• Tidak ada hasil yang ditemukan

นอกจากด้านเนื้อหาเกี่ยวกับวัฒนธรรมสังคมและหลักธรรมค าสอนดังที่กล่าวไปแล้วนั้น วรรณคดีสินไซยังมีด้านศิลปะในการประพันธ์เรื่องสินไซเป็นหนังสือวรรณคดีชั้นยอดฉบับหนึ่งของ วรรณคดีที่ถูกเขียนขึ้นในสมัยอาณาจักรล้านช้าง ซึ่งถือได้ว่าผู้แต่งประสบผลส าเร็จทางด้านการใช้

ศัพท์ภาษาที่ไพเราะเป็นพิเศษ มีการต่อสู้ระหว่างตัวละครได้อย่างหน้าอัศจรรย์และประทับใจ เป็น วรรณคดีที่มีหลักการแต่งกลอนให้สัมผัสเชื่อมโยง ต่อเนื่อง ราบรื่นดีตั้งแต่ต้นจนจบ มีหลักของฉันท ลักษณ์อย่างถูกต้องกว่าบทวรรณคดีอื่นๆ ถึงแม้ว่าอาจมีบางค าศัพท์ที่เข้าใจยากแต่ก็สามารถดูดดื่ม หัวใจผู้อ่านสูงกว่าวรรณคดีเรื่องอื่นๆ มากพอสมควร เรื่องศิลป์ชัยมีจุดพิเศษอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น การพรรณนาภาพธรรมชาติที่ไพเราะ และภาพธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับชีวิตของตัวละครอย่าง เด่นชัด ตัวอย่างในตอนหนึ่งว่า

กายเขตไม้ เดียละดาดดงขวาง ภูชั้นสูง ฮ่องมีเหวห้วย ผ่อเห็น บงซางเฮี้ย เฮียงกอการกิ่ง ประดับน้ าแม้ บานเบื้อแบ่งเขียว มีดอกด้าย ซ่าค่างเคือสะเทีน กาวกะเล็นเกียง กิ่นหอมโรยเฮ้า ฟังยิน ยูงสูนผู้ สันดอนดังมี่

ค่างๆ ช้าง เสียงห้าวแกว่งกะดิง

(ค าพอ พวงสะบา, 1977: 22)

113 3.8.1 โครงเรื่อง

กล่าวถึงเรื่องราวชีวิตของสินไซ ตั้งแต่เกิดว่ามีปัญหาและอุปสรรคของชีวิตที่เกิดจาก ความเข้าใจผิด ความไม่มีเหตุผลของพ่อที่หูเบาเชื่อฟังเมีย และฟังความข้างเดียว เป็นเหตุให้สินไซกับ แม่ถูกขับไล่ให้ออกมาอยู่ในป่า เพราะถูกใส่ร้ายว่าคลอดออกมาแปลกประหลาด จะท าให้บ้านเมือง ทุกข์เข็ญเดือดร้อน ชาวเมืองทุกข์ร้อนเข็ญใจ เป็นกาลกิณีต่อบ้านเมือง ท าให้สินไซและแม่ ป้า ออกมา ตกทุกข์ได้ยากในป่า กินเผือกกินมันต่างข้าว มีสัตว์ป่าเป็นเพื่อน มีป่าเป็นที่อยู่อาศัยต่างบ้าน ซึ่งได้รับ ความล าบากทั้งกายใจ จนเติบใหญ่ได้ร่ าเรียนวิชาความรู้ มีอาวุธวิเศษที่ช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้

ในเรื่องแทรกไว้ด้วยคุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การให้อภัย และคติธรรมค าสอน ทางพระพุทธศาสนาที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจอยู่ภายในเรื่องมากมาย ทั้งยังสอนถึงความอดทน ไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรค การช่วยเหลือกันของญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกันลักษณะของโครงเรื่องไม่ซับช้อนตัว ละครสามารถจ าแนกออกเป็น ตัวละครที่เป็นมนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ ส าหรับตัวละครที่เด่นของเรื่อง คือ สินไซ ที่ก าหนดให้เป็นพระโพธิสัตว์ผู้มีบุญมาเกิดที่ประกอบด้วยรูปสมบัติ มีความสามารถมีอาวุธ วิเศษที่เกิดจากบุญบารมี และยักษ์กุมพันที่เป็นฝ่ายปรปักษ์ ชีวิตของตัวละครต้องมีอุปสรรค มีการ พลัดพรากจากคนรัก เช่น สามีภรรยา พี่กับน้อง บุตรกับบิดามารดา และพลัดพรากจากบ้านเกิดเมือง นอน ซึ่งเกิดจากอ านาจของกรรมเก่าที่อยู่ภายใต้กฎแห่งกรรม แต่ในท้ายที่สุดด้วยผลบุญที่ได้ท ามาก็

จะช่วยให้ตัวละครได้กลับมาอยู่ด้วยกัน นอกจากนี้เรื่องยังมีความขัดแย้งในระดับครอบครัวเช่นนางทั้งหก และนางจันทานางลุน น้องเขยและลุง ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ และความขัดแย้งทางศีลธรรมกับอธรรม

3.8.2 รูปแบบค ากลอน

สินไซเป็นกลอนที่แต่งเป็นบทวรรณคดีในรูปแบบค าประพันธ์เป็นกลอนลาวโบราณ ซึ่งกลอนดังกล่าวได้แต่งถูกหลักการสัมผัส (เอก, โท) มีศิลปะในการใช้ภาษาสูง ผู้ประพันธ์เป็น นักภาษาศาสตร์ ที่เข้าถึงอรรถรสภาษาอย่างแท้จริง เพราะว่าทุกบาท ทุกตอน ล้วนให้ความหมาย ชัดเจนและกว้างขวางทุกถ้อยค า ซึ่งท าให้ผู้อ่านได้ทั้งความไพเราะ และได้ทั้งความรู้เรื่องภาษา การแต่งกลอนมีความครบถ้วนตามมาตรฐาน มีค า วรรค ตอน เฟื้อง บาท บท ค าบุพบท และค าสร้อย ดังที่ (สิลา วีระวงส์, 1949: 16-18) กล่าวว่า ได้แก้ไขหนังสือเรื่องนี้คือได้เลือกเอาจากหนังสือสินไซ หลายๆ ฉบับ ซึ่งหนังสือสินไซฉบับที่น ามาจากทางเมืองโขง ถือว่าเป็นฉบับที่ถูกต้อง จึงเลือกเอาตาม ฉบับนั้น และได้วางหลักเกณฑ์การแก้ไขไว้ดังนี้

1. ศัพท์ใดหรือค าใด เห็นว่าแต่ก่อนเขียนมาผิด ก็ได้แก้ไขเฉพาะค าศัพท์หรือค าค านั้น 2. ค ากลอนบทใดเห็นว่า ขาดหาย ไม่เต็มบท กล่าวคือ ไม่เต็ม 4 บาท ก็ได้แต่งเพิ่ม ให้เต็ม 4 บาท แต่บทใดบาทใดแต่งเพิ่มใหม่ก็ได้ท าเครื่องหมายวงเล็บไว้ให้รู้ว่าถ้อยค าที่อยู่ในวงเล็บ นั้นเป็นของสีลา วีระวงส์ แต่งเพิ่ม

114 3. ในการเขียนค ากลอน ได้แยกออกให้เป็นบทเป็นบาทตามแบบกลอนวิชชุมาลีใน ภาษาบาลี เพราะค ากลอนสินไซเป็นกลอนวิชชุมาลี การแยกบทแยกบาทออกดังนี้ เป็นประโยชน์ให้

อ่านง่ายและรู้จักระเบียบบทกลอนได้เป็นอย่างดี เพราะค ากลอนบาทหนึ่งตามธรรมดาแล้ว มีแค่ 7 ค า เท่านั้น คือ วรรคต้นมี 3 ค า วรรคปลายมี 4 ค า แต่ถ้าบทไหนไม่ได้ใจความเต็ม ท่านก็จะเพิ่มค า ข้างหน้าเข้าอีกอย่างน้อย 2 ค า อย่างมากไม่เกิน 4 ค า ค าเพิ่มเติมข้างหน้าเรียกว่าค า บุพบท ได้แก่

ค าจ าพวก “แต่นั้น,เมื่อนั้น ...” เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ให้เพิ่มค าท้ายได้อีก 2 ค า เรียกว่า ค าสร้อย ค าจ าพวกนี้ได้แก่ “พุ้นเยอ, เจ้าเอย ...” เป็นต้น ประการส าคัญคือ เนื้อความทั้งตอนต้นและตอนท้าย ยังคงสื่อความให้เห็นการใช้ภาษาที่คมคายลึกซึ้ง

คันค่ าแล้ว นอนแนบมารดา สองแพงเพียน ก่อนเนาในห้อง มารดาเล้า โลมขวัญสามอ่อน ขอให้บุญแบ่งกุ้ม ค าไข้ย่าเถิง ลูกเมีย

(สิลา วีระวงส์, 1969: 93) ดังกลอนข้างบนเทียบใส่กับฉันทลักษณ์ของกลอนอ่านบทนี้

กางเอกโท กางเอกกางกาง กางกางกาง เอกกางกางโท

กางกางโท กางกางกางเอก

กางเอกโท กางโทเอกกาง

(พูมี วงวิจิด, 1991: 204) 3.8.2 รูปแบบการสัมผัส

หนังสือเรียนภาษาลาว (1972: 153-1548) ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะของค าสัมผัสสรุป ได้ว่า ลักษณะของค าสัมผัสมี 2 อย่าง คือ สัมผัสนอกและสัมผัสใน สัมผัสนอก หมายเอาค าในวรรคที่

1 ไปเกาะก่ายกับค าในวรรคที่ 2 -3- 4 ต่อๆ ไป สัมผัสใน หมายเอาค าอยู่ในวรรคเดียวกันเกาะก่าย กันเอง หรือสัมผัสกันเองเฉพาะในวรรคนั้นๆ สัมผัสในมี 2 อย่าง คือ สัมผัสสระ และ สัมผัสพยัญชนะ การสัมผัสพยัญชนะ คือค าที่ใช้พยัญชนะตัวเดียวกัน หรือ มีสระคล้ายคลึงกันเรียงกันอยู่

ในวรรคเดียวกันตั้งแต่ 2 ขึ้นไป หรือ จะมีพยัญชนะอื่นคั่นอยู่ค าหนึ่งก็ได้ มีลักษณะดังนี้

สองสั่งเจ้า เจ้าสั่งสองสี

สองสีขาน สั่งสองสีย้าย เมือเมืองพุ้น เพลาแล้วต่าว

115 ตางดั่งเป็นพี่น้อง ในนั้นท่องเทียว

(สิลา วีระวงส์, 1969: 63) สัมผัสสระ คือค าที่เกาะก่ายกันด้วยเสียงสระเดียวกันอยู่ในวรรคเดียวกัน

เดินดอยหลวง กว่าไกลใก้ล เยเขียวขึ้น เขางอนเมือง่อน คึดแม่ป้า ปุนไห้ร่ าไร เยือนยากท้าว ทังแร่งโรยแรง หลิงดอกไม้ ก้านก่องอินกอง บาก็ ยินดีผาย ล่วงซอนซมซ้อน สะเจาใจเจ้า เดินเดียวดั้นเดี่ยว ข้ามขอบด้าว ไปหน้าหน่องหนา ฟังยิน สังกุมาเค้า งอยคอนฮ้องค่อน พุ้นเยอ บางผ่อง ฮักฮ่วมซู้ ซมก้อยเกี่ยวกอย

กอยกลมเกี้ยว มือไลซ้อนไหล่

คือดั่ง สองก็ซู้ ซมเหง้าสว่างเหงา น้อยดุ่งเท้า เถิงเหล่าดอนเลา ไพแสนสน ด่านกวางดูกว้าง บาก็ ผายตนดั้น ดงยางเยื้อนย่าง คึดแม่ป้า เหลือทิ้วทอดทิว

ฟังยินกดก่าวท้วง ลางเหล่าดอนเลา พุ้นเยอ ชะนีนงคาน ส่งเสียงสูนเสี้ยง

แม้งหนึ่ง วันสูนด้าว ดอยหลวงลมล่วง พัดเมกค้าย คือม้าล่วงมา แลล้ าต้น ก้ายก่ายนางกาย ขูนฟูมเฟือย กาบซอนแซมซ้อน สีคานท้าว เดินเดียวดั้นเดี่ยว ข้ามขอบฟ้า เมือซั้นซ่องซัน

(สิลา วีระวงส์, 1969: 148-149)

116 3.8.3 ศิลปะแห่งการอุปมาอุปไมย

อุปมา อุปไมย คือการเปรียบเทียบ อุปมา คือการอ้างเอามาเทียบ อุปไมย คือสิ่งที่ควร จะหาสิ่งอื่นมาเปรียบเทียบ เพราะฉะนั้นอุปมาอุปไมย คือ การอธิบายโดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบ แล้วให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังท าความเข้าใจเอาเองตัวอย่าง อุปมาอุปไมย “สวยเหมือนนางฟ้า” สวย คือ อุปมา นางฟ้า คืออุปไมย (เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่าหญิงคนนั้นสวยมาก) ท าให้ผู้อ่านหรือผู้ฟัง จินตนาการหรือเข้าใจ มองเห็นภาพได้ง่ายและชัดเจนขึ้นว่าสวยมากขนาดไหน จึงได้เปรียบเทียบว่า สวยเหมือนกับนางฟ้า เหมือนเห็นภาพ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทั้งยังท าให้เกิดโวหารภาพพจน์ ท าให้เรื่อง ที่แต่งน่าสนใจ ดึงดูดใจผู้อ่าน เกิดอรรถรสในการฟังและอ่าน เช่นด าเหมือนตอตะโก ดีใจเหมือนได้ขึ้น สวรรค์ หลับเป็นตาย ด าเหมือนถ่าน ดุร้ายเหมือนพระยาราชสีห์ เป็นต้น

อันหนึ่ง กบเขียดแค้ว คาคาดฮูไป ย่าได้ คองเป็นดี ส่วนซีวังแวนส้วย เหตว่า ศัตรูเค้า ขโมยมันมีมาก

แฮงฮู้ เข้าสู่เงื้อม สะกอยหั้นแห่กา บ่ย่าแล้ว ปูนดั่ง คนบาบไม้ บุญผ่อนผลา

คันว่า ไกพงพเยีย แม่นวายแวนขั้น เล็งซ้อนซั้น มุกมาดมโนรด ปุนดาวเดีย ละลาดคือวันต้อง ผานผานเพี้ยน มูนเทียนเทวะลาด

แก้วก็ล้อม วันเข้มข่ายกะดิง (สมมัดติบั้น) ฟังยินฟ้าสะนั้นน้าว เบยเบกบัวละพา พุ้นยอ นับแต่พูทอนลุน ระนาดลงลาไท้

พระก็ทอมพมผ้าย เวลาหลายหลั่น

มโนนาดไท้ ทวงฟั่นฝ่ายหลัง (นากสะดุ้ง) ลอนท่อ ทงทาดตั้ง ตนปากเป็นเสียง แม่เอย มโนจอมเจีย ละจากคีงคือบ้า

(สิลา วีระวงส์, 1969: 435) 3.8.4 ด้านการใช้ค าผญา

ประเทศลาวเป็นประเทศที่มีอารยธรรมที่มีขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมความเป็น ตัวตนของตนเองที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ที่เรียกว่าภาษาลาว ภาษาพื้นบ้าน ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่เรียกว่าลาวล้านช้าง ค าผญา เป็น

Dokumen terkait