• Tidak ada hasil yang ditemukan

การเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์

จากหลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเรียนก็ต่อเมื่อรู้สึกขาดความรู้และประสบการณ์

ในการแก้ปัญหาในปัจจุบัน และจะเรียนรู้ได้ดีหากตรงกับความต้องการและความสนใจใน ประสบการณ์ที่ผ่านมา โดยมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และต้องการเป็นผู้น าตนเองในการเรียนรู้

(self-directed learning) ซึ่งการสร้างองค์ความรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยการน าตนเอง ต้องเกิด จากการที่ผู้เรียนสมัครใจเรียนรู้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งการสร้างความรู้โดยใช้เทคโนโลยี

เป็นการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้โดยไม่จ ากัดเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้

ได้ตลอดเวลาตามความสนใจและความสามารถของแต่ละบุคคลโดยไม่จ ากัดเวลาและสถานที่

ในปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook Line หรือ Twitter ถูกน ามาใช้เพื่อเสริมการ เรียนรู้ เป็นช่องทางในการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนรู้จักการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา ด้วยทักษะที่หลากหลายและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ในตอนนี้ผู้วิจัยจึง น าเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบน าตนเอง 2) การเรียนรู้

แบบผสมผสาน 3) การเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านสื่อสังคมออนไลน์

5.1 ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์

มีผู้อธิบายความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ไว้หลายท่าน ดังนี้

จารุวัจน์ สองเมือง (2554) กล่าวไว้ว่า แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคม ออนไลน์ได้ปรากฏให้เห็นลักษณะการน ามาใช้เพื่อด าเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ โดยมีตัวบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆร่วมกันเป็นเครือข่าย เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรร่วมกัน แลกเปลี่ยนแบ่งปัน ทรัพยากรข้อมูลข่าวสารต่างๆ ค าว่าเครือข่ายสังคมออนไลน์ในปัจจุบันหมายถึง ระบบเครือข่ายบน โลกออนไลน์หรือการติดต่อสื่อสารถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต

จุไรรัตน์ ทองค าชื่นวิวัฒน์ (2552) ให้ความหมายของเครือข่ายสังคมออนไลน์

ว่า เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการพื้นฐานโดยการให้ผู้สนใจสร้างหน้าเว็บไซต์ส่วนตัว (Profile) ลงใน เว็บไซต์ แบ่งปันไฟล์แบบต่างๆ ได้แก่ ภาพ เสียง หรือคลิปวีดิโอ มีการส่งข้อความส่วนตัว (Personal Message : PM) และการแสดงความคิดเห็น (Comment) กันเป็นสังคม

ณัฐพล บัวอุไร (2555) กล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสังคมว่าเป็น ปรากฏการณ์ของการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารจากการพัฒนาการของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้มี

ความเจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ท าให้วิถีการด าเนินชีวิตประจ าวันของผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกชน ชั้นในสังคมปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ของระบบการสื่อสารสร้างความ รวดเร็วต่อผู้ใช้ในวงกว้าง จนกลายเป็นปรากฏการณ์ในมิติใหม่ของการสร้างระบบเครือข่ายทางสังคม (Social Network) ด้วยการสื่อสารของโลกในยุคดิจิทัล

สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย (2553) ให้ความหมายของสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) หมายถึง ช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์

และโปรแกรมประยุกต์บนสื่อใดๆที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ซึ่งผู้ใช้สามารถสื่อสารเนื้อหา ต่างๆถึงกันได้ เช่น twitter.com, facebook.com, youtube.com, weblog ต่างๆ

SEO (2011) ได้ให้ความหมายของ Social media คือ สื่อในสังคมออนไลน์ที่

นิยมใช้กันมากและมีรูปแบบของการสื่อสารสองทาง (Interactive)ท าให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง Social media ประเภทต่างๆได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว โดยผู้ใช้งานแบ่งปันข้อมูลความรู้ ข่าวสาร ต่างๆ ให้แก่กันได้อย่างอิสระ และสามารถโต้ตอบ แสดงความคิดเห็นอย่างทันทีทันใด

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)

กล่าวโดยสรุป สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) หมายถึง สื่อดิจิทัลที่เป็น เครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกัน โดยใช้โปรแกรมที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต เน้นให้ผู้สื่อสารมี

ส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม มีการสื่อสารแบ่งปันสารสนเทศและน าเสนอข้อมูล แสดง ความคิดเห็นกันเป็นสังคม

5.2 ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์

Williamson (2013, p. 9) ได้แบ่งรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ตามการ ประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ดังตารางที่ 5

ตาราง 5 แสดงรูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์

ชนิดของสื่อสังคมออนไลน์ ค าอธิบาย ตัวอย่าง

เครือข่ายสังคม

(Social networking site)

เป็นเว็บไซต์ที่บุคคลหรือหน่วยงาน สามารถสร้างข้อมูล และเปลี่ยน ข้อมูล (สถานะของตน) เผยแพร่

ภาพเคลื่อนไหว รูปภาพ และบุคคล อื่น สามารถเข้ามาแสดงความ คิดเห็น หรือส่งต่อ เผยแพร่ โต้ตอบ การสนทนาได้

- Google - Facebook - Line - Orkut - Badoo -Linkdin -

ไมโครบล็อก (Micro-blog) เป็นเว็บไซต์ส าหรับเผยแพร่

ข้อความสั้นหรือข้อมูล ในเรื่องที่สนใจ เฉพาะด้าน รวมทั้งสามารถใช้ เครื่องหมาย # (hashtag) เพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มคน ที่มีความสนใจในประเด็นเดียวกัน ได้

- Tout - Blauk - Weibo -Twitter - Tumblr

เว็บไซต์ที่ให้บริการแบ่งปันสื่อ ออนไลน์ (Video and photo sharing website)

เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถน า สื่อข้อมูล รูปภาพ วีดีโอ หรือฝาก ข้อมูล ขึ้นเว็บไซต์เพื่อแบ่งปัน แก่ผู้อื่น

- Youtube - Instagram - Flicker - Vimero - Pinterest บล็อก ส่วนบุคคลและองค์กร

(Personal and corporate blogs)

เป็นเว็บไซต์ที่ส าหรับบันทึก เรื่องราวต่าง ๆ เสมือนบันทึกไดอารี

ออนไลน์ ในลักษณะไม่เป็นทางการ และสามารถแก้ไขได้บ่อย ซึ่งใช้ได้

ทั้งส่วนบุคคลและกลุ่ม หรือองค์กร

- Blogger - Bloggang - Wordpress - Exteen

ตาราง 5 (ต่อ)

ชนิดของสื่อสังคมออนไลน์ ค าอธิบาย ตัวอย่าง

บล็อกที่มีสื่อสิ่งพิมพ์เป็นเจ้าของ เว็บไซต์ (Blogs hosted by media outlet)

เป็นเว็บไซต์ที่ใช้ในการน าเสนอ ข่าวสารของสื่อสิ่งพิมพ์ซึ่งมีความ เป็นทางการน้อยกว่าสื่อสิ่งพิมพ์แต่

มีรูปแบบและความเป็นทางการ มากกว่าบล็อก

theguardian.com เจ้าของคือ

หนังสือพิมพ์ The Gardian

วิกิและพื้นที่สาธารณะของกลุ่ม (Wikis and online

collaborative space)

เป็นเว็บไซต์ที่เป็นพื้นที่สาธารณะ เพื่อรวบรวมเอกสารและข้อมูล

- Wikipedia - Wikia กลุ่มหรือพื้นที่แสดงความ

คิดเห็น (Forums, discussion board and group)

เป็นกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์

หรือเว็บไซด์ที่มีการแสดงความเห็น หรือ-hvเสนอแนะ มีแบบกลุ่มแบบ ส่วนตัวและแบบสาธารณะ

- Google Groups - Pantip

- Yahoo Groups เกมส์ออนไลน์ที่มีผู้เล่นหลายคน

(Online multiplayer gaming platform)

เป็นเว็บไซด์ที่เสนอรูปแบบการเล่น เกมส์ออนไลน์ผ่านเครือข่าย อินเทอร์เน็ต สามารถเล่นได้คน เดียวหรือเป็นกลุ่ม

- Second life - World of Warcraft ข้อความสั้น (Instant

messaging)

การส่งรับข้อความสั้นๆ จากมือถือ - SMS (text messaging) การแสดงตนว่าอยู่ ณ สถานที่ใด

(Geo-spatial tagging)

เพื่อแสดงต าแหน่งที่อยู่ พร้อม ความเห็นและรูปภาพในสื่อสังคม ออนไลน์

- Facebook - Foursquare

ที่มา : Williamson (2013, p. 9)

5.3 สื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ส านั ก งา น พั ฒ น าธุ รก รรม ท า งอิ เล็ ก ท รอ นิ ก ส์ (อ งค์ก า รม ห า ช น ) (สพธอ.) หรือ ETDA ได้น าเสนอผลส ารวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทย ปี 2561 พบว่า พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคนไทยใช้อินเทอร์เน็ต เฉลี่ยนานขึ้นเป็น 10 ชั่วโมง 5 นาทีต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3 ชั่วโมง 41 นาทีต่อวัน โดยสื่อสังคม ออนไลน์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ยูทูป (Youtube) ไลน์ (Line) และเฟซบุ๊ค (Facebook) (ส านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) (สพธอ.), 2562) ดังรูปภาพที่ 4

ภาพประกอบ 4 แสดงร้อยละของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต เปรียบเทียบตามประเภทของสื่อสังคมออนไลน์

ที่มา : รายงานผลส ารวจพฤติกรรมผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตประเทศไทยปี 2561 (ออนไลน์) เข้าถึงจาก https://www.etda.or.th/

โดย Gen Y เป็นแชมป์การใช้งานอินเทอร์เน็ตสูงที่สุดติดกันเป็นปีที่ 4 เป็นผลมา จากการเปลี่ยนผ่านชีวิตไปสู่ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้คนไทยยังนิยมใช้โซเชียลมีเดีย อาทิ

เฟซบุ๊ค (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram), ทวิตเตอร์ (Twitter) และ พันทิป (Pantip) สูง มากถึง 3 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน ขณะที่การรับชมวีดีโอสตรีมมิ่ง เช่น ยูทูป (YouTube) หรือ (ไลน์) Line TV มีชั่วโมงการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมง 35 นาทีต่อวัน ส่วนการใช้แอปพลิเคชันเพื่อพูดคุย เช่น Messenger และ LINE เฉลี่ยอยู่ที่ 2 ชั่วโมง ต่อวัน การเล่นเกมออนไลน์อยู่ที่ 1 ชั่วโมง 51 นาทีต่อวัน และการอ่านบทความหรือหนังสือทางออนไลน์อยู่ที่ 1 ชั่วโมง 31 นาทีต่อวัน

เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนผ่านการใช้ชีวิตประจ าวันไปสู่ชีวิตดิจิทัล จะเห็นได้ว่า 5 อันดับแรกที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตท ากิจกรรมทางออนไลน์มากกว่าแบบดั้งเดิม ได้แก่ การส่งข้อความ 94.5% การจองโรงแรม 89.2% การจอง/ซื้อตั๋วโดยสาร 87.00% การช าระค่าสินค้าและบริการ 82.8% และการดูหนัง/ฟังเพลง 78.5% ตามล าดับ โดยสื่อสังคมออนไลน์ที่ผู้วิจัยน ามาใช้ในการ วิจัยมีลักษณะ ดังนี้

1. โปรแกรมซูม (Zoom Meeting)

Zoom เป็นโปรแกรมการประชุมออนไลน์ (Video Conference) ที่

ออกแบบมาส าหรับใช้ในการจัดประชุมทางไกล การอบรมสัมมนา หรือการเปิดคอรส์สอนออนไลน์

ซึ่งสามารถรองรับผู้เรียนได้ถึง 100 คน โดยโปรแกรม Zoom สามารถส่งสัญญาณภาพและเสียง ของทั้งของผู้สอนและผู้เรียน ท าให้สามารถสนทนาโต้ตอบกันได้ น าเสนอเอกสารต่างๆ เช่น powerpoint word pdf น าเสนอหน้าจอของผู้สอน อีกทั้งยังสามารถบันทึกวิดีโอ การสอนไปพร้อม กันได้ นอกจากนี้ยังรองรับการใช้งานบนระบบ iOS และ Android ได้

ข้อดี 1) เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่าย หน้าจอแสดงผลมีลักษณะสวยงาม 2) สามารถสื่อสารได้สองทาง มองเห็นและได้ยินเสียงผู้เรียนทุกคน สร้างข้อความแบบสนทนากลุ่ม และแบบตัวต่อตัวได้ 3) สามารถแชร์หน้าจอของผู้สอน หรือสไลด์ หรือสอนใช้โปรแกรมต่างๆ ผ่าน หน้าจอของผู้สอนได้ 4) ผู้เรียนสามารถแชร์งานจากหน้าจอของตัวเองให้ผู้สอนหรือผู้เรียนคนอื่น เห็นได้ เช่น การน าเสนองาน 5) สามารถบันทึกอัดวิดีโอการสอนได้

ข้อจ ากัด 1) เป็นโปรแกรมแบบที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย จึงจะจ ากัดผู้เรียนใน การใช้ไว้ไม่เกิน 100 คน 2) ผู้สอนสามารถสอนได้ครั้งละไม่เกิน 40 นาที แต่สามารถเปิดสอนใหม่

ต่อกันได้

2. ไลน์ (LINE)

ไลน์ เป็น application ที่ใช้ให้ดาวน์โหลดฟรีอย่างไม่มีเงื่อนไข ไม่มี

ค่าใช้จ่ายรายเดือน ไม่มีการบังคับเก็บเงินเพิ่มเติมภายหลัง (นอกจากสติ๊กเกอร์ที่ต้องซื้อเพิ่ม) จึง ท าให้เป็นที่นิยมในการดาวน์โหลดมาใช้งาน จุดเด่นของ line คือสติ๊กเกอร์ที่ใช้ในการแสดงอารมณ์

แทนการพูดคุย สติ๊กเกอร์เป็นรูปภาพตัวการ์ตูนขนาดใหญ่ลายเส้นสวยมีทั้งรูปเต็มตัวครึ่งตัวใน ท่าทางต่างๆ มีการแสดงสีหน้าที่หลากหลายเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิดไปยังคู่สนทนา สติ๊กเกอร์มี

ทั้งแบบให้โหลดฟรี และแบบช าระเงิน มีลายใหม่ๆจ านวนมากไม่ซ ้ากัน นอกจากนี้ line ยังมีการ ออกแบบเพื่อรองรับในทุกระบบปฏิบัติการของสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต ทั้ง ios android blackberry windows phone และ nokia asha (อณฎณ เชื้อไทย, 2556, น. 19-26)

Garis besar

Dokumen terkait