• Tidak ada hasil yang ditemukan

It indicated that the representation had been passed on for generations. it was found that Sinxai played a vital functions in the following six aspects.

N/A
N/A
Nguyễn Gia Hào

Academic year: 2023

Membagikan "It indicated that the representation had been passed on for generations. it was found that Sinxai played a vital functions in the following six aspects."

Copied!
498
0
0

Teks penuh

(1)

สินไซ : บทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกกับสังคมวัฒนธรรมลาว

วิทยานิพนธ์

ของ

Phitsaphong Vongphachanh

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

มีนาคม 2562

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(2)

สินไซ : บทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกกับสังคมวัฒนธรรมลาว

วิทยานิพนธ์

ของ

Phitsaphong Vongphachanh

เสนอต่อมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

มีนาคม 2562

สงวนลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(3)

Sin Sai: Functions and Interaction between Classical Literature and Laos Society and Culture

Phitsaphong Vongphachanh

A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of Requirements for Doctor of Philosophy (Thai)

March 2019

Copyright of Mahasarakham University

(4)

คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ได้พิจารณาวิทยานิพนธ์ของMissPhitsaphong Vongphachanh แล้วเห็นสมควรรับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญา ปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์

(ผศ. ดร. ราชันย์ นิลวรรณาภา )

ประธานกรรมการ

(รศ. ดร. ปฐม หงษ์สุวรรณ )

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก

(ผศ. ดร. สมัย วรรณอุดร )

กรรมการ

(ผศ. ดร. พยุงพร ศรีจันทวงษ์ )

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก

มหาวิทยาลัยอนุมัติให้รับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

(ผศ. ดร. กนกพร รัตนสุธีระกุล)

คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

(ผศ. ดร. กริสน์ ชัยมูล ) คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

(5)

บทคัดย่อ ภาษาไทย

ชื่อเรื่อง สินไซ : บทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกกับสังคมวัฒนธรรม ลาว

ผู้วิจัย Phitsaphong Vongphachanh อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร. ปฐม หงษ์สุวรรณ

ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา ภาษาไทย มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่พิมพ์ 2562

บทคัดย่อ

วรรณคดีเรื่องสินไซถือได้ว่าเป็นวรรณคดีมรดกชั้นยอดของกลุ่มชนชาวลาว และมี

บทบาทในทางสังคมวัฒนธรรมได้อย่างน่าสนใจ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1) เพื่อ ศึกษาบทบาทหน้าที่ของวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซในสังคมลาว และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมลาว โดยใช้ตัวบทวรรณคดี

ลาวเรื่องสินไซส านวนร้อยกรองจ านวนทั้งสิ้น 9 ส านวนและข้อมูลพื้นที่ภาคสนามที่ปรากฏเรื่องเล่า เกี่ยวกับสินไซซึ่งสัมพันธ์กับบริบทสังคมและวิถีวัฒนธรรมลาวในพื้นที่ประเทศลาว โดยใช้แนวคิด บทบาทหน้าที่ (Functionalism) และแนวคิดสหบท (Intertextuality)

ผลการวิจัยพบว่า วรรณคดีมรดกเรื่องสินไซ ได้รับการน าเสนอผ่านรูปแบบที่

หลากหลายต่างยุคต่างสมัยกัน ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการสืบทอดและพัฒนาการมาอย่าง ต่อเนื่องว่าเรื่องสินไซเป็นวรรณคดีมรดกที่ฝังแน่นอยู่ในความทรงจ าและปรากฏในสายธารวัฒนธรรม ของคนลาวมาโดยตลอด มิติดังกล่าวถือเป็นบทบาทหน้าที่ส าคัญของวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซ จาก การศึกษาพบว่าสินไซเป็นวรรณคดีที่มีบทบาทหน้าที่ที่ส าคัญต่อสังคมวัฒนธรรมลาว 6 ประการ คือ 1) บทบาทหน้าที่ต่อความบันเทิงในลาวทั้งต่อผญาภาษิต หมอล า ค ากลอน ละคร เรื่องสั้นลาว เป็น ต้น มิติเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าสินไซเป็นวรรณคดีที่เข้ามาแทรกซึมอยู่ในวิถีความบันเทิงแบบลาว 2) ด้าน การศึกษาและค าสอนพบว่า สินไซมีบทบาทหน้าที่ส าคัญต่อการศึกษาของลูกหลานชาวลาวทั่ว ประเทศ เนื้อหาที่ใช้ในวงการศึกษาลาวจะเน้นหลักค าสอนที่คอยกล่อมเกลาจิตใจลูก หลานชาวลาวให้

เป็นคนดีตามอุดมคติของสังคม และท าหน้าที่เสนอระเบียบกฎเกณฑ์ ที่เป็นบรรทัดฐานต่อเยาวชนลาว จึงถือได้ว่าสินไซเป็นวรรณคดีสร้างชาติและมีบทบาทหน้าที่ต่อการศึกษา 3) ด้านประเพณี พิธีกรรม พบว่า สินไซมีบทบาทต่อประเพณีพิธีกรรมการเทศน์ การบวงสรวงแถน การร าบวงสรวงปู่สินไซ การสู่

ขวัญ บทบาทหน้าที่ดังกล่าวท าให้สินไซเป็นวรรณคดีเรื่องส าคัญเรื่องเดียวที่อยู่ในความทรงจ าของ ผู้คนและช่วยแก้ไขปัญหาความคับข้องของชีวิตและเยียวยาความสิ้นหวังของผู้คนในลาว 4) ด้านการ

(6)

จ ปกครองสินไซได้มีบท บาทหน้าที่ต่อระบบการปกครองลาวทั้งในแง่ของค าสอนเรื่องระบบการ ปกครองที่มุ่งเน้นสอนให้ผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครองอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย ซึ่งตัวบทเสนอว่า ผู้น าหรือเจ้ามหาชีวิตลาวนอกจากเป็นนักปกครองที่มีบุญบารมีแล้วยังจ าเป็นต้องด ารงอยู่ใน ทศพิธราชธรรมตามขนบจารีตลาว 5) ด้านการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาวพบว่า มีบทบาทหน้าที่

ต่อการสร้างความเป็นลาวให้เด่นชัดขึ้น โดยเฉพาะการสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวกับคุณลักษณะและอุปนิสัย ของคนลาวให้มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งในส่วนของอัตลักษณ์การแต่งกาย อัตลักษณ์ทางครอบครัว และเครือญาติ อัตลักษณ์ทางภูมิวัฒนธรรม และการสร้างอัตลักษณ์ทางวรรณคดีของเรื่องสินไซโดย รื้อฟื้นวรรณคดีเรื่องสินไซและสัญญะทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องขึ้นมาใหม่ ในฐานะวรรณคดีและมรดก ของชาติร่วมกัน โดยมี “สินไซ” เป็นตัวกลางในการหลอมรวมประชาชนชาวลาวทั้งประเทศ และกลุ่ม ชาติพันธุ์ทั้งประเทศให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีวัฒนธรรมประเพณีอันยาวนานร่วมกัน และ 6) ด้านภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม ชี้ให้เห็นว่ายังมีการบันทึกภาพสังคมลาวในอดีตอย่าง น่าสนใจ และสินไซได้ส่งผ่านภาพสะท้อนประเพณีชีวิต วิถีชีวิตและระบบความเชื่อต่าง ๆ ของลาว ท า ให้เกิดความรู้และความเข้าใจสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ตลอดจนเข้าใจความนึกคิดของบรรพชนลาว

ส่วนการศึกษาด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมลาวมีการปฏิสัมพันธ์ใน 5 มิติด้วยกัน คือ 1) การปฏิสัมพันธ์ทางชนชั้นมีโครงสร้างชนชั้น แบบอาณาจักรล้านช้าง ดังพบว่า มีชนชั้นสูงแบบกษัตริย์ ชนชั้นกลางแบบพวกกระฎุมพี และชนชั้น ล่างแบบสามัญชนคนยากจนและกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ด้อยกว่า และการปฏิสัมพันธ์ทางชนชั้นยังได้ถูก น าเสนอผ่านการน าตัวบทวรรณคดีมาปรับใช้โดยนักธุรกิจ นักปราชญ์ นักศึกษา กวี ผู้น า รัฐชาติ เป็น ต้น 2) การปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองพบว่า สินไซได้มีปฏิสัมพันธ์ทางการเมืองทั้งในระบอบเก่า ก่อนปี

ค.ศ. 1975 การเมืองในช่วงปลดปล่อย ปี ค.ศ. 1975–1986 และการเมืองในยุคจินตนาการใหม่ ปี

ค.ศ.1986- ปัจจุบัน วรรณคดีเรื่องสินไซได้ถูกน าเอาแก่นความคิดและระบบการเมืองแบบสินไซเข้า มามีปฏิสัมพันธ์เข้ากับแนวคิดส าคัญ ๆ ของพรรคและรัฐ กล่าวคือ น าเอาแนวคิดในสินไซมาปรับใช้ใน ภารกิจการปฏิวัติและก่อสร้างสังคมนิยมในลาวได้อย่างมั่นคงและเข้มแข็ง 3) การปฏิสัมพันธ์ทาง ศาสนามีการปฏิสัมพันธ์ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์และคติความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ผสมกลมกลืน กันอย่างลงตัว 4) การปฏิสัมพันธ์ทางเพศพบว่า เพศได้ถูกก าหนดบทบาทตามสถานะเพศก าเนิด ดัง จะพบว่า ผู้ชายในวัฒนธรรมสินไซแบบลาวมีความเป็นผู้น าผู้คุ้มครองในสังคมลาว ขณะที่ผู้หญิงจะ ได้รับการให้ความส าคัญในแง่ของวิชาความรู้ในการครองเรือน และเป็นผู้สร้างและรักษาวัฒนธรรมใน ครอบครัว ทั้งในแง่ของความรักความผูกพัน รวมถึงความสามัคคีของคนในครอบครัวและเครือญาติ

แบบลาวเก่า คติเช่นนี้ได้ส่งผลมาถึงผู้คนในสังคมลาวปัจจุบัน และ 5) การปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์

พบว่า มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เผ่าลาว ทั้งเผ่าลาวเทิง (ข่า) เผ่าลาวสูง (ม้ง) และเผ่าลาว

(7)

ฉ ลุ่ม โดยตัวบทวรรณคดีได้น าเสนอให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ชาติพันธุ์เผ่าลาวลุ่มมีเหนือชาติ

พันธุ์อื่น

โดยสรุป วรรณคดีลาวเรื่องสินไซมีบทบาทหน้าที่และปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมวัฒนธรรมลาว มาโดยตลอดจากอดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ลักษณะดังกล่าวท าให้วรรณคดีมรดกสินไซมีความสัมพันธ์

และเชื่อมโยงกับสังคมวัฒนธรรมลาวในฐานะวรรณคดีของประชาชาติและวรรณคดีในวิถีวัฒนธรรม ลาวสินไซ

ค าส าคัญ : สินไซ, บทบาทหน้าที่, ปฏิสัมพันธ์, สังคมและวัฒนธรรมลาว

(8)

บทคัดย่อ ภาษาอังกฤษ

TITLE Sin Sai: Functions and Interaction between Classical Literature and Laos Society and Culture

AUTHOR Phitsaphong Vongphachanh

ADVISORS Associate Professor Pathom Hongsuwan , Ph.D.

DEGREE Doctor of Philosophy MAJOR Thai

UNIVERSITY Mahasarakham University

YEAR 2019

ABSTRACT

The literary work, ‘Sinxai’ is regarded as one of the greatest literary works of Lao people. It plays an interesting social and cultural function. The objectives of the research were 1) to study the functions and duties of the literary inheritance in Lao society, and 2) to explore the interaction between the inherited literature and social and cultural context of Laos. The research was based on nine versions of ‘Sinxai’

and field data combined. The concepts of functionalism and inter-texuality were applied in the research.

The research found that the literary work, ‘Sinxai’ was represented via a variety of forms in different ages. It indicated that the representation had been passed on for generations. it was found that Sinxai played a vital functions in the following six aspects. 1) Entertainment, proverbs, sayings, folk performance and short tales: it can be assumed that the literary work in the study were deeply rooted in the way of folk entertainment. 2) Education: the study found that Sinxai played a function in education of the generations of Lao people. The content as found in the work was used to instruct the young to be good according to the ideal goals as described in the work. 3) Tradition and rituals: it was found that Sinxai played a crucial function in giving the sermons, sacrificing, and performing other several rituals. Apparently, Sinxai was the only work that was deeply ingrained in Lao culture and could provide a spiritual help to those in despaire. 4) Government: the work taught both the rulers and the subordinates to live together peacefully and reciprocally. The study found that the

(9)

ซ ruler or leader in addition to being virtuous had to strictly observe the ten rules of the rulers as per the customs and traditions. 5) Identity of Lao people: Sinxai played a vital role in making being Lao more prominent, especially the characteristics and habits of Lao people. As the work revealed, other identities were also found:

dressing, families, kinship, cultural geography. The work in the study was the melting pot in which the entire population of Laos was molded, diverse ethnic groups were combined and the culture and traditions were shared. 6) Social and cultural mirror: records of the past society and livelihood of the Lao people were provided in the work. Sinxai had reflected the traditions and way of life, and beliefs of Lao people.

Considering the interaction between the work, ‘Sinxai’ and the social and cultural context, five dimensions were found. 1) Structured interaction: the Lanna style structure was found. The structure featured the high rank ‘monarch’, the middle class ‘bourgeoisie’, and the low class ‘the poor’ and the underprivileged’. The interaction between the classes was represented in the work in question. 2) Political interaction: Sinxai had characterized the political interaction before 1975, the liberation period of 1975 -1986, and the new era of 1986 –present. The concepts found in the work were wisely employed for the political purpose to strengthen the party’s goals. 3) Religious interaction: the work showed a well-balanced combination of Buddhism, Brahmanism and indigenous beliefs. 4) Sex/ gender interaction: it was found that people were assigned according to the gender. Men were typically leaders, rulers and protectors. On the other hand, women were taught how to manage households and they were to preserve and maintain the family culture. The concept and practice were even seen in the present day Lao society. 5) Ethnic interaction: it was found that the literary work in the study featured the Lao ethnic group being more dominant than other groups.

To conclude, Sinxai had played a very important function in terms of functions, duties and cultural interaction in Lao society. As a result, it has been irretrievably related to Lao society and culture.

(10)

ฌ Keyword : Sinxai, Functions, Interaction, Lao Cultural Society

(11)

กิตติกรรมประกาศ

กิตติกรรมประกาศ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ส าเร็จสมบูรณ์ได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งจาก รอง ศาสตราจารย์ ดร.ปฐม หงษ์สุวรรณ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก ครูผู้ประสิทธิ์ที่ประสาทความรู้

แนวคิดการวิเคราะห์ข้อมูลทางคติชนให้ค าปรึกษา ชี้แนะแก้ไข ข้อบกพร่องแก่ผู้วิจัยด้วยความเอาใจใส่

อย่างเมตตายิ่ง และอดทนช่วยปรับแก้ตรวจทานงานวิจัยด้วยความกรุณา จนท าให้งานวิจัยนี้สมบูรณ์

ยิ่งขึ้น

ขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.บัวลี ปะพาพัน ครูผู้ยิ่งใหญ่ ครูผู้ไม่เคยทอดทิ้งและเอาใจใส่

ผู้วิจัย ครูผู้สร้างผู้วิจัยให้เป็นผู้สืบทอด ให้ข้อคิดในการด าเนินชีวิต ขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.

พยุงพร ศรีจันทวงษ์ กรรมการสอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ราชันย์ นิลวรรณาภา ประธานกรรมการ สอบ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมัย วรรณอุดร กรรมการสอบ ที่ให้ค าแนะน า ชี้แนะแนวทางแก้ไข ข้อบกพร่องอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและกราบขอบพระคุณไว้เป็นอย่างสูง ณ โอกาสนี้

ขอบพระคุณพ่อบุนยัง วงพะจัน และแม่จันสะหมอน วงพะจัน ผู้มีพระคุณล้นเหลือผู้ให้ก าเนิด และให้ชีวิตเลือดเนื้อ และเป็นครูคนแรกที่อบรมเลี้ยงดูลูก และเห็นคุณค่าของการศึกษา และที่ส าคัญ ที่สุดคือสามี บุนจง กองค า ผู้ชายคนเดียวที่ไม่ยอมทอดทิ้ง เข้าใจ และให้ก าลังใจทุก ๆ เวลา แม้ยาม ล าบากเอาใจใส่ช่วยเหลือ ดูแลลูกชาย ชาคิด ชานน ชานุวง และในขณะที่เรียนยังได้มอบบุคคลผู้เป็นแรง บันดาลใจให้ผู้วิจัยมีก าลังใจลุกขึ้นสู้ คือ ลูกสาว ชาลี่น่า ให้แก่ข้าพเจ้า ซึ่งเป็นผู้ส่งรอยยิ้มเสียงหัวเราะ และรอยน้ าตาผลักดันให้ผู้วิจัยมีความเข้มแข็งหายเหนื่อย

ขอบพระคุณ ญาติ พี่ น้อง ที่ค่อยให้ความช่วยเหลื่อทางด้านก าลังใจและด้านการเงินในยาม ล าบาก และประชาชนลาวและไทยทุก ๆ คนที่ให้เอกสาร ข้อมูล ค าสัมภาษณ์ เพื่อน น้อง พี่ นิสิตสาขา ภาษาไทย ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน(ลาว) มหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกคน และครูอาจารย์ที่

ภาควิชาภาษาและวัฒนธรรมลาวทุกท่าน ที่คอยช่วยเหลือให้ก าลังใจ และเป็นกัลยาณมิตรแก่ผู้วิจัยเสมอ มา

คุณค่าและประโยชน์อันพึงมีจากวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ผู้วิจัยขอมอบเป็นเครื่องสักการบูชา พระคุณบิดามารดา ตลอดจนบูรพาจารย์ทุกท่านที่ได้ให้วิชาความรู้อบรมสั่งสอนให้ศิษย์เกิดสติปัญญา และคุณธรรม ซึ่งเป็นเครื่องชี้น าไปสู่ความส าเร็จในการด าเนินชีวิต

Phitsaphong Vongphachanh

(12)

สารบัญ

หน้า บทคัดย่อภาษาไทย ... ง บทคัดย่อภาษาอังกฤษ ... ช กิตติกรรมประกาศ... ญ สารบัญ ... ฎ สารบัญตาราง ... ฑ สารบัญภาพประกอบ... ฒ

บทที่ 1 บทน า ... 1

1.1 ภูมิหลัง... 1

1.2 ค าถามหลักในการวิจัย ... 16

1.3 ความมุ่งหมายของการวิจัย ... 16

1.4 ความส าคัญของการวิจัย ... 17

1.5 ขอบเขตการวิจัย ... 17

1.6 กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย ... 19

1.7 วิธีด าเนินการวิจัย ... 20

1.8 นิยามศัพท์เฉพาะในงานวิจัย ... 21

1.9 ข้อตกลงเบื้องต้น ... 22

บทที่ 2 แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง... 23

2.1 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ... 23

2.1.1 แนวคิดเรื่องบทบาทหน้าที่ ... 23

2.1.2 แนวคิดเรื่องสหบท ... 25

2.1.3 แนวคิดเรื่องการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม ... 26

(13)

2.1.4 แนวคิดเรื่องอุดมการณ์ ... 30

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ... 32

2.2.1 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดบทบาทหน้าที่ ... 33

2.2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสหบท ... 38

2.2.3 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม และความเป็นลาว ... 45

2.2.4 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสินไซ ... 59

บทที่ 3 ปริทัศน์วรรณคดีมรดกเรื่องสินไซ ... 74

3.1 ประวัติของวรรณคดีเรื่องสินไซ ... 74

3.2 ชื่อของผู้แต่ง ... 75

3.3 สมัยที่แต่ง ... 77

3.4 วรรณคดีเรื่องสินไซส านวนต่างๆ ... 79

3.5 เนื้อเรื่อง “สินไซ” ... 92

3.6 ด้านเนื้อหา ... 95

3.7 เรื่องยกมาประกอบในวรรณคดีเรื่องสินไซ ... 104

3.8 ด้านศิลปะการประพันธ์ ... 112

3.9 สินไซในบริบทสังคมละวัฒนธรรมลาว ... 119

บทที่ 4 บทบาทหน้าที่ของวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซในบริบทสังคมและวัฒนธรรมลาว ... 131

4.1 บทบาทหน้าที่ด้านความบันเทิง ... 131

4.2 บทบาทหน้าที่ด้านการศึกษาและค าสอน ... 144

4.3 บทบาทหน้าที่ด้านประเพณีพิธีกรรม ... 161

4.4 บทบาทหน้าที่ด้านการเมืองการปกครอง ... 170

4.5 บทบาทหน้าที่ด้านการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาว ... 178

4.6 บทบาทหน้าที่ด้านภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม ... 233

(14)

บทที่ 5 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมลาว ... 261

5.1 วรรณคดีมรดกเรื่องสินไซกับปฏิสัมพันธ์ทางชนชั้น ... 261

5.2 วรรณคดีเรื่องสินไซกับปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง ... 290

5.3 วรรณคดีเรื่องสินไซกับปฏิสัมพันธ์ทางศาสนา ... 321

5.4 วรรณคดีเรื่องสินไซกับปฏิสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ ... 381

5.5 วรรณคดีสินไซกับปฏิสัมพันธ์ทางเพศ ... 394

บทที่ 6 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ... 420

6.1 สรุปผลการวิจัย ... 420

6.2 อภิปรายผล ... 434

6.3 ข้อเสนอแนะ ... 454

บรรณานุกรม ... 455

ภาคผนวก... 470

ภาคผนวก ก รายงานผู้ให้สัมภาษณ์ ... 471

ภาคผนวก ข ตารางแสดงรูปหน้าปก ผู้จัดพิมพ์ และปีพิมพ์วรรณคดีสินไซส านวนต่างๆ ... 474

ประวัติผู้เขียน ... 477

(15)

สารบัญตาราง

หน้า ตาราง 1 ตารางแสดงหนังสือแบบเรียนลาว ... 147 ตาราง 2 ศัพท์ทางการเมือง การปกครองประกอบด้วยค าศัพท์ตามธรรมเนียมการปกครองของ เจ้ามหาชีวิต ... 295 ตาราง 3 เปรียบเทียบการสะกดค า ยุคเก่าหลัง 1975 ยุคใหม่ 1975 –1986 และยุคจินตนาการ 1994 –ปัจจุบัน ... 307 ตาราง 4 เปรียบเทียบค าศัพท์เมื่อเลิกใช้ค าราชาศัพท์ ... 316 ตาราง 5 ตารางแสดงรูปหน้าปก ผู้จัดพิมพ์ และปีพิมพ์วรรณคดีสินไซส านวนต่างๆ ... 475

(16)

สารบัญภาพประกอบ

หน้า

ภาพประกอบที่ 1 ภาพวาดสินไซเดินดง... 121

ภาพประกอบที่ 2 ภาพแกะสลักนางจันทา และนางหล้า ไปอยู่ป่า ที่วัดหายโสก ... 121

ภาพประกอบที่ 3 ภาพควัดยักษ์กุมภันฑ์ ... 122

ภาพประกอบที่ 4 ภาพปั้นหอยสังข์ ... 122

ภาพประกอบที่ 5 ภาพพะเจ้าสินไซ ... 125

ภาพประกอบที่ 6 ภาพหอยสังข์ ... 125

ภาพประกอบที่ 7 ภาพทุ่งกุ่ม ... 126

ภาพประกอบที่ 8 กลอนตามรอยปู่ปางค า ... 135

ภาพประกอบที่ 9 บทกลอนสินไซน าหาอา หลานสินไซน าหามูน ... 138

ภาพประกอบที่ 10 กราพย์กลอนชุดปันยา สารพัดนึกและกลอนล ำลำวดวงเดือน ... 140

ภาพประกอบที่ 11 บทละครล าสินไซ ... 141

ภาพประกอบที่ 12 (CD) ละครค ากลอนแสงสีเสียงเรื่องสินไซ ... 142

ภาพประกอบที่ 13 เรื่องสั้นสินไซ ... 143

ภาพประกอบที่ 14 ภาพวาดการ์ตูน ... 144

ภาพประกอบที่ 15 ภาพบทอ่านประกอบเรื่องสินไซในแบบเรียนก่อนปดป่อย ... 146

ภาพประกอบที่ 16 หนังสือเทศน์ใบลานเรื่องสินไซ ที่หอสะมุดแห่งชาติลาว ... 162

ภาพประกอบที่ 17 หนังสือเทศน์ใบลานเรื่องสินไซที่วัดดงเมี้ยง นครหลวงเวียงจันทน์ ... 163

ภาพประกอบที่ 18 ใบเสี่ยงเซียมซีหรือใบเสี่ยงทาย ... 164

ภาพประกอบที่ 19 ร าบวงสรวงปู่สินไซ ที่วัดผาสัง เมืองเฟือง แขวงเวียงจันทน์... 168

ภาพประกอบที่ 20 ภาพจุดบั้งไฟ ที่เดิ่นวัดสินไซ เมืองเฟือง แขวงเวียงจันทน์ ... 168

ภาพประกอบที่ 21 จารึกเจ้าอนุวงค์ ในวัดสีสะเกดที่นครหลวงเวียงจันทน์ ... 174

(17)

ภาพประกอบที่ 22 ผ้าสไบผู้หญิงลาว ... 185

ภาพประกอบที่ 23 ภาพปิ่นปัก ภาพปิ่นปักผมผู้หญิงลาว ... 187

ภาพประกอบที่ 24 ภาพเกล้าผมด้วยซ้องผู้หญิงลาว และภาพซ้องเกล้าผมผู้หญิง ... 188

ภาพประกอบที่ 25 ภาพการแต่งกายหญิงลาว และภาพ mister international 2017 สวมชุดสินไซ ... 189

ภาพประกอบที่ 26 ภาพศิลปกรรมเรื่องสินไซ หอพิพิธภัณฑ์ท่านไกสอน ประตูด้านหน้า ... 204

ภาพประกอบที่ 27 ภำพศิลปกรรมเรื่องสินไซ หอพิพิธภัณฑ์ท่ำนไกสอน ประตูด้ำนหลัง ... 204

ภาพประกอบที่ 28 ภาพศิลปกรรมเรื่องสินไซ หอพิพิธภัณฑ์ท่านไกสอน ประตูด้านข้างช้ายและขวง ... 204

ภาพประกอบที่ 29 ภาพศิลปกรรมเรื่องสินไซ หอวัฒนธรรม และสวนวัฒนธรรม ... 205

ภาพประกอบที่ 30 ชื่อบ้านจ าปา ... 213

ภาพประกอบที่ 31 วัดสินไซยาราม และวัดด่านสินไซวะนาราม ... 215

ภาพประกอบที่ 32 ทุ่งกุมที่วัดสินไซยาราม... 215

ภาพประกอบที่ 33 ภาพตราโรงเรียนสินไซ (SINXAY) ... 217

ภาพประกอบที่ 34 คลองหอยสังข์ บ้านจ าปา อ าเภอศรีโคตรบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ... 218

ภาพประกอบที่ 35 แม่น้ าสัง กับนางร า ร าถวายสังสินไซ เมืองเฟือง แขวงเวียงจันทน์ ... 219

ภาพประกอบที่ 36 ภาพผายม (ผายักกุมภัณฑ์นอนอ้าปาก) และ ภาพผานมนาง (ผานมนางสุมณฑา) ... 220

ภาพประกอบที่ 37 ผาสังข์ และชาวนา ... 221

ภาพประกอบที่ 38 ผำตัด และผำตอง ... 222

ภาพประกอบที่ 39 ป้ายป่าสงวนแห่งชาติ ภูพะนัง... 224

ภาพประกอบที่ 40 ภาพหินลาด ภาพรอยดาบและรอยท้าวยักษ์ ... 225

ภาพประกอบที่ 41 ภาพรอยลากดาบสินไซอยู่ท้ายหินลาดยาวต่อไปเกือบถึงหัวด่าน ... 226

ภาพประกอบที่ 42 ภาพรูพญานาคหรือบ่อน้ าศักดิ์สิทธิ์ที่วัดดานสินไซ ... 226

ภาพประกอบที่ 43 แผนที่เมืองจ าปานครราช ตั้งอยู่เขตวัดดานสินไซวนาราม ... 227

(18)

ภาพประกอบที่ 44 ภาพเทวลัยสินไซสู้กับงูซวง ที่มีข้อความใต้รูปปั้นที่ศาลาแก้วกู่ ... 228

ภาพประกอบที่ 45 วัดสินไซ ... 229

ภาพประกอบที่ 46 ภาพเทวลัยพระเจ้าสินไซ สีโหและสังข์ทอง และหลวงปู่น้อย เจ้าอาวาสวัดจ าปา ... 230

ภาพประกอบที่ 47 แผ่นหินกำรท ำนำยโหรำศำสตร์ ... 242

ภาพประกอบที่ 48 หมอจ้ า(ตู้ที่) นับข้าวสาร และท าพิธีกรรม เรียกขวัญ แก้พ่อเก่าแม่หลัง ที่เมืองปากลาย แขวงไชยะบูลี ... 252

ภาพประกอบที่ 49 ภาพแกะสลัก บานประตูที่หอพิพิธพันธ์ท่านไกสอน พมวิหาน ... 274

ภาพประกอบที่ 50 ภาพหน้าปกหนังสือมี่ท่านไกสอน และสินไซอยู่ในฉากด้านหลัง ... 276

ภาพประกอบที่ 51 ภาพ พุด อ าไพ เทียมพะสอน นักกีฬายิงธนูทีมชาติลาว รับบทเป็นสินไซแผลงศร ยิงธนูไฟจุดคบเพลิง พิธีเปิดการแข่งขันกีฬา นครหลวงเวียงจันทน์เกมส์ ... 278

ภาพประกอบที่ 52 โล่รางวัลสินไซของวารสารวรรณศิลป์ ... 278

ภาพประกอบที่ 53 ภาพสัญลักษณ์ สโมสรวัฒนธรรมสินไซ ... 279

ภาพประกอบที่ 54 ภาพโลโกบริษัท สินไซบริการจัดหางาน ... 280

ภาพประกอบที่ 55 ภาพรวมบทกลอนตามรอยปู่ส านวนกวีตามแนวปางค า ... 283

ภาพประกอบที่ 56 ภาพปกวรรณกรรมชั้นยอดของลาว “สังสินไซ” ... 284

ภาพประกอบที่ 57 ตราสัญลักษณ์ห้องการศูนย์ข่าว ชาวหนุ่มลาว สินไซยุคใหม่ FM 99.1 MHz ... 288

ภาพประกอบที่ 58 ภาพชุดแต่งกายสาละบับผู้หญิงลาวที่ปักด้วยดิ้งรูปภาพสินไซ นาค ยักษ์ ... 289

ภาพประกอบที่ 59 รวมหนังสือเรื่องสินไซ ที่เขียนเป็นภาษฝรั่ง และภาษาลาวระบอบเก่า ... 298

ภาพประกอบที่ 60 ภาพแกะสลักนูนสูงตัวละครสีโห ... 324

ภาพประกอบที่ 61 ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในวัดที่หลวงพระบาง ... 324

ภาพประกอบที่ 62 ภาพวาดสินไซ วัด จักรวาล อ าเภออาจสามารถ ... 325

ภาพประกอบที่ 63 ภาพวาดที่วัดประตูชัย อ าเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ... 326

ภาพประกอบที่ 64 แผนที่แสดงวัดที่มีจิตรกรรมเกี่ยวกับเรื่องสินไซทั้งในประเทศลาวและประเทศไทย ... 326

(19)

ต ภาพประกอบที่ 65 ภาพแกะสลักตัวละครในเรื่องสินไซ และมีชื่อของผู้บริจาคบันทึกไว้ใต้รูปภาพ . 328 ภาพประกอบที่ 66 ชาวจีนและพุทธประวัติ ที่วัดล้วงคูน อ าเภอจอมเพ็ด จังหวัดนครหลวงพระบาง ... 333 ภาพประกอบที่ 67 ภาพฝาผนังเรื่องสินไซ ด้านนอกที่วัดบ้านทวด จังหวัดสะหวันนะเขด ... 334 ภาพประกอบที่ 68 ภาพฝาผนังเรื่องสินไซ ด้านนอกที่วัดหนองบัวท่า อ าเภอสองคอน จังหวัดสะหวันนะเขด ... 335 ภาพประกอบที่ 69 ภาพฝาผนังเรื่องสินไซ ด้านในที่วัดตาเหลว จังหวัดสะหวันนะเขด ... 336 ภาพประกอบที่ 70 ภาพสินไซยิงศรใส่ยักษ์กุมพัน ที่วัดเชี่ยงม่วน เมืองหลวงพระบาง แขวงนคหลวงพระบาง ... 336 ภาพประกอบที่ 71 ภาพสินไซยิงศรใส่ยักษ์กุมพัน ที่วัดจอมไต แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ... 337 ภาพประกอบที่ 72 ภาพรูปแกะสลักเรื่องสินไซ วัดหายโสก อ าเภอสีสัดตะนาค นครหลวงเวียงจันทน์

... 338 ภาพประกอบที่ 73 ภาพการแกะสลักเรื่องสินไซ วัดทุ่งตูม อ าเภอจันทบุรี นครหลวงเวียงจันทน์ ... 340 ภาพประกอบที่ 74 ภาพแกะสลักสินไซและสังข์ทอง วัดโชกไช จังหวัดนครหลวงเวียงจันทน์ ... 341 ภาพประกอบที่ 75 ภาพแกะสลักสินไซ วัดไตน้อย อ าเภอศรีโคตรตะบอง จังหวัดนครหลวงเวียงจันทน์ ... 341 ภาพประกอบที่ 76 ภาพแกะสลักสินไซ วัดอูบมุง เมืองศรีโคตรบอง แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ .... 341

ภาพประกอบที่ 77 ภาพแกะสลัก (รูปควัด) นูนสูง สินไซและยักษ์กุมพันที่ประตูโขงด้านในและ ด้านนอก วัดจอมไตร อ าเภอศรีโคตรบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ... 342

ภาพประกอบที่ 78 ภาพแกะสลัก (รูปควัด) นูนสูง สินไซและยักษ์กุมพันที่ประตูโขงด้านในและ ด้านนอก วัดจอมไตร อ าเภอศรีโคตรตะบอง นครหลวงเวียงจันทน์ ... 342

ภาพประกอบที่ 79 ภาพสินไซ ยักษ์กุมพัน ที่วัดหัวขัว อ าเภอไชยเชษฐา จังหวัดนครหลวงเวียงจันทน์

... 343 ภาพประกอบที่ 80 ภาพสินไซ ยักษ์กุมพันอุ้มนางสุมณฑา วัดสีสังวอน จังหวัดนครหลวงเวียงจันทน์

... 343 ภาพประกอบที่ 81 ภาพสินไซและยักษ์กุมพัน วัดถ้ าพระ อ าเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ ... 343

(20)

ภาพประกอบที่ 82 ภาพศิลปะรูปปั้นลอยองค์ตัวละครแวดล้อมในพุทธศาสนา ... 345

ภาพประกอบที่ 83 ภาพรูปสินไซที่ประตูโบสถ์วัดและภายในบริเวณวัด ... 345

ภาพประกอบที่ 84 ภาพแสดงความปฏิสัมพันธ์ของวรรณคดีเรื่องสินไซกับพุทธศาสนิกชนชาวลาวและ พุทธศาสนา ... 346

ภาพประกอบที่ 85 ภาพโครงสร้างเกี่ยวกับการก าเนิดความเชื่อของมนุษย์ ... 348

ภาพประกอบที่ 86 ภาพโครงสร้างของศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อสินไซและวัฒนธรรมลาว .... 348

ภาพประกอบที่ 87 ภาพหมอพราหมณ์ (หมอพอน) ท าพิธีบายศรีให้คณะผู้แทนแนวโฮมนครหลวง ฮานอย ณ โรงแรมล้านช้าง และพิธีบายศรีในโอกสาบุญปีใหม่ลาว ... 351

ภาพประกอบที่ 88 ภาพหมอพราหมณ์ (หมอพอน) ท าพิธีแต่งงาน ให้ครอบครัวของคนลาว ... 351

ภาพประกอบที่ 89 ภาพ โครงสร้างความส าคัญของพราหมณ์ ... 356

ภาพประกอบที่ 90 ภาพเทวดาหลวง สิงแก้วสิงค า (สิงกับสิงโขน) ที่นครหลวงพระบาง ... 358

ภาพประกอบที่ 91 โครงสร้างความเชื่อเรื่องผีแถนของชาวลาว ... 363

ภาพประกอบที่ 92 ภาพอาหารเซ่นไหว้และหุ่นกระบอกอี่ป๊อกที่เป็นยักษ์ ... 367

ภาพประกอบที่ 93 ภาพแผนภูมิผีด้ าในเรื่องของสินไซมีปฏิสัมพันธ์กับชาวลาว ... 369

ภาพประกอบที่ 94 ภาพประเพณีการแห่พญานาคลงมาจากภูสี ตั้งหันหน้าไปทางอาณาจักรหนองแส ... 371

ภาพประกอบที่ 95 นาค 24 ตระกูล ที่นะครหวงพระบาง ... 372

ภาพประกอบที่ 96 วังปู่พญาสีสัดตะนาค ที่พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ... 376

ภาพประกอบที่ 97 ภาพพระเจ้าสินไซนั่งบนหอยที่เป็นสังข์ทองและขี่สีโหที่เป็นสามเศียร ... 379

ภาพประกอบที่ 98 ธงชาติลาวที่มีสัญลักษณ์ช้างสามเศียรสมัยที่มีเจ้าชีวิตปกครอง ... 379

ภาพประกอบที่ 99 ภาพสัญลักษณ์อาณาจักรลาวล้านช้าง ... 380

ภาพประกอบที่ 100 ภาพธนบัตรเงินกีบของลาวที่เป็นภาพแทนของสามเผ่าในลาว ... 382

ภาพประกอบที่ 101 การแต่งกายของเด็กผู้หญิงลาว ... 387

ภาพประกอบที่ 102 ภาพบั้งชิ้น หรือบั้งอาหาร ... 389

ภาพประกอบที่ 103 ภาพหญิงเผ่าม้งใส่หมวกในประเพณีกินเจียง ... 392

(21)

ท ภาพประกอบที่ 104 แผนภูมิการตีความผ่านอนุภาคเหตุการณ์การลืมวัตถุสิ่งของในเรื่องสินไซ ... 393

ภาพประกอบที่ 105 ภาพผู้หญิงลาวบวขชี ที่วัดป่า รอยพุทธพระบาท น้านนานิน อ าเภอเวียงค า จังหวัดเวียงจันทน์ ... 411

(22)

1

บทที่ 1 บทน า

1.1 ภูมิหลัง

ในหลายศตวรรษที่ผ่านมาวัฒนธรรมโบราณ มอญ ขอมและอินเดีย ได้เป็นพื้นฐานในการ ก่อสร้างวัฒนธรรมแห่งชาติของลาว ช่วยให้วัฒนธรรมและวรรณคดีลาวมีความเข้มแข็ง เมื่อประเทศ ลาวล้านช้างก าเนิดขึ้น วรรณคดีก็อยู่ในความทรงจ าของคนพื้นเมืองด้วยการเล่าปากต่อปาก ซึ่งการ แต่งวรรณคดีในระยะนั้น ส่วนมากมักปรากฏในนิทานประวัติศาสตร์ที่เล่าด้วยปาก จนกลายเป็นนิยาย พื้นเมือง ส าหรับการก่อตัวขึ้นของบ้าน เมือง หรือนครรัฐได้ถูกจดบันทึกไว้ในตัวอักษรหรือเล่าด้วย ปากอันเป็นเรื่องแรกของประวัติศาสตร์วรรณคดีของชาติลาว คือ ปู่เยอย่าเยอ" (หอสมุดแห่งชาติ, 1969: 8) ที่กล่าวถึงสมัยบุกเบิกเมืองชวา (หลวงพระบางในปัจจุบัน) และภายหลังก็ได้มีการเขียนเป็น นิยายเอาไว้ว่าเจ้าเมืองอินทปัฐนคร (ขอม) ได้ขึ้นมาสร้างเมืองหลวงพระบางในสมัยที่ขอมรุ่งเรือง อ านาจ และสิ่งที่จารึกในประวัติศาสตร์ของชาติลาวให้มีสีสันขึ้นอีกคือ เรื่องความรัก ความผูกพัน ระหว่างหนุ่มพุทธเสน กษัตริย์แห่งเมืองอินทปัฐนครและนางกางฮี เจ้าหญิงแห่งกษัตริย์เมืองชวา เรื่อง ได้พูดถึงการปะทะกันระหว่างเผ่าเหนือ และเผ่าใต้ ดังนั้นจึงมีนิยายเกี่ยวกับภูเขาสองลูกอยู่เคียงคู่ริม โขง ด้านทิศตะวันตกของหลวงพระบาง เรียกว่าภูท้าว ภูนาง (บุนเฮ็ง บัวสีแสงปะเสีด, 1995: 34) ที่ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ ที่คนทั้งหลายได้เล่าถึงการตายของคนสองคนที่ไม่สามารถรักกันได้ เพราะ เป็นคนต่างเชื้อชาติ ต่างเผ่าพันธุ์

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ดังกล่าวได้ผ่านไปหลายยุคหลายสมัยในขบวนการวิวัฒน์แห่งการ สร้างบ้านแปงเมืองนั้น แต่ละชุมชนก็เกิดมีผู้น าที่ดีเด่นและได้รับการยกย่องสรรเสริญจากประชาชน บรรดาเหล่าเจ้าบ้านเจ้าเมืองผู้ดีเด่นเหล่านั้นได้ถูกจดบันทึกสร้างเป็นนิทานสืบทอดต่อกันมา เช่น การกล่าวถึงเจ้ารัดสีได้สร้างเมืองชวา ซึงปัจจุบันคือเมืองหลวงพระบาง นิทานจันทะพานิด (หอสมุด แห่งชาติ, 1969: 2) ชาวบ้านชาวเมืองนับหน้าถือตาและได้ยกขึ้นเป็นกษัตริย์ของเมืองชวา

เคียงข้างกับนิทานประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก็มีนิทานที่มีลักษณะสังคม ซึ่งกล่าวถึงเจ้าฟ้ามหา กษัตริย์องค์แรกของลาว เกี่ยวกับขุนบูรมและขุนลอ ที่ปรากฏขึ้นในศตวรรษที่ 8 ซึ่งขุนบูรมผู้เป็นพ่อ ได้มีค าสั่งให้ขุนลอลงมาสร้างเมืองใหม่อยู่ที่เมืองชวาเชียงทอง เป็นเมืองหลวงพระบางในปัจจุบัน ดังนั้นขุนลอจึงเป็นผู้เปิดหน้าประวัติศาสตร์ลาวครั้งแรก ต่อมาเจ้าฟ้างุ่มได้เป็นผู้สืบต่อเขียน ประวัติศาสตร์ของลาว คือ ค าโอวาทของเจ้าฟ้างุ่มที่ทรงตรัสสั่งในพิธีฉลองชัยที่เวียงจันทน์ ค าโอวาท

(23)

2 ดังกล่าวเป็นวรรณคดีอันทรงคุณค่า และอาจถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของลาว นอกจากนี้คน ลาวยังยกย่องค าโอวาทของเจ้าฟ้างุ่มวรรณคดีชิ้นแรกของลาวสมัยล้านช้างในศตวรรษที่ 14 (บัวบาน วอละขุน, 2007: 37) จากนั้นพุทธศาสนาก็เติบโตอย่างกว้างขวาง คัมภีร์ต่างๆ ของพุทธศาสนาเช่น พระไตรปิฎกก็ได้น ามาเผยแผ่

ต่อมาศตวรรษที่ 16 เจ้าวิชุนนะราชได้ตั้งคณะบรรณาธิการแปลคัมภีร์พุทธ นิทานนางตันไต และหนังสือต่างๆ ของฮินดูเป็นภาษาลาว ท่านได้แปลชุดคัมภีร์พระไตรปิฎก ที่เล่าถึงชาติก่อนของ พระพุทธเจ้าออกมาเผยแผ่อย่างกว้างขวางในสังคมลาว ท าให้ประวัติศาสตร์ชาติลาวได้ก้าวเข้าสู่ครั้งที่

สามอันเป็นยุคสมัยที่เวียงจันทน์ได้พัฒนากลายเป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านการเมือง และวัฒนธรรมของ ทั่วประเทศ กลุ่มชาติพันธุ์ระหว่างคนลาว-ไตและคนขอม(ขมุ) เป็นพื้นฐานแห่งนิยายเรื่อง "หมาก น้ าเต้าปุง" (หอสมุดแห่งชาติ, 1969: 2) พบว่ามีการอธิบายถึงต้นก าเนิดการรวมกลุ่มของสองชุมชน ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นฐานแห่งการประพันธ์วรรณคดีขนาดใหญ่ของยุคนั้น คนโบราณอยากสอนให้คนทั้ง สองชุมชนนี้สามัคคีปรองดองกัน เพราะทุกคนเกิดอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน เปรียบดั่งผลน้ าเต้าปุงลูก เดียวกัน

วรรณคดีประเภทประวัติศาสตร์ก็ได้ก าเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ บรรดาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์

ไม่เพียงแต่ต้องการจดบันทึกประวัติศาสตร์ของสมัยตนปกครอง หากยังติดตามค้นหาต้นตอที่ยาวไกล ของเชื้อสายวงศ์ตระกูลตนเอาไว้ สิ่งเหล่านั้นค้นพบอยู่ในนิยายขุนบูรม ผู้ซึ่งเป็นบรรพบุรุษที่เก่าแก่

ที่สุด ผู้เปิดฉากอุดมการณ์ให้เชื้อสายกษัตริย์ลาวคนแรก นักประวัติศาสตร์มหาเทพหลวงพระสังฆราช มหามงคลสิทธิ พระอริยวังโส และนักปราชญ์อยู่ในวังจ านวนหนึ่งได้ลงมือเขียนนิทานขุนบูรมนี้ขึ้น (ทองเสี่ยน ลาดชะวง, 2002: 55) คือรากฐานเบื้องต้นของประวัติศาสตร์ลาว บรรดากษัตริย์ล าดับ ต่อ ๆ มาก็ได้สืบทอดเขียนมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นประวัติศาสตร์ลาวที่ถูกจดจ ากันมาจนถึงปัจจุบัน ต่อจากนั้นมาวรรณคดีก็ได้รับการเขียนขึ้น ตัวหนังสือของลาวได้มีมานานบนพึ้นฐานหนังสือบาลีสัน สฤตเพื่อมาดัดแปลงเป็นหนังสือลาว และถูกน ามาใช้ในการประพันธ์วรรณคดี บทวรรณคดีเขียนส่วน ใหญ่ขีดเขียนลงในใบลาน จัดเป็นผูกเป็นมัด และเรียกว่า “ล า”หนังสือต่างๆ ผู้ที่มีผลงานเขียน ด้านวรรณคดีคือ พระสงฆ์ที่บวชเรียนเขียนอ่านอยู่ในวัดอันเป็นวรรณคดีทางศาสนา จนกลายเป็น ศิลปะพื้นบ้านที่สร้างขึ้นโดยศิลปินพื้นเมือง และประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย ท าให้คนทั้งหลายนั้น ได้น าเอาจิตใจของพุทธศาสนาออกมาเล่าตลอดจนถึงท่าทีลีลา ซึ่งเป็นการบ ารุงรักษาวรรณคดีเหล่านี้

ศตวรรษที่ 17 ยังเป็นศตวรรษที่เบ่งบานของวรรณคดีแห่งชาติ วัดได้เกิดขึ้นทั่วทุกแห่งและ ได้กลายเป็นศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมของบ้านเมือง กล่าวได้ว่าวัดเป็นสถาบันสร้างปัญญาชนเหล่านั้น ขึ้น บรรดานักศิลปินหมอล าที่เกี่ยวข้องกับวัดและศาสนา ซึ่งผู้ที่น าเอาวรรณคดีเล่าด้วยปากไปสู่

วรรณคดีลายลักษณ์ นั้นเป็นผลงานของนักปราชญ์ลาวสมัยโบราณที่เรียนจบจากวัดนั้นเอง วรรณคดี

ของอินเดียมีลักษณะเป็นชาดก มีอยู่ในความทรงจ าของประชาชนก็ถูกแต่งขึ้นเป็นวรรณคดีโดยแปล

Referensi

Dokumen terkait

Therefore, is considered an issue that Challenging and necessary for the 10 countries that ASEAN members must prepare and deal with the changes that will occur from "Aging society

อัล-นูร ในการศึกษา คือ ผูบริหารองคการบริหารสวนตําบลประกอบดวย นายกองคการบริหารสวนตําบล รองนายกองคการ บริหารสวนตําบล ประธานสภาองคการบริหารสวนตําบล ปลัดองคการบริหารสวนตําบล