• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.2.3 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการสื่อความหมายทางวัฒนธรรม

อารุญ ศรีรัตนกุล (2001: 6) ได้อธิบายเกี่ยวกับนิสัยใจคอของคนลาวว่า “คนลาวเป็น คนที่ใจดี มีจิตใจกว้างขวาง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รักใคร่ผู้มาเยี่ยมเยือน: คนลาวเป็น คนสุภาพเรียบร้อย อ่อนน้อมถ่อมตน ว่านอนสอนง่าย คนลาวเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต มีศีลธรรมประจ า ใจสูง ขยันหมั่นเพียร มีน้ าใจรักเชื้อหวงชาติและอื่นๆ” ลักษณะดังกล่าวเป็นวัฒนธรรมทางความคิด อย่างหนึ่งของชาวลาว

ส่วนศานติ ภักดีค า (2550: 585-591) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ศาสตราแลบง: วัฒนธรรมทาง วรรณศิลป์ พัฒนาการและความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมเขมร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ศาสตราแลบงเป็น วรรณกรรมที่มุ่งให้ความบันเทิง สั่งสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ยุคแรกมีการเผยแพร่โดยการ สวดเป็นท านองและน ามาใช้เป็นต าราเรียนในวัด และจัดแบ่งที่มาของเรื่องได้สองประเภท ซึ่งมีที่มา จากวรรณกรรมชาดกและเน้นแนวคิดส าคัญเรื่องกรรม หลักธรรมเรื่องกฎไตรลักษณ์ และหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ ส าหรับโครงเรื่องถูกก าหนดด้วยกรอบแนวคิดเรื่องกรรม น าเสนอข้อขัดแย้ง ในระดับครอบครัว สังคม และศีลธรรม มีการกล่าวถึงวิถีชีวิตที่ถูกก าหนดล่วงหน้า ตัวละครมีสาม ประเภทได้แก่ มนุษย์ อมนุษย์และสัตว์ มีบทคร่ าครวญ ส่วนรูปแบบการประพันธ์มีบทพรหมคีติ

บทภุชงส์ลีลา บทบนโทลกาก บทพากย์ 7-8 บท บทชมเมือง บทชมธรรมชาติ และอัศจรรย์

พัฒนาการของศาสตราแลบงแบ่งออกเป็น สี่ยุค คือยุคแรกจากศาสตราเทศน์สู่ศาสตราแลบงยุคที่สอง ความบันเทิงควบคู่คติธรรม ยุคที่สามจากชาดกสู่เรื่องประโลมโลก ยุคที่สี่จากวรรณกรรมส าหรับสวดสู่

วรรณกรรมส าหรับอ่าน ศาสตราแลบงยังสัมพันธ์กับวัฒนธรรมประเภทนาฏศิลป์ จิตรกรรม ต านาน ท้องถิ่น รวมทั้งสื่อร่วมสมัยประเภทต่างๆ

จิตรกร โพธิ์งาม และเรืองเดช เขจรศาสตร์ (ม.ป.ป) ได้ท าการวิจัยเรื่อง ปฏิสัมพันธทาง สังคมในพื้นที่วัฒนธรรมของกลุมชาติพันธุไทย-ลาวภายใตบริบทเรื่องพื้นที่และเวลา กรณีศึกษา บุญประเพณีพระเจาใหญองคตื้อ วัดพระโต บานปากแซง ต าบลพะลาน อ าเภอนาตาล จังหวัด

46 อุบลราชธานี มีวัตถุประสงค 3 ประการ ดังนี้คือ 1. เพื่อศึกษาปฎิสัมพันธทางสังคมแบบขามรัฐของ กลุมชาติพันธุไทย-ลาวภายใตความเชื่อเรื่องพระเจาใหญองคตื้อ 2. เพื่อศึกษาระบบการจัดการพื้นที่

ศาสนาขามพรมแดน 3. เปรียบเทียบนโยบายของสองบริบทสังคมของรัฐและประชาชนไทย-ลาว เปนการวิจัยเชิงคุณภาพ ขอมูลไดจากภาคสนามเปนหลัก โดยวิธีการสังเกตและสัมภาษณ วิเคราะห และตีความขอมูลโดยใชแนวคิดเรื่องพื้นที่และเวลา แล วน าเสนอโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ ปฎิสัมพันธทางสังคมแบบขามรัฐของกลุมชาติพันธุไทย-ลาวภายใตความเชื่อ เรื่องพระเจาองคตื้อ พบวาบริบทของพุทธศาสนาไดเชื่อมโยงคนไทยกับคนลาวมานานแลวในกรณีบุญ ประเพณีพระเจาองคตื้อ วัดพระโต บานปากแซงนั้น พระเจาองคตื้อมิไดมีเพียงนัยทางดานวัฒนธรรม หากยังรวมถึงการเชื่อมโยงวิถีชีวิตของคนไทยบานปากแซงกับคนลาวบานปากตะพานอีกดวย ระบบ การจัดการพื้นที่ศาสนาขามพรมแดน พบวารัฐไทยใหสวนราชการและทางวัดมีบทบาทในการจัดการ พื้นที่ศาสนา โดยตม.ปากแซงดูแลรับผิดชอบในกรอบของรัฐชาติ วัดพระโตดูแลรับผิดชอบในกรอบ ทางวัฒนธรรม ขณะที่รัฐลาวอ านาจการจัดการเบ็ดเสร็จอยูที่ทองถิ่นโดยผูน าหมูบาน และเมื่อ เปรียบเทียบนโยบายของสองบริบทสังคมของรัฐและประชาชนไทย-ลาว พบวานโยบายของรัฐลาวที่

พยายามจะคงสถานะดานปากตะพานใหเปนด้านวัฒนธรรมเปนการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมสอดคลอง กับบริบทของพื้นที่และวิถีชีวิตของผูคน มากกวานโยบายของรัฐไทยที่เนนกรอบของรัฐชาติ และ ก าหนดนโยบายความสัมพันธขามพรมแดนจากมุมมองทางเศรษฐกิจเปนหลัก

กิตติพัฒน์ เพชรทอง (2545) ศึกษาพุทธศาสนากับพญานาค ศึกษาวิเคราะห์พญานาค ในคัมภีร์พุทธศาสนาแถรวาทกับในวัฒนธรรมอีสาน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงประวัติความเป็นมา ของ ชาติก าเนิด ที่อยู่ รูปร่าง อุปนิสัย ฤทธิ์เดช บทบาทหน้าที่และหลักค าสอนที่เกี่ยวกับพญานาค ซึ่งปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทและในวัฒนธรรมอีสาน และมีผลปรากฏออกมาเป็น ประเพณี

พิธีกรรมในวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของพุทธศาสนิกชนชาวอีสาน วิธีการด าเนิน การวิจัย ใช้การวิจัย เอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท อรรถกถา และเอกสารงานวิจัยอื่นๆ ที่

เกี่ยวข้อง จากการวิจัยพบว่า พญานาคที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทมีการกล่าวถึง ชาติก าเนิด ที่อยู่ รูปร่าง อุปนิสัย ฤทธิ์เดช บทบาทหน้าที่ไว้ชัดเจน และพบว่ามี หลักธรรมส าคัญสอดแทรกอยู่เป็น จ านวนมาก ที่เป็นหนทางให้ผู้ได้ศึกษาน าไปประพฤติปฏิบัติ ในการด าเนินชีวิตประจ าวัน พญานาคใน คัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาทกับในวัฒนธรรมอีสานมี ความคล้ายคลึงกันว่าพญานาคมีชาติก าเนิด 4 เหมือนกับสัตว์ทั่วไป แต่พญานาคใน วัฒนธรรมอีสานไม่มีหลักฐานปรากฏชัดว่ามีชาติก าเนิดมา อย่างไร พญานาคที่ปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท มีจริงและจัดอยู่ในเดรัจฉานภูมิ เพราะ พญานาคเข้ามาเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าโดยตรงตั้งแต่อดีตชาติและปัจจุบันชาติ ดังปรากฏในทศชาติ

สุดท้าย ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์เสวยพระชาติ เป็นภูริทัตตนาคราชผู้บ าเพ็ญ ศีลบารมี และในพุทธประวัติหลายๆ ตอน พญานาคได้เข้ามา เกี่ยวข้องกับพระองค์ จนปรากฏออกมา

47 เป็นพุทธบัญญัติในพิธีการขอบวชของกุลบุตรใน พุทธศาสนา ปรากฏออกมาเป็นงานพุทธศิลป์ที่เป็น พระพุทธรูปปางนาคปรก อันเป็นผลมาจาก การปกป้องคุ้มครองให้ความปลอดภัยแก่พระพุทธเจ้า ใน ส่วนของวัฒนธรรมอีสาน พบว่าชาวอีสานมีความเชื่อเช่นเดียวกันว่าพญานาคมีอยู่จริง แต่อยู่ในฐานะ แห่งความศักดิ์สิทธิ์ มีพลังเหนือธรรมชาติ สามารถดลบันดาลสิ่งต่างๆ ให้ได้สมความปรารถนา จึงเป็น ที่เคารพบูชาและได้รับการยกขึ้นเป็นเจ้าแห่งพิธีกรรม บุญบั้งไฟ ไหลเรือไฟ บุญสรงน้ าพระ พิธีบูชา พญาสัตนาคา และพิธีปลูกบ้านสร้างเรือน อันส่งผลให้เกิดจริยธรรมขั้นพื้นฐานในการสร้างความ สามัคคีและสร้างความเป็นปึกแผ่น ให้กับชุมชนเป็นอย่างดี กล่าวได้ว่า พญานาคที่ปรากฏในคัมภีร์

พุทธศาสนาเถรวาทจัดเป็นสัตว์เดรัจฉาน มีฐานะต่ ากว่ามนุษย์และมีบทบาทส าคัญบางส่วนในการ เสริมสร้างบารมีให้กับพระพุทธเจ้า และพุทธศาสนา และความเชื่อนี้ยังมีผลให้มีหลักธรรมที่เกี่ยวข้อง น าไปประพฤติปฏิบัติได้ ได้แก่ ปฏิจจสมุปบาท สังสารวัฏ อกุศลมูล บุญกิริยาวัตถุ อริยทรัพย์ ในความ เชื่อของ ชาวอีสานพบว่า พญานาคได้กลายเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนึ่งมีฐานะสูงกว่ามนุษย์ สามารถ ดลบันดาลสิ่งต่างๆ ได้เป็นเหมือนเทพเจ้าและถูกยกขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ในการ ประกอบพิธีกรรม ต่างๆ เพื่อจะน าไปสู่การสร้างคุณธรรมจริยธรรมขั้นพื้นฐานให้กับชุมชน และประเพณีพิธีกรรม เหล่านั้นได้เป็นกลวิธีการน าพุทธศาสนิกชนให้เข้าสู่หนทางแห่ง การปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาต่อไป

จิตกร เอมพันธ์ (2545) ศึกษาเกี่ยวกับพญานาค เจ้าแห่งแม่น้ าโขง : พิธีกรรมกับระบบ ความเชื่อพื้นบ้านแห่งวัฒนธรรมอีสาน ต านานพญางูใหญ่ หรือ "พญานาค" เป็นวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่

และทรงอิทธิพลต่อชุมชนสองฝั่งแม่น้ าโขง ร่องรอยความคิดเรื่องพญานาคถูกปรากฏในวรรณกรรม ปรัมปราความเชื่อ พิธีกรรม สถาปัตยกรรม ศิลปกรรม วิถีชีวิต และจิตรกรรม การศึกษาครั้งนี้มุ่ง ศึกษาระบบความเชื่อพื้นบ้านเรื่องพญานาค ทางด้านเนื้อหาและบทบาทของความเชื่อตามโลกทัศน์

ของชาวอีสานในอดีต ว่ายังคงอยู่ในสังคมปัจจุบันหรือคลี่คลายความเชื่อไปในลักษณะใด ตลอดจน ศึกษาบทบาทของความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีอิทธิพลในการด ารงชีวิตของชาวอีสานว่าเป็นในรูปแบบ ใด โดยศึกษาจากเรื่องปรัมปราที่ว่าด้วยเรื่องพญานาคอันเป็นคติชนรูปแบบหนึ่งที่ปรากฏเป็นต านาน แห่งราชอาณาจักรล้านช้างและชุมชนอีสานแห่งลุ่มแม่น้ าโขง ผู้ศึกษาได้น าแนวความคิดและหลัก ทฤษฎีมานุษยวิทยาสัญลักษณ์ และส านักการหน้าที่นิยมมาเป็นแนวทางการศึกษาเพื่ออธิบายถึง หน้าที่ทางสังคมของความเชื่อเรื่องพญานาคในปัจจุบันและการร่วมสมัย จากการวิเคราะห์สังเคราะห์

พบว่า ระบบสัญลักษณ์ของพญานาคหากแบ่งตามกฎเกณฑ์ตามบริบททางสังคมวัฒนธรรมอันเป็น ร่องรอยความคิดแห่งอดีตที่ว่าด้วยเรื่อง "พญานาค" สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประการด้วยกัน คือ 1. พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มชนดั้งเดิม 2. พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของเจ้าแห่งดินและน้ า 3. พญานาคเป็นลัทธิทางศาสนา ร่องรอยแห่งอดีตมักปรากฏเป็นนัยยะความหมายและเค้าโครงที่ซ่อน อยู่ในเรื่องปรัมปราแห่งโลกจินตนาการผสานความเป็นจริง ร่องรอยความคิดเรื่องพญานาคจึงมี

บทบาทส าคัญต่อการด าเนินชีวิต ก าหนดความคิดทางการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจสังคม

Dokumen terkait