• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1. ควรบอกให้ทราบว่าจะชักชวนให้ท าอะไร

2. ควรอธิบายให้เข้าใจว่าสิ่งที่ชักชวนคืออะไร หรือเป็นอย่างไร

3. ควรชี้ให้เห็นว่า ถ้าท าตามที่ชักชวนจะก่อให้เกิดผลดีต่อตนและส่วนรวมอย่างไร 4. อาจจะชี้ให้เห็นผลเสียที่เกิดขึ้น ถ้าไม่ท าตามที่ชักชวน

5. ควรให้รายละเอียดต่าง ๆ ให้มากพอที่จะท าให้ผู้รับการชักชวนกระท าตาม

6. ในการชักชวนไม่ควรเป็นการบังคับให้ท าตาม ควรเปิดโอกาสให้ผู้รับการชักชวนคิด ตกลงด้วยตนเองว่า ควรจะท าตามหรือไม่

วิธีการเขียนเพื่อจูงใจ มีวิธีการใหญ่ ๆ 4 วิธี คือ

1. การให้เหตุผลมีวิธีการจากการให้ข้อเท็จจริง ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่รู้จักกันดีอยู่แล้วหรือ เป็นข้อโต้แย้งใหม่ ๆ จากนั้นจึงให้เหตุผลสนับสนุนและสรุปเพื่อให้เห็นจริง ข้อส าคัญเหตุผล ที่ยกมาสนับสนุนนั้น จะต้องสัมพันธ์สอดคล้องกับข้อเสนอที่ต้องการพิสูจน์ ซึ่งอาจใช้วิธีการ ให้เหตุผลที่มีอยู่หลายวิธี ได้แก่

1.1 วิธีนิรนัย (Deductive) เป็นการอ้างสิ่งที่คนส่วนมากยอมรับอยู่แล้ว เพื่อสนับสนุน ข้อเสนอใหม่ที่อ้างขึ้น เช่น “อาหารท าให้ร่างกายของคนเราเจริญเติบโต...เป็นอาหารส าเร็จรูปอย่าง ใหม่ที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับร่างกายเช่นกัน”

1.2 วิธีอุปนัย (Inductive) เป็นการอ้างกรณีเฉพาะบางกรณีเพื่อน าไปสู่ข้อสรุป ที่เป็นส่วนรวม ท าให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่การเห็นตัวอย่างจากกรณีเฉพาะเพียงบางกรณีนั้นอาจท า ให้ข้อสรุปผิดพลาดได้ เช่น “สมศักดิ์เป็นคนที่มีสุขภาพฟันแข็งแรง เขาแปรงฟันด้วยยาสีฟัน...

พิสูจน์ให้เห็นได้ว่า ผู้ที่ใช้ยาสีฟันยี่ห้อนี้เท่านั้น จึงจะมีฟันสมบูรณ์แข็งแรง”

1.3 วิธีสาเหตุสัมพันธ์ อาจเป็นเหตุผลจากเหตุไปหาผล หรือจากผลไปหาเหตุ หรือ จากผลหนึ่งไปหาผลหนึ่งก็ได้ เช่น

เหตุไปหาผล หนูจะต้องแปรงฟันทุกวัน ฟันหนูจะได้ไม่ผุ

ผลไปหาเหตุ รถผมวิ่งได้เรียบ เพราะใช้น ้ามัน...

2. การเร้าอารมณ์ อารมณ์เป็นแรงผลักดันที่ส าคัญมนุษย์ หากผู้อ่านมีทัศนคติที่ดี

ต่อเรื่องที่เขียนอยู่ก่อนแล้ว ย่อมจะใช้การเร้าอารมณ์เพื่อชักจูงได้โดยง่าย โดยเฉพาะการชักจูง กลุ่มบุคคลที่มีคุณสมบัติบางประการคล้ายคลึงกัน เช่น กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มนักเรียน กลุ่มกรรมกร เป็นต้น ภาษาเป็นเครื่องมืออย่างดียิ่งในการเร้าอารมณ์ เพราะค าศัพท์ในภาษาไทยนั้นในความหมาย หนึ่งๆ มีอยู่หลายระดับและหลายศัพท์ด้วยกัน

3. การใช้บุคลิกหรือชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องจูงใจ อาจเป็นชื่อเสียงบุคลิกของผู้เขียนเอง หรือบุคคลที่ผู้เขียนอ้างถึงก็ได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่มักได้ผล เพราะคนทั่วไปให้ความเชื่อถือชื่อเสียง บุคลิกดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว ผู้เขียนจึงสามารถน ามาอ้างเพื่อเป็นเครื่องยืนยันได้อีกครั้งหนึ่ง เป็นวิธีการ ที่ใช้มากในวงการโฆษณาในปัจจุบัน เช่น โฆษณาสบู่ แชมพู เป็นต้น

4. การเสนอแนะ เป็นวิธีการจูงใจหลีกเลี่ยงความคิดเห็นโต้แย้ง เป็นการจูงใจทางอ้อม เพราะคนเรามักไม่ชอบให้คนอื่นบอกกล่าวตรง ๆ และมักกระท าตามกันหากไม่ทันฉุกคิดการ เสนอแนะจึงเป็นการจูงใจที่ยึดหลักการท าตามกัน โดยไม่ทันไตร่ตรองและไม่ให้รู้สึกตัวเป็นส าคัญ องค์ประกอบที่ช่วยให้เราเสนอแนะได้ผล ได้แก่

4.1 การให้ความเป็นส่วนหนึ่งของผู้อ่าน เช่น ใช้ภาษาวัยรุ่นเมื่อเขียนให้วัยรุ่นอ่าน ใช้ภาษาธรรมะ เมื่อใช้สื่อนิตยสารทางศาสนา เป็นต้น หรืออาจใช้สรรพนามที่ดูเป็นกันเอง เช่น เรา ผม คุณ เธอ ท่าน เป็นต้น

4.2 เสนอสิ่งที่เข้ากับอุปนิสัย ความรู้สึก ความเชื่อ ความปรารถนาของผู้อ่านกลุ่ม นั้น ๆ เช่น เสนอเรื่องให้หนุ่มสาวอ่าน อาจต้องพูดถึงความรักแบบเพ้อฝัน เป็นต้น

4.3 สังเกตดูระดับความรู้สึก ความสนใจและวัยของผู้อ่าน รวมทั้งทัศนคติของ ผู้อ่านด้วย เพื่อปรับการเสนอแนะให้ตรงจุดกับกลุ่มผู้อ่านนั้น

4.4 ชื่อเสียงของผู้เขียนเอง ย่อมมีผลต่อสิ่งที่เสนอแนะ เพราะฉะนั้นควรเสนอแนะ ในสิ่งที่ผู้เขียนสร้างศรัทธาและความน่าเชื่อถือเอาไว้

3. กำรเขียนเพื่อให้ควำมบันเทิง การเขียนเพื่อให้ความบันเทิง คือ การเขียนที่มุ่งให้

ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ให้ความผ่อนคลาย มุ่งสร้างจินตนาการเป็นหลัก ได้แก่ การเขียนบท ละคร นวนิยาย เรื่องสั้น บทกวี เป็นต้น ผู้เขียนนอกจากจะต้องศึกษารูปแบบการเขียนแต่ละประเภท แล้ว ยังต้องรู้จักการสร้างภาพพจน์ การเล่นถ้อยค าส านวนต่าง ๆ มุ่งเล่นเรื่องกลวิธีการใช้ถ้อยค า เป็นหลัก

การเขียนในเชิงบันเทิงคดีนั้น มีทั้งลักษณะการเขียนที่เหมือนหรือคล้ายกับภาษาในการ เขียนข้อมูลข่าวสาร เพราะเป็นการเขียนเล่าเรื่องจากความจริงที่เกิดขึ้นแต่แตกต่างกันในวิธีเสนอ เนื้อหา เพราะได้มีการเพิ่มเติม ตัดตอน ดัดแปลงความจริงบางส่วนไปตามจินตนาการของผู้เขียน บ้าง โดยการใช้ส านวนโวหารเพื่อให้เกิดภาพพจน์และการพรรณนาต่าง ๆ จึงเกิดความแตกต่างจาก การเขียนสารัตถะคดีเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารซึ่งมุ่งเสนอข้อมูลจากข้อเท็จจริง โดยไม่มีแต่งเติม จินตนาการใด ๆ ใช้วิธีการเขียนเรื่องที่เรียบง่าย ใช้โวหารภาพพจน์ได้บ้าง แต่ไม่อาจใช้ทุกประเภท ของส านวนโวหารเท่ากับบันเทิงคดี

การเขียนเรื่องบันเทิงคดีนั้น มีบางส่วนที่ใช้ลักษณะการเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ มาประกอบด้วย ทั้งนี้ เพื่อโน้มน้าวใจให้เกิดความเข้าใจ เห็นใจสงสารตัวละคร หรือการด าเนินชีวิต ตามเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ด้วย การเขียนบันเทิงคดีจึงเป็นลักษณะการเขียนที่ต้องมีองค์ประกอบ หลายอย่าง ทั้งการมีข้อมูลจากความจริงหรือชีวิตจริง การใช้จินตนาการทางภาษาและถ้อยค า ในการเขียนเชิงพรรณนาให้เกิดความสละสลวย ประทับใจ และโน้มน้าวผู้อ่านให้เกิดความสนุก และช่วยติดตามตั้งแต่ต้นจนจบด้วย

ท่วงท ำนองทำงภำษำในกำรเขียน (Style)

ในงานวิจัยฉบับนี้ก าหนดให้ ค าว่า “ท่วงท านองทางภาษา” มีความหมายตรงกับค าว่า

“ลีลา” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Style จากการศึกษา พบว่า มีนักวิชาการหลายท่านเรียกค าว่า

“ท่วงท านองทางภาษา” (Style) ที่แตกต่างกัน เช่น ท่วงท านองการแต่ง ท านองเขียนลีลาหรือ วัจนลีลา เป็นต้น แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นชื่อเรียกที่มีความหมายตรงกับค าศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Style นักวิชาการหลายท่านให้ความหมายและแนวทางในการศึกษาท่วงท านองทางภาษาหรือลีลา ของนักเขียนไว้ต่างๆกันสรุปสาระส าคัญได้ ดังนี้

เปลื้อง ณ นคร (2542 : 78 – 81) เรียก “ท่วงท านองทางภาษา (Style)” ว่า “ท านองเขียน”

และได้อธิบายท านองเขียนไว้ว่า ท านองเขียนเป็นลักษณะหรือแบบการแต่งหนังสือเป็น ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เดิมเราใช้ค ารวม ๆ ว่าฝีปาก ส านวนหรือคารมแต่ถ้าเป็นค าศัพท์

ทางวิชาการก็ใช้ค าว่าท านองเขียนหรือ Style ท านองเขียนนั้นเป็นของแต่ละคนจะลอกเลียนกัน ไม่ได้ ในที่นี้ เปลื้อง ณ นคร แบ่งท่วงท านองเขียนออกเป็น 7 ชนิด ได้แก่

1. ท านองเขียนเรียบ ๆ (Simple) ใช้ค าพูดตามปกติไม่มีค าศัพท์แปลกผูกประโยค ไม่ซับซ้อนอ่านเข้าใจง่าย

2. ท านองเขียนตรงไปตรงมา (Direct) เป็นท านองเขียนที่ใช้ค าเข้าใจง่ายให้ความหมาย ตรงไปตรงมาตามความต้องการของผู้เขียน

3. ท านองเขียนกระชับรัดกุม (Terse) เป็นท านองเขียนที่น าค ามาใช้ได้ตรงความหมาย ไม่เปลืองค าไม่มีค าที่ซ ้าความหมายกัน

4. ท านองเขียนขึงขัง (Vigorous) เป็นท านองเขียนที่ปลุกเร้าอารมณ์ผู้อ่านให้เกิด ความรู้สึกนึกคิดตื่นตัว

5. ท านองเขียนกราฟิก (Graphic) เป็นท านองเขียนที่ผู้เขียนเข้าใจพรรณ นา สิ่งต่าง ๆ ท าให้ผู้อ่านนึกเห็นภาพขึ้นในใจ

6. ท านองเขียนสละสลวย (Elegance) ท านองเขียนชนิดนี้ไม่ใช้ค าธรรมดาสามัญหรือ ค ากระด้างมีลักษณะบรรเจิดบรรจง

7. ท านองเขียนวิจิตร (Elevate) ส่วนมากใช้ท านองเทศน์เช่นเรื่องปฐมสมโพธิกถาพระ ธรรมเทศนาของพระมหาเถระ

สายทิพย์ นุกูลกิจ (2543 : 139 – 142) เรียก “ท่วงท านองทางภาษา (Style)” ว่า “ท่วงท านอง การแต่ง” และได้อธิบายไว้ว่าท่วงท านองการแต่งหรือสไตล์ของผู้แต่ง คือ ท่วงท่าในการแต่ง วรรณกรรมของผู้แต่งแต่ละคน ซึ่งต่างก็มีลักษณะเด่นเฉพาะตัวไม่ซ ้าแบบกัน ทั้งนี้ เป็นเพราะผู้แต่ง แต่ละคนต่างก็มีแบบแผนในการเลือกสรรค า การเลือกใช้ส านวนโวหารและวิธีการเรียบเรียง ประโยคแตกต่างกันและสามารถสังเกตท่วงท านองการแต่งของผู้แต่งแต่ละคนได้จาก 4 ประเด็น ต่อไปนี้

1. การเลือกสรรค า หมายถึง วิธีการเลือกหาค ามาใช้เขียนวรรณกรรมโดยค านึง ทั้งด้านรูปศัพท์ เสียง ความหมายของค าที่เหมาะสมกับเนื้อเรื่องเช่นผู้แต่งบางคนนิยมใช้ศัพท์ง่าย บางคนนิยมใช้ศัพท์ยาก การเลือกสรรค ามาใช้ของผู้แต่งจึงนับเป็นส่วนประกอบที่ส าคัญของ การเขียนวรรณกรรม เพราะช่วยให้ภาษาที่ใช้ในการเขียนวรรณกรรมของผู้แต่งมีส านวนโวหารดีและ ไพเราะสละสลวยเนื่องจากผู้แต่งเลือกใช้ถ้อยค าที่มีคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ความชัดเจนความ กระชับความมีอ านาจในการให้ความรู้สึกทางอารมณ์และความไพเราะ

2. การเลือกใช้ส านวนโวหาร หมายถึง การที่ผู้แต่งนิยมพยายามคิดหาวิธีการต่าง ๆ ที่ช่วยให้งานมีคุณค่าน่าอ่านขึ้นซึ่งนอกเหนือจากการบรรยายความอย่างตรงไปตรงมาแล้ว ผู้แต่ง ยังมีวิธีการ ดังนี้

2.1 วิธีการสร้างภาพในจิต คือ วิธีการที่ผู้แต่งใช้ภาษากระตุ้นความรู้สึกของผู้อ่าน จนกระทั่งเกิดเป็น “ภาพขึ้นในใจ” การบรรยายแบบนี้ไม่เน้นเรื่องความสมจริง แต่เน้นภาพที่จะ ปรากฏซึ่งภาพจะเกิดขึ้นกับผู้อ่านที่มีจินตนาการ

2.2 วิธีการสร้างภาพพจน์ คือ วิธีการใช้ถ้อยค าเชิงบรรยายเปรียบเทียบ เพื่อให้เกิด เป็นภาพขึ้นด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น อุปมา อุปลักษณ์ สัญลักษณ์ หรือการใช้ภาษาที่มีความหมายตรง ข้ามการกล่าวเกินจริงหรือการกล่าวค าน้อยแต่กินความมากเป็นต้น

3. วิธีการเรียบเรียงประโยค หมายถึง วิธีการสร้างประโยคอันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของ ผู้แต่งแต่ละบุคคลผู้แต่งบางคนชอบใช้ประโยคง่าย ๆ สั้น ๆ กะทัดรัดแต่บางคนอาจชอบประโยค ที่ยาวสละสลวย

4. หางเสียงของผู้แต่ง (Tone) หมายถึง ทัศนคติหรือท่าทีของผู้แต่งที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีลักษณะใกล้เคียงกับน ้าเสียง ซึ่งอาจจะเป็นท านองประชดล้อเลียน เยาะเย้ย จริงจัง กราดเกรี้ยว ฯลฯ ผู้อ่านสามารถจับน ้าเสียงของผู้แต่งได้จากบรรยากาศของเรื่องที่แต่ง ซึ่งการจับน ้าเสียงนับว่า