• Tidak ada hasil yang ditemukan

บทบาทหน้าที่ด้านภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม

4.2 บทบาทหน้าที่ด้านการศึกษาและค าสอน 4.3 บทบาทหน้าที่ด้านประเพณี พิธีกรรม 4.4 บทบาทหน้าที่ด้านการเมืองการปกครอง

4.5 บทบาทหน้าที่ด้านการสร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาว 4.6 บทบาทหน้าที่ด้านภาพสะท้อนทางสังคมและวัฒนธรรม 4.1 บทบาทหน้าที่ด้านความบันเทิง

ความบันเทิงหมายถึงสิ่งที่สร้างความสุข ความจรรโลงใจ ความเพลิดเพลินต่าง ๆ ให้กับผู้คน ที่แสวงหาสิ่งเหล่านั้นเพื่อผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ าวัน เช่น การอ่าน วรรณกรรม ภาพยนตร์ ดนตรี ละครเวที โทรทัศน์ วิทยุ และการละเล่น. ดังที่ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายค า บันเทิงว่า บันเทิงเป็นการท าให้รู้สึกสนุก เบิกบาน รื่นเริง (ราชบัณฑิตยสถาน, 2554: 664) เรื่องสินไซ เป็นวรรณคดีประเภทหนึ่งที่ให้ความบันเทิง ดังที่ (สิลา วีระวงส์, 2512: 7-8) กล่าวว่า ท้าวปางค าแต่ง เรื่องสินไซออกเป็นค ากลอนใช้ส าหรับอ่านฟังในเวลามีงานบุญที่ส าคัญ เช่น งานงันเฮือนดี (งานศพ ตอนกลางคืนที่นิยมอ่านหนังสือผูก) การอยู่ไฟ แสดงว่าวรรณคดีสินไซมีบทบาทหน้าที่ในการเยียวยา ความโศกเศร้าของผู้คนในอดีต เมื่อเป็นเช่นนี้จึงควรพิจารณาได้ว่าวรรณคดีเรื่องดังกล่าวคงเป็น วรรณคดีที่ได้รับความนิยมไม่น้อยในอดีต จนมาถึงสมัยปัจจุบันวรรณคดีเรื่องสินไซยังมีบทบาทหน้าที่

รับใช้สังคมในด้านความบันเทิงในมิติที่แตกต่างจากในอดีตโดยใช้เป็นแกนเรื่องสร้างสรรค์ ศิลปกรรม

132 แขนงอื่น เช่น ใช้เป็นผญาภาษิต บทกวี กลอนล า ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ เรื่องสั้น ภาพวาดการ์ตูน เป็นต้น ซึ่งจะอธิบายดังต่อไปนี้

4.1.1 สินไซกับผญาภาษิตลาว

ค าว่า “ผญาภาษิต” เป็นส านวนภาษาท้องถิ่นที่สร้างขึ้นเพื่อเป็น ค าสอนอบรมลูกหลาน ขัดเกลาจิตใจให้มีแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้ถูกต้องและเป็นคนดี เนื้อหาของผญาภาษิต จึงแฝงด้วยแง่คิดที่มีสาระเชิงคติธรรมค าสอน มีความสัมพันธ์ต่อวิถีชีวิตของชาวลาวโดยทั่วไป (เยาว ลักษณ์ แสงจันทร์และชัยณรงค์ ศรีมันตะ, 2560: 97) จะเห็นได้ว่า “ผญาภาษิต” นั้นเป็นเครื่องมือ ทางภาษาอย่างหนึ่งที่มีเนื้อหาสะท้อนระบบคิดและวิถีชีวิตของกลุ่มคน ดังนั้นวรรณคดีมรดกเรื่อง สินไซ จึงมีบทบาทหน้าที่ต่อวิถีชีวิตของผู้คนวัยหนุ่มสาวในสังคมวัฒนธรรมลาว ดังมีความปรากฏ ในผญาภาษิตลาว ดังตัวอย่างต่อไปนี้

นางเอย คันว่าบ่ได้น้อง แล้วสิเฮ็ดให้ได้คือยักษ์ใหญ่กุมพัน สุมุณฑาลัก หอบทะยานแยงผ้าย

น าตัวนางไปไว้ ผาทองถ้ าใหญ่

เป็นเมียแพงแนบใกล้ ใจบ้าห่ากิน ติแต่กุมพันฮ้าย สุมุณฑาพัดแห่งติ้ว ถืกความรักกอดกิ้ว หิวไห้ห่วงแต่ผัว

สังสินไซบ่เคยย้าน ยักษ์กันดานพอสะหน่อย กุมพันถ่อยยักษ์ฮ้าย มาโฮมเต้าต่อตาย ติแต่กุมพันฮ้าย สุมุณฑาแล่นใส่

เอายาวไว้ คือสินไซฟันไฮ่

ปีนี้ได้แต่ป้้า ปีหน้าจึงค่อยถาง โอน้อ จนว่าโลกสะท้าน สั่นสะนั่นขวัญลุก เถิงว่าสินไซออย อ่อยอาบ่มีเกี้ยว คิดเห็นผัวเดียวเจ้า กุมพันยักษ์ใหญ่

หาเลี่ยมลวงล่ายต้ม จานเว้าแล้วต่าวคืน

(พระไพวัน มาลาวง, 2560: สัมภาษณ์)

133

จากตัวอย่างข้างต้นพบว่า การใช้ผญาเกี้ยวพาราสีของคนวัยหนุ่มสาวลาวนั้น ได้แสดง ให้เห็นถึงวัฒนธรรมของลาวที่ฝ่ายชายไปเกี้ยวพาราสีฝ่ายหญิงต้องมีวาจาหว่านล้อม เพื่อให้เกิด ความน่าสนใจและได้แสดงความรู้ความสามารถทางด้านภาษาให้ฝ่ายหญิงได้รับรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า

ในผญาลาวยังมีการใช้ค าสรรพนามบุรุษที่1 ค าสรรพนามบุรุษที่ 2 และค าสรรพนามบุรุษที่ 3 เป็นชื่อ ตัวละครในเรื่องสินไซ เช่น ฝ่ายชายจะแทนตนเองว่าเป็นยักษ์กุมพัน ส่วนฝ่ายหญิงจะแทนตนเองว่า เป็นนางสุมุณฑา อีกทั้งยังปรากฏการกล่าวถึงลักษณะพฤติกรรมที่คล้ายคลึงเหตุการณ์ในสินไซ ดังมี

ความปรากฏในตัวอย่างผญาภาษิตลาว ดังนี้

ติแต่กุมพันฮ้าย สุมุณฑาแล่นใส่

เอายาวไว้ คือสินไซฟันไฮ่

ปีนี้ได้แต่ป้้า หน้าจึงค่อยถาง โอน้อ จนว่าโลกสะท้าน สั่นสะนั่นขวัญลุก เถิงว่าสินไซออย อ่อยอาบ่มีเกี้ยว คิดเห็นผัวเดียวเจ้า กุมพันยักษ์ใหญ่

หาเลี่ยมลวงล่ายต้ม จานเว้าแล้วต่าวคืน

(พระไพวัน มาลาวง, 2560: สัมภาษณ์) จากตัวอย่างผญาภาษิตลาวข้างต้น กล่าวถึงฝ่ายชายเกี้ยวพาราสีฝ่ายหญิง ฝ่ายชายจะ เปรียบตนเองเป็นยักษ์กุมภพัน ที่มีใจสมัครรักใคร่ต่อนางสุมุณฑาซึ่งก็คือฝ่ายหญิง หากเพียงแต่ว่าฝ่าย หญิงไม่ยินยอมมอบใจให้ ก็จะลักพาตัวไปเหมือนในเนื้อเรื่องสินไซที่ยักษ์กุมพันลักพาตัวนางสุมุณฑา ไปไว้ในถ้ า

4.1.2 สินไซกับหมอล าลาว

หมอล า ซึ่ง สุวิทย์ รัตนปัญญา (2553: 11) อธิบายไว้ว่า หมอล า ถือก าเนิดมาจากพิธี

กรรมการบ าบัดโรคภัยไข้เจ็บ และพิธีกรรม เพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ทางการเกษตร ประเพณี

การอ่านหนังสือผูกในสมัยโบราณ และการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว ดังนั้นหมอล าในประเทศไทยและ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจึงถือไว้ว่าหมอล าก าเนิดมาจากความเชื่อ เรื่องผีฟ้า ผีแถน และผีบรรพบุรุษ ซึ่งกลายมาเป็นล าผีฟ้า หมอล าเกิดจากการอ่านหนังสือผูก หมอล าเกิดจากการเกี้ยว พาราสีของหนุ่มสาว จากค าอธิบายของ สุวิทย์ รัตนปัญญา จะเห็นได้ว่าการเกี้ยวพาราสีกันของหนุ่ม สาวได้กายเป็นจุดก าเนิดของหมอล า

134 การแสดงหมอล าเป็นสื่อที่มักจะเล่าเรื่องหรือนิทานที่เกี่ยวกับสังคม บริบท สภาพแวดล้อมของชุนชน อีกทั้งยังเป็นสื่อที่เข้าถึงคนได้ง่าย สามารถสื่อสารได้กับคนทุกเพศทุกวัย และคนจ านวนมากในเวลาเดียวกัน ซึ่งการแสดงหมอล าในแต่ละครั้งถือได้ว่าเป็นมหรสพที่มี

ความส าคัญ ของชุมชน เมื่อคณะหมอล ามาแสดง ณ ที่ใดที่หนึ่งผู้คนจะต้องมาชุมนุมเป็นจ านวนมาก ตัวหมอล าที่ท าหน้าที่เป็นผู้ส่งสารให้กับคนดูก็มักจะหยิบยกเอาเรื่องราวหรือวรรณกรรมที่ส าคัญมา แต่งเป็นกลอนล า ทั้งนี้เพื่อเพิ่มอรรถรสในการแสดงและคนดูสามารถเข้าถึง เข้าใจและมีปฏิสัมพันธ์ได้

ง่ายมากกว่าเรื่องไกลตัว เรื่องสินไซก็ถือได้ว่าเป็นวรรณคดีที่มีชื่อเสียงในลาว ศิลปะหลายแขนงมี

การสอดแทรกวรรณคดีเรื่องดังกล่าวเข้าไปด้วย รวมถึงศิลปะการแสดงประเภทหมอล าดังปรากฏว่า มีการใช้เป็นบทผญาแสดงความรักของหนุ่มสาวลาวซึ่งรวมถึงบทประพันธ์กลอนต้นแบบล าสินไซ ใน ตอนขุนคอนและขุนสีเกี้ยวพาราสีสาวเมืองจ าปานคร ตอนสินไซเดินป่าไปพบยักษ์ขิณี สินไซเกี้ยวนาง กินรี สินไซเข้าไปพบอา ตอนบ่าวเมืองเป็งจาลไปส่งสาวเมืองนาค ตอนเสนาอามาตย์ไปขอและไปส่ง นางสุมุณฑาให้ยักษ์กุมพัน ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้

เจ้านี้ตั้งแม่นชายขนาดกล้า กาวเกิดเป็นชืนแท้นอ ตั้งหากคือคมเพ็ด ขนาดดีดวงกล้า คิดว่าตอขะยุงแล้ว สิมาเป็นไม้อ่อนเสียน้อ กายเกิดเป็นตอกก้า เหลาหลิ้นม่วนมือแท้นอ ย้านแต่เสียแรงม้า เทียมอานบ่มีหิ่งอวนเอย ช่างหากห้างแย้งไว้ พวงสิช้อนก็บ่มีอุ่นเอย

(พระบุนทะวี กมพะพัน, 2560: 44-45) บ่มีหัวเห็นแล้ว พายในป้องไม้ไผ่ค าไพเฮย

ไม้ไผ่มันหากเป็นก าแพงกั้น ในข้อบ่หอนเห็นพี่แล้ว เมื่อนั้นฝูงบ่าวต้าน รับพากพอยขาน จอมแพงเฮย ย่าคะนิงค านั้น ผิว่าสะหนองน้อง สิมีแหนกับจอก ย้านแต่บัวลักดั้น ในน้ ารากชอนบ่รู้

อันว่าชาติที่สนองนี้ บ่มีแหนก็มีจอกน้องเฮย ชาติที่มีแม่น้ า ชาวค้าก็ท่องเทียวอวยเอีย

(พระบุนทะวี กมพะพัน, 2560: 48)

135 จากกลอนล าข้างต้นจะเห็นได้ว่า หมอล าได้เลือกใช้ตัวละครและเหตุการณ์ในเรื่องสินไซ มาแต่งเป็นกลอนล าเพื่อเกี้ยวพาราสี เช่น เป็นบ่าวเมืองเป็งจาล เป็นเสนาอามาตย์ของยักษ์กุมพัน เป็นต้น ซึ่งกลอนล าก็จะมีลักษณะบางประการที่เด่นชัดคือ บทเกี้ยวพาราสี ออดอ้อน ว่ากล่าวสั่งสอน เสียดสีประชดประชัน ตลกเฮฮา มีเนื้อหาลีลาสนุก มีจังหวะว่องไว เป็นการโต้ตอบของหนุ่มสาวมี

เนื้อหาเกี่ยวกับความรัก เรื่องราวหรือถ้อยความที่พรรณนาต่อกันจะอิงไปตามเนื้อเรื่องของวรรณคดี

เรื่องสินไซ ท าให้เกิดความสนุกสนานขึ้น

4.1.3 สินไซกับวรรณกรรมค ากลอนลาว

คนลาวได้ยกย่อง “ปางค า” ให้เป็นนักกวีผู้มีสีมือชั้นเลิศทางด้านการแต่งกวี ย่อมมี

บทบาทสู่กวีและผลงานวรรณกรรมของกวีในรุ่นต่อ ๆ มา อาจเป็นส านวนกลอน ลีลาการเขียน แนวคิดในการแต่ง กวีลาวทั้งหลายได้เรียกปางค าว่า “ปู่ปางค า” แม้กระทั้งตั้งชื่อหนังสือของบทกวีว่า

“ตามรอยปู่ปางค า” ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ปู่ เป็นดังสายเลือดที่สืบต้นตระกูลของนักกวีทั้งหลาย และ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ในเรี่องของการแต่งกวีไว้ให้คนรุนหลังศึกษาเรียนรู้และสืบทอด ดังในเรื่อง กาละเกด จะเห็นว่าลีลาการเขียน บางตอนเหมือนกับลีลาการเขียนในเรื่องสินไซ ที่กล่าวเซ่นนี้

เนื่องจากว่าในตัวบทเรื่อง กาละเกด ได้กล่าวอ้างถึงเรื่องสินไซไว้ในตัวบท (ทองหมั้น ขันตยะวง, 1967: 44-45)

ภาพประกอบที่ 8 กลอนตามรอยปู่ปางค า

136 นอกจากนี้บิดาแห่งกวีอย่าง สิลา วีระวงส์, พูมมี วงวิจิด, ทองค า อ่อนมะนีสอน และนัก กวีคนรุ่นใหม่ เกือบทุกคนล้วนแต่ศึกษาและเรียนรู้ โดยเฉพาะหลักการในการแต่งกลอนการใส่เสียง เอกโทและการสมผัสค าต่าง ๆ จากเรื่องสินไซมาก่อน (ไพวัน มาลาวง, 2561: สัมภาษณ์) ซึ่งเห็นได้

จากการตีพิมพ์เรื่องสินไซหลาย ๆ ครั้ง แสดงให้เห็นว่าสินไซเป็นวรรณคดีที่นักกวีลาวให้ความส าคัญ เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากได้มีการน าเอารูปแบบการแต่งกลอนในเรื่องสินไซไปแต่งเป็นกลอนในรูปแบบ ใหม่ เช่น พระเตเม และน าวรรณคดีเรื่องสินไซ มาปรับแต่งให้เหมาะสมตามบริบทและยุคสมัย อีกทั้ง ยังมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวสินไซให้มีความแตกต่างไปแต่ยังคงลักษณะหรือพฤติกรรมที่ส าคัญของตัว ละครเอกอย่างสินไซไว้ เพื่อเป็นข้อคิดที่เข้ากับยุคสมัยใหม่และได้มีการปรับเปลี่ยนส านวนเพื่อให้

เข้าใจง่ายขึ้น เช่น ในหนังสือค ากลอน “หอมดอกผักขะแยง”

“หอมดอกผักขะแยง” เป็นหนังสือค ากลอนแต่งขึ้นใหม่เพื่อรวมเล่มบทกวีของพระไพวัน มาลาวง ภายในตัวบทมีบทกลอนที่แต่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสินไซ มีชื่อเรื่องว่า “สินไซกับยุคโลกา ภิวัตน์” โดยมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสินไซตอนที่ออกเดินทางไปน าตัวอามาจากยักษ์กุมพัน ซึ่งระหว่างทางสินไซได้พบเห็นสัตว์และสรรพสิ่งต่างๆ และได้มีความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติ

นอกจากนี้สินไซยังมีความมุ่งมั่นในการตามหาอาของตนเพื่อพากลับบ้านเมือง และในช่วงระหว่างการ เดินทางนั้น สินไซก็ยังมีสติไม่ลุ่มหลงไปกับกิเลสตัณหาของโลกวัตถุนิยมในสมัยใหม่ เรื่องสินไซเป็น วรรณคดีที่มีเนื้อหาสาระและความบันเทิงครบรส จึงได้รับการผลิตซ้ าขึ้นในส านวนต่างๆ นอกจากนี้ยัง ได้รับความนิยมแพร่หลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และยังได้รับการผลิตซ้ าและถูกยกย่องให้เป็น วรรณคดีชั้นเยี่ยมของชนชาติลาว จึงท าให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในแต่ละ ส านวนที่ตีพิมพ์แตกต่างกันไปในแต่ละยุค ซึ่งในการผลิตซ้ านั้นต้องปรับให้เหมาะสมกับสังคมเพื่อให้

วรรณคดีได้รับความนิยม เนื่องจากเมื่อมีการสร้างหรือผลิตซ้ าสิ่งใหม่ สิ่งที่เคยมีอยู่แล้วก็จะถูกเบียด ขับ กดทับ ดังนั้นจึงมีทั้งด้านมืดและด้านสว่างในเวลาเดียวกัน แต่เมื่อบริบทสังคมเปลี่ยนไป ความหมายและอัตลักษณ์ดังกล่าวก็อาจถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ได้ ขึ้นอยู่กับบริบทและเงื่อนไขของ สภาพการณ์ ซึ่งได้แพร่กระจายอยู่ในทุกวัฒนธรรมลาว ดังตัวอย่างค ากลอนที่แต่งขึ้นใหม่ที่เกี่ยวกับ วรรณคดีเรื่องสินไซ หากแต่ยังคงความเป็นตัวตนของสินไซอยู่

สินไชเดินดุ่งด้าว บาบ่าวไปน า สีโหโตแรงตาม ช่วยคามคุมน้อง สังเดินยวงยามย้าย เดินไกลเที่ยวท่อง ผ่านโคกกกป่าป้อง น าน้องย่างตาม สังเดินยวงยามย้าย เดินไกลเที่ยวท่อง ผ่านโคกกกป่าป้อง น าน้องย่างตาม

Dokumen terkait