• Tidak ada hasil yang ditemukan

เรื่องยกมาประกอบในวรรณคดีเรื่องสินไซ

เรื่องยังแพร่หลายในสังคมลาว และคนส่วนใหญ่อาจได้ยินได้ฟังมาบ้างถึงแม้จะจดจ าเนื้อหา ไม่ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่เรื่องที่ได้รับความนิยม ผู้อ่านมักจดจ าเหตุการณ์ส าคัญของเรื่องหรือเหตุการณ์ที่

ประทับใจได้ และเหตุการณ์เหล่านี้ยังได้รับการผลิตหรือสร้างซ้ าในสื่อต่างๆ เช่น วรรณคดีมรดกหรือ วรรณคดีเรื่องสินไซ เป็นวรรณคดีที่ส าคัญและเป็นวรรณคดีที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตชาวลาว นอกจาก เป็นเรื่องราวที่มีฉาก ตัวละคร ที่แสดงความเป็นมาและเป็นไปของชีวิตและสิ่งต่างๆ ที่สามารถ ตอบสนองให้ผู้อ่านได้เกิดความรู้สึกคล้อยตาม ผู้แต่งยังได้สอดแทรกเรื่องทั้ง 5 เรื่อง คือ ท้าวสีวิไซ ขุนทึง-ขุนเทือง ไชยะเชด นางสิบสอง ชายล าลูกพ่อ (ก่ าพร้าผีน้อย) มาประกอบเพื่อเป็นการอภิปราย หรือขยายความให้แก่บางปัญหา บางเหตุการณ์ บางฉากและบางตัวละคร เพื่อท าให้เนื้อหาของเรื่องมี

ความชัดเจนและแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการอบรมสั่งสอน ให้ข้อคิด หรือให้คติอันดีงาม เพื่อที่จะได้น าไปปรับใช้ในการด าเนินชีวิตด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้แสดงว่าเรื่องสินไซน่าจะได้รับอิทธิพล จากวรรณคดีอื่นในสมัยนั้น และวรรณคดีลาวก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการนักปราชญ์ลาว นอกจากนี้ยังพบว่าเรื่อง “กาละเกด” ก็ได้ยกเอาเรื่อง สินไซ มาพูด ในตอนท้าวกาละเกดเกี้ยวนางมาลี

จันทร์ ได้กล่าวถึงนางเกียงค าก็ได้เสียกับสินไซแล้วเป็นเวลานานจึงได้ให้ผู้ใหญ่มาสู่ขอตามประเพณี

(ทองหมั้นขันตยะวง, 1967: 44-45) แสดงว่า เรื่องสินไซได้เกิดก่อนเรื่องกาละเกด 3.7.1 เรื่อง ขุนทึง-ขุนเทือง

ขุนเทืองครองเมืองได้อภิเษกกับนางรัตนะกัลยา ขุนเทืองได้เข้าป่าพบรักกับนางแอก ใค้ลูกสาวของพญานาคได้อยู่เมืองบาดาลและมีลูกด้วยกันชื่อขุนทึง ก่อนที่ขุนเทืองจะลานางแอกใค้

105 กลับเมือง นางแอกใค้ได้ล้วงเอาลูกออกจากท้องของตน แล้วน าใบตองทึง มาห่อลูกให้กับท้าวขุนเทือง เพื่อที่จะน าลูกกลับไปเลี้ยง ขุนเทืองน าขุนทึงกลับมาบ้านเมืองด้วยแต่กลัวนางรัตนะกัลยาท าร้ายจึงน า ลูกไปปล่อยป่า ตอนหนึ่งจึงกล่าวถึงเหตุการณ์ที่นางลุนและนางจันทาพร้อมด้วยลูกถูกพระยากุศราช ขับไล่ให้น าลูกที่คลอดออกมาเป็นท่อนไม้ออกจากเมืองไปอยู่ในป่า เพราะกลัวว่าจะเกิดเพศภัยและ กาลกิณีต่อบ้านเมือง สองพี่น้องได้รับความทุกข์เวทนาจึงได้ยกเรื่องเรื่องนี้ขึ้นมาเล่าต่อพี่น้องและ บ่าวไพร่ว่า

เทื่อนี้ เวรคอบแพ้ จ าจากไกลกัน แลเด อย่าได้ อาทรทุกข์ อยู่กระเสริมสมสร้าง เผื่อนี้ กรรมกรข้อง ถือ ทึง ท้าวป่า วันนั้น มีหมู่เนื้อ เป็นพ้องเพื่อนฝูง ก็เพื่อ เทือง ที่เหง้า นอนแนบนางลวง นานไปเป็น ลูกเนาในท้อง พอเมื่อ สาคอนบ้า นางลวงลืมเพศ เทืองหน่ายหน้า แหนงซ้ าสิ่งหนี

นางคานค้น เอาลูกทังฮวย สวยตองทึง ห่มยอยกให้

เทืองทวยอู้ม เอามาเมืองเก่า แม่บ่เลี้ยง บายถิ้มหน่ายหนา

ก าเนิดพุ้น เพี้ยงสิ่งสองเผือ นี้แล้ว เวรบังบา บ่ควรเฮาฮ้อน

ตามแต่ เทพาเพี้ยง แสนไตตองซ่อย โทษเฮา สองพี่น้อง สินได้แก่เวร หั้นแล้ว

(สิลา วีระวงส์, 1969: 87) 3.7.2 เรื่อง ไชยเชษฐ์

นางจ าปาทอง เป็นธิดาของท้าวอภัยนุราชเมืองเวสาลี อยู่มาวันหนึ่งนางไปพบไข่จระเข้

จึงน าไข่นั้นมาเพาะเลี้ยงไว้จนเติบโตเป็นจระเข้และได้ไปกัดกินท าร้ายชาวเมืองเสียชีวิต ท้าวอภัยนุราช จึงขับไล่นางออกจากเมือง นางจ าปาทองเดินทางอยู่ในป่าหนียักษ์ไปพึ่งฤๅษี ต่อมาเจ้าเมืองสิงหนซึ่ง เป็นยักษ์จึงขอมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม และใช้ชื่อใหม่ว่าสุวิญชา พระไชยเชษฐ์เป็นโอรสท้าวธรรมมึก

106 เจ้าเมืองเหมันต์ มีนางสนมอยู่เจ็ดคน วันหนึ่งพระองค์พานางทั้งเจ็ดไปเที่ยวป่า พระอินทร์รู้ว่าไชย เชษฐ์และนางสุวิญชาเป็นคู่กันจึงให้พระมาตุลีจ าแลงเป็นกวางทองล่อพระไชยเชษฐ์ให้ตามไปจนถึง เมืองสิงหล พระไชยเชษฐ์ได้พบนางสุวิญชาและได้อภิเษกสมรสกัน แล้วพากันมาอยู่เมืองเหมันต์ ฝ่าย นางสนมทั้งเจ็ดเกิดความอิจฉาริษยา ได้ท ากลอุบายให้ไชยเชษฐ์ไปคล้องช้างเผือกในป่า เมื่อนางสุวิญ ชาคลอดโอรส นางสนมทั้งเจ็ดน าโอรสใส่หีบไปฝังไว้ และท าอุบายว่านางสุวิญชาคลอดลูกเป็นท่อนไม้

เมื่อไชยเชษฐ์กลับมาได้ทราบเรื่องจึงพิโรธด้วยหลงเชื่อกลอุบายนางสนม และขับไล่นางออกจากเมือง ไปพร้อมกับนางแมว นางแมวพานางสุวิญชาไปขุดหีบที่นางสนมใส่โอรสฝังไว้ใต้ต้นไทร และพระอินทร์

ให้พระวิษณุกรรมพานางไปส่งยังเมืองสิงหนต่อมาไชยเชษฐ์คิดได้ว่าพระองค์นั้นหูเบาหลงเชื่อนางสนม จึงเดินทางไปตามนางสุวิญชาที่เมืองสิงหน เมื่อไปถึงได้พบโอรสคือนารายณ์ธิเบศร์แล้วเกิดต่อ สู้กัน นารายณ์ธิเบศร์แผลงศรใส่ไชยเชษฐ์แต่กลับกลายเป็นดอกไม้ ไชยเชษฐ์สงสัยว่าจะเป็นโอรสจึง อธิษฐานว่าถ้าหากเป็นโอรสของพระองค์ เมื่อแผลงศรไปขอให้ศรนั้นกลายเป็นอาหาร และก็เป็นดั่ง ค าอธิษฐาน นารายณ์ธิเบศร์พาพระบิดาไปเฝ้าท้าวสิงหน ท้าวสิงหนให้อภัยและให้ไชยเชษฐ์ไปเชิญ พระบิดามารดาของพระองค์มาจัดการอภิเษกกับนางสุวิญชาใหม่อีกครั้ง

เป็นดั่ง ไซยะเชดซ้อม ซมลูกสินนะลา นางนั้น แนวกุมพัน เผ่าพงคะนาน้ า เป็นเพื่อ กันดานท้าว ท าแถลงอ้างอ่อย มิกคะลาดเยื้อน โยงเข้าด่านดง ไซยะเชดซ้ า มีเชื่อโสมสวาง เฮวลวาผัน เผ่นตามตัวเนื้อ พอเมื่อ สุวรรณมีคาม้าง เป็นสวางสิทธิเดช กุมแก่นเหง้า หงายไว้แทบทะลา มันจิ่ง ดูส่องน้อย ในเฮื่อฮมมะนา น าเมือ ถวายสิงหน อี่ดูดาน้อย เมื่อนั้น นางสาวเซื้อ กุมภีเพ็งฮูบ ท้าวใหญ่เลี้ยง แพงไว้เกิ่งตา แล้วเล่า ปลูกหน่อไท้ ทังคู่ควรสม เป็นผัวเมีย สั่งเมือเมืองกว้าง หลายฤดูล้ า นางทงคับพระลูก หมอไก่ท้วง ทวายไท้ว่าดี

ฝูงพี่น้อง อาฆาตยินเหงา

107 ไววอนหา ซ่างเพียนพิมไม้

มาวางให้ มาดาดมกลิ่น นางบ่ฮู้ ค าเลี้ยวล่ายพาย อันที่ ลุกหน่อเนื้อ นางเกิดกลางอก เขาก็ เอาไปฝัง ที่โพนพันต้น แต่นั้น ความแผ่ถ้อย แถลงป่าวเป็นเข็น จ านางหนี จากเมืองมีเอื้อ

ยามมาไหว้ ทาสีสมประกอบ

ไหว้พี่เลี้ยง ค าแค้นเหนี่ยวแหน นางนั่งล้อม มหาโพดพิศสถาน

บาคานผาย ออกมามีแท้

พากันผ้าย ผลเมือเมืองปู่

ไปอยู่สร้าง สิมซ้อยฮุ่งเฮือง

(สิลา วีระวงส์, 1969: 349-350) กลอนบทนี้กล่าวถึงเรื่องราวของไชยเชษฐ์กับนางสุวิญชา ว่าเกิดเรื่องราวอะไรขึ้นบ้าง ระหว่างที่ไชยเชษฐ์ไปคล้องช้างเผือกแล้วสนมทั้งเจ็ดของไชยเชษฐ์ได้ให้ร้ายนางสุวิญชาว่าคลอดลูก ออกมาเป็นท่อนไม้ ด้วยความหูเบา ฟังความข้างเดียวและการใช้อารมณ์โกรธครอบง าของไชยเชษฐ์

จึงท าให้เกิดปัญหาตามมาจนเป็นเรื่องราวที่ท าให้เกิดความโกรธแค้นและเข้าใจผิดกัน จนจะท าให้พ่อ ลูกต้องฆ่าฟันกันเอง

3.7.3 เรื่องชายล าลูกพ่อ (ก าพร้าผีน้อย)

เรื่องท้าวก าพร้าผีน้อยเป็นชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่จุติลงมาเกิดที่เมืองอินทปัตถ์ เป็น เด็กก าพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก อาศัยการขอทานเลี้ยงชีพมีวันหนึ่งนายบ้านได้บอกให้ก าพร้าไปท า ไร่ เมื่อข้าวพืชงอกงามขึ้น ได้มีสัตว์ต่างๆ มากิน จึงไปขอเอาสายไหมจากย่าจ าสวน มาท าจึงจับได้ช้าง ช้างจึงร้องขอชีวิตถอดงาข้างหนึ่งให้ ท้าวก าพร้าผีน้อยน าเอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ต่อมาท้าวก าพร้าดักได้

เสือ จับพญาฮุ้ง และตัวสุดท้ายจับได้คือผีน้อยที่มาขโมยกินปลาที่ไซ ผีน้อยก็ยอมเป็นลูกน้อง ส่วนงาช้างที่เอามาไว้ที่บ้านนั้น ในงาช้างนั้นได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อสีดาอาศัยอยู่ นางได้ออกมา ท าอาหารไว้รอท้าวก าพร้า ต่อมาท้าวก าพร้าจับนางได้จึงทุบงาช้างนั้น เพื่อจะไม่ให้นางหลบเข้าไปอยู่

อีก นางจึงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่นั้นมา ความสวยงามของสีดา ได้ยินไปถึงพระราชา จึงท้า ท้าวก าพร้าท าการแข่งขันต่างๆ โดยถ้าท้าวก าพร้าแพ้จะเอานางสีดามา แต่ถ้าพระองค์แพ้จะยอมยก เมืองให้ครึ่งหนึ่ง การแข่งขันนั้นคือ ชนวัว ชนไก่ แข่งเรือ แต่ปรากฏว่าท้าวก าพร้าชนะทุกครั้ง ในการ

108 แข่งขันเรือนั้นพญาฮุ้งมาเป็นเรือและได้ท าให้เรือพระราชาล่มแล้วตาย และได้ไปเกิดเป็นผีแถน แต่มีใจ เสน่หานางสีดา จึงวางแผนร่วมกับ บ่างลั่วตัวหนึ่งให้ไปร้องเรียกเอาวิญญาณ (ขวัญ) นางสีดา ต่อมา วิญญาณของนางสีดาได้ไปอยู่กับพญาแถน ท าให้พญาแถนดีใจมาก จึงให้รางวัลแก่บ่างลั่ว และได้

เลี้ยงสุราจนบ่างลั่วเมาไม่ได้สติ ผีน้อยจึงอาสาพาบ่างลั่วไปส่งถึงบ้านระหว่างทางผีน้อยได้หลอกให้

บ่างลั่วเข้าไปนอนในข้อง บ่างลั่วรู้เท่าไม่ถึงการณ์จึงท าตามผีน้อยรีบปิดฝาข้องแล้วน ามาให้ท้าวก าพร้า ผีน้อย ท้าวก าพร้าผีน้อยได้บังคับให้บ่างลั่วเรียกเอาวิญญาณนางสีดากลับมา ผีน้อยจึงหลอกให้บ่างลั่ว แลบลิ้นที่เคยใช้เอาวิญญาณคนมาเป็นจ านวนมากแล้วตัดลิ้นบ่างลั่วเสีย เพราะเกรงว่ามันจะร้องเรียก เอาวิญญาณคนไปอีก เมื่อเจ้าเมืองอินทปัตถ์สิ้นชีพไปแล้ว ชาวเมืองจึงเชิญท้าวก าพร้าและภรรยา ปกครองบ้านเมืองสืบต่อมาทั้งนี้เพราะความดีของท้าวก าพร้าและภรรยาจึงปกครองบ้านเมือง โดยปกครองด้วยคุณธรรมสืบต่อมาท าให้ชาวเมืองอยู่เย็นเป็นสุข

ตอนสินไซอยู่ป่า พะยากุดสะลาด น าไพร่พลไปเชิญสินไซเข้ามาเสวยราชย์ นาคขึ้นไปทูล ท้าวสินไซ บอกว่า บัดนี้พระบิดาขอเข้ามาหา ท้าวสินไซจึงถามพระยาครุฑและนาคว่า เราควรจะเชิญ พ่อขึ้นมาหาเราถึงที่นี่จะควรไหม สิมพลีกลตอบว่า ท าแบบนั้นเป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง จะท าให้

ตัวเองเสียหน้า เพราะคุณของพ่อแม่ทั้งสองนั้นมากมายนักหนา ค าสอนนี้พวกเราได้รู้มาแต่โบราณ เมื่อนั้น สิมพะลีท้าว ทูลองค์ฮับฮีบ

ผีจัก ให้ชั่วช้า สหายพุ้นไปควร พระเอย เหตุว่า คุมคามเบื้อง สองพระยายังยิ่ง

โลกเล่าไว้ เฮาฮ็ซั่วบูลม เจ้าเอย เป็นดั่ง ลือลางพุ้น ซายล าลูกพ่อ

ไปปลูกเข้า เหนือล้านลาบมี

ก็เพื่อ คิดกั้งเกื้อ คุณพ่อเพียรคะนิง อินเอาผี เผี่ยนมูนมาให้

คุณคามได้ นางเซียงซ้างมอบ เซ็งฮอดเถ้า แถนฟ้าด่วนกะสัน ให้หมู่ก้า กวนยาดเอานาง ผีปอบปด จ่ านางนวลไห้

ดั่งนั้น ปาปังป้อง ซาวบนอัปปะลาด สองพี่น้อง กุมได้ดั่งฝัน

อันนี้ ลางเล่าไว้ มาแต่ปางประถม เจ้าเอย ควรที่เราลงย า ขาบคุณประนบน้อม

(สิลา วีระวงส์, 1969: 382)

Dokumen terkait