• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

3. กำรสื่อสำรตำมวิธีกำร แบ่งเป็น 3 ประเภท

2.1 ภำษำกำย (Physical Language) ประกอบด้วย

2.1.1 สายตา (Eye Contact) ได้แก่ การมองการสบตา การจ้อง การท าตาเชื่อม หรือตาขวาง เป็นการสะท้อนถึงความรู้สึกของผู้พูดได้ ดังค าที่ว่า “ดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ”

เช่น บุคคลที่พูดโกหกมักจะพูดแล้วไม่สบตากับผู้ที่ตนพูดด้วย บุคคลที่มีความรู้สึกผิดปกติอาจจะ สังเกตได้จากดวงตาของบุคคลนั้น

2.1.2 การแสดงสีหน้า (Facial Expression) ได้แก่ การแสดงออกทางสีหน้า อันแสดงถึงลักษณะอารมณ์ เช่น บุคคลที่มีอารมณ์ดีใจ สบายใจ จะแสดงสีหน้าเป็นบวก หากมีอารมณ์โกรธไม่พอใจก็จะแสดงสีหน้าเป็นลบเป็นต้น

2.1.3 การแสดงอากัปกิริยาท่าทาง (Gestures) ได้แก่ การใช้ส่วนของอวัยวะ ของร่างกายเคลื่อนไหวในลักษณะต่าง ๆ เช่น การกวักมือ การชูสองนิ้ว การพยักหน้า

2.1.4 ระยะห่างของบุคคล (Personal Space) ได้แก่ การรักษาระยะห่าง ของร่างกายระหว่างบุคคลซึ่งแสดงถึงระดับความสัมพันธ์ของบุคคลได้ เช่น ถ้าบุคคลใดชอบพอกัน หรือสนิทสนมกันก็จะนั่งใกล้ชิดกัน เป็นต้น

ภาษากายอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาษาท่าทาง (Body Language) ในการสื่อสารกับ บุคคลอื่น ภาษากายควรสอดคล้องกับกับภาษาถ้อยค าด้วย อย่างไรก็ตามการท าความเข้าใจบุคคลอื่น ถ้าพิจารณาจากภาษาท่าทางเพียงอย่างเดียวก็อาจเข้าใจบุคคลผิดพลาด เพราะบางคนมีความช านาญ ในการปั้นสีหน้า ปกปิดความรู้สึกของตนเองไว้ คิดอีกอย่างพูดอีกอย่างหรืออาจหลอกผู้อื่นได้เสมอ ๆ ดังนั้นในการสื่อสารกับบุคคลควรพิจารณาภาษากายและภาษาถ้อยค าควบคู่กันไปด้วย

2.2 ภำษำวัตถุ (Object Language) คือ การตีความหมายของวัตถุและสัญลักษณ์

ต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมายไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

2.2.1 วัตถุประเภทโครงสร้างของร่างกาย (Body) บุคคลที่มีโครงสร้างสูง ใหญ่ จะสื่อความหมายถึงความแข็งแรง ความน่าเกรงขาม การให้ความคุ้มครอง ในทางตรงกันข้าม

บุคคลที่มีโครงสร้างร่างกายเตี้ยผอมและเล็กจะสื่อความหมายถึงความอ่อนแอความน่ารัก ต้องให้

การดูแลทะนุถนอม เป็นต้น

2.2.2 วัตถุประเภทที่ประกอบเป็นบุคลิกภาพ (Personality) บุคคลจะเลือกใช้

วัตถุลักษณะต่าง ๆ มาประกอบเป็นบุคลิกภาพของตนเอง เช่น เสื้อผ้าสีสันต่าง ๆ แบบรูปทรง ตลอดจนรองเท้า กระเป๋า ซึ่งสื่อถึงความหมายของนิสัย ค่านิยม รสนิยมและความเป็นระเบียบ เรียบร้อย ซึ่งประกอบเป็นบุคลิกภาพของบุคคลนั้น

2.2.3 วัตถุประเภทที่มีความหมายเฉพาะ (Specific) และความหมายไม่เฉพาะ เจาะจง ( Non Specific) วัตถุที่มีความหมายเฉพาะ เช่น ดอกมะลิสื่อความหมายถึงพระคุณของแม่

ดอกกุหลาบสื่อความหมายถึงความรัก ดอกบัวสื่อความหมายถึงการระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ส าหรับวัตถุประเภทความหมายไม่เฉพาะเจาะจง (Non Specific) มักเป็น วัตถุทั่วไป ได้แก่ กระจก ผ้าเช็ดหน้า กรรไกร ฯลฯ เช่น กระจกถ้ามอบสิ่งของดังกล่าวให้กับบุคคล ใดก็ตามผู้รับอาจสื่อความหมายว่าผู้ให้ปรารถนาดีให้ของ เพื่อไปใช้ประโยชน์ ในทางตรงกันข้าม ผู้รับอาจสื่อความหมายว่า ผู้ให้กล่าวว่าตนเป็นคนไม่ได้เรื่องเป็นคนที่แย่มากต้องให้กระจกช่วยส่อง ให้เห็นความไม่ได้เรื่องของตนเอง ผู้รับอาจจะโกรธหรือไม่พอใจก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนว่า จะให้ความหมายอย่างไร

2.3 ภำษำธรรมเนียมและมำรยำท (Etiquette and Manners) ภาษาธรรมเนียม และมารยาทเป็นการแสดงพฤติกรรมตามธรรมเนียมและมารยาทของสังคมนั้น เช่น ธรรมเนียมไทย

“ใครไปถึงเรือนชานต้องต้อนรับ” ดังนั้น เมื่อมีบุคคลมาที่บ้านก็จะยกน ้าหรืออาหารมาให้ดื่มกิน พูดคุยด้วยรอยยิ้มและไมตรีจิต เพื่อแสดงถึงการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ส่วนมารยาท เช่น การไหว้

จึงมีการปฏิบัติในลักษณะ “การไปมาลาไหว้” หรือมารยาทในการรับประทานอาหาร ไม่พูดขณะที่

ก าลังเคี้ยวอาหารหรืออาหารยังอยู่ในปาก เป็นต้น จิตวิทยำกับกำรใช้ภำษำในกำรสื่อสำร

มัลลิกา คณานุรักษ์ (2547 : 151) แสดงความคิดเห็นว่า การศึกษาด้านจิตวิทยาทางภาษา เพื่อการสื่อสารนั้น นักจิตวิทยาจะสนใจอยู่เพียง 3 ประเด็น คือ การรับรู้ภาษา ความเข้าใจภาษา และ การใช้ภาษา

กำรรับรู้ (Perception) เป็นกระบวนการรับและตีความสิ่งเร้าด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ โดยอาศัยประสบการณ์เดิมและความเอาใจใส่ของมนุษย์ นั่นคือ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบ หู ตา จมูก ลิ้น กาย การสนองสิ่งเร้าแล้วใช้ประสบการณ์เดิมแปลความหมายสิ่งเร้าที่มากระทบ ประสาทสัมผัสนั้น การรับรู้ของมนุษย์ต่อสิ่งเร้าจึงเกิดขึ้น

องค์ประกอบส าคัญเกี่ยวกับการรับรู้ (Perception) ประกอบด้วย

สิ่งเร้ำ คือ สิ่งที่มากระตุ้นให้มนุษย์แสดงปฏิกิริยาตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรม ซึ่งมี 2 ประเภท คือ สิ่งเร้าภายใน (Internal Stimulus) และสิ่งเร้าภายนอก (External Stimulus)

สิ่งเร้ำเกี่ยวกับกำรใช้ภำษำ ก็คือ สาร (ตัวภาษา) ผู้ส่งสาร (ผู้ใช้ภาษา) และสื่อ (ช่องทางใน การส่งสาร)

สำรหรือตัวภำษำ มี 2 ประเภท คือ วัจนภาษา (ภาษาที่ใช้ถ้อยค า) และอวัจนภาษา (ภาษา ที่ไม่ใช้ถ้อยค า)

ผู้ส่งสำรหรือผู้ใช้ภำษำ จะต้องมีความรู้ มีความสามารถในการถ่ายทอด มีบุคลิกภาพดี

เหมาะสม ในขณะที่ส่งสารหรือใช้ภาษา

สื่อหรือช่องทำงในกำรส่งสำร ที่มีผลต่อปริมาณ หรือจ านวนของมนุษย์ที่จะรับรู้

กล่าวคือ ถ้ามีการใช้อุปกรณ์อื่นเข้าช่วย อาทิ ใช้เครื่องขยายเสียง ใช้สื่อวิทยุ หรือสื่อโทรทัศน์

ปริมาณผู้รับรู้ก็จะมีมากขึ้น เป็นตัน

อวัยวะสัมผัส รวมทั้งความรู้สึก ได้แก่ ตา ประสาทตา หู ประสาทหู

สภาพของมนุษย์ในขณะที่รับรู้ ได้แก่ ความเอาใจใส่และประสบการณ์เดิม ความรู้สึก (Sensitive) หรือความไวต่อความรู้สึก ทัศนคติที่มีต่อผู้ส่งสาร และความต้องการของมนุษย์

ในขณะที่รับสารซึ่ง ประดินันท์ อุปรมัย (2541 : 67) สรุปองค์ประกอบเกี่ยวกับการรับรู้

ของมนุษย์ไว้ ดังนี้

ความไวต่อความรู้สึก ทัศนคติ

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับกำรรับรู้สำร

ภำพที่ 2.2 องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สาร

ความเข้าใจภาษาจะเกิดขึ้นได้เมื่อมนุษย์มีความคิดรวบยอด (Concept) เกี่ยวกับภาษาเป็น อย่างดี ซึ่งค าว่า ความคิดรวบยอด (Concept) ในงานวิจัยฉบับนี้ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มของ สิ่งเร้าที่มีลักษณะนัยส าคัญร่วมกัน มนุษย์จะมีความคิดรวบยอดในสิ่งใดตามความสามารถ ในการมองเห็นความคล้ายคลึงของสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่เป็นความคิดรวบยอดเดียวกัน นั่นคือ มนุษย์ต้อง ผ่านกระบวนการรับรู้และจดจ าสิ่งที่รับรู้ทั้งที่เป็นภาพและเป็นภาษานั้นไว้ แล้วน ามาใช้เป็นพื้นฐาน ในการรับรู้สิ่งใหม่ เพื่อเปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของสิ่งที่รับรู้แล้วแยกแยะได้ว่า เป็นประเภทเดียวกันหรือเหมือนกันแล้วจึงเกิดความคิดรวบยอด

มนุษย์รับรู้เสียงจนเกิดเป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเสียง น าไปสู่การรับรู้ค าแล้วพัฒนา เป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับประโยค และเมื่อมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ เสียง ค า และประโยค มากพอก็สามารถสร้างค าหรือสร้างประโยคใหม่ ๆ ขึ้นใช้แทนความคิดของตนเอง เพื่อสื่อสารกับ บุคคลอื่น ๆ ได้

การที่มนุษย์มีความคิดรวบยอดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น นอกจากจะต้องรู้ถึงลักษณะร่วม ของกลุ่มสิ่งเร้านั้นและรู้ลักษณะร่วมเฉพาะที่ต่างไปจากกลุ่มสิ่งเร้าที่เป็นความคิดรวบยอดอื่นแล้ว ยังท าให้มนุษย์เกิดมโนภาพ (Mental Image) ต่อสิ่งนั้นเก็บไว้ในสมองหรือในความนึกคิด เมื่อจะ

สิ่งเร้าที่เกี่ยวข้องกับการส่งสาร ช่องทางรับรู้

สาร

ลักษณะและสภาพของบุคคล ขณะที่รับรู้สาร

ตัวสาร

ช่องทางการส่งสาร

ความรู้

เทคนิค การถ่ายทอด บุคลิกภาพ

ภาษาพูด ภาษาเขียน

ตา-ประสาทตา หู-ประสาทหู

ความใส่ใจ ประสบการณ์เดิม

ความต้องการ

ถ่ายทอดมโนภาพที่เก็บไว้ก็จะสื่อสารออกมาเป็นภาษา ซึ่งอาจเป็นวัจนภาษา (ภาษาถ้อยค า) หรือ อวัจนภาษา (ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยค า) หรือทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษาผสมผสานกัน

การส่งสารจะต้องส่งภาษาเดียวกันหรือภาษาที่รับรู้ร่วมกัน มีความคิดรวบยอด (Concept) ทางภาษาตรงกันมีมโนภาพ (Mental Image) ตรงกัน มิฉะนั้น แม้จะใช้ภาษาเดียวกันสื่อสารกัน ก็อาจจะมีความเข้าใจภาษาที่ใช้สื่อสารไม่ตรงกันได้ นั่นคือ ความคิดรวบยอดทางภาษาของมนุษย์

ขึ้นอยู่กับการรับรู้ภาษา ขึ้นอยู่กับความสามารถในการแลกเปลี่ยนสิ่งที่รับรู้และขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์เดิมของผู้รับรู้ด้วย

การรับรู้และความคิดรวบยอด (มโนมติ) เป็นบริบทกระบวนการพื้นฐานของการสื่อสาร ด้วยภาษา เพราะเมื่อมีการส่งสารหรือความคิดออกมาในรูปของภาษา การรับรู้ภาษาท าให้เกิด ความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษา การเกิดความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษาท าให้เกิด มโนภาพ (Mental Image) ในความรู้สึกนึกคิด เมื่อมนุษย์สามารถใช้ภาษาแทนความคิดหรือมโนภาพ ในความรู้สึกนึกคิดได้ก็สามารถส่งสารออกมาในรูปของภาษาได้หรือสามารถโต้ตอบด้วยภาษา ที่เข้าใจตรงกันได้ ดังแผนภูมิ

ภำพที่ 2.3 กระบวนการรับรู้และความคิดรวบยอด (มโนมติ)

ประดินันท์ อุปรมัย (2551 : 18) การรับรู้ภาษาช่วยให้เกิดความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษาและความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษาที่ถูกต้องก็จะช่วยให้การรับรู้สิ่งใหม่ถูกต้อง ทั้งการรับรู้และความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษาช่วยให้เกิดการสื่อสารด้วยภาษา และใน ท านองเดียวกันที่การสื่อสารด้วยภาษาช่วยให้เกิดการรับรู้และความคิดรวบยอด (มโนมติ) ทางภาษา กำรใช้ภำษำ มนุษย์จะใช้ภาษาได้ดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความพร้อม (วุฒิภาวะ ความรู้

พื้นฐานและความเข้าใจ) ความต้องการ ทัศนคติ และความแตกต่างของมนุษย์ (ความแตกต่างของ มนุษย์เกิดจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์) ดังนั้น บุคคลที่มีความพร้อมจะสามารถ ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลมากกว่าผู้ที่ไม่พร้อม

การใช้ภาษาของมนุษย์มักเกิดจากการเลียนแบบ เกิดจากแรงเสริมและเกิดจากกลุ่ม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การสื่อสารด้วยภาษา

การรับรู้ภาษา ความคิดรวบยอด

(มโนมติ) ทางภาษา