• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทที่ 2

10. ใส่เครื่องหมายวรรคตอนถูกต้อง

สุวินา โชติช่วง (2539 : 15 – 16) กล่าวถึงองค์ประกอบของการเขียนที่ผู้เขียนควรมีไว้

ดังนี้

1. เนื้อหา ได้แก่ ความรอบรู้ในเรื่องที่เขียน ความมีแก่นสาร การเขียนขยายใจความได้

อย่างสมบูรณ์

2. การเรียบเรียงเรื่องราว ได้แก่ การเรียบเรียงเนื้อหาได้อย่างสมเหตุสมผล มีการใช้ค า หรือวลี เพื่อแสดงการเชื่อมโยงของเนื้อความ มีข้อความสนับสนุนความคิดได้อย่างกะทัดรัดชัดเจน

3. ค าศัพท์ ได้แก่ การเลือกใช้ถ้อยค าส านวนได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมกับเนื้อความ นั้น ๆ โดยสามารถใช้ค าได้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ไวยากรณ์ด้วย

4. การใช้ภาษา ได้แก่ การใช้โครงสร้างของประโยคได้ถูกต้อง และค านึงถึงความ สอดคล้อง กาล ล าดับ หน้าที่ของค า ค าน าหน้านาม ค าสรรพนาม และค าบุพบท

5. กลไกทางภาษา ได้แก่ เครื่องหมายวรรคตอน การสะกดค าได้อย่างถูกต้องและ การขึ้นต้นประโยคได้ตามแบบแผนของภาษานั้น ๆ

กองเทพ เคลือบพณิชกุล (2542 : 127 – 128) กล่าวสรุปองค์ประกอบของการเขียนไว้

ดังต่อไปนี้

1. เนื้อหา คือ เนื้อเรื่องหรือเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบ อาจจะเป็น เหตุการณ์ เรื่องของบุคคล ข้อคิดเห็น จินตนาการ อารมณ์ และความรู้สึก ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันก็ได้

2. ภาษา คือ ถ้อยค าส านวนโวหารต่าง ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของไวยากรณ์และ ตามความนิยมของผู้ใช้ภาษา ภาษานับเป็นเครื่องมือส าคัญที่สุดส าหรับการถ่ายทอด เป็นเรื่องที่

ผู้เขียนจะต้องมีความรอบคอบ ละเอียดอ่อนในการที่จะเลือกเฟ้นค า ประโยค ส านวนโวหารต่าง ๆ มาใช้ให้เหมาะแก่กาลเทศะและรูปแบบ ทั้งนี้ ก็เพราะภาษานั้นมีหลายระดับแต่ละระดับก็มีที่ใช้

ต่างกัน

3. เครื่องหมายวรรคตอน คือ เครื่องหมายต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนเพื่อช่วยให้ผู้อ่าน อ่านได้สะดวก และเป็นการป้องกันความเข้าใจผิดได้อีกด้วย นอกจากนี้ เครื่องหมายวรรคตอนบางชนิด

เมื่อใช้แล้วจะสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดีขึ้น เช่น การใช้เครื่องหมายปรัศนีและอัศเจรีย์

แต่ควรระวังไม่ใช้อย่างพร ่าเพรื่อจนเกินไป จะต้องใช้ให้เหมาะแก่เนื้อหาและรูปแบบและใช้อย่าง ระมัดระวัง

4. รูปแบบ การเขียนแต่ละประเภท ย่อมมีรูปแบบแตกต่างกัน อาจแบ่งได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ รูปแบบร้อยแก้ว และรูปแบบร้อยกรอง ผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการเขียนและเขียนให้ถูกต้อง ตามกฎเกณฑ์ด้วย

กล่าวโดยสรุป การที่ผู้เขียนจะมีความสามารถด้านการเขียนและสื่อสารให้ตรง ตามความประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ในเรื่องไวยากรณ์ ส านวน ภาษา ค าศัพท์ ตัวสะกดค า โครงสร้างของประโยค และหน้าที่ของค า การใช้เครื่องหมายวรรคตอน ตลอดจนความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาของเรื่องที่จะเขียน รูปแบบการเขียน ความเหมาะสมในการเลือกใช้

ถ้อยค า การเรียบเรียงเนื้อหาได้อย่างสมเหตุสมผล กะทัดรัด ได้ความชัดเจน รูปแบบของกำรเขียน

มีการแบ่งรูปแบบการของเขียน ตามเกณฑ์ที่หลากหลายแตกต่างกันไป ดังนี้

กุสุมา รักษมณี และคณะ (2536 : 207) แบ่งรูปแบบการเขียนออกเป็นประเภทใหญ่

ได้ 3 รูปแบบ คือ

1. สารคดี เป็นรูปแบบงานเขียนที่ผู้เขียนมีเจตนาที่จะเสนอสาระความรู้ที่เป็นจริง เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้ ความคิด ความเป็นจริง ในขณะเดียวกันการเขียนสารคดี ก็มุ่งให้ผู้อ่าน ได้รับความรู้ ความเพลิดเพลิน ควบคู่ไปด้วย รูปแบบของสารคดีมีหลายประเภท ได้แก่ บทความ ต ารา ข่าว เกร็ดความรู้ เรื่องราวบันทึกต่าง ๆ เช่น บันทึกความทรงจ า บันทึกการเดินทาง เป็นต้น

ในปัจจุบัน งานเขียนประเภทสารคดีมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น นักเขียนสารคดี

พยายามสร้างสรรค์รูปแบบการน าเสนอให้แปลกอยู่เสมอ ท าให้ผู้อ่านได้รับความเพลิดเพลิน ในการอ่านมากขึ้น เช่น สารคดีท่องเที่ยว สารคดีชีวประวัติ สารคดีประเภทบทความวิจารณ์ เป็นต้น

2. บันเทิงคดี เป็นรูปแบบงานเขียน ที่ผู้เขียนมีเจตนาที่จะเสนอความเพลิดเพลินบันเทิง เป็นหลัก บันเทิงคดีบางเรื่องจะให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์หรือน าเรื่องราวที่เป็นจริงมาเสนอ แต่ก็

น ามาผสมผสานกับจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียนบันเทิงคดีนั้น เป็นงานเขียน ที่เป็นเรื่องสมมุติ ส่วนสารคดีเป็นงานเขียนที่เป็นเรื่องจริง

รูปแบบของบันเทิงคดีมีหลายประเภท ได้แก่ นวนิยาย นิทาน เรื่องสั้น กวีนิพนธ์ หัสคดี

การ์ตูน เป็นต้น

3. การเขียนเพื่อกิจธุระ เป็นงานเขียนที่มุ่งประโยชน์ของกิจธุระต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่หลาย ประเภท แตกต่างกันไป ท าให้งานเขียนเพื่อกิจธุระมีรูปแบบเฉพาะแตกต่างกันไปด้วย ในปัจจุบัน

งานเขียนประเภทนี้มีความส าคัญมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่องาน ถือเป็นหลักฐานในการ ด าเนินงานด้วย จึงเป็นงานเขียนที่ใช้ภาษากะทัดรัด ตรงประเด็น เพื่อมุ่งมั่นสื่อสารได้รวดเร็วและได้

ความหมายชัดเจน

งานเขียนเพื่อกิจธุระมีทั้งที่ใช้ในวงการของราชการและเอกชน เช่น หนังสือราชการ จดหมายธุรกิจ การกรอกแบบฟอร์มหนังสือในหน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น

กองเทพ เคลือบพณิชกุล (2542 : 128 – 129) กล่าวถึงรูปแบบของการเขียนว่า การเขียน แต่ละประเภทย่อมมีรูปแบบต่าง ๆ กัน ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้

1. รูปแบบร้อยแก้ว คือ การใช้ถ้อยค าสามัญ รวมทั้งค าราชาศัพท์ มาเรียบเรียงเป็นความ เรียงทั่วไป เช่น เรียงความ จดหมาย รายงาน เป็นต้น

2. รูปแบบร้อยกรอง คือ การน าเอาถ้อยค าภาษาที่ได้เลือกสรรดีแล้ว มาเรียบเรียงให้เข้า รูปแบบ ตามกฎเกณฑ์ของค าประพันธ์นั้น ๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย เป็นต้น

ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ (2546 : 6) กล่าวถึงรูปแบบงานเขียนไว้ว่า ต้องเขียน ให้ถูกรูปแบบของประเภทการเขียนที่ตั้งใจจะเขียนหรือเขียนให้เหมาะสม เช่น ถ้าจะเขียนจดหมาย รายงานทางวิชาการ หรือรายงานการวิจัย ต้องเขียนให้ถูกรูปแบบ จะเขียนในหนังสือส าหรับเด็ก จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน แต่จะต้องเขียนให้เหมาะสมกับวัยของผู้อ่าน เป็นต้น

นอกจากนี้ ศักดิ์ศรี ปาณะกุล และนิรมล ศตวุฒิ (2546 : 6 – 7) แบ่งงานเขียนออกเป็น งานเขียนทางวิชาการ และงานเขียนที่ไม่เป็นทางการ

1. งานเขียนทางวิชาการ เป็นงานเขียนที่เป็นแบบแผน มีวิธีการเขียนและมีลักษณะเฉพาะ ในการเขียนงานแต่ละอย่าง ใช้ภาษาที่เป็นทางการตรงไปตรงมา ไม่อ้อมค้อม ใช้ส านวนโวหาร เรียบง่าย เคร่งขรึม มีการใช้ค าศัพท์เทคนิคทางวิชาการ การเขียนที่จัดอยู่ในประเภทนี้ ได้แก่ ต ารา หนังสือเรียน หนังสือเสริมประสบการณ์ รายงานการศึกษาค้นคว้า รายงานการวิจัย บทเรียนส าเร็จรูป และชุดการเรียน งานแปล บทความทางวิชาการ สารคดีเชิงวิชาการ เป็นต้น

2. งานเขียนที่ไม่เป็นทางการ เป็นงานเขียนที่ไม่ก าหนดแบบแผนเฉพาะ ใช้ภาษา ที่ไม่เป็นทางการ วิธีการเขียนขึ้นอยู่กับแบบฉบับ (Style) การเขียนของผู้เขียนแต่ละคน งานเขียน ประเภทนี้ ได้แก่ บันทึกประจ าวัน บันทึกการท่องเที่ยว บันทึกประสบการณ์ การวิจารณ์วรรณกรรม การแนะน าหนังสือ บทวิจารณ์ต่าง ๆ การเขียนเรื่องสั้น บทละคร นิทาน บทความและสารคดีที่

ไม่ใช่เชิงวิชาการ การเขียนโฆษณา เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป งานเขียนมีหลายรูปแบบ ซึ่งในการแบ่งขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายในการเขียน ลักษณะของงานเขียน และกลุ่มเป้าหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารถึง ซึ่งงานเขียนแต่ละประเภท จะมีลักษณะเฉพาะ ผู้เขียนจะเขียนแบบใด ประเภทใดก็ต้องเขียนให้ตรงกับลักษณะของงานเขียนนั้น

ลักษณะของงำนเขียนที่ดี

จากการศึกษาลักษณะของงานเขียนที่ดีจากทัศนะของนักวิชาการ สามารถสรุปได้ ดังนี้

1. ความถูกต้อง ได้แก่ มีเนื้อหาถูกต้องตามข้อเท็จจริง รูปแบบการน าเสนอถูกต้องตา ประเภทของงานเขียน การใช้ภาษาถูกต้องตามหลักภาษาและระดับภาษา ตลอดจนการอ้างอิง ถูกต้องตามแบบแผนของการอ้างอิง

2. มีความชัดเจน ได้แก่ การใช้ค าให้ถูกต้องตามความหมาย การเรียบเรียงประโยค ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้อ่านเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร รวมทั้ง มีกลวิธีการเขียนที่ท าให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพชัดเจน เนื้อหาของงานเขียนมีเอกภาพ เป็นต้น

3. มีความเรียบง่าย ได้แก่ การใช้ค าธรรมดา ๆ แต่สามารถอ่านแล้วเข้าใจทันที ไม่ใช้ค า ที่อ่านแล้วต้องแปลความหมายมาก ใช้ประโยคที่เรียบ ๆ แต่สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์และ จินตนาการต่างๆ เป็นต้น

4. มีความกระชับ ได้แก่ การใช้ค าน้อยแต่มีความหมายกว้างไม่ใช้ค าฟุ่มเฟือย อ้อมค้อม วกวน จนท าให้ไม่สามารถจับประเด็นของงานเขียนนั้นได้เลย

5. มีความสละสลวย ได้แก่ การใช้ภาษาสละสลวย รู้จักหลากค าเพื่อเลี่ยงความซ ้าซาก อันเกิดจากการช ้าค าเดิม ๆ ซ ้ากัน

6. สร้างความประทับใจ ได้แก่ การสร้างอารมณ์และความรู้สึกต่าง ๆ ให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึกที่ดีด้วยการใช้ค า ส านวนโวหาร ค าภาพพจน์ต่าง ๆ สื่อความโดยการใช้ค าที่เร้า ความรู้สึก อาจเกิดจากการเน้นค า ส านวน ประโยค เช่น การซ ้าค า ใช้ค าไวพจน์ ค าอธิพจน์ ฯลฯ

7. มีลีลา ได้แก่ ความสามารถในการเลือกสรรค ามาใช้ในงานเขียน แล้วท าให้ผู้อ่านเกิด ความรู้สึกที่ดี เช่น การใช้ถ้อยค าที่ราบรื่น การสร้างความไพเราะ การหลากค า การเล่นค า ฯลฯ

8. การสร้างภาพหรือจินตนาการ ได้แก่ การใช้ถ้อยค าเพื่อถ่ายทอดอารมณ์และ ความรู้สึกสู่ผู้อ่าน ให้ผู้อ่านได้จินตนาการ หรือสร้างอารมณ์ และมโนภาพตามที่ผู้เขียนต้องการ ในการเขียนเพื่อจุดมุ่งหมายนี้ จะต้องใช้ภาษาประณีตงดงาม สามารถสื่อความรู้สึกและอารมณ์

สะเทือนใจถึงผู้อ่านได้อย่างชัดเจน

9. มีความสร้างสรรค์ ได้แก่ ความสร้างสรรค์ทางความคิดของผู้เขียน ความสร้างสรรค์

ทางการใช้ภาษา และประโยชน์ในการสร้างสรรค์ที่ผู้อ่านจะได้รับ

อลิสา วานิชดี (2551 : 56 – 59) กล่าวว่า งานเขียนที่ดีนั้นจะต้องมีเอกภาพ คือ มีข้อความและความหมายส าคัญประการเดียว มีสารัตถภาพ คือ มีเนื้อหาความคิดที่ดี มีเหตุผล สร้างสรรค์ มีสัมพันธภาพ คือ มีการจัดระบบข้อมูลให้เชื่อมโยงกัน มีการใช้ภาษาที่ดี คือ ใช้ระดับ ของภาษาเหมาะสม ถูกต้องตามหลักภาษาและความนิยม ภาษาชัดเจน กระชับ ตรงจุดมุ่งหมาย