีความหมายในทางที่ดี

ตัวอย่างการใช้ค าไม่เหมาะกับความรู้สึก

“ฉันถูกเชิญขึ้นไปกล่าวค าอวยพรแทนเพื่อนๆ”

ค าที่เหมาะกับความรู้สึก คือ ได้รับ

“รองศาสตราจารย์มัลลิกาดีใจจนน ้าตาไหลที่จะต้องไปรับรางวัลจากผู้ว่าราชการ จังหวัดปัตตานี”

ค าที่เหมาะกับความรู้สึก คือ “จะได้”