• Tidak ada hasil yang ditemukan

วรรณคดีเรื่องสินไซส านวนต่างๆ

ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้สืบค้นข้อมูลวรรณคดีเรื่องสินไซจ านวน 14 ฉบับ ทั้งนี้ยังได้พบว่า พัฒนาการของเรื่องสินไซเกี่ยวกับการบันทึกใหม่ด้วยตัวอักษรลาวมีทั้งฉบับสมัยก่อนการปลดปล่อย ชาติและหลังการปลดปล่อยชาติ เมื่อน ามาศึกษาร่วมกันทั้งหมดแล้วได้เห็นทั้งความเหมือนและความ แตกต่าง ซึ่งผู้วิจัยจะน าเสนอเฉพาะความต่าง เพราะว่าในเรื่องล้วนเป็นเรื่องวรรณคดีสินไซเหมือนกัน ทั้งหมด ส่วนความแตกต่างด้านข้อมูลวรรณคดี และข้อปลีกย่อยนั้นปรากฏในวรรณคดีสินไซทุกฉบับ โดยเรียงล าดับจากฉบับเก่าไปหาฉบับใหม่ ดังนี้

3.4.1 สินไซฉบับปี ค.ศ. 1949 และปี ค.ศ. 1951

การศึกษาข้อมูลวรรณคดีสินไซทั้งสองฉบับนี้ ลิดจะนา โดย สิลา วีระวงส์ มีชื่อเรื่องว่า

“สังสินไซย์” ปีพิมพ์ ค.ศ. 1949 เล่มที่ 1 เริ่มต้นสมมุติบั้น ถึงวิวาห์หะบั้น ส่วนเล่ม 2 ตีพิมพ์ ค.ศ.

1951 เริ่มต้นปฏิสนธิบั้น ถึงโคจรบั้นเท่านั้น นอกจากบั้นอื่น ๆ นั้นยังมีอีกในเล่มต่อไป แต่ผู้วิจัยได้

ศึกษาค้นหาแต่ไม่พบ คือค้นพบเพียงสองเล่มนี้ ส่วนลักษณะค าประพันธ์เป็นร้อยกรอง เป็นโคลงวิชชุมาลี

จุดมุ่งหมายในการแต่งทั้งสองฉบับนี้แม่น ท่านหยูย อะไพ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษา ธรรมการ สาธารณสุขและโฆษณาได้มอบให้ มหาสีลา วีระวงส์ เป็นผู้แก้ไขหนังสือสินไซ ดังค าอธิบายของท่าน ดังนี้

“หนังสือนี้ตัวข้าพเจ้า ประกอบกับข้าพเจ้าก็ได้มีความด าริอยู่แล้วและ เห็นว่า มหาสีลา เป็นผู้มีความรู้ความช านาญในทางวรรณคดีคนหนึ่ง ข้าพเจ้าจึง ได้มอบให้เป็นผู้แก้ไขหนังสือสินไซนี้ และจัดพิมพ์ขึ้นตามก าลังพอที่จะท าได้

หนังสือสินไซที่พิมพ์นี้ ถึงเป็นตัวหนังสือที่จะไม่สวยงาม เพราะต้องเขียนด้วยมือ และพิมพ์ด้วยเครื่องอัดส าเนา แต่ค ากลอนเรื่องสินไซนี้ยังคงความสนุกในการ ด าเนินเรื่องเหมือนเดิม และ ข้าพเจ้าก็หวังว่า เวลาใดเมื่อเรามีเครื่องพิมพ์อย่างดี

แล้ว คงจะได้จัดพิมพ์ขึ้นอีกครั้งและเผยแพร่ออกไป ท้ายสุดนี้ข้าพเจ้า

80 ขอขอบพระคุณ มหาสีลา วีระวงส์ ในการที่ได้พยายามแก้ไขและจัดพิมพ์หนังสือ

นี้ขึ้นให้ส าเร็จ เพื่อรักษาวรรณคดีอันทรงคุณค่าของลาวเอาไว้ และเพื่อให้เป็น ประโยชน์แก่ผู้อ่าน ผู้ฟัง ตลอดทั้งผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่อง “สินไซ”

ค าชี้แจงเรื่องสังสินไซของมหาสีลา วีระวงส์ ส านวนค ากลอนข้างต้นนี้ ผู้แต่งได้แต่งถูกต้อง ตามฉันทลักษณ์ของการแต่งกลอน กล่าวคือ โดยส่วนมากครบเต็ม 4 บาท ไม่ขาด ถึงแม้จะมีบางบทที่

ขาดหายไปบ้าง แต่ก็เข้าใจว่าเป็นเพราะผู้คัดลอกต่อๆ มา จึงท าให้มีบางค าที่ตกหล่นไปบ้าง และ ถ้อยค าที่มีอยู่ในหนังสือนี้ผู้แต่งได้คัดเลือกเอาเฉพาะค าที่สุภาพ ไพเราะ มาเรียบเรียงไว้ และทุกๆ ค ามีความหมาย สามารถสื่อถึงอารมณ์และบอกนัยส าคัญของเรื่อง อารมณ์ และความรู้สึกได้ แม้ว่าจะ เล่าในช่วงที่แสดงความโกรธ ความดุร้ายก็ไม่เป็นค าหยาบเกินไป ทั้งนี้ เนื่องจากหนังสือเรื่องสังสินไซ เป็นวรรณคดีชั้นสูงดังกล่าวมานี้ คนลาวไม่ว่าอยู่บ้านเมืองใดก็มักจะนิยมอ่าน นิยมฟังและเขียน คัดลอกต่อๆ กันมา จนมีการพัฒนาตามยุคสมัยและมีโรงพิมพ์ บ้างก็ได้เอาไปพิมพ์เป็นตัวอักษรไทย และเผยแพร่ไป ซึ่งก็มีอยู่จ านวนมาก ส่วนผู้เขียนคัดลอกต่อๆ กันมานั้นส่วนมากเป็นชาวบ้านธรรมดา ที่ไม่ได้เล่าเรียน ไม่มีความรู้ในเรื่องฉันทลักษณ์ สัมผัสต่างๆ ของกาพย์กลอนหรือไม่มีความเข้าใจใน เรื่องของความหมายในทางวรรณคดี จึงเขียนผิดไปก็มี เช่น “ขวบเมื่อพอละนีเต้าเสถียรเนาในเมด”

เขียนเป็น “ทอละนีเต้า” ซึ่งค าว่า “พอละนี” เป็นชื่อดาวฤกษ์ดวงหนึ่งอยู่ในราศีเมษ คือเดือนห้า ส่วนค าว่า “ทอละนี” แปลว่า แผ่นดิน อีกประการหนึ่ง สิลา วีระวงส์ (1949: 19) ยังรับรองว่าหนังสือ สังสินไซฉบับพิมพ์นี้ เป็นฉบับที่ถูกต้อง ดีกว่าฉบับอื่นๆ และอยู่ส่วนท้ายของหนังสือนี้ ได้ท าศัพท์

พจนานุกรมไว้ด้วยเพื่อท่านผู้ใดสงสัยในค าใดควรสืบค้นข้อมูลในส่วนที่เป็นค าแปลในส่วนท้ายหนังสือ นี้

ตัวอย่างเนื้อความตอนต้นเล่มหนึ่ง สมมุติบั้น(นะมัตถุ)

ศรีสุพะ มังคะละเลิศล้ า สิทธิเดชลือชา นาโถสุด ยอดยานไตแก้ว สวัสดีน้อม ในธรรมพุทธบาท คุณพระ ยกใส่เก้า ชุลีล้ ายอดยาน

ขวบเมื่อ ฮ่วมๆ ฟ้า ฮ้องเฮ่งละงมฝน พุ้นเยอ วาโยเผลียง ล่วงไควคุมด้าว

พฤกษาเสี้ยว แสนก็กางกลีบ ละดู พืชผลพร้อม เพ็งถ้วนเถื่อนแถว

81 ยามนั้น มหาเม็ก เค้า คะนัง เน่งบังบด

สุละพาเอียง อว่ายแลงลงไม้

อาทิตย์ จอนจันทน์แจ้ง เดือนสามสัดตะพิด สะลูฮูบเนื้อ เนาว์วะช้อยซอบยาม

(สิลา วีระวงส์, 1949: 1) ตัวอย่างเนื้อความตอนท้าย เล่มสอง

ฝันว่า เทพาอิน อ่านมนต์ทานให้

ฝันว่า สังขาข้าม จักรวาลระวังทีบ อวนอ่อนเข้า เมื่องเย้อย่าลาย ฝันว่า นาคก่ายเกี้ยว เป็นแทนลายเหลือง ภูทอนทง ม่านมุงพิดานกั้ง พอเมื่อ เพลาล้ า เลยกะซังสะดุ้งตื่น ภูวนาทท้าว ใจร้อนฮอกาน แม้งนึ่ง วันพุ่งพ้น เข้าขอบคันทอน พูมี เมื่อบนเขา ผ่อคอยคองน้อง โคจะราบั้น มีทานธรรมก่าว แล้วท่อนี้ ถวายไท้พระยอดคุณ ก่อนแล้ว เล่มสามยังมีต่อ

(สิลา วีระวงส์, 1951: 124) 3.4.2 สินไซฉบับปี ค.ศ. 1966

การศึกษาข้อมูลวรรณคดีสินไซฉบับนี้ ลิดจะนา โดย สิลา วีระวงส์ มีชื่อเรื่องว่า “สังสินชัย”

ปีพิมพ์ ค.ศ. 1966 เริ่มต้นสมมุติบั้น ถึงบั้นนาคสะดุ้ง ส่วนลักษณะค าประพันธ์เป็นร้อยกรอง แต่ไม่มีบาทขึ้นและลงเขียนเรียงแถวยาวคล้ายกับร้อยแก้ว จุดมุ่งหมายในการตีพิมพ์เพื่อเผยแพร่

วรรณคดีที่มีคุณค่าและวรรณคดีชั้นเลิศกว่าบรรดาหนังสือวรรณคดีที่เป็นภาษาลาวและที่มีอยู่ใน ประเทศลาว ดังนั้นจึงอยากวิจารณ์เรื่องสินไซนี้เพราะว่าเป็นหนังสือที่ส าคัญและมากด้วยคุณค่า

ตัวอย่างเนื้อความตอนต้นหรือบทสมมุติ

นะมัดถุ

ศรีสุพะมังคะเลิศคล้ าสิทธิเดชลือชา นาโถสุดยอดยานไตแก้วสวัสดีน้อมในธรรมพุทธ บาท คุณพะยกใส่เก้าชุลีล้ ายอดยานขวบเมื่อฮ่วนๆ ฟ้าฮ้องฮ่ าระงมฝน พุ้นเยอ วาโยเผลียงล่วงไควคุม

82 ด้าว พฤกษาเสี้ยวแสนก็กางกลีบ ละดูพืชผลพร้อมเพ็งถ้วนเถื่อนแถว ยามนั้นมะหาเมกเค้าคะนงเน่ง บังบด สุระพาเอียงอ่วยแลงลงไม้ อาทิตย์จอมจันทน์แจ้งเดือนสามสัดตะพิด สะลูลูบเนื้อเนาว์วะช้อย ชอบยาม (สิลา วีระวงส์, 1966: 1)

ตัวอย่างเนื้อความตอนจบ

อันว่ากุมพันผู้ลือเกียรติศิลปศาสตร์วันนั้น คือว่าไชยะนามท่านไท้ทงช้างต่อพระองค์ นั้น แล้ว อันว่าทั้งหกท้าวเป็นเวรบังเบียด พระองค์นั้น เหมือนว่าเทวทัตผู้ผางล้ าลูกอาว แท้แล้ว อันนี้

พระหากไขอุบแก้วเทเทศน์ในอาฮาม แสนอสงไขยสัตว์แจกเป็นประการห้า คันเสด็จเสี้ยงสาธุการ พร้อมพร่ า ทุกที่ได้ยานแก้วมากมี อันนี้ปางค าท้าวทงขานเขียนฮูบ ยกแย่งถ้วนถวายไว้แว่นแยง แท้แล้ว (สิลา วีระวงส์, 1966: 236)

3.4.3 สินไซฉบับบทละครล าปี ค.ศ. 1968

การศึกษาข้อมูลวรรณคดีสินไซฉบับนี้ ประพันธ์ โดย สิลา วีระวงส์ มีชื่อเรื่องว่า “บท ละครล าเรื่องท้าวสิลป์ชัย” ปีพิมพ์ ค.ศ. 1968 ส่วนลักษณะค าประพันธ์เป็นทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว รวมทั้งเป็นบทสนทนา โดยมีจุดมุ่งหมายในการตีพิมพ์เพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม ปรับปรุง ศิลปะของลาวตั้งแต่

เดิม ให้มีความก้าวหน้าและรักษาไว้ซึ่งศิลปะอันเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่นการฟ้อนร า การเล่นดนตรี

ตลอดจนการท าลวดลายบนอุปกรณ์จักรสาน สิ่งทอหรือเครื่องปั้น แบบแผน รูปทรงสิ่งก่อสร้างทาง ปูชนียสถานและปูชนียวัตถุเป็นต้น ตามแบบฉบับของลาว และเพื่อฟื้นฟู ส่งเสริม อักษรศาสตร์ลาว ภาษาลาว วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ประวัติโบราณสถาน เป็นต้น ตลอดจนการประพันธ์ การแต่ง การแปลวรรณคดีของชาติต่างๆ อันเป็นประโยชน์ จึงได้ออกเผยแพร่เพื่อให้จุดประสงค์อันส าคัญสอง ประการนี้ด าเนินต่อไป สมาคมศิลปะวรรณกรรมลาว จึงได้ปรับปรุงโรงละครเก่าขึ้นใหม่ และตั้งชื่อ ของโรงมหรสพนี้ว่า “โรงมหรสพปางค า” และได้คัดเลือกเอาหนังสือค ากลอนเรื่องสังข์ศิลป์ชัยนี้มา ประพันธ์เป็นบทละครร า ส าหรับให้เป็นเรื่องเอกของสมาคม หรืออาจจะเป็นตัวละครประจ าชาติใน ล าดับต่อไป

ตัวอย่างเนื้อความตอนต้น ฉากที่ 1

ความล า ยังมีนัดคะเลิศล้ า ชั้นชื่อเป็งจาล มีคมคน คั่งเพ็งพอตื้อ เชียงหลวงล้น ลุงลังล้านย่าน น้ าแผ่ล้อม ระวังต้ายชั่วตา ฮุ่งค่ าล้น ชาวเทศเทียวสะเพา อุดมโดย ดั่งดาวะดิงฟ้า ภูเบดสร้างท่อนท้าว กุดสะลาดนามกษตริย์

(สิลา วีระวงส์, 1968: 2)

83 ตัวอย่างเนื้อความตอนท้าย

แม่ ล าสอนลูก ความล าสั่งสอนว่า ลูกแม่คือคู่แก้ว อันเกิดกลางอก นี้แล้ว บัดนี้เวลาจ า จากเผื่อสองเฒ่า แม่จักสอนให้ลูก เรียนคุณคองฮีด

ไกลแม่หล้าง ลอนฮ้ายบ่เชียง ลูกเอย….

คันเอามาในเฮือน ไพ่คองคางไร้

กูสอนไว้ ยาดาดนประมาท แม่นว่าหลับตื่นให้ คะนิงชั้นชู่ยามนั้นเนอ อันนึ่งจอมใจข้อย นางลุนลูกแม่

น้องก็ยังผู้น้อย สู่เจ้าค่อยสอนน้องเนอ

(สิลา วีระวงส์, 1968: 50-51) 3.4.4 สินไซฉบับปี ค.ศ. 1969

การศึกษาข้อมูลวรรณคดีสินไซฉบับนี้ ลิดจะนา โดย สิลา วีระวงส์ มีชื่อเรื่องว่า “สังข์

สิลป์ชัย” พิมพ์ปี ค.ศ. 1969 เริ่มต้นสมมุติบั้น ถึงบั้นนาคสะดุ้ง ส่วนลักษณะค าประพันธ์เป็นร้อยกรอง เป็นโคลงวิชชุมาลี และรูปแบบการเขียนตัวหนังสือยังใช้รูปแบบการเขียนตัวหนังสือแบบระบอบเก่ามี

การใช้ทั้งตัวการันต์และตัวสะกดหลายตับแบบภาษาไทย จุดมุ่งหมายในการตีพิมพ์เนื่องจากว่า เรื่อง สินไซเคยได้พิมพ์เป็นเล่มมาหลายครั้งแต่หากยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ดี บางฉบับก็เขียนด้วยมือ บาง ฉบับก็พิมพ์ด้วยพิมพ์ดีดแล้วอัดโรเนียวและเย็บเล่มด้วยมือ ดังนั้นทั้งตัวหนังสือและเล่มหนังสือจึงไม่ได้

มาตรฐานและการพิมพ์ก็ยังขาดตกบกพร่องอยู่เป็นอันมาก และท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรม การ คือ สมเด็จพระเจ้าบุญอ้อม ณ จ าปาสัก ได้เห็นความส าคัญของหนังสือค ากลอนเรื่องท้าวสังสินไซ ฉบับนี้ว่า เป็นวรรณคดีชั้นยอดของลาว ควรจะจัดให้มีการตรวจแก้ไขให้ถูกต้อง แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่ม ให้ได้มาตรฐานขึ้น เพื่อให้ไว้เป็นสมบัติของชาติลาวสืบไป จึงได้สั่งให้ตรวจเพิ่มแล้วจัดพิมพ์ขึ้นโดยนาม ของกระทรวงธรรมการ

ตัวอย่างเนื้อความตอนต้น:

สมมุติบั้น (นะมัตถุ)

ศรีสุพะ มังคะละเลิศล้ า สิทธิเดชลือชา นาโถสุด ยอดยานไตแก้ว สวัสดีน้อม ในธรรมพุทธบาท

Dokumen terkait