• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสินไซ

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.2.4 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสินไซ

ประคอง เจริญจิตรกรรม (2519: 180-181) ได้ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าวรรณกรรมอีสาน ในงานวิจัยเรื่องวรรณกรรมอีสาน:เรื่องสังข์ศิลป์ชัย ในด้านวรรณศิลป์เนื้อหาและกลวิธีในการประพันธ์

ผลจากการศึกษาพบว่า ในด้านวรรณศิลป์ ใช้รูปแบบค าประพันธ์โคลงสารแบ่งจังหวะเป็นช่วงสั้นๆ สามและสี่ค า ใช้ถ้อยค าภาษาง่ายธรรมดาสามัญเป็นส่วนมาก แต่สื่อความหมายได้ตรงกับใจ ให้ความรู้สึกแก่ผู้อ่าน ท าให้เกิดภาพที่เคลื่อนไหวมีชีวิตนับว่ามีความงดงามเชิงวรรณศิลป์ท าให้

วรรณกรรมเรื่องนี้ติดอยู่ในความรู้สึกของชาวอีสาน ส่วนทางด้านเนื้อหานั้นให้คุณค่าทางด้านการ ปกครอง กับข้อประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม และมุ่งให้สังคมมนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และ กลวิธีในการประพันธ์นั้นผู้ประพันธ์ได้วางบุคลิกนิสัยตัวละคร และวางการด าเนินเรื่องที่สอดคล้องไปสู่

จุดหมาย ท าให้เรื่องไม่สับสน มีครบทุกรสและท าให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการตามไปด้วย ต่อมาเบญจพร เรืองเลิศบุญ (2530: 281-282) ได้ศึกษาวิจารณ์เรื่องสินไซ ฉบับจังหวัดปราจีนบุรี: การศึกษาเชิง วิจารณ์ ผลของการศึกษาพบว่า ต้นฉบับพบที่วัดม่วงขาว อ าเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี ฉบับ ของนายธรรม ทัตพ่วง จารด้วยอักษรไทน้อย จ านวน 1 ผูก ความยาว 356 ใบลานเป็นวรรณกรรม เรื่องมีลักษณะเลียนแบบชาดก โดยตัวละครเอกของเรื่องเป็นพระโพธิสัตว์ โครงเรื่องและแก่นเรื่อง แสดงให้เห็นถึงการพลัดพราก ผจญภัยของตัวเอกคือสินไซซึ่งต่อมาสามารถเอาชนะอุปสรรคทุกสิ่งได้

ด้วยความดี ส่วนด้านสังคมนั้นผู้แต่งได้กล่าวถึงหลักการปกครองโดยให้ยึดทศพิธราชธรรมรวมทั้งศีล 5 ศีล 8 (อุโบสถศีล) รวมทั้งความรู้ทางประเพณีค่านิยมความเชื่อต่างๆ ตลอดจนหลักธรรมค าสอน ส่วนลักษณะอักขรวิทยาหรือตัวอักษรที่จารเป็นอักษรไทน้อยมีลักษณะคล้ายอักษรล้านช้าง ด้าน อักขรวิธีนั้นพยัญชนะส่วนหนึ่งจะวางไว้บนบรรทัดท าหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น สระวางไว้รอบตัว พยัญชนะต้นเหมือนอักษรไทยในปัจจุบัน ตัวสะกดเขียนหลังพยัญชนะต้น มีการใช้ตัวเฟืองหรือ ตัวห้อย

นอกจากนั้นกัญญา บุรีรัตน์ (2532: 126-127) ได้ศึกษาวิเคราะห์วิจารณ์เชิงประวัติใน งานวิจัยสังข์สินไซ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้แต่ง เดิมสันนิษฐานว่าชื่อ “ท้าวปางค า” เจ้าเมือง หนองบัวล าพู ค าว่า “ปางค า” ที่ปรากฏใน ตอนต้นเรื่องสังข์สินไซ น่าจะมีความหมายเป็น 2 ประเด็น คือ หมายถึงกษัตริย์ และหมายถึงต าแหน่งผู้แต่งหนังสือในราชส านักลาวสมัยนั้น “ปางค า” หาใช่ชื่อที่

เป็นนามเฉพาะหนังสือสังข์ศิลป์ชัย ฉบับภาษาลาวจึงไม่ระบุชื่อผู้แต่งเอาไว้ 2) ที่มาของเนื้อเรื่องเดิม เชื่อว่ามาจากปัญญาชาดกและเป็นเรื่องพื้นบ้านที่แอบอ้างชาดก ผลการศึกษาพบว่า ไม่มีชาดกเรื่อง

60 สังข์ศิลป์ชัยในชาดกนอกนิกบาตกลุ่มปัญญาสชาดก แต่เนื้อเรื่องสังข์สินไซคล้ายกับวรรณกรรมล้านนา เรื่องหงส์หินและหงส์ผาค า เค้าเรื่องมาจากประวัติศาสตร์ล้านช้างสมัยที่มีข้อขัดแย้งภายในราชวงศ์

หลายยุคหลายสมัย แล้วต่อมาได้แอบอ้างว่าเป็นชาดกเพื่อจุดมุ่งหมายในด้านการอบรมสั่งสอนและ เพื่อโน้มน าผู้ฟังให้เกิดความนิยมศรัทธาในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย 3) สมัยที่แต่ง ปรากฏข้อสันนิษฐานว่า สินไซน่าจะแต่งในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2576-2241) เพราะเหตุการณ์ในเนื้อเรื่อง สอดคล้องกับเหตุการณ์ในยุคสมัยนั้น

เอกชัย ปะยุติ (2534) ศึกษาวิจัยเรื่อง การสร้างหนังสื่อการ์ตูนเรื่อง “สังสินไซ” เพื่อใช้

เป็นหนังสืออ่านประกอบ ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้ การวิจัย ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหนังสืออ่านประกอบวิชาภาษาไทยประเภทหนังสือการ์ตูนเรื่อง

“สังสินไซ” ส าหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้หนังสืออ่านประกอบที่

สร้างขึ้นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จ านวน 2 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งนี้ได้แบ่งนักเรียนออกจ านวนกลุ่มละ 30 คน โดยนักเรียน ทั้งสองโรงเรียนมีพื้นที่ความรู้วิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ผู้วิจัยได้ท าการสอนโดยคนเองทั้งสองกลุ่ม ทดลองสอนโดยหนังสืออ่านประกอบประเภทหนังสือการ์ตูนเรื่อง “สังสินไซ” เป็นสื่อ กลุ่มควบคุมใช้

ในการสอนแบบปกติ แต่ละกลุ่มมีการทดลองก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียน แล้วน าผลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยใช้ T-TEST ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้งสอง กลุ่มแตกต่างกัน อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ 0.05 ต่อมาไสว เสนาราช (2536) ได้ศึกษาลักษณะศัพท์

โบราณและภาพสะท้อนวิถีชีวิตชาวอีสานจากศัพท์โบราณในวรรณกรรมสังข์ศิลป์ชัย ฉบับที่ปริวรรต โดย ปรีชา พิณทอง ซึงพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2524 ผลการศึกษาพบว่า 1) การศึกษาศัพท์โบราณ ในวรรณกรรมสังข์ศิลป์ชัยพบว่า ศัพท์โบราณเป็นค าเก่าอยู่ในวรรณกรรมเก่าแก่ของอีสาน ค าเหล่านี้

กลุ่มหนึ่งเป็นค าเดิม อีกกลุ่มหนึ่งเป็นค ายืมมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมรเนื่องจากมีบางค า แผลงให้กับความนิยมในภาษาของคนอีสานจึงมีรูปร่างลักษณะเปลี่ยนแปลงไป จ าเป็นต้องศึกษาที่มา ของค าจึงจะทราบความหมายและ 2) ศัพท์โบราณเป็นจ านวนมากสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวอีสาน เช่น สะท้อนให้เห็นปัจจัยในการด ารงชีวิตประเพณีพิธีกรรม คติความเชื่อและอุดมการณ์ของสังคม โบราณเป็นอย่างดี

สุขสันติ แวงวรรณ (2541) ได้ศึกษาหมอล ากกขาขาว ด้วยวิธีการรวบรวมจากเอกสาร และการสังเกตการณ์สาธิต รวมทั้งการสัมภาษณ์ศิลปินหมอล าอาวุโสพบว่า หมอล ากกขาขาวเป็น หมอล าประเภทหนึ่งที่แยกตัวออกมาจากหมอล าหมู่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2495 มีพัฒนาการแบ่ง ออกเป็น 5 ยุค คือ 1) ยุคก าเนิดประมาณปี พ.ศ. 2495-2499 2) ยุคสร้างความนิยมประมาณ พ.ศ.

61 2499-2503 3) ยุคทอง ประมาณ พ.ศ. 2503-2508 4) ยุคเสื่อม ประมาณ พ.ศ. 2508-2515 5) ยุค ฟื้นฟู ประมาณ พ.ศ. 2518-2528 คณะที่ศึกษาคือ คณะ ช. วาทศิลป์ พบว่ามีการน าผู้หญิงมาแสดง ทั้งหมด เป็นการแสดงเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเรื่องเดียว พระเอกแต่งกายโดยสวมเสื้อเชิ้ตแขนสั้นสีขาว สวมหมวกปีก สวมถุงเท้ากีฬายาวแค่เข่า นุ่งกางเกงขาสั้น เห็นโคนขาขาว จึงได้ชื่อว่า “หมอล ากกขา ขาว” การแสดงหมอล ากกขาขาว แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนแสดง ขั้นท าการแสดงขั้นหลัง แสดง การฟ้อนร ามีพบในระหว่างท าการแสดง ปกติผู้แสดงทุกคนฟ้อน แต่งตัวพระเอกทั้ง 3 คนจะ ฟ้อนพร้อมกันอย่างมีแบบแผน ผู้แสดงท าการฟ้อนร าหลังจากล าผ่านไป เพื่อเป็นการร้องส่งตัวละคร เข้าฉากการฟ้อนร าพบว่ามี 11 กระบวนท่า และมี 3 กระบวนท่าที่ใช้ฟ้อนมากที่สุดคือ ท่าม้ากระทืบ โรงท่าเดินท่าเดินเข้า สาเหตุที่หมอล ากกขาขาวเสื่อมความนิยมสันนิฐานว่าเกิดจากกระแสความนิยม เปลี่ยนไปเป็นหมอล าเพลินนอกจากนั้นเรื่องเงินก็เป็นปัญหาเป็นที่มาของความแตกแยกภายในคณะ จนในปัจจุบันไม่ปรากฏหมอล ากกขาขาวแสดงอีกเลย

นอกจากงานดังกล่าวมาแล้ว วราภรณ์ ตุนา (2543: 155-157) ได้ศึกษาโลกทัศน์ใน วรรณกรรมอีสานเรื่องสังข์ศิลป์ชัย เป็นการศึกษาโลกทัศน์ที่มีคุณค่าต่อมนุษย์ ใน 3 ด้าน คือ โลกทัศน์

ที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ โลกทัศน์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติ และโลกทัศน์มนุษย์มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ

ผลการวิจัยพบว่า โลกทัศน์ที่มนุษย์มีต่อมนุษย์ต้องเป็นมนุษย์ที่ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรม มีความกตัญญู และเชิดชูวงศ์ตระกูล ลักษณะผู้น าที่ดีต้องประกอบด้วยคุณธรรมทศพิธราชธรรมและ เห็นความสุขความสงบของบ้านเมืองเป็นสิ่งส าคัญ อ านาจการปกครองของสังคมอยู่ที่กษัตริย์ ด้าน สังคมมนุษย์ให้ความส าคัญกับครอบครัวโดยใช้ความผูกพันทางสายโลหิตและความเป็นเครือญาติเป็น สิ่งส าคัญที่จะเชื่อมความสัมพันธ์กันเป็นสังคมและประกอบอาชีพกสิกรรมเป็นหลัก ส าหรับโลกทัศน์ที่

มนุษย์มีต่อธรรมชาตินั้น มนุษย์มีความผูกพันกับธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตอย่างแยกออกจาก กันไม่ได้ มนุษย์มีความสนใจและซาบซึ้งต่อธรรมชาติ ในด้านปัจจัยการด ารงชีวิตมนุษย์ก็ต้องพึ่งพา ธรรมชาติ นอกจากนี้มนุษย์มีโลกทัศน์เกี่ยวกับจินตนาการจากธรรมชาติ มนุษย์เชื่อเกี่ยวกับพืชและ สัตว์ในธรรมชาติว่าบางอย่างมีจริงแม้ในชีวิตจริงจะไม่เคยพบเห็นก็ตามวรรณกรรมสินไซ ยังสะท้อนให้

เห็นความสัมพันธ์และผูกพันกับพืช และสัตว์ ส่วนโลกทัศน์ที่มนุษย์มีต่อสิ่งเหนือธรรมชาติ พบว่า วรรณกรรมสะท้อนให้เห็นว่ามนุษย์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพุทธศาสนาใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ มนุษย์เชื่อว่าศาสนาเป็นศูนย์กลางในการสร้างความดี ถือว่าวัดเป็นศูนย์รวมของสังคม มีการศึกษา พระไตรปิฎก มีความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ชาตินี้ ชาติหน้า เป็นเครื่องโน้มน้าวจิตใจให้เกรงกลัวต่อ บาป นอกจากนี้ยังสะท้อนให้เห็นความเชื่อเรื่องบุบเพสันนิวาส ไสยศาสตร์ คาถา และผีบรรพบุรุษที่

จะปกป้องคุ้มครองนอกจากนี้ยังพบว่าวรรณกรรมสินไซ ได้สะท้อนโลกทัศน์ที่ครอบคลุมระบบ ครอบครัว การเมือง การปกครอง การพึ่งพาธรรมชาติที่มีคุณในด้านร่างกาย และจิตใจ และเคารพ สิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ และศาสนา

Dokumen terkait