• Tidak ada hasil yang ditemukan

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสหบท

2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2.2.2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องสหบท

ตรีศิลป์ บุญขจร (2549: 156-175) กล่าวในหนังสือเรื่อง วรรณคดีเปรียบเทียบ กระบวนทัศน์และวิธีการ ถึงเรื่องการศึกษาวรรณคดีเปรียบเทียบแนวสหบท สามารถสรุปได้ดังนี้

กระบวนทัศน์ คือความเป็นสหบทของผู้อ่านและผู้ตีความมากกว่าสหบทในฐานะของผู้แต่ง ตรีศิลป์

กล่าวว่า แนวคิดของโรลองค์ บาร์ธส์ เรื่องมรณกรรมของผู้แต่งเป็นพื้นฐานส าคัญของกระบวนทัศน์นี้

ผู้อ่านหรือผู้ให้ความหมายในตัวบทสามารถสารทอดเครือข่ายของความสัมพันธ์ของตัวบทอื่นๆ ทั้งที่

เป็นวรรคดีที่มีมาก่อนหรือที่เคยอ่านมาก่อนกับตัวบทอื่นที่ไม่ใช่วรรณคดี และยังสามารถใช้ตัวบท อื่นๆ ที่เป็นเครือข่ายของสหบททางวัฒนธรรมและสังคมอีกด้วย ส่วนดวงมน จิตร์จ านง (2550: 49- 62) จากบทความเรื่อง การศึกษาวรรณกรรมไทยในแง่สหบท หรือสัมพันธบท โดยสามารถสรุปผล การศึกษาว่า ความเกี่ยวสัมพันธ์ของวรรณกรรมที่เกิดก่อนกับวรรณกรรมที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่

ในภายหลังการศึกษาตัวบทวรรณกรรมที่มีมาก่อนหน้าท าให้เห็นความเชื่อมโยงของความคิดซึ่งมีทั้ง ความสอดคล้อง และการโต้แย้งกันดังที่ความคิดเรื่องการด าเนินชีวิตตามแบบอย่างพระโพธิสัตว์ใน มหาเวสสันดรชาดกปรากฏในกวีนิพนธ์ล าน าภูกระดึงความคิดเรื่องภัยของชีวิตในเชิงอภิปรัชญาใน และลิลิตพระลอมาปรากฏในบทเพลงร่วมสมัย เรือมนุษย์และนวนิยายเรื่องเจ้าจันทร์ผมหอม การที่ตัว เอกในเรื่องลิลิตพระลอต้องเผชิญชะตากรรมเป็นเหตุให้บทบาทของผีในต านานซึ่งเป็นวรรณกรรมที่

เกิดก่อนเปลี่ยนแปลงไป

กิตติศักดิ์ เกิดอรุรสุขศรี (2552: 260) ได้เสนอสัมพันธบท แต่เรียกว่าสหบท มาศึกษา ละครเวทีในบทความเรื่อง “จากวรรณคดีสู่ละครเวทีร่วมสมัยกรณีศึกษาเรื่องมหาชนก Never Say Die และคนบ้ากับสุดสาคร” โดดการน าแนวคิดสหบทมาอธิบายกระบวนการสร้างตัวบทละครเวที

ทั้งสองเรื่อง พบว่าผู้สร้างงานศิลปะได้ชึมชับความคิดจากผลงานที่มีมาก่อน อาจโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็

39 ตาม ได้สะท้อนให้เห็นถึงวรรณคดีโบราณเป็นแหล่งรวบรวมประสบการณ์ชีวิตและขุมทรัพย์ที่สามารถ น ามาถ่ายทอดรูปแบบต่าง ๆ ท าให้เห็นคุณค่าของวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ ซึ่งเป็นการสืบสานสมบัติทาง ศิลปวัฒนธรรมของมนุษย์ชาติให้ด ารงอยู่ได้อีกทางหนึ่ง

พรรษา รอดอาตม์ (2558: 99-100) ได้น าเสอเกี่ยวกับสัมพันธบทไว้ในหนังสือ ชุมชน ศึกษากับสื่อดั้งเดิม ในประเด็น สมพันธบทจากนิทานพื้นบ้านสู่การ์ตูนและละครจักร ๆ วงศ์ ๆ ทาง โทรทัศน์: ศึกษากรณีนิทานเรื่อง “สังทอง” ว่า ตัวบทต้นทางและตัวบทปลายทางต่างมีการ ปรับเปลี่ยนเข้าหากันและกัน จึงท าให้พบว่าสัมพันธบท 2 มิติแรก คือตัวบทปลายทางถ่ายโยงตามตัว บทต้นทางเดิมในองค์ประกอบแก่นเรื่องหลัก แก่นเรื่องรอง โครงเรื่อง อารมณ์ ตัวละคร และฉาก เพราะตัวบทเหล่านี้ คือ “แก่น” ส าคัญของตัวบทต้นทาง ประกอบกับตัวบทต้นทางมีชื่อเสียงเป็นที่

ยอมรับและรู้จักกันทั่วไป ส าหรับมิติที่ 2 คือ ตัวบทปลายทางใหม่มีการปรับเปลี่ยน “กระพี้” และ

“เปลือก” ที่แตกต่างไปจากตัวบทต้นทาง ได้มีการสร้างขึ้นใหม่ (Invention) การขยายความ (Extension) การดัดแปลง (Modification) การลดทอนหรือการตัดทอน (Reduction) การ์ตูนนิทาน พื้นบ้านปรับองค์ประกอบอารมณ์ความรัก ความรุนแรง บุคลิกลักษณะตัวละครหลัก ตัวละครสมทบ ตัวละครประกอบ ฉาก และอุปกรณ์ประกอบฉาก ด้านละครจักร ๆ วงค์ ๆ ปรับองค์ประกอบแก่น เรื่องรองและด้านอื่น ๆ เช่นเดียวกับรายการการ์ตูนเนื่องจาก ข้อจ ากัดของตัวบทต้นทางท าให้ตัวบท ปลายทางปรับไปบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับสื่อ ประเภทรายการ คุณลักษณะการผลิตของผู้ผลิต และรสนิยมของผู้รับชม อย่างไรก็ตาม ตัวบทบางส่วนที่มีการปรับไปพบว่าการถ่ายโยงตัวบทจาก วัฒนธรรมโลก วัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความร่วมสมัยและทันสมัยซึ่งสามารถลดข้อจ ากัดของตัวบทต้น ทาง และเสริมให้ตัวบทปลายทางมีความน่าสนใจ ด้านผู้รับชมแสดงความคิดเห็นต่อตัวบทปลายทาง ใหม่ 2 ลักษณะ คือ การยอมรับและการต่อรองทั้งตัวบทเดิมและตัวบทที่ถูกปรับเปลี่ยนไป โดย เฉพาะตัวบทที่ถ่ายโอนมาจากวัฒนธรรมโลก วัฒนธรรมท้องถิ่นทันสมัย และผู้รับชมได้น าตัวบท ปลายทางใหม่ที่ตนเองชื่นชอบน ามาเป็นตัวบทต้นทางของตนเอง

ธนสิน ชุตินธรานนท์ (2555) ศึกษาสัมพันธบทของบทละครเรื่องสาวิตรีและการ สร้างสรรค์ใหม่เพื่อสื่อสารอุดมคติแห่งรัก โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสัมพันธบทด้าน ความคิดของเรื่องและภาพลักษณ์ตัวละครของบทละครเวทีเรื่องสาวิตรีทั้งห้าฉบับที่สร้างสรรค์ขึ้นโดย ศิลปินชาวไทย รวมถึงศึกษากระบวนการสร้างสรรค์บทละครเวทีร่วมสมัยเพื่อสื่อสารแนวคิดอุดมคติ

แห่งรัก โดยผู้วิจัยท าหน้าที่เป็นผู้เขียนบทละครและผู้เชี่ยวชาญด้านการละคร นอกจากนี้ได้ส ารวจ ทัศนคติของผู้ชมการแสดงและผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการละครที่มีต่อผลงานสร้างสรรค์ด้วย ผลการวิจัยส่วนแรกว่าด้วยสัมพันธบทพบว่า บทละครเรื่องสาวิตรีฉบับต่างๆ ที่น ามาศึกษาสามารถ จ าแนกได้สอง กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่รักษาความคิดของเรื่องและภาพลักษณ์ตัวละครนาง

40 สาวิตรีคงไว้เหมือนตัวบทต้นทาง กล่าวคือ บทละครร้องเรื่องสาวิตรี พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กลุ่มที่สองมีการดัดแปลงความคิดของเรื่องให้สอดคล้องกับสังคมปัจจุบัน และดัดแปลงภาพลักษณ์ตัวละครนางสาวิตรีให้มีความเป็นมนุษย์มากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยส่วนที่สองว่า ด้วยการสร้างสรรค์บทละครเวทีร่วมสมัยจากวรรณคดีการละครเรื่องสาวิตรี เพื่อสื่อสารแนวคิดเรื่อง อุดมคติแห่งรัก พบว่าการสร้างสรรค์บทละครเวทีซึ่งมีที่มาจากวรรณคดี ผู้เขียนบทละครจ าต้องมี

ความเข้าใจอย่างแตกฉาน ความเคารพในตัวบทวรรณคดี และความคิดสร้างสรรค์ นอกจากนั้นพบว่า โครงเรื่องเชิงเส้น เป็นแนวทางที่เหมาะสมส าหรับการเขียนบทละครในรูปแบบละครเพลง เพราะท า ให้ผู้ชมการแสดงสามารถติดตามเรื่องราวได้ง่ายไม่สับสน อย่างไรก็ดีการเชื่อมโยงระหว่างฉากที่มีการ ข้ามมิติของห้วงเวลาจ าต้องได้รับการระมัดระวังเป็นพิเศษ ประการส าคัญ คือ ผู้วิจัยได้ขยายขอบเขต นิยามของอุดมคติแห่งรักให้กว้างขวางยิ่งขึ้น กล่าวคือ มิได้จ ากัดเพียงความกล้าหาญและเสียสละที่

คู่รักพึงมีแก่กันเท่านั้น แต่ได้หมายรวมถึงความรักที่มนุษย์จักมีต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติ

ของตนด้วย ส่วนสุดท้ายว่าด้วยทัศนคติของผู้ชมการแสดงพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 90.8 เข้าใจ ความคิดของเรื่องจากบทละครที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ได้ถูกต้อง กล่าวคือ ความรักที่แท้จริงต้อง กล้าหาญและเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าความสุขส่วนตน อีกทั้งพบว่าองค์ประกอบด้าน บทละครที่ผู้ชมการแสดงพึงพอใจมากที่สุด คือบทละครมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับเหตุการณ์

ปัจจุบัน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.36 และความคิดหรือประเด็นของเรื่องในบทละครมีความชัดเจน คิดเป็น ค่าเฉลี่ย 4.22

นิชธ์นาวิน จุลละพราหมณ์ (2554) ศึกษาสัมพันธบทของการเล่าเรื่องในภาพยนตร์และ ละครโทรทัศน์อเมริกันแนวแวมไพร์ร่วมสมัย โดยศึกษาจากภาพยนตร์แนวแวมไพร์รูปแบบเก่า 1 เรื่อง และภาพยนตร์ชุดอีก 1 เรื่อง มีทั้งหมด 4 ภาค และละครโทรทัศน์ 2 เรื่อง เรื่องละ 2 ฤดูกาล รวมทั้ง สิ้น 68 ตอน และศึกษาองค์ประกอบที่เป็นลักษณะพิเศษของแนวแวมไพร์ร่วมสมัย และศึกษาระบบ คิดของสังคมที่สะท้อนออกมาจากภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ทั้ง 3 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะ สัมพันธบทการเล่าเรื่องจากแนวแวมไพร์รูปแบบเก่าสู่แนวแวมไพร์ร่วมสมัยมีการคงเดิม ขยายความ ตัดทอน และปรับเปลี่ยน ในองค์ประกอบการเล่าเรื่องที่ชัดเจนที่สุดคือ โครงเรื่อง ตัวละคร และฉาก ส่วนองค์ประกอบที่มีความชัดเจนเป็นรองลงมาคือ แก่นเรื่อง ความขัดแย้ง สัญลักษณ์ และมุมมองใน การเล่าเรื่องรวมถึงการสร้างตัวละครแวมไพร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงชัดเจนมากที่สุด ส่วนองค์ประกอบที่

เป็นรูปแบบพิเศษเฉพาะของการเล่าเรื่องแนวแวมไพร์ร่วมสมัยนั้นพบว่า มีการเล่าเรื่องผ่าน 5ลักษณะ ส าคัญ ได้แก่ เล่าเรื่องด้วยความรักของชายหญิงและการลบเลือนเส้นแบ่งความหมายแห่งคู่ตรงข้าม แก่นเรื่องความเป็นมนุษย์ ตัวละครหญิงที่เป็นจุดศูนย์กลางของเรื่อง และตัวละครแวมไพร์ที่มีความ งามเหนือกว่า และสุดท้ายคือระบบคิดของสังคมที่สะท้อนออกมาจากภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ทั้ง 3 เรื่อง พบว่า มีระบบคิดทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่ ความงามของรูปลักษณ์ การแบ่งแยกสีผิว การมี

41 คุณงามความดี และบทบาททางเพศ ทั้งนี้ ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์แนวแวมไพร์มีพัฒนาการ อย่างต่อเนื่อง และเข้าสู่รูปแบบร่วมสมัยด้วยการลบเลือนเส้นแบ่งระหว่างความจริง และจินตนาการ ร่วมกับการดึงตัวละครมาสู่ชีวิตจริง โดยตัวละครเอกแวมไพร์จากแนวแวมไพร์ร่วมสมัยนั้น มีการเชื่อ โยงจากตัวละครแวมไพร์ในรุ่นก่อนที่มีลักษณะเป็นผู้ที่ประสบกับวิกฤตอัตลักษณ์และเป็นลักษณะ ดาร์ค-ฮีโร่ ที่ได้ถ่ายทอดมาจากนวนิยายอเมริกันในสมัยหลัง โดยได้ผสมเข้ากับภาพความเป็นชายใน อุดมคติ และจนกลายมาเป็นตัวละครแนวร่วมสมัยดังกล่าว ซึงเป็นการเสริมย้ าลักษณะสัมพันธบทยุค หลังสมัยใหม่ ที่ผลผลิตของสื่อบันเทิงคดีนั้นไม่มีของใหม่โดยสมบูรณ์ แต่เป็นการเชื่อมโยงผ่านกฏแห่ง การเลือกสรร และได้ผสมผสานมาดัดแปลงเป็นสื่อความหมายใหม่ร่วมกัน

ธีรยุทธ บุษบงค์ (2552) ท าวิจัยเรื่อง สัมพันธบทในกวีนิพนธ์ ตู้เพลงลูกทุ่ง ของศักดิ์สิริ

มีสมสืบ โดยน าตัวบทจ านวน 35 ตัวบท มาศึกษาวิเคราห์หลักษณะสัมพันธบท ในประเด็น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบทกับตัวบทต้นแบบ และตัวบทกับการสื่อความหมายทางสังคม ซึ่งจาก การศึกษาพบว่า ลักษณะสัมพันธบทระหว่างตัวบทกับบทต้นแบบ 5 ลักษณะ ได้แก่ การเลียนแบบ การอธิบาย การอ้างอิง การอ้างถึง และการปรับเปลี่ยน โดยตัวบทแต่ละบทมีลักษณะสัมพันธบท หลายลักษณะในหลายประเด็น ประเด็นที่ชัดเจนมากที่สุด คือ ชื่อเรื่องพบการลอกเลียนแบบและ การปรับเปลี่ยน นอกจากนี้ทุกตัวบทยังมีลักษณะสัมพันธบทกับตัวบทอื่นหลายลักษณะในหลาย ประเด็นเช่นเดียวกัน ลักษณะสัมพันธบทดังกล่าวจัดเป็นสัมพันธบทในระดับกลวิธีการประพันธ์และ ประพันธกรรม ในรูปแบบการผลิตช้ าวรรณกรรมสื่ออารมณ์ขัน ตัวบทในกวีนิพนธ์ตู้เพลงลูกทุ่งยังมี

ลักษณะสัมพันธบทเป็นลักษณะส าคัญตามแนวคิดสัมพันธบทที่ว่าด้วย เหตุผลที่ตัวบทต้นแบบถูก น ามาประกอบสร้างเป็นต้นบทคือ เพื่อเน้นย้ าความส าคัญของวัฒนธรรมดั้งเดิมอันดีงามที่สังคมควร ฟื้นฟูส าหรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขวิกฤตการณ์และปัญหาสังคมร่วมสมัย ส าหรับตัวบทกับการสื่อ ความหมายทางสังคม 4 ประเด็น ได้แก่ ความหมายเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรม การศึกษา การเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พบว่า ตัวบทสื่อความหมายในประเด็นที่แตกต่างกัน อย่างไม่สัมพันธ์กับความหมายเดิมของตัวบทต้นแบบ ความหมายแต่ละประเด็นต่างมีน้ าเสียงล้อเลียน เสียดสี ประชดประชันสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย ในฐานะเป็นตัวบทใหญ่ที่มีอยู่เบื้องหลังตัวบท ต้นแบบและตัวบท

อุมาพร มะโรณีย์ (2551) ได้ศึกษาสัมพันธบทของการเล่าเรื่องในสื่อการ์ตูน ละคร โทรทัศน์ และนวนิยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะสัมพันธบทของการเล่าเรื่องใน สื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์ และนวนิยาย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเชื่อมโยงหรือดัดแปลง เนื้อหาระหว่างสื่อการ์ตูน ละครโทรทัศน์ และนวนิยาย รวมทั้งเปรียบเทียบลักษณะสัมพันธบท 2 รูปแบบ คือ ลักษณะสัมพันธบทการ์ตูนสู่ละครโทรทัศน์และนวนิยาย และลักษณะสัมพันธบทนวนิยาย สู่การ์ตูนและละครโทรทัศน์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาจากแหล่งข้อมูลเอกสารหนังสือการ์ตูน

Dokumen terkait