• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดบทบาทหน้าที่

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.2.1 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดบทบาทหน้าที่

จากการทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่นั้น ผู้วิจัยพบว่า มีผลงานที่ศึกษาในแง่ดังกล่าวที่เป็นประโยชน์ต่องานวิจัยนี้จ านวนมาก ทั้งที่เป็นการศึกษาในแวดวง วรรณกรรมไทยศึกษาและแวดวงวรรณกรรมลาวศึกษา ดังจะอธิบายถึงดังนี้

จารุวรรณ ธรรมวัตร (2520: 71) ได้ศึกษาบทบาทของหมอล าต่อสังคมอีสานในช่วง กึ่งศตวรรษ พบว่า หมอล ามีบทบาทอยู่ 2 ประการ คือ บทบาทด้านพิธีกรรมและบทบาทด้านมหรสพ หมอล ากลอนจัดเป็นหมอล าที่อยู่ในกลุ่มที่มีบทบาทด้านมหรสพโดยตรง คือให้ความบันเทิงให้

การศึกษา เผยแพร่ศาสนา ปกป้องบรรทัดฐานของสังคม สร้างเอกภาพและแนวความคิดทางการเมือง เป็นเครื่องมือสื่อสารชาวบ้าน และยังมีบทบาทที่แฝงเร้นอีกคือช่วยผ่อนคลายความเก็บกดความคับ ข้องใจอันเกิดจากกรอบของสังคม และปัญหาในการด าเนินชีวิต นอกจากนี้ล ากลอนยังมีบทบาทใน ด้านการอบรมจริยธรรม การสื่อสารมวลชน การอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น

สมพร ร่วมสุข (2521) ศึกษา การวิเคราะห์บทบาทตัวละครอมนุษย์ในบทละครใน และบทละครนอก จุดมุ่งหมายในการศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับที่มา ลักษณะ อุปนิสัย ประเภท บทบาท และคุณค่าของตัวละครอมนุษย์ที่ปรากฏในละครในและบทละครนอก ผลการศึกษาพบว่า ตัวละคร มนุษย์ส่วนมากที่มีมาจากศาสนา อันเป็นความเชื่อในคติพราหมณ์และคติพุทธของอินเดีย แต่มีตัว ละครบางประเภทกวีได้ถ่ายทอดความคิดมาจากวรรณคดีต่างชาติ เช่น วรรณคดีอินเดีย ชวา เป็นต้น นอกจากนี้ยังได้สร้างตังละครอมนุษย์โดยอาศัยความเชื่อดั้งเดิมของไทยเป็นหลักแล้วจินตนาการให้มี

ลักษณะพิเศษและพิสดารมากยิ่งขึ้น ส่วนบทบาทตัวละครในบทละครนั้นพบว่า ตัวละครอมนุษย์ใน บทละครแยกได้ 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ตัวละคร อมนุษย์ฝ่ายดีซึ่งเป็นตัวละครที่มีคุณธรรมและ เป็นผู้ที่ให้ความช่วยเหลือตัวเอกในการขจัดอุปสรรคและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่ตัวละครเผชิญอยู่ให้หมด ไป และ ประเภทที่ 2 ตัวละครฝ่ายร้ายซึ่งได้แก่ตัวละครที่ขาดคุณธรรมชอบสร้างปัญหาหรือก่อความ เดือดร้อนให้ผู้อื่นอยู่เสมอ

ช่อรัตน์ ไวยฉัยยา (2545) ศึกษาบทบาทตัวละครเอกในทศชาติชาดก มีความมุ่ง หมายเพื่อศึกษาตัวละครเอกในทศชาติชาดก จากพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวง เล่มที่ 28 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 20 ขุททกนิกาย ชาดก ภาค 2 พระสูตรและอรรถกถาแปล ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม 4 ภาคที่ 2 และ 3 ในประเด็นของบทบาท คุณสมบัติและลักษณะของตัวละครเอก ผลการศึกษา มีการน าเสนอบทบาทของตัวละครเอกในด้านดีเพียงด้านเดียว ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการเป็นแบบอย่าง เช่น บทบาทของลูก ลูกที่ปรากฏส่วนใหญ่จะเป็นลูกที่ดี คือ เชื่อฟังค าสั่งสอนของบิดามารดา มีความ กตัญญู และมุ่งกระท าความดี บทบาทของพ่อ พ่อที่พบนอกจากเป็นพ่อที่ดีให้ความรัก คอยอบรมเลี้ยง ดูบุตรแล้ว ยังต้องจัดหาทรัพย์สมบัติไว้ให้บุตรอีกด้วย บทบาทในทางสังคม มีบทบาทของกษัตริย์และ ขุนนางที่มุ่งปฏิบัติธรรม คุณสมบัติและลักษณะของตัวละครเอกในทศชาติชาดก มีคุณสมบัติและ

34 ลักษณะที่เด่นคือ มีความเป็นผู้น าอยู่ในตนเอง และสามารถเป็นผู้น าตั้งแต่เยาว์วัย และผู้น าที่พบมาก ที่สุดคือ ผู้น าแบบธรรมราชา โดยผู้น าประเภทนี้ยึดหลักธรรมมาใช้ในการปกครอง ซึ่งท าให้ประสบ ผลส าเร็จมากที่สุดทั้งด้านการครองตน การครองคน และการครองงาน ลักษณะของตัวละครเอกที่ไม่

ปรากฏ คือ ตัวละครที่มีลักษณะแบบเผด็จการ จะมีเฉพาะตัวละครรองหรือตัวละครอื่นที่ไม่ใช่ตัว ละครเอก ตัวละครในทศชาติชาดกเป็นการน าเสนอบทบาท คุณสมบัติ และลักษณะของตัวละครแบบ แบน ซึ่งปรากฏในด้านดีเพียงด้านเดียว

ปฐม หงษ์สุวรรณ (2550: 389) ศึกษาบทบาทของหมาในต านานและพิธีกรรมของ ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอุษาคเนย์ พบว่า หมาในต านานและพิธีกรรมมีบทบาทส าคัญ 4 ประการ คือ หมาเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ เป็นผู้น าทางวัฒนธรรม เป็นตัวแทนของการสืบเผ่าพันธ์และความอุดม สมบูรณ์ เป็นสื่อกลางเชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกศักดิ์สิทธิ์ ลักษณะของบทบาทดังกล่าวได้

แสดงให้เห็นความคิดความเชื่อเกี่ยวกับหมา หมามิเป็นสัตว์เลี้ยงธรรมดา ๆ แต่เป็นสัตว์ที่ส าคัญและมี

สถานภาพศักดิ์สิทธิ์ มีทั้งที่เชื่อว่าหมามีพลังอ านาจเหนือธรรมชาติ มีความสามารถในการมองเห็น อนาคต และมีความสัมพันธ์กับโลกแห่งวิญญาณ

ลาวัณย์ สังขพันธานนท์ (2552) ศึกษาบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นเมืองลาว ผลการวิจัยพบว่า นิทานพื้นเมืองลาวทั้งสามกลุ่มชนและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การให้การศึกษาอบรม ระเบียบของสังคม การเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคลอันเกิดจากความขัดแย้งและ กฎเกณฑ์ทางสังคม การถ่ายทอดความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรม และบทบาทหน้าที่ในการสร้างและ แสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ บทบาทหน้าที่ดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมในอดีตมากกว่ายุคปัจจุบัน นิทานพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ลาวมีบทบาทหน้าที่ที่เด่นที่สุดคือ การเป็นทางออกให้กับความคับข้องใจของบุคคลอันเกิดจากความขัดแย้งและกฎเกณฑ์ทางสังคมที่

แสดงให้เห็นความขัดแย้งและการต่อสู่ทางชนชั้น รองลงมาคือบทบาทหน้าที่ในการสร้างและแสดง อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ที่มีทั้งอัตลักษณ์ดั้งเดิมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมแบบเก่าและใหม่

บทบาทหน้าที่ที่เด่นที่สุดของนิทานพื้นเมืองกะตู ได้แก่การศึกษาอบรมระเบียบของสังคมที่เน้นการให้

ความรู้และประสบการณ์ที่จ าเป็นต้องด ารงชีวิตของคนกะตูในอดีต ที่พึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก ส่วนบทบาทหน้าที่ที่เด่นที่สุดของนิทานพื้นเมืองม้ง คือการถ่ายทอดความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งเป็นสังคมจารีตประเพณี เมื่อเปรียบเทียบลักษณะร่วม และแตกต่างของบทบาทหน้าที่ทั้ง 5 ด้าน ในนิทานพื้นเมืองของทั้ง 3 กลุ่ม ท าให้เห็นลักษณะร่วมที่

น่าสนใจในเรื่องของการอธิบายก าเนิดโลกและจักรวาลทัศน์ว่า มีวิธีคิดและความเชื่อที่คล้ายกันเช่น เชื่อในเรื่องผู้สร้างโลก เชื่อในเรื่อผีที่สะท้อนถึงโลกทัศน์ต่ออ านาจเหนือธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์กับ ประเพณีพิธีกรรมในชีวิตและสังคม

35 เสาวนีย์ สีสอง (2556) ศึกษาสถานภาพและบทบาทของตัวละครที่เป็นคนพิการ ในนวนิยายร่วมสมัย: ภาพสะท้อนสถานภาพคนพิการในสังคมไทย โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาให้

ทราบสถานภาพและบทบาทของตัวละครที่เป็นคนพิการในนวนิยายร่วมสมัยที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวข้องกับ คนพิการทั้ง 9 ประเภท และเพื่อศึกษาประสบการณ์ และแนวคิดของผู้เขียนนวนิยายร่วมสมัยในการ สร้างบทบาทของตัวละครที่เป็นคนพิการ โดยระเบียบวิธีวิจัยที่น ามาใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่

การวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ ซึ่งมีนวนิยายจ านวน 14 เรื่อง พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2533-2553 เนื่องจากผู้วิจัยเป็นผู้พิการทางสายตา การวิเคราะห์ข้อมูลจึงใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening Coding) ประกอบการวิเคราะห์ด้วยมือ และการใช้เครื่องมือเดซี่ส าหรับผู้พิการ ทางการเห็น จาการวิเคราะห์การวิจัยเอกสาร พบว่า ตัวละครพิการประเภทต่างๆ มีสถานภาพและ บทบาทแตกต่างกันไปทั้งตัวละครพิการที่มีสถานภาพความพิการโดยก าเนิด และผู้มีสถานภาพความ พิการภายหลัง และปัจจัยที่ส่งผลต่อสถานภาพและบทบาทของตัวละครพิการ ซึ่งสะท้อนให้เห็น สถานภาพของคนพิการที่เป็นจริงในสังคมไทยว่า มีสถานภาพแตกต่างกันไป การวิเคราะห์และ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผลการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เขียนนวนิยายที่เกี่ยวข้องกับคนพิการ จ านวน 6 คน พบว่า ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายในการเขียนนวนิยายเพื่อสร้างก าลังใจให้แก่ผู้อ่านและคนพิการ และตั้ง ค าถามกับสังคมผู้ให้ข้อมูลให้ทัศนะว่าสถานะภาพและบทบาทของคนพิการด้อยกว่าในอดีตแต่ก็ยังมี

คนพิการอีกจ านวนหนึ่งที่ยังขาดการได้รับโอกาสจากสังคมสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา จัดเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความส าคัญต่อคนพิการ ในการให้โอกาสทางสังคมของคนพิการ และ รัฐบาลควรสนับสนุนสวัสดิการส าหรับคนพิการในทุกๆด้าน ด้านอย่างทั่วถึงและเหมาะสม

จตุพร เพชรบูรณ์ (2559) ศึกษาความเชื่อและบทบาทของประเพณีทานธัมม์ของ กลุ่มชาติพันธุ์ไทที่ต าบลเวียงพางค า อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประเพณีทานธัมม์ซึ่งเป็นประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ไทในการถวายคัมภีร์ให้วัด, เพื่อวิเคราะห์ความ เชื่อและวิธีคิดของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยที่อพยพมาจากรัฐฉานและสิบสองพันนามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ต าบล เวียงพางค า อ าเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายในการเลือกคัมภีร์ถวายให้วัดในแต่ละโอกาส และเพื่อ วิเคราะห์บทบาทของประเพณีทานธัมม์ที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์ไทในบริบทข้ามพรมแดน ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อเรื่องอายุพุทธศาสนา 5,000 ปี เป็นปัจจัยที่ท าให้เกิดคติทานธัมม์เพื่อค้ าชูศาสนา กลุ่ม ชาติพันธุ์ไทที่ ต.เวียงพางค า มีประเพณีทานธัมม์ทั้งในระดับบุคคล ในระดับชุมชนและมีประเพณี

ทานธัมม์บางอย่างที่รับมาจากชาวไทยวน ในระดับบุคคล คนไทยมีขนบในการทานธัมม์ “จากน้อยไป ใหญ่” ซึ่งเป็นการท าบุญด้วยการถวายวัตถุสิ่งของและถวายคัมภีร์เป็นล าดับขั้น เริ่มจากทานธัมม์

บารมี ทานธัมม์ชะตา ทานธัมม์ปิฏกะทังสาม ทานธัมม์สามสุมสี่ทัน ทานมหาปาง และทานธัมม์กัมม์

วาจา, ประเพณีทานธัมม์ในระดับชุมชนพบเพียงประเพณีเดียวคือ ตั้งธัมม์เวสสันตระ (การถวายธัมม์

มหาชาติ), ส่วนการทานธัมม์ที่รับอิทธิพลจากชาวไทยวน คือ การทานธัมม์อุทิศในงานท าบุญร้อยวัน

Dokumen terkait