• Tidak ada hasil yang ditemukan

งานพัฒนาชุมชนเป็นงานที่ต้องท าอย่างต่อเนื่อง และต้องให้ความส าคัญกับการ ปฏิบัติการชุมชน โดยมีกระบวนการดังนี้ (ชรินทร์ อาสาวดีรส และ คณะ, 2546)

1) การศึกษาชุมชน เป็นการเสาะแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ข้อมูลด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และสภาพความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เพื่อทราบปัญหา และความต้องการของชุมชนที่แท้จริง วิธีการในการศึกษาชุมชนอาจต้องใช้หลายวิธีประกอบกัน ทั้งการสัมภาษณ์ การสังเกตุ การส ารวจ และการศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชน ด้วย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด กลวิธีที่ส าคัญที่นักพัฒนาต้องใช้ในขั้นตอนนี้

คือ การสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน เพราะถ้าหากปราศจากสัมพันธภาพที่ดีระหว่างพัฒนา กรกับชาวบ้านแล้วเป็นการยากที่จะได้รู้และเข้าใจปัญหาความต้องการจริงๆ ของชาวบ้าน ความสัมพันธ์อันดีจนถึงขั้นความสนิทสนมรักใคร่ ศรัทธา จึงเป็นสิ่งที่จ าเป็นที่จะต้องปลูกฝังให้เกิด ขึ้นกับคนในชุมชน

2) การให้การศึกษาแก่ชุมชน เป็นการสนทนา วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชน เป็นการน าข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการศึกษาชุมชนมาวิเคราะห์ถึงปัญหาความต้องการและ สภาพที่เป็นจริง ผลกระทบ ความรุนแรง และความเสียหายต่อชุมชน กลวิธีที่ส าคัญในขั้นตอนนี้คือ การกระตุ้นให้ประชาชนเข้าใจ รวมถึงตระหนักในปัญหาของชุมชน ซึ่งคือกระบวนการการจัดเวที

ประชาคมเพื่อค้นหาปัญหาร่วมกันของชุมชน

3) การวางแผน/โครงการ เป็นขั้นตอนให้ประชาชนร่วมตัดสินใจ และก าหนด โครงการ โดยน าเอาปัญหาที่ประชาชนตระหนักและยอมรับว่าเป็นปัญหาส าคัญของชุมชนมาร่วม

กันหาสาเหตุแนวทางแก้ไข รวมถึงจัดล าดับความส าคัญของปัญหา โดยให้ประชาชนเป็นผู้

ตัดสินใจแก้ไขภายใต้ขีดความสามารถของชุมชน และการแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก กลวิธีที่ส าคัญในขั้นตอนนี้คือการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิธีการ วางแผน การเขียนโครงการ โดยใช้เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม

4) มีผู้รับผิดชอบในการด าเนินการตามแผนและโครงการที่ได้ตกลงกันไว้ กลวิธีที่

ส าคัญในขั้นตอนนี้คือการเป็นผู้ช่วยเหลือสนับสนุน ดังนี้ (1) เป็นผู้ปฏิบัติงานทางวิชาการ เช่น แนะน าการให้ค าปรึกษาหารือในการปฏิบัติงาน หรือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน (2) เป็นผู้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน

5) การติดตามประเมินผล เป็นการติดตามความก้าวหน้าของงานที่อยู่ระหว่าง ด าเนินการตาม โครงการ เพื่อการปรับปรุงแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่พบได้อย่างทันท่วงที กลวิธีที่

ส าคัญในขั้นตอนนี้คือการติดตามดูแลการท างานที่ประชาชนท าเพื่อทราบผลความก้าวหน้าและ ปัญหาอุปสรรค แล้วน าผลการปฏิบัติงานตามโครงการ หรือกิจกรรมไปเผยแพร่เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้ทราบ สามารถกระท าได้ ดังนี้ (1) แนะน าให้ผู้น าท้องถิ่นหรือชาวบ้าน ติดตามผลและรายงาน ผลด้วยตนเอง เช่น รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร รายงานด้วยวาจา การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

(2) พัฒนากรเป็นผู้รายงานผลการปฏิบัติงานด้วยตนเอง เช่น รายงานด้วยวาจา ต่อผู้บังคับบัญชาและผู้เกี่ยวข้อง เสนอผลการปฏิบัติงานต่อที่ประชุม ท าบันทึกรายงานตาม แบบฟอร์ม ต่างๆ ของทางราชการ

กรมพัฒนาชุมชน (2562, ออนไลน์) กล่าวว่า กระบวนการท างานพัฒนาชุมชนเป็นการ แสวงหาข้อมูลการศึกษาชุมชน เพื่อทราบปัญหาและความต้องการของชุมชน ชุมชนต้องเข้าใจใน ปัญหาตนเอง โดยเฉพาะการให้การศึกษาแก่ชุมชน วิเคราะห์ปัญหาร่วมกับประชาชน มีการวางแผน งาน/โครงการ การแบ่งงานตามแผนงานโครงการ และการติดตามประเมินผลโดยก าหนดขั้นตอน กระบวนการพัฒนาชุมชน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาชุมชน (Community Study)

การศึกษาชุมชน หมายถึง การส ารวจและศึกษาวิเคราะห์หาความจริงใน สภาวะของสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความต้องการและปัญหาในชุมชนนั้นๆ เพื่อที่จะก่อให้เกิด การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นอันจะเป็นประโยชน์การด ารงชีวิตของประชาชนใน ชุมชนต่อไป

ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน

การพัฒนาชุมชนโดยแท้จริงแล้วก็คือการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน นั่นเอง ดังนั้นการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนจึงเป็นขั้นตอนส าคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องกระท า

โดยทั่วไปปัญหาชุมชนมี 4 ลักษณะคือปัญหาเรื่องอาชีพและรายได้ ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ และปัญหาการศึกษาและวัฒนธรรม

ขั้นตอนที่ 3 การจัดล าดับความต้องการและปัญหาชุมชน

เมื่อท าการวิเคราะห์ปัญหาชุมชนเรียบร้อยแล้วก็น าปัญหาเหล่านั้นมาจัดล าดับ ความส าคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางในการลงมือแก้ไขให้เป็นไปตามความต้องการตามปัญหาของ ชุมชน พร้อมกับจัดล าดับความต้องการและเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประชาชน

ขั้นตอนที่ 4 การวางแผนแก้ปัญหาในลักษณะของโครงการ

การวางแผนหรือการวางโครงการในงานพัฒนาชุมชน หมายถึงกระบวนการ เกี่ยวกับการ ก าหนดวัตถุประสงค์ในการด าเนินการบริหาร และก าหนดวิถีทางส าหรับปฏิบัติงาน พัฒนาชุมชนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ มีการล าดับความคิดในการด าเนินงานที่จะต้อง ปฏิบัติร่วมกันว่าควรจะท าอะไร เมื่อไร ใครเป็นผู้ท า ท าที่ไหน ท าไมจึงเลือกวิธีด าเนินงานเช่นนั้น ตลอดจนการฝึกอบรมให้ประชาชนได้เข้าใจวิธีการจัดสรร มอบหมายงานให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้ทราบบทบาทและหน้าที่ของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ทั้งยังเป็นการคาดการณ์ว่าในอนาคตควรจะ ด าเนินงานอย่างไรได้อีกด้วย

ขั้นตอนที่ 5 การพิจารณาวิธีด าเนินงาน

ในการด าเนินงานพัฒนาชุมชนนั้นมีวิธีด าเนินงานอยู่ในรูปของแผนและ โครงการนักพัฒนาชุมชน จะต้องพิจารณาแผนและโครงการใน 3 ประเด็นส าคัญ คือ การวิเคราะห์

องค์ประกอบของโครงการที่ใช้ด าเนินงานพัฒนาชุมชน วิเคราะห์โครงการในงานพัฒนาชุมชน และ วิเคราะห์รายละเอียดประกอบโครงการ เป็นต้น ในขั้นตอนการพิจารณาวิธีด าเนินงานพัฒนา ชุมชนนี้เมื่อพิจารณาวิเคราะห์ และตรวจสอบแล้วพบว่ายังมีข้อบกพร่องปรากฏอยู่นักพัฒนาชุมชน หรือผู้น าชุมชนจะต้องปรับปรุง แก้ไขให้ถูกต้องและเหมาะสมเสียก่อนแล้ว จึงด าเนินการตาม โครงการต่อไป

ขั้นตอนที่ 6 การด าเนินงานพัฒนาชุมชน

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ลงมือกระท าการพัฒนาชุมชนในภาคปฏิบัติการ จึงมี

ความจ าเป็น อย่างยิ่งที่นักพัฒนาชุมชนจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ ให้มากที่สุด ส่วนนักพัฒนาชุมชนต้องท าหน้าที่เป็นผู้ให้การสนับสนุนและมีภารกิจที่ส าคัญอีก 2 ประการคือ การบริหารโครงการให้ด าเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และการควบคุมและติดตามผล การด าเนินงาน ในการด าเนินงานพัฒนาชุมชนนั้นการด าเนินงานจึงจะประสบความส าเร็จตาม เป้าหมาย ในการนี้นักพัฒนาชุมชน ผู้น าชุมชนหรือผู้มีหน้าที่ในการควบคุมและติดตามโครงการจึง

ต้องมีความรู้ความเข้าใจในหลักการด าเนินงานพัฒนาชุมชน การควบคุมและติดตามโครงการเป็น อย่างดี จึงจะสามารถด าเนินงานในขั้นตอนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ขั้นตอนที่ 7 การประเมินผลงาน

การประเมินผลงานเป็นวิธีการอย่างหนึ่งในการควบคุมการปฏิบัติงานของ หน่วยงานให้ สามารถด าเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามขั้นตอนต่าง ๆ ที่วางไว้ หรือเป็น วิธีการส าหรับตัดสินว่ากิจการด าเนินไปด้วยความเจริญก้าวหน้ามากน้อย เพียงใด และจะต้องด าเนินการต่อไปอีกมากน้อยเท่าไรจึงจะประสบผลส าเร็จ ดังนั้นการ ประเมินผลจึงเปรียบเสมือนกระจกเงาที่ส่องให้ผู้ปฏิบัติงานได้มองเห็นถึงจุดเด่นและจุดด้อยของ การด าเนินงานในทุก ๆ ขั้นตอนของโครงการ ยังสามารถใช้ในการคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตได้อีกทางหนึ่งด้วย

โดยสรุป กระบวนการพัฒนาชุมชนเพื่อการบริหารจัดการชุมชน ประกอบด้วย การศึกษา ชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน การจัดล าดับความต้องการและปัญหาชุมชน การวางแผนแก้ปัญหา ในลักษณะของโครงการ การพิจารณาวิธีด าเนินงาน การด าเนินงานพัฒนาชุมชน และการประเมินผล งาน และใน กระบวนการพัฒนาชุมชนต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้น าชุมชนในการเข้ามามี

ส่วนร่วมต่อการพัฒนาชุมชนรวมถึงประชาชนในชุมชนให้ความร่วมมือในการเปลี่ยนแปลงชุมชนให้

ชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าตามทิศทางและเป้าหมายของชุมชนที่ก าหนดไว้

Garis besar

Dokumen terkait