• Tidak ada hasil yang ditemukan

หนังสือเรื่อง สินไซ เป็นชื่อเรียกดั้งเดิม ส่วนชื่อเรื่องว่า สังสินไซ พึ่งเกิดขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ เป็นช่วงระยะเวลาที่มีการจัดพิมพ์เรื่องสินไซขึ้นใหม่เป็นหนังสือซึ่งสอดคล้องกับค าอธิบายของท่าน สิลา วีระวงส์ (1969: ค าอธิบาย) กล่าวว่าเราได้เห็นหนังสือเรื่องนี้ในหน้าปกว่า "เรื่องท้าวสังข์สินไซ"

ผิดจากค าพูดที่เคยได้ยินทั่วไปว่า “สินไซ” นั้นก็เพราะว่าชื่อจริงของท้าวสินไซที่ปรากฏอยู่หนังสือเรื่อง นี้เขียนว่า “สังข์สินไซ” และเป็นชื่อที่พระอินทร์ตั้งให้ ดั่งมีค ากลอนตอนปฏิสนธิว่า

“อินทร์จึง ใส่ชื่อน้อย ในเลขลานค า เรียกชื่อว่า สังสินไซกุมาร โลกฤาฤทธิ์ธีกล้า”

(สิลา วีระวงส์, 1969: 91) ทั้งสองชื่อที่เรียกต่างกันนั้น ในแต่ละชื่อก็จะให้ความหมายที่แตกต่างกันว่า ค าว่า

“สังสินไซ” นั้นอธิบายถึงความผูกพันสามัคคีรักใคร่กันระหว่างพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันที่เอาชนะกับ อุปสรรคนานาประการที่ขัดขวาง สอดคล้องกับ สีลา วีระวงส์ (1969: ค าอธิบาย) กล่าวว่า การเขียนที่

เป็น สังสินไซ ตามการสะกดค าแบบนี้ก็เพราะชายคนนี้มีชัยชนะเหนือศัตรูเพราะฤทธิ์เดชของหอยสังข์

และธนูศิลป์ส่วน ค าว่า “สินไซ” หมายถึง ศีลธรรมชนะอธรรมซึ่งผู้แต่งได้อิงตามเรื่องกฎแห่งกรรมให้

เราได้รู้จักเรื่องบาป บุญ คุณ โทษ คือเน้นให้กระท าแต่ความดี และมีแต่ความดีเท่านั้นที่จะเอาชนะ ความชั่ว ถ้าเราท าแต่ความดีแล้วท้ายที่สุดก็จะได้รับผลบุญที่ได้ท ากลับคืนมา ซึ่งจะเห็นได้จากตัวละคร ในเรื่องจะแบ่งออกเป็นสองฝ่ายที่เป็นตัวแทนให้แก่แต่ละฝ่ายคือฝ่ายศีลธรรม เช่น สินไซ และฝ่าย อธรรม เช่นยักษ์กุมพัน สุดท้ายสินไซได้รับชัยชนะส่วนกุมพันนั้นเป็นฝ่ายแพ้ การตั้งชื่อเรื่องได้มุ่งเน้นให้

เห็นการกระท าความดี ละเว้นความชั่ว โดยเฉพาะศีล 5 ที่ทุกคนต้องปฏิบัตินับถือในพระพุทธศาสนาที่

ชาวลาวนับถือ ศรัทธา และถือปฏิบัติสืบต่อกันมาอย่างเคร่งครัดตั้งแต่บรรพบุรุษ ดังค าสอนที่ปรากฏ ในบทกลอน คือ

อันหนึ่ง อย่าได้คิดโลดล้น บังเบียดแสนสัตว์ ท่านเอย (ปานา) ฝูงนี้ เป็นทางเถิงอเวจี บ่เซียงเซ็งฮ้อน

อันสอง เป็นโจรแจ้ง จังไรฮ้ายเฮ่ง

ของเพิ่นเมี้ยน แพงไว้อย่าซีง เจ้าเอย (อะทินนา) อันสาม อย่าโอดอ้าง เต็งราษฎร์ลวงขุน นั้นเนอ แฮงซมซีง ลูกเมียมีเจ้า (กาเม) อันสี่ อย่ามักต้าน ค าเป่าพางแผล

93 วาจาใดดาประสงค์ อย่าไคคาม้าง (มุสา)

อันห้า ละหมู่เหล้า ยาบูดบองขม

กินเมามี โทษโพยเพิงเว้น (สุรา) ฝูงนี้ เป็นทางเท้า อเวจีจตุโลก

ท้าวสี่หน้า แหนหวงโทษคาม ท่ายเอย

(สิลา วีระวงส์, 1969: 315-316) ดังนั้น การเรียกชื่อทั้งสองชื่อนั้นจะเรียกแบบไหนก็ได้เพราะว่ามีการพบเห็นชื่อเรียกใน หนังสื่อต่าง ๆ และคนทั่วไปเรียกชื่อเรื่องสินไซ ก็จะมีทั้ง “เรื่องสินไซ และเรื่องสังสินไซ” ปะปนกัน

เรื่องสินไซฉบับที่ปริวรรตโดยสีลา วีระวงส์ จบลงที่บั้นนาคสะดุ้ง ซึ่งพรรณนาตั้งแต่ยักษ์

กุมพันมาลักพาตัวน้องสาวของท้าวกุดสะลาดไป จนท้าวสินไซไปช่วยเหลือและน าตัวกลับคืนมา และ ท้าวสินไซก็ได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเท่านั้น เหตุผลที่ท่านไม่น าส่วนท้ายมาปริวรรตรวมเอาไว้ด้วยกัน เพราะว่าฉบับท้ายต่อจากนาคสะดุ้งมีส านวนแตกต่างกันจึงมีความเห็นว่าไม่ใช่ผู้แต่งคนเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากส านวนภาษาที่ใช้ยังขาดเขิน ไม่สมบูรณ์เหมือนกันกับบั้นที่ 1-15 ดังนั้น จึงมีความ เชื่อว่าท้าวปางค าแต่งไว้เพียงเท่านี้ ส่วนที่เหลือมีผู้อื่นน าไปแต่งต่อจนจบเรื่อง คือมีการพรรณนาตอน ปลายอันกล่าวถึงยักษ์กุมพันคืนชีพกลับมาแล้วลักพาตัวกลับไปอีก จนสุดท้ายถึงตอนลูกทั้ง 6 และ ลูกท้าวสินไซรบกัน (สังข์สินไซ ภาค 1)

เรื่อง “สินไซ” เป็นเรื่องที่มีความยาวบั้นต้นประกอบด้วย 15 บั้น: 1 สมมุติบั้น, 2 ยักษ์

กะสันบั้น, 3 สุบินบั้น, 4 วิบปะวาสะบั้น, 5 บรรพชาบั้น, 6 วิวาห์หะบั้น, 7 ปฏิสนธิบั้น, 8 โคจรบั้น, 9 อนุยุทะก าบั้น, 10 มหายุทะก าบั้น, 11 นาคะยุทะก าบั้น, 12 มุตตะนังบั้น, 13 กาละบั้น, 14 ถาปะนา บั้น, 15 บั้นนาคสะดุ้ง บั้นปลายประกอบด้วย 11 บั้น: 1 ราชสีห์คืนถิ่น, 2 กุมภัณฑ์คืนชีพ, 3 ยัก กระสันนาง, 4 ยักษ์ลักนางสุมณฑา, 5 พระอินทร์ห้ามทับ, 6 กุมภัณฑ์วิวาทะ, 7 เทศนา, 8 เสนา กระสัน, 9 โคจารจา (สินไซมอบทรัพย์), 10 กษัตริย์ยุทธกรรม, 11 ม้วนท้ายชาดก รวมแล้วมีทั้งหมด 27 บั้น ชึ่งมีเรื่องย่อดังนี้

พระยากุดสะลาด เสวยราชสมบัติอยู่นครเป็งจาล พระองค์มีมเหสีชื่อว่า จันทา และมี

น้องสาวอีกคน หนึ่งชื่อว่า สุมุณฑา วันหนึ่งนางสุมุณฑาพร้อมด้วยไพร่พลเสนาอ ามาตย์ออกไปเที่ยว ชมสวนอุทยาน ด้วยความสุขสนุกสนาน ได้มียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่ากุมพันมาจากเมืองอโนราชมาลักพาตัว เอานางสุมุณฑาเหาะขึ้นไปบนท้องฟ้าเพื่อจะไปเป็นมเหสี ส่วนพระยากุดสะลาดมีความคิดถึงน้องสาว อันเป็นที่รักของพระองค์ที่ถูกยักษ์ลักพาตัวไป จึงได้มอบราชสมบัติให้มเหสีแล้วพระองค์ก็ตัดสินใจ ออกบวชเป็นพระภิกษุเพื่อติดตามสืบหาน้องสาว มหาเถระกุดสะลาดไปที่เมืองจ าปานครได้เห็นลูก สาวทั้ง 7 ของนันทเศรษฐี ซึ่งเป็นหญิงสาวที่หน้าตาสวยออกมาตักบาตร จึงเกิดความชอบและหลงรัก

94 มหาเถระกุดสะลาดจึงกลับมาที่เมืองเป็งจาลแล้วลาสิกขา จากนั้นพระองค์ได้แต่งตั้งทูตให้ไปสู่ขอลูก สาวทั้ง 7 มาเป็นมเหสีตามประเพณี ต่อมามเหสีของพระยากุดสะลาดทั้ง 8 คนก็ตั้งท้องพร้อมกัน โหรหลวงจึงท านายว่าลูกของมเหสีหล้า (มเหสีคนสุดท้าย) และลูกของมเหสีจันทา (มเหสีคนแรก) ของ พระองค์จะเป็นผู้มีบุญบารมีมาก จึงท าให้มเหสีทั้ง 6 คนนั้นไม่พอใจในค าท านาย เกิดมีความอิจฉา ริษยาจึงท าเสน่ห์ใส่พระยากุดสะลาด และติดสินบนโหรหลวงให้ท านายดวงชะตาใหม่ โหรหลวง จึงกลับค าว่าลูกของมเหสีจันทา และมเหสีหล้า เมื่อเกิดมาจะเป็นคนไม่ดีเป็นกาลกิณีต่อบ้านเมือง จะท าให้บ้านเมืองและประชาชนเดือดร้อนวุ่นวาย เมื่อมเหสีทั้ง 8 ตั้งครรภ์ครบขวบเดือนแล้วก็ประสูติ

โอรสออกมา ลูกของมเหสีจันทาเป็นราชสีห์ (สีโห) ลูกของมเหสีหล้าเป็นลูกแฝด คนหนึ่งเป็นคนมีชื่อ ว่า สินไซ อีกคนคลอดออกมาเป็นหอยสังข์ (สังทอง) ส่วนมเหสีทั้ง 6 คนนั้นประสูติลูกออกมาเป็นชาย ทั้งหมด พระยากุดสะลาดเกรงว่า ลูกของมเหสีทั้งสองจะเป็นกาลกิณีบ้านเมือง ดังโหรหลวงท านาย เอาไว้จึงได้ขับไล่นางทั้งสองพร้อมด้วยลูกทั้งสามออกไปอยู่ในป่า

เมื่อโอรสทั้งหกคนเติบใหญ่ พระยากุดสะลาดผู้เป็นบิดาจึงสั่งให้ไปร่ าเรียนวิชาอาคม เมื่อโอรสทั้งหกเดินทางไปร่ าเรียนวิชาอาคมก็หลงเข้าไปในป่า ไปพบกับสินไซแล้วก็ได้ถามข่าวคราวซึ่ง กันและกัน และได้รู้ความจริงในอดีต ก็ได้ร้องขอให้สินไซช่วยเหลือ จากนั้นทั้งหกคนก็ออกเดินทาง กลับไปเมืองเป็งจาลและโกหกพระยากุดสะลาดผู้เป็นพ่อว่าได้ร่ าเรียนวิชาอาคมส าเร็จแล้ว เมื่อพระยา กุดสะลาดเชื่อตามนั้นว่าโอรสทั้งหกร่ าเรียนวิชาอาคมส าเร็จแล้วจึงบอกให้ออกตามหาอา จากนั้นโอรส ทั้งหกก็กลับไปหาสินไซพร้อมกับโกหกว่า พระยากุดสะลาดผู้เป็นพ่อได้รู้ความจริงทั้งหมดแล้ว ท่านมี

ความดีใจและคิดถึงเป็นอย่างมาก แต่หน้าที่อันส าคัญยังไม่ส าเร็จ จึงขอร้องให้ลูกไปตามหาอากลับมา แล้วพระยากุดสลาดผู้เป็นพ่อจะยกบ้านเมืองและราชสมบัติให้ จึงท าให้สินไซหลงเชื่อโอรสทั้งหกของ พระยากุศราช จึงพาโอรสทั้งหกไปตามหาอาโดยมีสีโหและสังข์ทองติดตามไปด้วย เมื่อเดินทางไปถึง แม่น้ าใหญ่โอรสทั้งหกเกิดความกลัวไม่กล้าที่จะเดินทางต่อไปด้วย สินไซจึงให้รออยู่ฝั่งแม่น้ าและสั่งให้

สีโหอยู่เฝ้าอารักขาดูแล ส่วนสินไซกับสังข์ทองก็ออกเดินทางต่อไปเพื่อตามหาอา เมื่อถึงเมืองอโนราช เมืองของยักษ์กุมพัน สินไซก็ต่อสู้กับยักษ์กุมพันอย่างดุเดือด ในที่สุดก็สามารถฆ่ายักษ์ได้ แล้วพาอา กลับมาเมืองเป็งจาลได้ส าเร็จ อาสุมุณฑาจึงได้พูดกับสินไซว่าอามีลูกสาวหนึ่งคนชื่อว่า สีดาจัน ไปเป็น มเหสีของพระยาวะลุนนะลาดอยู่เมืองบาดาล ขอให้สินไซไปน าลูกสาวมาแล้วจึงกลับไปพร้อมกัน เมื่อสินไซไปตามนางสีดาจันกลับมาแล้วก็ได้พากลับคืนมาหาโอรสทั้งหก โอรสทั้งหกก็ได้หลอกล่อสิน ไซให้ลงไปอาบน้ าแล้วก็ผลักสินไซลงเหว จากนั้นโอรสทั้งหกก็พาอาและสีดาจันเข้าเมืองเป็งจาลและ โกหกพระยากุดสะลาดผู้เป็นพ่ออีกว่าพวกตนได้ไปตามหาอาตามความประสงค์ของพ่อ นางสุมุณฑา ไม่เชื่อว่าสินไซจะตาย จึงได้น าของศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นมิ่งเมืองไปซ่อนไว้ริมแม่น้ าและอธิฐานว่า ถ้าสินไซยัง ไม่ตายขอให้มีคนน าเอาของทั้งสามสิ่งนี้ไปให้ ถ้าสินไซตายขอให้สิ่งของทั้งสามสิ่งนี้หายไป ต่อมาก็มี

พ่อค้าส าเภาเดินเรือมาทางน้ าก็พบเห็นสิ่งของศักดิ์สิทธิ์นั้นเข้า ก็ได้น าเอามาถวายแด่พระยากุดสะลาด

95 เมื่อนางสุมุณฑาเห็นความจริงดังนั้น จึงได้เล่าความจริงทั้งหมดให้พระยากุดสะลาดผู้เป็นพี่ชายฟังทุก ประการ เมื่อพระยากุดสะลาดได้ทราบดังนั้นแล้วจึงสั่งให้จับโอรสทั้งหก และมเหสีทั้งหกพร้อมด้วย โหรหลวงและหมอเสน่ห์ยาแฝดมาขังไว้ จากนั้นพระยากุดสะลาดก็ชวนนางสุมุณฑาออกตามหาสินไซ และได้ไปพบสินไชกับมารดาอยู่ที่ปราสาทในป่าลึกแห่งหนึ่ง จึงขอให้สินไซเข้าเมืองมาเสวยราชเป็น เจ้าเมืองเป็งจาล หลังจากนั้นสินไซจึงส่งโอรสทั้งหกและแม่ของเขากลับไปยังเมืองจ าปานคร ส่วนพระ ยาวะลุนนะลาดพระสวามีของสีดาจัน มีความคิดถึงสีดาจันผู้เป็นมเหสีมาก จึงพาบริวารมาสู่ขอสีดา จันกลับไปเป็นมเหสีดังเดิม ฝ่ายสุมุณฑาและสินไซก็ยกสีดาจันให้ด้วยความยินดี

ภายหลังที่ยักษ์กุมพันตายพระยาเวสสุวันไม่เห็นยักษ์กุมพันขึ้นไปเฝ้าก็ได้ตามมาสืบข่าว และทราบว่ายักษ์กุมพันนั้นตายแล้วจึงได้ชุบชีวิตให้ยักษ์กุมพันนั้นฟื้นขึ้นมามีชีวิตใหม่อีกครั้ง และ บอกให้ยักษ์กุมพันเลิกคิดตามหานางสุมุณฑา แต่ยักษ์กุมพันไม่ยอมฟัง และได้ไปลักพาตัว นางสุมุณฑากลับมาอีกพร้อมทั้งยังจับเอาสินไซไปขังไว้ที่เมืองอโนราช สังข์ทอง สีโหพร้อมด้วยทหาร จึงได้ติดตามไปช่วยเหลือเอาดาบและธนูไปให้สินไซ แล้วทั้งสามก็ได้ต่อสู้กับยักษ์กุมพัน เมื่อพระอินทร์

เห็นเหตุการณ์ก็เสด็จลงมาห้ามทัพทั้งสองฝ่ายให้หยุดรบกัน และทั้งสองฝ่ายก็ยอมท าตามที่พระอินทร์

ขอร้อง พระอินทร์จึงได้สั่งสอนศีลธรรมให้ทั้งสินไซและยักษ์กุมพัน หลังจากนั้นยักษ์กุมพันก็ได้มาขอ นางสุมุณฑาตามจารีตประเพณีพร้อมด้วยของหมั้นมากมายแล้วรับนางสุมุณฑากลับเมืองอโนราช ก่อนกลับสินไซได้สอนศีลธรรมให้แก่ยักษ์กุมพัน และต่อมาสินไซก็ได้อภิเษกกับนางเกียงค าและนาง สีสุพัน และมเหสีทั้งสองก็ได้ให้ก าเนิดพระโอรสชื่อสังขะลาด และพระธิดาชื่อสุละสา ทั้งสองเมื่อโตขึ้น ก็ได้อภิเษกสมรสกัน และสังขะลาดได้ครองเมืองเป็งจาลสืบต่อจากสินไซหลังจากนั้นลูกของโอรสทั้ง หกของพระยากุดสะลาดก็น าก าลังทหารและกองทัพมาสู้รบ ท าสงครามกับลูกของสินไซ แต่สุดท้าย ท้าวสังขะลาดลูกของสินไซก็เป็นฝ่ายชนะสงคราม

Dokumen terkait