• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

1.1 หลีกเลี่ยงการใช้ส านวนแบบภาษาอังกฤษ

1.2 แบ่งวรรคตอนให้ถูกต้อง การแบ่งวรรคตอนไม่ถูกต้องท าให้การสื่อความหมาย ผิดไปได้

2. สร้างประโยคให้กะทัดรัดและสละสลวย การสร้างประโยคให้กะทัดรัดสละสลวย ต้องเลือกใช้ถ้อยค าน้อยแต่กินความมาก สามารถสื่อความหมายได้มากและเหมาะสมกับข้อความ ที่สื่อ โดยเลือกใช้ได้ ดังนี้

2.1 การรวบความให้กระชับ ในกรณีที่ประโยคมีค าหรือความซ ้า ๆ กันควรหาค า หรือวลีมากระชับรวบความ

2.2 การใช้ค าที่มีความหมายรวมแทน ท าให้มีความหมายสั้นลงแต่มีใจความ ครบถ้วน

2.3 การเขียนประโยคให้มีเอกภาพและสัมพันธภาพ ประโยคแต่ละประโยคควรมี

ใจความเดียว คือ มีเอกภาพและควรมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน คือ มีสัมพันธภาพอย่างเหมาะสม กับความในประโยคอย่างเป็นเหตุเป็นผล

3. สร้างประโยคให้มีน ้าหนัก การสร้างประโยคให้มีน ้าหนักจะท าให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้เขียนมีจุดประสงค์และเน้นส่วนใด สามารถท าได้ ดังนี้

3.1 วางค าที่ต้องการเน้นให้อยู่ในที่ซึ่งมีน ้าหนัก

3.2 การขนานความหรือจัดความให้มีรูปแบบเดียวกัน โดยใช้ค าสันธานเชื่อมความ ให้ประโยคมีน ้าหนักเท่ากัน

3.3 การใช้ค าซ ้า ๆ กัน ช่วยให้เกิดข้อความมีน ้าหนัก

3.4 การจัดความหรือการจัดความให้ขัดแย้งกัน เป็นการจัดข้อความ 2 ข้อความให้

ขัดแย้งกัน เพื่อท าให้ข้อความนี้น่าสนใจและสะดุดใจ

วัลยา ช้างขวัญยืน (2533 : 127 – 146) อธิบายเกี่ยวกับประโยคในงานเขียนสรุปประเด็น ได้ดังนี้

1. ส่วนประกอบและประเภทของประโยค ประโยคที่ง่ายที่สุดมีส่วนประกอบ คือ ประธานและกริยา บางประโยคอาจมีกรรมของประโยคด้วยแต่ในการพูดหรือเขียนเรื่องราวใด ๆ เพื่อการสื่อสารที่ชัดเจนจึงต้องมีส่วนขยายเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงแบ่งประโยคได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่

1.1 ประโยคเดี่ยว คือ ประโยคที่แสดงข้อความเดียวมีส่วนประกอบ คือ ประธาน และกริยา ถ้ากริยาต้องการกรรมก็มีกรรมอยู่ด้วย นอกจากนี้ อาจมีค าขยายประธานกริยากรรมได้ด้วย

1.2 ประโยคซับซ้อน คือ ประโยคที่แสดงข้อความมากกว่าหนึ่ง ประโยคซับซ้อน ประกอบด้วยประโยคเดี่ยวหลายประโยคและมีสันธานเชื่อมประโยคเดี่ยวเหล่านั้นเข้าด้วยกัน

2. หลักเกณฑ์ในการสร้างประโยค ผู้ใช้ภาษาต้องระมัดระวังในการสร้างประโยค เพื่อให้

สื่อความหมายได้ถูกต้องจึงควรค านึงหลักเกณฑ์ต่อไปนี้

2.1 ความถูกต้องและแจ่มแจ้ง ความถูกต้องและแจ่มแจ้งควรค านึงถึงเรื่องการผูก ประโยคตามรูปประโยคของภาษาไทย เรียงบทส าคัญในประโยคให้ถูกต้อง วางส่วนขยายให้ถูกที่

การใช้ค าให้ถูกต้องการเขียนประโยคให้จบกระแสความ การเว้นวรรคตอนให้ถูกต้องการวาง อนุประโยคให้ถูกที่ การใช้รูปประโยคและส านวนภาษาอังกฤษและความถูกต้องตามข้อเท็จจริง

2.2 ความกะทัดรัดและความสละสลวย คือ ประโยคที่ใช้ถ้อยค าน้อยแต่กินความ มาก ผู้เขียนสามารถสร้างประโยคในลักษณะนี้ได้โดยยึดหลักต่อไปนี้

2.2.1 การรวบความให้กระชับ ในกรณีที่ประโยคมีประธานมากกว่าหนึ่ง

แต่ใช้ค ากริยาร่วมกัน เวลาเขียนให้หาค าขมวดหรือกระชับมารวมความ เช่น “วิชาภาษาไทยวิชา สังคมและพลศึกษา ล้วนเป็นวิชาที่ฉันไม่ชอบทั้งสิ้น”

2.2.2 การเขียนให้มีเอกภาพและสัมพันธภาพ ประโยคทุกประโยคควรมี

ใจความเดียว (เอกภาพ) หรือควรมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน (สัมพันธภาพ)

2.3. การสร้างประโยคให้มีน ้าหนักช่วยให้ข้อความที่เขียนแจ่มแจ้งขึ้น เพราะผู้อ่าน สามารถทราบจุดประสงค์ของผู้เขียนว่าต้องการเน้นส่วนใด การผูกประโยคให้มีน ้าหนัก อาจท าได้

ดังนี้

2.3.1 การวางถ้อยค าที่ต้องการเน้นให้อยู่ในที่ซึ่งมีน ้าหนักตามปกติต าแหน่ง ข้อความที่มีน ้าหนักสุดอยู่ตอนต้นของประโยค เช่น “ที่ข้างตึกรถเขาจอดอยู่” หรือบางครั้งอาจวาง ไว้ตอนท้าย เพราะเป็นการแสดงความคิดเบ็ดเสร็จ เช่น “กรรมมาถึงตัวแล้วเราจะท าประการใด ก็หาพ้นไม่

2.3.2 การใช้ค าซ ้า ๆ กัน ช่วยให้ข้อความมีน ้าหนัก การใช้ค าซ ้าต้องซ ้าใน ข้อความที่ต่างกันจึงเป็นการเน้นน ้าหนักเช่น “คนที่เห็นคนเป็นคนจึงนับว่าเป็นคน

2.3.3 การขัดความ คือ การจัดข้อความในประโยคให้คู่กันแล้วใช้บทเชื่อม

เพื่อให้เกิดความรู้สึกขัดแย้ง เป็นวิธีการที่ท าให้งานเขียนน่าสนใจ เช่น “ค ายอไม่มีประโยชน์แก่ผู้ถูก ยอแต่มีประโยชน์ส าหรับผู้ยอเอง”

2.3.4 การขนานความ คือ การจัดข้อความในประโยคให้เชื่อมโยงกันกา

เชื่อมโยงกันนี้อาจใช้สันธานคู่เป็นตัวเชื่อมข้อความ ซึ่งมีน ้าหนักเท่า ๆ กัน เช่น ที่ใด – ที่นั่น เมื่อใด – เมื่อนั้น ผู้ใด – ผู้นั้น หรืออาจใช้รูปประโยคที่เหมือนกันได้ด้วยเช่น “ทรัพย์นั้นเป็นผลของการอยู่ใน ธรรมความสุขเป็นผลของความมีทรัพย์”

วีรวัฒน์ อินทรพร (2545 : 36) อธิบายเกี่ยวกับการใช้ประโยคในงานเขียนว่าหากผู้เขียน ไม่สามารถใช้ประโยคได้ถูกต้อง ก็จะท าให้การสื่อสารความคิดนั้นบกพร่องและได้แบ่งประโยค เป็น 3 ชนิด ได้แก่

1. ประโยคความเดียว เป็นประโยคง่ายไม่ซับซ้อนประกอบด้วยภาคประธานและภาคแสดง 2. ประโยคความรวม คือ ประโยคความเดียว 2 ประโยคที่รวมกันเป็นประโยคเดียว โดยมี

ค าเชื่อมที่แสดงความสอดคล้อง คล้อยตาม แสดงความขัดแย้ง แสดงความเป็นเหตุเป็นผล และการให้เลือก

3. ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียว 2 ประโยค โดยมี

ประโยคหนึ่งเป็นประโยคหลักและอีกประโยคหนึ่งเป็นประโยคขยาย

กุหลาบ มัลลิกะมาส (2550 : 132 – 134) อธิบายท่วงท านองที่เกี่ยวกับการสร้างประโยค (Syntax) ไว้ 4 แบบใหญ่สรุป ได้ดังนี้

1. ประโยคสั้น (Attic Sentence) นักเขียนใช้ประโยคเอกัตถประโยคเป็นส่วนใหญ่

2. ประโยคยาวขึ้น (Isocratic Sentence) เป็นประโยคอเนกัตถประโยคหรือสังกรประโยค เป็นประโยคที่ขยายความให้แก่กันในกลุ่มประโยคที่เขียนขึ้นมา

3. ประโยคยาวแบบโวหาร (Ciceronian Sentence) เป็นประโยคที่ต้องกล่าวรายละเอียด แต่ละอย่าง ๆ ไปจนจบจึงจะมีเนื้อความที่สมบูรณ์ เป็นที่เข้าใจหรือประโยคค าถามแบบ Rhetoric Question หรือเป็นประโยคที่พูดให้ตีความหมายเสียก่อนไม่กล่าวอย่างตรงไปตรงมา เช่น ประโยค ของ น.ม.ส. ว่า “คนที่เป็นทาสแฟชั่นนั้นแม้พระราชบัญญัติเลิกทาสก็ช่วยไม่ได้”

4. ประโยคบาโรก (Baroque Sentence) มีโครงสร้างประโยคที่ขาดดุลหรือลักษณะ คู่ขนาน (Parallelism) อาจเพิ่มพูนทวีขึ้น ๆ คลี่คลายเนื้อความจากประโยคหนึ่งขยายไปสู่

อีกประโยคหนึ่ง หรืออาจเป็นประโยคสั้นมีค าเดียวโดยไม่ค านึงถึงความถูกผิดทางไวยากรณ์ เช่น

“หลับไปด้วยรสเอร็ดของกัญชา” “ผมไม่อยากตื่นเช้าโว้ยคุอย่ามาปลุกกูให้ยากเลยครับ”

นอกจากนี้ สมพร มันตสูตร แพ่งพิพัฒน์ (2540 : 47) กล่าวถึงประโยคที่ดีว่าจะต้องมี

ลักษณะ ดังนี้