• Tidak ada hasil yang ditemukan

1. แนวคิดและความหมายของการวิจัยชุมชน

จากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องได้มีผู้ให้แนวคิดและความหมายของการ วิจัยชุมชนไว้ดังนี้

อานันท์ กาญจนพันธุ์ (2544, น. 62) ได้ให้ความหมายของ “วิจัยชุมชน” ว่าเป็น กระบวนการสร้างแนวคิดอย่างเป็นระบบ ที่ประกอบด้วย กระบวนการย่อย ๆ คือ การแยกแยะ ประเด็นปัญหา การสร้างกรอบคิด การเก็บและประมวลข้อมูล และการวิเคราะห์หาข้อสรุปที่มี

หลักฐานอ้างอิง และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อสร้างองค์ความรู้ และแก้ปัญหาที่มีความส าคัญทาง สังคม

ขนิษฐา นันทบุตร (2556, น. 6) กล่าวว่า การวิจัยชุมชนเป็นเครื่องมือที่เป็น รูปธรรมของกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเนื่องจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนท าให้กิจกรรม การวิจัยชุมชนสามารถสร้างความเข้าใจสถานการณ์ของชุมชน การมีส่วนเกี่ยวข้องในสถานการณ์

ของคนในชุมชน คนส าคัญในการจัดการให้สถานการณ์ดังกล่าวเอื้อประโยชน์ต่อคนในชุมชน ท า ให้เกิดการเรียนรู้แนวทางการจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ จนน าไปสู่การหาทางออกหรือเพิ่มแนวทาง ใหม่ ๆ เพื่อจัดการกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงต่อเนื่องได้

จ านง อดิวัฒนสิทธิ์ (2558, น. 2) กล่าวว่า การวิจัยชุมชนเป็นกระบวนการศึกษา อย่างเป็นระบบ เพื่อความเข้าใจชุมชนในมิติต่าง ๆ อย่างถูกต้อง เป็นจริงมากที่สุดโดยใช้การวิจัย เพื่อพึ่งตนเอง เข้าใจตนเอง พัฒนาตนเอง เข้าใจคนอื่น และช่วยเหลือคนอื่น

สมพันธ์ เตชะอธิก (2560, น. 8)กล่าวว่า การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาชุมชน หมายถึง กระบวนการแสวงหาความจริงของข้อมูลอย่างเป็นระบบ ได้แก่ ปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เป็น อุปสรรคต่อการพัฒนา จากนั้นน าข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อให้เข้าใจปัญหา โดยรอบด้าน แล้วก็น าข้อมูลมาก าหนดทางเลือกหรือกิจกรรมในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาชุมชน โดยอาศัยการมีส่วนร่วมทั้งจากคนในชุมชนและนอกชุมชน ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นใน ชุมชน

Grant (2016)ได้ให้ความ หมายของการวิจัยแบบ มีส่วนร่วมกับ ชุมชน (Community-Engaged research; CEnR) หมายถึง ความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและชุมชนใน กระบวนการวิจัยเพื่อสร้างสรรค์เผยแพร่ความรู้และประสบการณ์จากการวิจัย โดยมีเป้าหมายเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และยกระดับชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

George, Namrata, Rajesh, และ Budd (2015) ได้ให้ความหมายของการวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (community based participatory action research;

CBPAR) เป็นความพยายามร่วมกันระหว่างนักวิจัยด้านวิชาการและสมาชิกในชุมชน โดยมี

เป้าหมายร่วมกันเพื่อสร้างกระบวนการทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในเชิงบวกผ่าน การใช้แหล่งความรู้และวิธีการวิจัยที่หลากหลายโดย "ค าถามในการวิจัยมาจากชุมชนและชุมชนมี

ส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวิจัย" และเน้นบทบาทของการวิจัยเพื่อแก้ปัญหา

จากความหมายดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า “การวิจัยชุมชน” คือ กระบวนการที่

เน้นการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการท า วิจัย เพื่อสร้างความรู้ และกลไกการจัดการปัญหาที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนในปัจจุบัน และพร้อมรับมือกับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และชี้น าการ แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม

2. รูปแบบการวิจัยชุมชน

จ านง อดิวัฒนสิทธิ์ (2558, น. 6) ได้กล่าวถึงรูปแบบการวิจัยชุมชนในยุคการรวมกลุ่ม เป็นชุมชนเครือข่ายเศรษฐกิจและสังคมอาเซียน ในรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบร่วมมือกัน (Cooperative Action Research : CAR) ซึ่งเป็นการวิจัยที่มุ่งเน้นผู้ร่วมวิจัยเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ เป็นการวิจัยเพื่อมุ่งฝึกอบรมให้ผู้ร่วมวิจัยที่เป็นชาวบ้านมีโอกาสพัฒนาตนเอง เรียนรู้วิธีมอง ปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตนเองอย่างเป็นระบบ และมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ส่วนผลการวิจัยเป็นผล พลอยได้ (By-product) โดยมีกระบวนการวิจัย ดังนี้

1) ก าหนดประเด็นการวิจัยที่สัมพันธ์กับประสบการณ์และความสนใจของ ประชาชนในชุมชน ขอบเขตความสนใจอาจสรุปได้กว้าง ๆ เช่น ความสนใจประวัติความเป็นมา ของชุมชน ความสนใจการพัฒนาอาชีพ ความสนใจพัฒนาคุณภาพชีวิต ความสนใจพัฒนาความ ปลอดภัยของชุมชน ความสนใจปัญหาเยาวชน ความสนใจในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่น เป็นต้น

2) ออกแบบการวิจัยแบบง่ายไม่สลับซับซ้อน เป็นการวิจัยที่มีหลักการแบบง่าย ซึ่งชาวบ้านสามารถประยุกต์ใช้ได้และเข้าใจได้ง่าย เช่น การตั้งค าถามแบบง่าย ๆ เพื่อให้ชาวบ้าน ตอบได้ด้วยภาษาที่เข้าใจชัดเจน

3) การเก็บข้อมูลควรเปิดโอกาสให้ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการแสดงออก เชิงสร้างสรรค์ การเก็บข้อมูลด้วยการร่วมมือ (Cooperation)

4) การน าเสนอผลการวิจัยควรน าเสนอแบบเข้าใจง่าย ไม่ยาวเกินไป ควร น าเสนอผลการวิจัยเป็นการพรรณนา และมีภาพประกอบ หรือใช้สถิติอย่างง่าย เช่น ค่าเฉลี่ย ร้อย ละ

5) การให้ข้อแนะน า ควรให้ข้อแนะน าที่จะต้องให้ชาวบ้านในชุมชนพึ่งตนเอง พึ่งทรัพยากรและทุนต่าง ๆ ของชุมชนเป็นหลัก

ขนิษฐา นันทบุตร (2556, น. 11 - 12)ได้พัฒนาคู่มือการพัฒนาทักษะการวิจัยชุมชน ด้วยการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนาแบบเร่งด่วน (Rapid Ethnographic Community Assessment Process – RECAP) ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการวิจัยทางมานุษยวิทยา ที่ท าให้คน (บุคลากร) หรือนักวิจัย เข้าถึงข้อมูลที่เป็นการสรุปและตีความประสบการณ์ของคน จากสถานการณ์ที่เป็นบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง และสุขภาวะของชุมชนท้องถิ่นได้ใกล้เคียงจาก สถานการณ์จริงมากที่สุด ประกอบด้วย 5 ปฏิบัติการหลัก ได้แก่

ปฏิบัติการที่ 1 วิเคราะห์ศักยภาพและทุนทางสังคมของชุมชนท้องถิ่น ปฏิบัติการที่ 2 การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหาโดยชุมชน ปฏิบัติการที่ 3 การพัฒนางานต่อเนื่องและขยายผล

ปฏิบัติการที่ 4 การสร้างและพัฒนานวัตกรรมของชุมชนท้องถิ่นโดยเอาพื้นที่เป็น ตัวตั้ง

ปฏิบัติการที่ 5 การเขียนรายงานการวิจัยชุมชน

โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 วิธี คือ 1) การสังเกต เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียด ในสถานการณ์การจัดการตนเองของทุนทางสังคมและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งใช้ทักษะที่คนมี

และใช้ประจ า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในชุมชนเดียวกันที่มีความใกล้ชิดและมีการท ากิจกรรมร่วมกัน ท า ให้เห็นทั้งพฤติกรรม การกระท าที่เชื่อมโยงกับความคิดได้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด โดยนักวิจัย ชุมชนท าการสังเกตสถานการณ์ที่เกิดขึ้นของการอยู่ร่วมกันในชุมชนหรือการท างานร่วมกัน ตลอดจน การจัดการงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของทุนทางสังคมต่าง ๆ เป็นปรากฏการณ์ที่แสดงปฏิสัมพันธ์

ระหว่างคนกันเองหรือปฏิสัมพันธ์ของคนกับสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างอื่น ๆ ของชุมชน 2) การ สัมภาษณ์เจาะลึก เป็นการใช้ทักษะการพูดคุย ให้อธิบายสถานการณ์จากผู้มีประสบการณ์ตรงและ อ้อมและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้ประโยชน์หรือผลกระทบจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เป็นความ คิดเห็น และความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์นั้น ๆ เป็นการซักถามเพื่อให้เข้าใจความคิดที่อธิบาย การกระท าหรือพฤติกรรมบางอย่าง ด้วยการบอกเล่าให้ละเอียดและคลอบคลุมทุกแง่มุม โดยนักวิจัย ชุมชนท าการสัมภาษณ์แกนน าและคนในชุมชน ผู้มีประสบการณ์ทางตรงและอ้อมในสถานการณ์หรือ การสอบถามข้อมูลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ได้ประสบหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งท าให้ได้ข้อมูลทั้ง ที่มา ที่ไปของเรื่อง และภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย 3) การสนทนา คุย ปรึกษาหารือ ของผู้ให้

ข้อมูลหลายคน โดยนักวิจัยชุมชนจัดให้มีการเสวนาของผู้ให้ข้อมูล ในประเด็นที่ต้องการหาข้อสรุป ที่

วิเคราะห์มาจากการน าข้อมูลการสังเกตและสัมภาษณ์เจาะลึก โดยที่น าคนในเหตุการณ์มาทบทวน ความเข้าใจต่อเหตุการณ์และอธิบายร่วมกัน ท าให้ได้รายละเอียดของข้อมูลส่วนที่อาจเก็บข้อมูลตก หล่นจากการสัมภาษณ์ สังเกต หรือพูดคุยเป็นรายคน และความคิดหรือค าอธิบายร่วมที่เป็นข้อสรุปที่

ยอมรับได้ของผู้เกี่ยวข้องทั้งหลาย นักวิจัยชุมชนอาจจัดเวทีให้ผู้มีประสบการณ์ตรง แกนน าทุนทาง สังคมและผู้เกี่ยวข้อง แลกเปลี่ยนข้อมูลในสถานการณ์เดียวกัน และสถานการณ์ที่เชื่อมโยงกัน พร้อม ทั้งหาข้อสรุป หรือข้อตกลงจากการเสวนา

Matthew (2019) (เอกสารจากเว็บไซต์) ได้ถอดบทเรียนของ Centre for local Economic Strategies (CLES) ซึ่งเป็นองค์กรที่ท าวิจัยร่วมกับชุมชนในแมนเชสเตอร์ ได้ให้ความหมายของ นักวิจัยชุมชน คือ “บุคคลที่เป็นสมาชิกของชุมชนและได้รับการฝึกอบรมเพื่อท าการวิจัยในชุมชนของ ตนเอง” โดยสถาบันได้สรุปประเด็นข้อค้นพบจากการวิจัยร่วมกับชุมชน ดังนี้

1) การฝึกอบรมทักษะด้านการวิจัยให้สมาชิกในชุมชนจะเป็นพื้นฐานในการท า วิจัยด้วยตนเองหรือปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในอนาคต

2) การมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างลึกซึ้งจะท าให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่ส าคัญเกี่ยวกับ ทัศนคติ ความเชื่อและพฤติกรรมในชุมชนซึ่งข้อมูลเชิงปริมาณไม่สามารถอธิบายได้

3) เมื่อนักวิจัยพบประเด็นเพิ่มเติมที่ไม่ได้ถูกระบุในค าถามวิจัย นักวิจัยสามารถ เสริมเข้าไปในกระบวนการวิจัย และการรวบรวมข้อมูลได้

4) การท างานร่วมกับนักวิจัยชุมชนจะช่วยพัฒนาเป็นความร่วมมือ และท าให้ให้

สามารถเข้าถึงข้อมูลในกลุ่มที่ยากต่อการเข้าถึง นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการแบ่งปันความรู้ที่มาก ขึ้นซึ่งมีผลดีต่อการปรับปรุงและพัฒนา

5) กระบวนการมีส่วนร่วมกับชุมชนและกลุ่มชุมชนจะส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมการ วิจัยสะท้อนประเด็นที่ยากที่จะกล่าวถึงในบริบททั่วไป และร่วมกันพัฒนาแนวทางหรือการ ด าเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านั้น

โดยการวิจัยชุมชนมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) การสรรหานักวิจัยชุมชน ซึ่งเป็นปัจจัยส าคัญในการท าวิจัยชุมชน นักวิจัย ชุมชนต้องเป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่วิจัย สามารถท างานร่วมกับชุมชน เป้าหมายได้ และมีทักษะการมีส่วนร่วมในชุมชน

2) การฝึกอบรมนักวิจัยชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แนะน านักวิจัยชุมชนให้

รู้จักกับหลักของวิธีการวิจัย เช่น การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และจริยธรรมในการวิจัยและฝึก

Garis besar

Dokumen terkait