• Tidak ada hasil yang ditemukan

ภาษาที่ปรากฏในงานเขียนของพระมหาสมปองนั้นมีความโดดเด่น เข้าใจง่าย ผู้อ่านมีความ เพลิดเพลินและสนุกสนานกับการอ่าน หลักธรรมค าสอนที่พระมหาสมปองต้องการให้เข้าถึง พุทธศาสนิกชนทุกเพศทุกวัยนั้น จึงบรรลุวัตถุประสงค์ที่ท่านได้มุ่งหมายเอาไว้ ผู้อ่านจะซึมทราบ ธรรมะไปพร้อมกับ ความเพลิดเพลินในการอ่าน ทั้งผู้อ่านยังสามารถน าธรรมะที่ได้รับไปปรับใช้

ในการด าเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี การศึกษาท่วงท านองทางภาษาในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโตในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาลักษณะที่โดดเด่นในงานเขียนของพระมหาสมปอง 3 ประเด็น ได้แก่ การเลือกใช้ค า การเลือกใช้ประโยค และการเลือกใช้ส านวน สุภาษิต ค าคม ดังรายละเอียด ต่อไปนี้

การเลือกใช้ค า

ค าเป็นหน่วยเล็ก ๆ ในโครงสร้างภาษา แต่ค ากลับเป็นพื้นฐานส าคัญในการสร้างประโยค ที่สมบูรณ์ และน าไปสู่ข้อความที่งดงามสื่อความหมายได้ชัดเจน ดังนั้น ผู้เขียนจึงต้องรู้จักค าให้มาก และมีคลังค าไว้ใช้ได้ตลอดเวลา ไม่เพียงเท่านี้ผู้เขียนยังต้องรู้จักเลือกใช้ค านั้นให้ถูกต้อง เหมาะสม และงดงาม ดังนั้น การเลือกใช้ถ้อยค าให้เหมาะแก่บริบทและโอกาสจึงเป็นการส่งเสริมให้งานเขียน น่าสนใจได้อีกทางหนึ่ง

จากการวิเคราะห์การใช้ท่วงท านองทางภาษาหรือลีลาในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ในด้านการเลือกใช้ค า พบว่า พระมหาสมปองได้พิถีพิถันในการเลือกใช้ถ้อยค าให้เหมาะ กับถ้อยความได้อย่างงดงาม ค าที่ผู้เขียนเลือกมาใช้ในแต่ละตอนล้วนแล้วแต่มีความหมายลึกซึ้งกินใจ สื่อความหมายชัดเจนและเสริมความให้กระจ่างชัด ผู้อ่านไม่รู้สึกเบื่อในการอ่าน ทั้งยังเข้าใจเนื้อหา ธรรมะที่คนทั่วไปมักมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่ผู้เขียนกลับเลือกสรรถ้อยค ามาใช้ในการอธิบาย จนกลายเป็นเรื่องใกล้ที่ตัวได้โดยง่าย ซึ่งจากการวิเคราะห์งานเขียนของพระมหาสมปองอย่างละเอียด พบว่า ผู้เขียนมีการเลือกใช้ค าเพื่อสื่อความในงานเขียนอย่างเด่นชัด 10 รูปแบบ โดยผู้วิจัยเรียงล าดับ การเลือกใช้จากมากไปหาน้อย ดังนี้ การใช้ค าซ้อน การใช้ค าภาษาอังกฤษปนภาษาไทย การใช้ค า สัมผัสคล้องจอง การใช้ค าสแลง การใช้ค าสร้างจินตภาพ การใช้ค าที่มีการเล่นค า การใช้ค าที่มี

ความหมายโดยนัย การใช้ค าสร้างใหม่ การใช้ค าภาษาถิ่น และการใช้ค าโบราณ โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

1. การใช้ค าซ้อน ค าซ้อนเป็นค าที่เกิดจากการน าหน่วยค าอิสระ ตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป มาประกอบเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ หน่วยค าที่น ามาประกอบเข้าด้วยกันนั้น จะมีความหมายเหมือนกัน หรือเป็นไปในท านองเดียวกัน หรืออาจเป็นหน่วยค าที่มีความหมายต่างกันในลักษณะตรงกันข้าม ซึ่งจากการศึกษางานเขียนของพระมหาสมปอง พบว่า พระมหาสมปองเลือกใช้ค าซ้อนในการสื่อสาร

เป็นจ านวนมาก ทั้งนี้ เพื่อต้องการสื่อความให้เกิดความชัดเจนหนักแน่นและท าให้ผู้อ่านเกิดภาพ ในมโนคติอย่างชัดเจน นอกจากนี้ การที่พระมหาสมปองใช้ค าซ้อนในงานเขียนยังเป็นการสร้าง อรรถรสในการอ่าน เพราะค าซ้อนส่วนใหญ่จะมีลักษณะเด่นในด้านเสียงสัมผัสคล้องจองเป็นจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการซ้อนสระหรือซ้อนพยัญชนะก็ส่งผลให้เกิดความไพเราะในเนื้อความได้ ผู้อ่านจึง เพลิดเพลินในการอ่าน ถ้อยความในเนื้อหาจึงค่อย ๆ ซึมทราบเข้าถึงผู้อ่านได้อย่างง่ายดาย

ลักษณะของค าซ้อนที่ปรากฏในงานเขียนของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโตนั้น มีความ หลากหลาย ซึ่งจากการวิเคราะห์ ผู้วิจัยพบว่า มีทั้งหมด 6 ลักษณะ ได้แก่ การซ้อนเสียง การซ้อนค า ที่มีความหมายเหมือนกัน การซ้อนค าในกลุ่มเดียวกัน การซ้อนค าตรงกันข้าม การซ้อนค าสัมผัส และการซ้อนค าแบบมีจังหวะในการซ ้าค า โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.1 การซ้อนเสียง การซ้อนค าโดยใช้เสียงเป็นรูปแบบในการสรรค านั้น เป็นลักษณะ เด่นของพระมหาสมปองที่ใช้ในงานเขียน โดยมีทั้งลักษณะของการน าค าที่มีเสียงพยัญชนะต้น เหมือนกันมาซ้อนกันและค าที่มีเสียงสระเดียวกันมาซ้อนกัน ซึ่งการซ้อนในลักษณะนี้จะท าให้เกิด ความไพเราะในการอ่านและท าให้เนื้อความมีความหนักแน่น เกิดความชัดเจนในความรู้สึกของ ผู้อ่าน และช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเพลิดเพลินในการอ่าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ลูกบางคนสะบัดสะบิ้งใส่แม่ แม่น่าเบื่อ จุกจิก น่าร าคาญ ใครที่เคยท าตัว แบบนี้ก็เปลี่ยนพฤติกรรมใหม่ซะ อย่างที่อาตมากล่าวไปแล้วว่าเราต้องรู้จักจับคีย์เวิร์ด และตีความสารให้เป็น ไม่ใช่พ่อแม่เรามาพูดยังไงก็เข้าใจไปอย่างนั้น

(ธรรมะ Delivery ฉบับ Unlimited Edition, 2553 : 108) ขยะในใจเราเราเป็นคนเลือกรับเข้ามาเอง ไม่ใช่เพราะใคร ยัดเยียด ให้

(Browser ความสุข Delete ทุกข์ออกจากใจ, 2555 : 147) คุณโยมคิดอะไร... คิดว่า สามีภรรยานั่น อยากหรือ…ใครทุกคนก็รักตัวกลัวตาย ด้วยกันทั้งนั้น มุมที่สองคนนั่นคิด คือ ก่อนเกิดเหตุ ถ้าเขาสองคนไม่ขอลงจากรถคันนั้น รถจะวิ่งผ่านจุดที่หินกลิ้งลงมาทับไปก่อนเพื่อนผู้โดยสารทุกคน จะรอดชีวิตไปด้วย ความปลอดภัยรถคันนั้นคงวิ่งผ่านจุดมรณะไปอย่าง ฉิวเฉียด

(สุขเวอร์, 2555 : 55)

และที่ส าคัญคือท าให้คิดได้ว่าจริง ๆ แล้วเรา เลินเล่อ กับการใช้ชีวิตมากไปเลือก มากไปคิดมากไป

(ปลดทุกข์...ปล่อยวางกันบ้างเถอะโยม, 2556 : 43)

ยิ่งเด็กสมัยนี้ใช้จ่าย ฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักคุณค่าของเงิน ไม่รู้ว่ากว่าพ่อแม่จะได้เงิน มาล าบากแค่ไหน อยากได้อะไรก็ซื้อโดยไม่ค านึงถึงฐานะทางบ้าน

(ธรรมะเฮฮา ฉบับ สุขอั๊ยยะ ฮักจุงเบย, 2556 : 53) โยม...คนโสดมีบ้างที่ต้องเหงาและร้องไห้ แต่ยังดีกว่าคนมีคู่แล้วต้อง ฟูมฟาย เพราะอีกฝ่าย ทอดทิ้ง กัน เรื่องนี้คนโสดตัดปัญหาไม่ได้เลย เขาไม่ต้องกังวลว่าวันไหน จะถูกทิ้ง วันไหนจะต้องน ้าตาเช็ดหัวเข่า

(โยมฮู้บ่อ อยากมีความสุขจังฮู้ ยะจะได, 2557 : 64) จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าการเลือกใช้ค าซ้อนเสียงของพระมหาสมปอง เป็นการซ้อนเสียงพยัญชนะ คือ มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเสียง “ฟ” เช่น ฟุ่มเฟือย ฟูมฟาย เสียง “จ” เช่น จุกจิก เสียง “ล” เช่น เลินเล่อ เป็นต้น การซ้อนเสียงนี้ท าให้

งานเขียนมีความไพเราะสละสลวย ช่วยให้การอ่านราบรื่นไม่สะดุดและที่ส าคัญการเลือกใช้

ค าซ้อนเสียงในงานเขียนช่วยให้น ้าหนักของเนื้อความมีความหนักแน่น สื่อความหมายชัดเจน และ สื่ออารมณ์ของเนื้อความที่ผู้เขียนต้องการสื่อได้เป็นอย่างดี

1.2 การซ้อนค าที่มีความหมายเหมือนกัน การซ้อนค าที่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกัน เป็นการซ้อน เพื่อน าค าที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกันมาซ้อนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ค าที่เกิดใหม่นั้นมีความหมายที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในงานเขียนของพระมหาสมปองได้ปรากฏค า ซ้อนในลักษณะนี้เป็นจ านวนมาก แสดงให้เห็นถึงความสามารถของพระมหาสมปองในการสรรค า ที่มีความหมายเหมือนกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ข้อความในงานเขียนมีคุณค่าเกิดความชัดเจนในด้าน ความหมาย สร้างความลึกซึ้งกินใจและถ่ายทอดความหมายสู่ผู้อ่านได้อย่างแจ่มแจ้ง ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ตามผู้เขียนได้เป็นอย่างดี และนอกจากพระมหาสมปองจะน าค าที่มีความหมายเหมือนกันมาซ้อนกันแล้ว ผู้เขียนยังได้เลือกใช้ค าซ้อนที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกันมาซ้อนกัน ท าให้ค าซ้อนที่ปรากฏใน งานเขียนของพระมหาสมปองนั้นมีความไพเราะทางเสียงและงดงามชัดเจนทางความหมาย ทั้งยังเพิ่ม คุณค่าให้กับงานเขียน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ความคิดเห็นอย่างที่ผู้ที่ผ่านโลกมามาก ย่อมเข้าใจว่าที่ใดมีรัก ที่นั่นก็มีความ เกลียดชัง เมื่อมีความรู้สึกชื่นชมก็มีความรู้สึกอิจฉา ที่ใดมีการยกย่องบูชา ที่นั่น ก็มีความมุ่งร้าย ที่ใดมีความส าเร็จ ที่นั่นก็มีความหวาดหวั่น เราต้องอาศัยปัญญาจะได้

เข้าใจสัจธรรมของมนุษย์

(ค าคม ธรรมฮา พระมหาสมปอง, 2555 : 96)

ความทุกข์จริงอายุสั้นนิดเดียวแต่เราชอบต่ออายุให้ความทุกข์ ด้วยการคิด วนเวียน ซ ้าซากเรื่องเดิม ๆ

(สุขเว่อร์, 2555 : 32) โยมลองมาอ่านเรื่องนี้ดูบ้างจะได้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ได้เลวร้ายเสมอไป

(พระมหาสมปอง ฉบับ ขอให้โชคดีนะโยม, 2556 : 37) แต่ขณะที่ก าลังถวายการนวด อย่างตั้งอกตั้งใจและปลื้มปีติ....ทันใดนั้นเอง...

หลวงพ่อก็ถีบเปรี้ยงเข้าที่ยอดอก ซึ่งก าลังพองโต...ด้วยความรู้สึกภาคภูมิของอาตมา จนล้มก้นกระแทกอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว... แล้วท่านก็ต าหนิว่า...จิตใจไม่มั่นคง...พอไม่ได้

ดั่งใจก็ขุ่นเคืองหงุดหงิด...เมื่อได้ตามปรารถนาก็ฟูฟ่อง...

(ธรรมะชูใจ, 2556 : 103) บางคนสุขเพราะ ปลดเปลื้อง ออกจากพันธนาการ คือสิ่งยึดเหนี่ยวที่ท าให้ทุกข์

ไม่ยึดติดกับหัวโขน เป็นคนที่ยิ่งใหญ่ แต่ท าตัวเล็กนิดเดียวแบบนี้ไปอยู่ที่ไหนก็มี

ความสุข เพราะลดอัตตาได้

(ธรรมะเฮฮา ฉบับ สุขอั๊ยยะ ฮักจุงเบย, 2556 : 75) พวกนี้จะเติบโตมากับเทคโนโลยี ชีวิตจึง เร่งรีบ เพื่อให้ทันเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ท าให้พลอยเป็นคนใจร้อน อย่างก าลังโหลดรูปถ้า 3 นาที ภาพยัง ไม่มา ก็อาจจะซื้อคอมพ์ หรือเปลี่ยนมือถือใหม่เลยก็ได้นะ

(ชีวิตไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นนะโยม, 2557 : 99) จากตัวอย่างที่น ามาประกอบงานวิจัยนี้ จะเห็นว่า งานเขียนของพระมหาสมปองเลือกใช้

ค าซ้อนที่มีความหมายเหมือนกันเพื่อการสื่อความหมายที่ชัดเจน หนักแน่น และเป็นการเน้น ความส าคัญของข้อความนั้น ๆ ไม่เพียงเท่านี้จะสังเกตได้ว่าการซ้อนค าที่มีความหมายเหมือนกัน ส่วนใหญ่เป็นการซ้อนค าที่มีความหมายเหมือนกันและพยัญชนะเสียงเดียวกัน เช่น จิตใจ ขุ่นเคือง ปลดเปลื้อง เร่งรีบ และวนเวียน เป็นต้น การซ้อนค าในรูปแบบนี้ท าให้งานเขียนนอกจากจะสื่อความ กระจ่างแล้วยังท าให้เกิดความงามทางภาษา เกิดความไพเราะกินใจ ผู้อ่านเพลิดเพลินในการอ่าน ถ้อยความที่ผู้เขียนต้องการสื่อ จึงซึมทราบเข้าสู่ผู้อ่านได้โดยง่าย เป็นอุบายในการสร้างสรรค์ให้

งดงามอีกประการหนึ่งของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต