• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

2. ขยายความโดยการให้ตัวอย่างประกอบ

3. ขยายความโดยการเปรียบเทียบ ช่วยให้เข้าใจเรื่องได้ดีและรวดเร็ว โดยเฉพาะการ กล่าวถึงเรื่องที่เป็นนามธรรม

4. ขยายความโดยการชี้ให้เห็นสิ่งที่แตกต่างหรือตรงกันข้าม 5. ขยายความโดยการแสดงเหตุและผล

6. ขยายความโดยการอ้างอิงตัวบุคคล สถานที่จริง ๆ หรือข้อมูลต่าง ๆ มาประกอบ การอธิบาย

7. ขยายความโดยการยกเอาถ้อยค าข้อความส านวนค าพังเพยสุภาษิตหรือค าพูด ของบุคคลอื่นที่เป็นประโยชน์หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับค าพูดมาอ้างอิง

8. ขยายความโดยการเล่าเรื่องจากประสบการณ์หรือนิทานที่เป็นข้อคิดเกี่ยวกับเรื่องที่พูด 9. ขยายความโดยใช้ค าถามเพื่อเร้าความสนใจและกระตุ้นให้ผู้ฟังคิดแสวงหาค าตอบ 10. ขยายความโดยการใช้โสตทัศนูปกรณ์ เช่น แผนภูมิแผนที่ ฯลฯ

นอกจากนี้ อัครา บุญทิพย์ (2535 : 110) กล่าวถึงส่วนเนื้อเรื่องว่า คือ เนื้อหาตามประเด็น ที่ต้องกล่าวถึงโดยมีความสอดคล้องกับชื่อเรื่องการน าเสนอเนื้อหาหรือการด าเนินเรื่องมี 3 วิธี ได้แก่

1. เสนอเนื้อหาตามตามล าดับเวลา คือ เสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยล าดับก่อนหลัง 2. เสนอเนื้อหาตามล าดับความส าคัญ คือ การน าเนื้อหาส่วนที่มีความส าคัญมากที่สุด มากล่าวไว้ตอนต้นตามด้วยส่วนที่มีความส าคัญรองลงไปตามล าดับ

3. เสนอเนื้อหาตามล าดับเหตุผล คือ การน าเสนอประเด็นที่เป็นเหตุและขยายความด้วย ส่วนที่เป็นผลไปทีละประเด็น

จากการศึกษาเอกสารดังกล่าวสามารถสรุปกลวิธีการน าเสนอเนื้อหาได้ว่า กลวิธีการ น าเสนอเนื้อหา หมายถึง วิธีการที่ผู้เขียนเลือกใช้ในการน าเสนอเนื้อหาหรือด าเนินเรื่องมายังผู้อ่าน ด้วยวิธีการต่าง ๆ อาจจะเป็นวิธีเดียวหรือผสมผสานกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา และวิธีการที่จะเลือกใช้ แต่ที่ส าคัญกลวิธีการน าเสนอเนื้อหาต้องสอดคล้องกันตั้งแต่ชื่อเรื่อง ส่วนน าเรื่องการล าดับความส าคัญของเนื้อหาและน าไปสู่บทสรุปได้อย่างน่าสนใจ

กลวิธีกำรเขียนบทสรุป

บทสรุปแม้จะเป็นองค์ประกอบสุดท้ายของงานเขียน แต่ละเรื่องแต่ก็มีความส าคัญ ไม่น้อยไปกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ เนื่องจากบทสรุปเป็นการเน้นย ้าเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่อง ให้ผู้อ่านได้ทราบอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้กลวิธีการสรุปที่แตกต่างกันออกไป เพื่อสร้างความประทับใจ ทิ้งท้ายให้แก่ผู้อ่าน มีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการเขียนบทสรุปไว้ ดังนี้

ภาคภูมิ หรรนภา (2554 : 203 – 204) แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ว่า การปิดเรื่องเป็น ข้อความตอนสุดท้ายของเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกประทับใจ สมใจปรารถนา จะจดจ าเรื่องที่ได้อ่าน น าเรื่องราวที่ได้อ่านไปสนทนา วิพากษ์วิจารณ์ต่อไปหรือน าเรื่องราวที่ได้อ่านไปคิดพิจารณาปฏิบัติ

ต่อไป โดย ภาคภูมิ หรรนภา ให้ข้อแนะน าในการเขียนสรุปไว้ว่า

1. ความยาวของส่วนสรุปไม่ควรยาวเกินไปและไม่ควรยกตัวอย่างหรือขยายความเพิ่ม 2. ส่วนสรุปควรกระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความคิดกว้างไกล ได้แง่คิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือ มองเห็นความส าคัญของเรื่องนั้น ๆ มากขึ้น

3. เลือกวิธีการเขียนสรุปให้เหมาะกับประเภทของงานเขียน เนื้อหาและค าน า 4. ควรมีประโยคกินใจเพื่อปิดเรื่อง

นอกจากนี้ ภาคภูมิ หรรนภา ยังเสนอวิธีการเขียนสรุปไว้ ดังนี้

1. สรุปแบบย ้าให้เห็นประเด็นส าคัญ แนะแนวทางปฏิบัติ ผู้เขียนจะกล่าวย ้าประเด็น ส าคัญที่น าเสนอไปแล้วอีกครั้งและแนะทางปฏิบัติ

2. สรุปด้วยค าถามให้ผู้อ่านได้ฉุกคิด ผู้เขียนจะทิ้งท้ายด้วยประโยคค าถาม ทั้งนี้ เพื่อให้

ผู้อ่านได้ฉุกคิดในเรื่องที่ผู้เขียนน าเสนอ

3 สรุปด้วยข้อความให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน ผู้เขียนจะให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน หากผู้อ่านไม่เร่ง ปฏิบัติหรือเห็นความส าคัญตามที่ผู้เขียนน าเสนอจะเกิดผลเสียตามมา ส่วนผู้อ่านจะด าเนินการ อย่างไรต่อไปก็อยู่ในดุลพินิจของผู้อ่าน

4. สรุปด้วยข้อความที่ตอบรับค าน าผู้เขียน จะต้องใช้เนื้อหาหรือข้อความที่ตอบรับหรือ สอดคล้องกับเนื้อหาหรือข้อความในส่วนค าน า เพื่อแสดงลีลาการเขียนของผู้เขียน

5. สรุปด้วยความรู้สึกหรือความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อเรื่องราวนั้น

6. สรุปด้วยการชี้ให้เห็นแนวโน้มในอนาคตของเหตุการณ์หรือเรื่องราว ผู้เขียนจะแสดง ภาพเหตุการณ์หรือเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต หากเหตุการณ์ยังด าเนินไปเช่นนี้ หรือมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น

7. สรุปผลด้วยถ้อยค าที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกของผู้เขียน ผู้เขียนจะเสนอถ้อยค า ที่แสดงความรู้สึกที่มีต่อเรื่องราวนั้นอย่างชัดเจน

8. สรุปผลด้วยการน าค าสุภาษิต ค าพังเพย ส านวน บทประพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันมากล่าว ผู้เขียนจะยกสุภาษิต ค าพังเพย ส านวน หรือค าประพันธ์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องสอดคล้องกับเรื่องมา เขียนในบทสรุป เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่อง เข้าใจความคิดของผู้เขียนชัดเจนขึ้น อีกทั้งแสดงลีลาการ เขียนของผู้เขียนด้วย

9. สรุปแบบทิ้งปริศนาให้คิดต่อเอง ผู้เขียนจะน าเสนอข้อมูลเป็นนัย ๆ หรือเป็นปริศนา ให้ผู้อ่านคิดต่อหรือสรุปเรื่องเอง

10. สรุปด้วยข้อความเชิงเปรียบเทียบ ผู้เขียนจะกล่าวเปรียบเทียบเรื่องที่น ามาเสนอ ทั้งหมดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่คล้ายกันหรือตรงข้ามกัน หรือใช้ถ้อยค าเชิงอุปมาเพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพ เข้าใจเรื่องตามที่ผู้เขียนต้องการ

เจือ สตะเวทิน (2517 : 132 – 135) กล่าวถึงเทคนิคการลงท้ายสรุปไว้ว่า การเขียนค าลงท้าย ก็ส าคัญเช่นเดียวกับการเขียนค าน าหรือความน าตอนเริ่มต้น เราท าให้เขาสนใจไว้ตอนลงท้าย เราจึง ต้องท าให้เขาสมใจให้ได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. วิธีใช้ประโยคประทับใจให้เห็นจุดที่ต้องการ

2. วิธีสรุปความทบทวนโดยใช้ค าใหม่ใช้ค าที่สั้นกระชับอธิบายเรื่องที่ยาว ๆ 3. วิธีจบด้วยบทกลอน

4. วิธีจบด้วยการเรียกร้องขอความร่วมใจขอให้ผู้อ่านเห็นตามที่ตนเรียกร้อง 5. วิธีจบแบบให้ความรู้อย่างแปลก

6. ลงท้ายด้วยจุดสุดยอดแบบเรื่องสั้น

7. จบลงด้วยวิธีตัดกลับหรือหวนกลับ (Cut – back หรือ Flash – back) 8. วิธีทิ้งท้ายไว้ให้คิดเอาเอง

ฉัตรา บุญนาค และคณะ (2522 : 126 – 129) กล่าวถึงการเขียนความลงท้ายบทความไว้

7 วิธี ดังนี้

1. จบโดยตอบค าถามวิธีนี้มักใช้คู่กันกับค าน าที่เป็นค าถาม 2. จบโดยสรุปใจความส าคัญของเรื่อง

3. จบโดยเรียกร้องขอความร่วมมือ 4. จบโดยการใช้บทกวีสุภาษิต

5. จบโดยแสดงมติของผู้เขียนเป็นการแสดงความประสงค์ของผู้เขียน 6. จบโดยวิธีเล่นค าศัพท์หรือค าที่มีเสียงคล้องจอง

7. จบโดยใช้รูปประโยคเช่นดีใจหรือครับคนไทยขับรถชนคนไทยตายเพราะใบขับขี่

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต (2533 : 53) กล่าวถึงการปิดท้ายบทความว่า งานเขียนที่ดีไม่ควรจบ เรื่องแบบห้วน ๆ ควรมีย่อหน้าปิดท้ายฝากความประทับใจให้กับผู้อ่าน การเขียนส่วนปิดท้าย ควรเขียนให้กระชับ ไม่ควรเขียนเยิ่นเย้อ ควรน าแต่สาระส าคัญหรือสรรหาแต่ข้อความที่ประทับใจ มาเขียนการเขียนส่วนปิดท้ายสรุปได้ ดังนี้

1. การปิดท้ายเรื่องแบบสรุปสาระ 2. การปิดท้ายเรื่องแบบยกค าพูด

3. การปิดท้ายเรื่องแบบยกสุภาษิตค าคมหรือค าพังเพย 4. การปิดท้ายเรื่องแบบยกค าถาม

5. การปิดท้ายเรื่องแบบฝากแนวความคิด 6. การปิดท้ายเรื่องแบบยกบทร้อยกรอง

ปราณี สุรสิทธิ์ (2549 : 146 – 149) กล่าวถึงการเขียนบทสรุปหรือความสรุปไว้ว่า คือ การทิ้งท้ายเรื่องหรือปิดเรื่อง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้เขียนและเป็นการแสดง ความคิดเห็นของผู้เขียนเพื่อให้ผู้อ่านน าไปคิดต่อมีวิธีการเขียนความสรุป มีดังนี้

1. ความสรุปประเภทเขียนให้สอดคล้องกับความน า 2. ความสรุปประเภทอ้างส านวนสุภาษิตค าคม 3. ความสรุปแบบบรรยาย

4. ความสรุปแบบอธิบาย 5. ความสรุปแบบอ้างค าพูด 6. ความสรุปแบบสรุปจบ 7. ความสรุปประเภทค าถาม 8. ความสรุปประเภทย ้าเจตนา 9. ความสรุปแบบประชดประชัน 10. ความสรุปแบบฝากข้อคิด 11. ความสรุปแบบให้ข้อเสนอแนะ

จากการศึกษาเอกสารดังกล่าวสามารถสรุปกลวิธีการเขียนบทสรุปได้ว่า กลวิธี

การเขียนบทสรุป หมายถึง วิธีการที่ผู้เขียนเลือกใช้ในการเขียนสรุปเรื่องหรือการเขียนจบเรื่อง ด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่น่าสนใจเพื่อต้องการเน้นย ้าใจความส าคัญของเรื่องที่น าเสนอไปแล้วและ สร้างความประทับใจให้แก่ผู้อ่าน การเขียนบทสรุปจึงอาจท าได้หลายวิธีเช่นบทสรุปแบบให้ข้อคิด บทสรุปด้วยนิทานหรือเรื่องเล่าเป็นต้น

งำนวิจัยที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยเรื่อง ท่วงท านองทางภาษาและกลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียนของ พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต ผู้วิจัยได้ศึกษารวบรวมงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการ วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีผู้ที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาในด้านต่าง ๆ ดังนี้

รัตนาภรณ์ บางจริง (2537) ศึกษาเรื่อง “ปาฐกถาธรรมของพระเทพวิสุทธิเมธี

(ปัญญานันทภิกขุ)” ผลการศึกษา พบว่า ด้านการใช้ภาษาในปาฐกถาธรรมของท่านที่มีลักษณะเด่น น่าสนใจมี 3 เรื่อง คือ การใช้ถ้อยค า การใช้ภาพพจน์ การใช้ส านวนสุภาษิตค าพังเพย การใช้ถ้อยค า มี 3 ลักษณะ คือ การใช้ค าง่าย การใช้ค าที่มีความหมายโดยนัย และการใช้ค าที่มาจากภาษา ต่างประเทศ การใช้ภาพพจน์มี 3 ลักษณะ คือ ภาพพจน์อุปมา ภาพพจน์บุคลาธิษฐาน ภาพพจน์เลียน เสียงธรรมชาติ การใช้ส านวนสุภาษิตค าพังเพยน ามาใช้บ้างตามสมควร